การใช้ยาในผู้ป่วยเด็ก

การใช้ยาในเด็ก

เด็กมีสรีระร่างกายแตกต่างจากผู้ใหญ่หลายประการ ดังที่มีคำกล่าวไว้ว่า “ เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ตัวเล็ก”   ดังนั้นในทางการแพทย์จึงมีหลักการใช้ยาในเด็กที่จำเพาะ และมีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเด็กออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 ทารกแรกเกิด neonate : วันแรก- 1 เดือน

กลุ่มที่ 2 ทารก infant : 1 เดือน- 1 ปี

กลุ่มที่ 3 วัยเด็ก children :  1 ปี- 11 ปี

กลุ่มที่ 4 วัยรุ่น adoleccent : 12 ปี- 18 ปี

วัยเด็ก

สารบัญ

ลักษณะร่างกายเด็กที่ส่งผลต่อการตอบสนองยา

  • ผิวหนังของเด็กมีสัดส่วนของน้ำมากกว่าวัยอื่นๆ ทำให้มีการดูดซึมยาผ่านผิวหนังได้ดีมากกว่าวัยผู้ใหญ่
  • ร่างกายเด็กมีไขมันน้อย มีสัดส่วนที่เป็นน้ำมาก และระบบผนังกั้นเยื่อหุ้มสมอง blood-brain barrier ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจะมีสัดส่วนยาที่ซึมผ่านเข้าสู่สมองได้ในระดับสูง
  • โปรตีนอัลบูมินที่จับคู่กับยาในเลือดของเด็กมีน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ ทำให้ยาที่ให้เด็กเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอยู่ในรูปที่เป็นอิสระไม่ถูกจับโปรตีนในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ใหญ่
  • การทำงานของตับในเด็กยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้ระบบการเปลี่ยนแปลงยาหรือกระบวนการเมตาโบลิซึม metabolism ของเด็กจะไม่เหมือนผู้ใหญ่
  • ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปที่ตับในเด็กมีมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้มีอัตราการกำจัดยาเร็วกว่าในวัยอื่นๆ
  • การทำงานของไตในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นการกำจัดยาออกจากร่างกายจะมีน้อยกว่าในวัยผู้ใหญ่

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาในเด็ก

เด็กแรกคลอด

สิ่งที่ผู้ดูแลเด็กควรทราบเพื่อให้เด็กมีความปลอดภัยจากการใช้ยา

  1. ควรชั่งน้ำหนักตัวเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะการใช้ยาในเด็กต้องอ้างอิงจากน้ำหนักตัวในการใช้คำนวณขนาดยาที่ต้องใช้ในเด็ก จะไม่นำอายุของเด็กมาใช้นำนวณหาขนาดยา
  2. ขนาดยาของเด็กจะอ้างอิงตามเอกสารทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ไม่ได้ใช้การทอนส่วนจากขนาดยาของผู้ใหญ่  เนื่องจากร่างกายเด็กมีการทำงานต่างจากผู้ใหญ่
  3. ไม่ผสมยาในอาหารหรือนม เพราะหากเด็กรับประทานนมไม่หมด จะได้ขนาดยาไม่ครบตามที่กำหนด และเนื่องจากยาบางชนิดไม่ทนต่อความร้อน หรือความเป็นกรดด่างของอาหารหรือนม ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา

น้ำหนักเด็ก

4. ไม่ควรบังคับหรือใช้อารมณ์กับเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา แต่ควรใช้วิธีการให้รางวัลกับเด็กมากกว่า

5. การป้อนยาเด็กให้ใช้ช้อนตวง หลอดฉีดยา อุปกรณ์ที่ติดมากับยา หรือที่ได้มาจากโรงพยาบาล คลินิกหรือร้านยาเท่านั้น เพื่อให้ได้ขนาดยาที่ถูกต้องปลอดภัยต่อเด็ก ไม่ควรใช้ช้อนชงกาแฟ ช้อนกินข้าวมาป้อนยาเด็กเพราะอาจทำให้ได้ขนาดยาไม่ถูกต้องส่งผลต่อผลการรักษาและความปลอดภัย

6. การป้อนยาเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ทำดังต่อไปนี้

    • ให้ผู้ปกครองอุ้มเด็กไว้ในวงแขน หรือวางเด็กหนุนตัก ยกศีรษะเด็กให้สูงขึ้นเล็กน้อย
    • สบตา พูดคุยกับเด็ก ทำท่าทางให้เด็กอ้าปากหรือใช้นิ้วดึงเบาๆบริเวณคางเด็ก
    • ใช้หลอดฉีดยาตวงยา สอดกระบอกยาที่มุมปากค่อยๆหยอดยาให้ไหลผ่านกระพุ้งแก้ม อย่าดันยาจนหมดในครั้งเดียว เพราะเด็กมีปริมาณการกลืนที่จำกัด อาจทำให้เด็กบ้วนยาออกมาได้
    • ห้ามป้อนยาเด็กในขณะที่เด็กนอนราบ

