ตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักประมาณ 1.2-1.6 กิโลกรัม ขบวนการเปลี่ยนแปลงยาหรือที่เรียกว่า เมทาบอลิซึม (metabolism)เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นที่ตับ เช่น ยาบางตัวอาจอยู่ในรูปที่ไม่ออกฤทธิ์ ต้องอาศัยตับเปลี่ยนเป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้ และยังช่วยทำลายยาให้เสื่อมฤทธิ์หรืออยู่ในสภาพละลายน้ำ พร้อมที่จะขับทิ้งได้อย่างปลอดภัย
สารบัญ
กายวิภาคและหน้าที่ของตับ
ตับมีลักษณะนุ่ม สีชมพูอมน้ำตาล วางอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้อง ใต้กระบังลม บนพื้นผิวด้านหน้ามีถุงน้ำดีวางตัวอยู่
เซลล์ตับจะสร้างน้ำดีและส่งมาเก็บที่ถุงน้ำดี ซึ่งจะทำการหลั่งน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กต่อไป
เส้นเลือดที่มาเลี้ยงตับ มี 2 เส้นใหญ่ๆ คือ portal vein และ hepatic artery ตับแบ่งออกเป็น 2 กลีบคือกลีบซ้ายและขวา ในแต่ละกลีบแบ่งย่อยออกได้ 2 ส่วนตามการมาเลี้ยงของเส้นเลือด
ตับทำหน้าที่สำคัญ ๆ ในร่างกายดังนี้
- ผลิตน้ำดี ซึ่งจัดเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ โดยตับจะกำจัดของเสียต่างๆออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี
- ควบคุมการเปลี่ยนแปลงหรือเมตาโบลิซึมของสารอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน กรดแลคติค การสร้างไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส การสลายโมเลกุลของไกลโคเจน เพื่อผลิตน้ำตาลกลูโคสออกสู่กระแสเลือด
- สร้างน้ำดีควบคุมเมตาโบลิซึมของไขมัน เช่น การสังเคราะห์คลอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์
- สังเคราะห์โปรตีน
- สร้างฮอร์โมนช่วยสร้างเกล็ดเลือดของไขกระดูก
- เปลี่ยนแปลงหรือแปรสภาพสารพิษและยาต่างๆ ให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับถ่ายออกไปได้ ขบวนการนี้เรียกว่า เมตาโบลิซึมยา
- เปลี่ยนแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรียและขับออกทางปัสสาวะ
- เก็บสะสมวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 เหล็ก และ ทองแดง
- สร้างภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อโรค
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : กายวิภาคของตับ
สาเหตุที่ทำให้ตับอักเสบมีอะไรบ้าง
เมื่อตับมีการอักเสบจากปัจจัยใดก็ตาม จะสามารถกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด
ตับแข็ง เป็นสภาวะเกิดแผลเป็นหลังจากมีการอักเสบ กล่าวคือ การที่ตับเกิดความเสียหาย มีพังผืดเกิดขึ้นทดแทนเซลล์ปกติ และเบียดหลอดเลือดฝอยในตับ ทำให้ไปขัดขวางการไหลของเลือดเข้าตับและแรงดันเลือดในตับสูงขึ้น ตามมาด้วยประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลงในที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดได้แก่
- โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกอฮอลล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ มากกว่า 10 ปี ขึ้นไป โดยเฉลี่ย ในผู้หญิงปริมาณการดื่ม 2-3 ครั้ง / วัน ก็จะเกิดตับแข็งได้ ส่วนผู้ชายปริมาณการดื่ม 3-4 ครั้ง/วัน จึงจะเกิดตับแข็งได้ เพราะว่าแอลกอฮอลล์จะไปยับยั้งการย่อยสลายของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดอันตรายต่อตับ
- ตับอักเสบจากไวรัส 3 ตัว บี ซี และ ดี แต่ในประเทศไทยพบมากเฉพาะไวรัส บี และซี เท่านั้น ส่วนไวรัส ดี จะพบเฉพาะในผู้ที่ไวรัส บี อยู่แล้ว
ความจริงมีไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบ 5 ตัว คือ A,B,C,D,E แต่ไวรัส A แล E เป็นแล้วหายขาด ไม่เรื้อรังจนเป็นตับแข็ง แต่ B,C,D ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ ถ้าขาดการดูแล
โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบซี ที่จะทำให้ตับมีการอักเสบที่ละน้อย โดยจะผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆแสดงออกมา จนระทั่งเป็นตับแข็งจึงแสดงอาการออกมา
- ตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน เป็นการอักเสบเรื้อรังที่ไม่แสดงอาการใดๆ เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของเราเองที่หันไปทำลายเนื้อตับที่ละน้อย แต่พบมากในชาวยุโรปเท่านั้น ในคนไทยเจอน้อยมาก
4. ตับอักเสบจากภาวะไขมันเกาะตับ โดยไขมันจะเข้าไปแทรกอยู่ในเนื้อตับ และเกิดสะสมเป็นจำนวนมากจนเบียดเซลล์ปกติและทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน การขาดสารโปรตีน โรคอ้วน หัวใจขาดเลือดและการใช้ยาสเตียรอยด์