แม่ลูก

7. การป้อนยาที่มีรสขม ให้ผสมน้ำหวานได้ โดยการแบ่งปริมาณยาที่จะป้อนออกเป็น 2-3ครั้ง   เทยาและน้ำหวานผสมกันในช้อนตวง ไม่ควรผสมน้ำหวานเข้าไปในขวดยาเลย เพราะมีผลต่อความคงตัวของยา และอาจทำให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ยาตีกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ

8. หากมีการเทยาออกมาใส่ถ้วยตวงแล้วใช้หลอดฉีดยาตวงยา เพื่อป้อนยาให้เด็ก หากมียาเหลือในถ้วยตวง ห้ามเทยากลับเข้าไปในขวดยา เพราะจะทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค

9. การใช้กระบอกฉีดยา ตวงยาให้เด็ก การอ่านปริมาตรขนาดยา คือ ให้จับหลอดให้ตรง หันให้ปลายหลอดอยู่ด้านบน อ่านที่ตรงขอบลูกสูบยางด้านบน ตามรูป

หลอดป้อนยา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สาระปันยา

ตัวอย่างขนาดยาตามเอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับเด็กทางการแพทย์

ขอนำตัวอย่างเอกสารอ้างอิงขนาดยาที่นำมาใช้คำนวณหาปริมาณยาให้เด็ก พอให้เห็นเป็นสังเขปดังนี้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละตัวยา

  1. ยาลดไข้ ที่มีตัวยาพาราเซตามอล paracetamol

-ขนาดยาที่แนะนำคือ น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัมจะใช้ต้องใช้ตัวยา paracetamol 10-15 มิลลิกรัม ต่อ 1 มื้อยา  ให้ยาห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง

  1. ยาลดไข้แก้ปวด ที่มีตัวยาไอบูโปรเฟน ibuprofen

– ใช้ได้ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนเท่านั้น

– ขนาดยาที่แนะนำคือ น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัมจะใช้ยาตัวยา ibuprofen 4-10 มิลลิกรัม ต่อ 1 มื้อยา ให้ยาห่างกันทุก 6-8 ชั่วโมง

เด็กมีไข้

  1. ยาลดน้ำมูก ที่มีตัวยาคลอเฟนิรามีน chlopheniramine (cpm)

– ขนาดยาที่แนะนำคือ น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม จะต้องใช้ตัวยา cpm 0.35 มิลลิกรัม ต่อ 1 วัน  โดยแบ่งให้ยาห่างกัน 6-8 ชั่วโมงในแต่ละมื้อ

  1. ยาแก้ไอขับเสมหะ ที่มีตัวยาบรอมเฮกซีน bromhexine

– ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  : ขนาดยาที่แนะนำคือ 1 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

– ในเด็กอายุ 2-5 ปี : ขนาดยาที่แนะนำคือ 2 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

– ในเด็กอายุ 5-10 ปี :  ขนาดยาที่แนะนำคือ 4 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

– ในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี : ขนาดยาที่แนะนะคือ 8 มิลลิกรัมต่อ 1 ครั้ง/มื้อ

โดยให้ยาห่างกันในแต่ละมื้อ 8-12 ชั่วโมง

เด็กเป็นหวัด

5. ยาแก้ท้องอืด ขับลม ที่มีตัวยา ไซเมททิโคน simeticone ความเข้มข้น 40 มก./0.6 มล.)

– ขนาดยาที่แนะนำ : ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ให้ทานครั้งละ 0.3 มล. ทุก 6 ชั่วโมง

ในเด็กอายุ 2-6 ปี ให้ทานคร้งละ 0.6 มล. ทุก 6 ชั่วโมง

6. น้ำเกลือ ORS สำหรับป้องกันอาการขาดน้ำ

– ขนาดที่แนะนำ : ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ให้ทาน 2 ซอง/วัน , ในเด็กอายุ 2-10 ปี ให้ทาน 3 -4 ซอง / วัน

7. ยาถ่ายพยาธิ ที่มีตัวยา อัลเบนดาโซล albendazole ความเข้มข้น 200 มก/5 มล.

-ขนาดยาที่แนะนำ : ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ทานครั้งละ 200 มก./วัน  ทานซ้ำอีกครั้ง ในอีก 3 สปดาห์

ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป ทานครั้งละ 400 มก./วัน ทานซ้ำอีกครั้งในอีก 3 สัปดาห์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ขนาดยาเด็ก

สรุป

ร่างกายเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่หลายอย่าง ดังนั้นการใช้ยาในเด็กจึงมีความจำเพาะเจาะจง จะไม่นำการใช้ยาของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่มาอ้างอิง  เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก และสิ่งสำคัญคือผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก จำเป็นต้องหมั่นศึกษาวิธีการดูแลเด็กพร้อมขอคำแนะจากแพทย์หรือเภสัชกรในการใช้ยากับเด็ก โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 3-5 ปี

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า