5.ภาวะดีซ่านเรื้อรังจากท่อน้ำดีอุดตัน ปกติตับจะสร้างน้ำดี ส่งผ่านท่อน้ำดีลงลงสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นเพื่อช่วยย่อยสารอาหารประเภทไขมัน ส่วนเกินที่เหลือจากการส่งลงลำไส้เล็กจะไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ถ้าทีการอุดกั้นการไหลของน้ำดีบริเวณท่อน้ำดีจากสาเหตุใดๆก็ตาม เช่น นิ่วอุดท่อน้ำดี เนื้องอกอุดตันท่อน้ำดีเป็นเวลานาน น้ำดีจะที่ไหลย้อนกลับไปคั่งที่ตับจะทำลายตับจนเกิดการอักเสบและตับแข็งในที่สุด
6.ยา สารพิษ การติดเชื้ออื่นๆ เช่นการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ใช้เกินความจำเป็นเป็นระยะเวลานานๆ การสัมผัสสารพิษโดยเฉพาะสารหนู การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดมีตัวพยาธิ โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ หรือภาวะหัวใจบ่อยๆ จะทำให้เกิดเลือดคั่งที่ตับ จนในที่สุดเกิดตับแข็ง
อาการแสดงของโรคตับแข็ง คือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลด และถ้าเป็นรุนแรงมาก จะทำให้มีภาวะอาการทางสมองจากการคั่งของแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนที่ขับออกจากร่างกายไม่ได้ มีภาวะไตวาย และ เป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
ตับแข็งนั้นไม่สามารถรักษาให้ตับกลับมาดีเท่าเดิมได้ หลักการรักษาโรคตับแข็งคือ ป้องกันไม่ให้เนื้อตับถูกทำลายมากขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนของตับแข็งลง ถ้าตับเสียหายมากจะรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ ซึ่งปัจจุบันได้ผลดีถึง 80-90%
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ตับแข็งไม่ใช่แค่ดื่มหนัก
ขบวนการเปลี่ยนแปลงยาที่ตับ
การเปลี่ยนแปลงยาที่ตับขึ้นอยู่กับการทำงานของเอนไซม์และเลือดที่ไหลผ่านตับ เอนไซม์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเปลี่ยนแปลงยา ได้แก่ cytochrome P450 (CYP450) , glutathione-S-transferase (GST) , N-acethyltransferases (NAT)
ผลจากขบวนการเปลี่ยนแปลงยา จะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีความแปรผันตามความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรแต่ละเชื้อชาติ กล่าวคือ แต่ละคนจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองไม่เหมือนกันถึงแม้ได้รับยาตัวเดียวกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่ม Tolerant คือ กลุ่มที่ได้รับยาหรือสารต่างๆแล้ว ไม่สามารถตรวจพบความเป็นพิษต่อตับ
- กลุ่ม Adapter คือ กลุ่มที่ได้รับยาหรือสารต่างๆแล้วเกิดความเป็นพิษต่อตับแบบชั่วคราว และการทำงานของตับเป็นปกติ ถึงแม้จะยังได้รับยาต่อเนื่อง
- กลุ่ม Susceptible คือ กลุ่มที่ได้รับยาหรือสารต่างๆแล้วเกิดความเป็นพิษต่อตับอย่างชัดเจนทางคลินิก และการทำงานของตับกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดยา
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงยา
- Enzyme induction : สารที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการสร้างเอนไซม์เปลี่ยนแปลงยา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงยาเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ 2 แบบ
- ทำให้เกิดพิษจากยาได้มากขึ้น
- ทำให้ระดับยาในเลือดลดลงและหมดฤทธิ์อย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างได้แก่ ควันบุหรี่ แอลกอฮอลล์
- Enzyme inhibition : สารที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการสร้างเอนไซม์ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงยา ทำให้ระดับยาเพิ่มสูงขึ้น และมีฤทธิ์ยาวนานขึ้น ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ 2 แบบ
- ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น
- ทำให้เกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากยามากขึ้น
ตัวอย่างได้แก่ ยารักษาเชื้อราคีโตโคนาโซล(ketoconazole) น้ำผลไม้จำพวกส้มโอ เสาวรส ยาลดกรดไซเมททิดีน (cimetidine)
- พันธุกรรม : ความแตกต่างทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แต่ละคน มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงยาต่างกัน
- ความผิดปกติที่ตับ : ตับอักเสบ ไขมันเกาะตับ ถุงน้ำดีอุดตัน จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงยาที่ตับน้อยลง มีการไหลเวียนของเลือดที่ตับลดลง
- อายุ: ในเด็กแรกเกิด จะมีขบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตับได้น้อยและช้ากว่าผู้ใหญ่ ขบวนการนี้จะค่อยๆพัฒนาสมบูรณ์ขึ้นหลังจาก 14 วันหลังคลอด
ในผู้สูงวัย จะมีการไหลเวียนเลือดที่ตับและการทำงานของเอนไซม์ที่ตับลดลง ทำให้ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงยาลดลง
ความเป็นพิษต่อตับแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- ความเป็นพิษต่อตับที่เกิดขึ้นเอง : ความเป็นพิษเกิดขึ้นกับทุกคน แต่ในระดับที่แตกต่างกัน และความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ได้รับ เช่น ความเป็นพิษของยาพาราเซตตามอล
- ความเป็นพิษต่อตับที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ : จะมีผลต่อประชากรกลุ่ม ที่ 3 susceptible เท่านั้น ความรุนแรงไม่ได้ขึ้นกับขนาดของยา
ระยะเวลาที่ยามีผลต่อตับ แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะแฝง (latency) : ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และ สารเคมีต่างๆ จนกระทั่งเริ่มมีอาการพิษต่อตับ
ระยะฟื้นตัว(time to recovery) : ระยะเวลาตั้งแต่หยุดใช้ยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือสารเคมี ต่างๆ จนกระทั่งร่างกายฟื้นตัวเต็มที่จากอาการตับเป็นพิษ โดยทั่วไปอาการไม่สบายต่างๆ จะค่อยๆดีขึ้น ภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ และตับจะกลับสู่สภาพปกติได้สมบูรณ์ใช้เวลา 2-3 เดือน
รูปแบบของความเป็นพิษต่อตับแบ่งได้ เป็น 3 กลุ่ม
- พิษที่เซลล์ตับ ( hepatocellular pattern)
- พิษแบบมีการคั่งของน้ำดี (cholestatic pattern)
- พิษแบบผสม ( mixed pattern)
ความรุนแรงของความเป็นพิษต่อตับแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และรุนแรง
การตรวจหาภาวะตับอักเสบทางห้องปฏิบัติการ (Liver function test)
การตรวจเกี่ยวกับความผิดปกติของตับ มีการใช้ค่าระดับสารเคมีในร่างกายต่างๆ ดังนี้
- Bilirubin
- Alkaline phosphatase ( ALP)
- Alkaline aminotransferase (ALT)
ไม่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะเกี่ยวกับความเป็นพิษต่อตับ แต่มีเกณฑ์พื้นฐานที่ใช้พิจารณาว่าเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา drug-induce liver injury ดังนี้
- ALT สูงกว่าปกติ 5 เท่า
- ALP สูงกว่าปกติ 2 เท่า
- ALT สูงกว่าปกติ 3 เท่า ร่วมกับ Bilirubin สูงกว่าปกติ 2 เท่า
การตรวจหาและหยุดใช้ยาที่เป็นพิษต่อตับในระยะเริ่มแรกสามารถป้องกันการทำลายตับได้ การรักษาตับอักเสบที่เกิดจากยาใช้หลักการเดียวกันกับตับอักเสบจากไวรัส
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ขบวนการเปลี่ยนแปลงยา
ยาที่ใช้ฟื้นฟูตับ
สารสำคัญที่นำมาใช้ในการฟื้นฟูเซลล์ตับในกรณีตับอักเสบทุกชนิด ในปัจจุบัน มี 2 ตัว คือ ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) และ ซิลิมาริน (Silymarin)
เมื่อตับมีการอักเสบ จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ตับ ซึ่งผนังเซลล์ ตับมี phospholipids เป็นส่วนประกอบหลัก ดังนั้นการเสริมสารตัวนี้เข้าไปจะช่วยให้เซลล์ได้รับการฟื้นฟูได้ดีขึ้น
ส่วน Silymarin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์ตับถูกทำลาย ผลการศึกษาการใช้ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ พบว่า ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล ทำให้ค่าทางห้องปฏิบัติการกลับสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น และได้ประโยชน์ทางการรักษาในผู้ป่วยตับแข็งจากแอลกอฮอลล์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : การใช้essentialบำรุงตับ ต่างกับการใช้ legarolอย่างไร
สรุป
โรคตับอักเสบ จะทำให้มีพังผืดเกิดขึ้นทดแทนเซลล์ปกติ และขัดขวางการไหลเวียนเลือดเข้าตับ ทำให้มีผลต่อขบวนการเปลี่ยนแปลงยา ดังนั้นกลุ่มผู้ป่วยโรคตับมีความจำเป็นต้องระมัดระวังการใช้ยาเป็นพิเศษ การบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคตับ จะเน้นความสำคัญของการเฝ้าระมัดระวังไม่ทำให้ตับเสียหายเพิ่มขึ้น จากยาที่ใช้รักษาความเจ็บป่วยและสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผู้ป่วยอาจมีการซื้อมาใช้เองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด (หนัก 10-20-30 กรัม)
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา