ในการที่มนุษย์เราจะดำรงชีวิตให้ยืนยาวอย่างปกติสุข คงไม่มีใครปฏิเสธว่าจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคช่วยเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น ยิ่งพอคนเรามีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะต้องใช้ยาก็มากขึ้นตามไปด้วย โอกาสที่จะใช้ยามากกว่า 1 ตัวจะมีสูงขึ้น
ยาตีกัน คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการใช้ยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยยามีปฏิกิริยาระหว่างยาเกิดขึ้น ผลที่เกิดจากยาตีกันคือ
- ทำให้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ได้น้อยลงหรือไม่ออกฤทธิ์เลย ทำให้การรักษาล้มเหลว
- ทำให้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ได้เพิ่มขึ้น โดยผลที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาหรือทำให้ได้ผลข้างเคียงจากยาที่เพิ่มขึ้น
ปฏิกิริยาต่อกันของยา เรียกเป็นภาษาทางการแพทย์ว่า อันตรกิริยาระหว่างยา Drug interaction
สารบัญ
- ประเภทกลไกยาตีกัน
- กลไกยาตีกันแบบเภสัชพลศาสตร์
- กลไกยาตีกันแบบเภสัชจลศาสตร์
- ปัจจัยที่มีผลให้เกิดยาตีกัน
- คำแนะนำวิธีป้องกันปัญหายาตีกัน
- สรุป
ประเภทของกลไกการเกิดยาตีกัน
แบ่งได้ 2 ประเภท
- ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาทางเภสัชพลศาสตร์
เป็นกลไกที่ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับยา
2. ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาทางเภสัชจลศาสตร์
เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับยาในร่างกาย อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ โดยยาชนิดหนึ่งไปมีผลกระทบต่อขั้นตอนการดูดซึมยา( absorbtion) การกระจายตัวของยา (distribution) การเปลี่ยนสภาพยา (metabolism) การกำจัดออกจากร่างกาย( elimination)ของยาอีกชนิดหนึ่ง ผลคือการเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ในการรักษา หรือ เกิดความเป็นพิษจากยาได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา
กลไกยาตีกันทางเภสัชพลศาสตร์
เป็นกลไกที่ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับยา
แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
- การเสริมฤทธิ์และทำให้เกิดพิษ (additive or synergistic interactions and combined toxicity) คือ การได้รับยาที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนกันในเวลาเดียวกัน ทำให้มีการเสริมฤทธิ์
ยกตัวอย่าง เช่น การใช้ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศชาย sildenafil ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ isosorbide dinitrate ยาทั้ง 2 ตัวมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดเหมือนกัน ทำให้เสริมฤทธิ์กันจนความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ - การต้านฤทธิ์กัน (antagonistic or opposing interactions) คือ การได้รับยาที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาตรงข้ามกัน ทำให้ฤทธิ์ของยาของยาชนิดหนึ่งจะถูกต้านด้วยฤทธิ์ของยาอีกชนิดหนึ่ง
ยกตัวอย่าง เช่น การใช้ยานำ้ลดกรดรวมกับยารักษาเชื้อรา itraconazole ซึ่งต้องใช้ความเป็นกรดในทางเดินอาหารละลายยาก่อนดูดซึมเข้ากระแสเลือด แต่พอความเป็นกรดน้อยลงเพราะยาน้ำลดกรด จึงทำให้ยาเชื้อราถูกดูดซึมน้อยลง ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผล
- การเปลี่ยนแปลงกลไกขนส่งยา (drug transport) คือ ยาชนิดหนึ่งไปขัดขวางกระบวนการขนส่งยาอีกชนิดหนึ่ง ทำให้ยาไม่สามารถไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ ส่งผลให้ยาไม่ออกฤทธิ์
ยกตัวอย่าง เช่น การใช้ยาน้ำลดกรดร่วมกับยาฆ่าเชื้อ norfloxacin การกินพร้อมกันจะทำใหเยาทั้ง 2 ตัว รวมตัวกันเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ถูกดูดซึม ทำให้การรักษาอาการติดเชื้อล้มเหลว - การรบกวนสมดุลของน้ำและอิเล็คโทรไลท์ คือ ยาตัวหนึ่งไปทำให้อิเลคโตไลท์ตัวหนึ่งในร่างกายถูกกำจัดลดลง แต่ยาอีกตัวหนึ่งไปเพิ่มอิเล็คโตไลท์ตัวเดียวกัน ทำให้เกิดพิษขึ้นจากการที่มีอิเล็คโตไลท์ตัวดังกล่าวปริมาณมากเกินไปในร่างกายขณะนั้น
ยกตัวอย่าง เช่น การให้ยาขับปัสสาวะ ลดความดัน HCTZ(hydrochlorothiazide ) ร่วมกับ ยารักษาโรคซึมเศร้าลิเทียม (Lithium) เนื่องจาก HCTZ มีฤทธิ์ทำให้กลไกการกำจัดยา Lithium ลดลง ดังนั้นจะเกิดการสะสมและเพิ่มระดับขึ้นของ lithium ในร่างกาย จนเกิดพิษขึ้น
กลไกยาตีกันทางเภสัชจลศาสตร์
เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับยาในร่างกาย อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ โดยยาชนิดหนึ่งไปมีผลกระทบต่อขั้นตอนการดูดซึมยา( absorbtion) การกระจายตัวของยา (distribution) การเปลี่ยนสภาพยา (metabolism) การกำจัดออกจากร่างกาย( elimination)ของยาอีกชนิดหนึ่ง ผลคือการเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ในการรักษา หรือ เกิดความเป็นพิษจากยาได้
แต่ที่มีความสำคัญที่สุดและเกิดผลชัดเจนทางคลินิกต่อร่างกายสูงที่สุดคือ อันตรกิริยาต่อกันใน ขั้นตอนเปลี่ยนสภาพยา (metabolism) ซึ่งประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นที่ตับ โดยมีเอนไซม์ enzyme ที่เรียกว่ากลุ่ม CYPs เข้ามาเกี่ยวข้อง
CYPs ที่สำคัญในร่างกายได้แก่
- CYP1A2
- CYP2A6
- CYP2C9
- CYP2C19
- CYP2D6
- CYP3A4
ดังนั้นเมื่อใช้ยาหลายชนิดร่วมกันจะเกิดยาตีกันได้ 2 แบบ
- Enzyme induction คือ ยาชนิดหนึ่งไปเหนี่ยวนำเพิ่มจำนวนเอนไซม์ CYPs ที่จะไปเปลี่ยนสภาพยาอีกชนิดหนึ่ง ส่งผลให้ยาที่ถูกเปลี่ยนสภาพมากขึ้นกว่าเดิม มีจำนวนยาเหลืออยู่ในร่างกายลดลงจากเป้าหมายที่ต้องการ และ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา
ยกตัวอย่าง เช่น การใช้ยาคุมกำเนิดในผู้หญิง ร่วมกับ ยารักษาวัณโรค rifampicin จะทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล จากการที่ rifampicin ไปทำให้ฮอร์โมนในยาคุมถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์มากกว่าทีเราตั้งเป้าหมายไว้
2.Enzyme inhibition คือ ยาชนิดหนึ่งไปยับยั้งและลดจำนวนเอนไซม์ CYPs ที่จะไปเปลี่ยนสภาพยาอีกชนิดหนึ่ง ส่งผลให้มีจำนวนยาเหลืออยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายที่ต้องการ ทำให้เกิดการสะสมจนเป็นพิษต่อร่างกายได้
ยกตัวอย่าง เช่น การใช้ยารักษาอาการปวดหัวไมเกรน cafergot หรือ ยาประเภท ergotamine ร่วมกับยาฆ่าเชื้อกลุ่ม macrolide เช่น clarithromycin ,azithromycin จะทำให้เกิดพิษจากปริมาณยารักษาไมเกรนที่เพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปในร่างกายได้เช่น หลอดเลือดส่วนปลายตีบจนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย แขนขา ได้จนเกิดเนื้อตายขึ้น จากที่ macrolide ไปทำให้มีการทำลายยาergotได้น้อยลง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ยาตีกันสำคัญอย่างไร
ปัจจัยที่มีผลให้เกิดยาตีกัน
มีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการตีกันของยา ดังนี้
- ลำดับการให้ยา ( order of administration)
- ระยะเวลาการรักษา (duration)
- ขนาดยา (dose)
- การใช้ยากี่ชนิดร่วมกัน ยิ่งมากขนาน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการตีกันสูงมากขึ้น
- สภาวะร่างกายของผู้ใช้ยา
- อายุผู้ใช้ยา (age)
- พันธุกรรม (genetics)
- วิถีการดำเนินชีวิต (life style)
ในทางการแพทย์ เราจะนำปัจจัยเหล่านี้มาช่วยในการปรับการให้ยารักษาผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหายาตีกันทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากยาโดยไม่จำเป็น และเป้าหมายที่วางไว้คือ ผู้ป่วยต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา
ยกตัวอย่าง เช่น ยาลดกรดทั้งนำ้และเม็ดมีผลต้านฤทธิ์กับยาหลายชนิด เช่น ยารักษาเชื้อรา itraconazole และ ยารักษาโรคกระดูกพรุน alendronate การแก้ไข คือ ให้กินยาทั้ง 2 ชนิดห่างกัน 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการตีกันของยาทั้ง 2 ชนิด
อีกหนึ่งตัวอย่าง เช่น การเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดให้ผู้ป่วยวัณโรคปอด เพศหญิง ที่ต้องใช้ยา rifampicin ชั่วคราวก่อน โดยจะต้องเป็นวิธีอื่นแทนที่ไม่ใช่การใช้ยาคุมกำเนิดแบบกิน
หรือการที่แพทย์จะปรับลดขนาดยาต้านการแข็งตัวของเลือด warfarin ให้ต่ำลงในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า fluoxetine ร่วมด้วย เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกจากขนาดยา warfarin ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยยา fluoxetine ผ่านกลไกเภสัชจลศาสตร์ enzyme inhibition
การให้ความสำคัญของยาตีกัน จะถูกพิจารณาจาก 3 ประเด็นต่อไปนี้
ประเด็นที่ 1 : ระยะเวลาการแสดงผลยาตีกัน แบ่งเป็น 2 ระยะ
- 1.1 ระยะแสดงผลอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง (rapid)
- 1.2 ระยะกว่าจะแสดงผลใช้เวลามากกว่า 1 วันและอาจนานเป็นสัปดาห์ได้ (delayed)
การแสดงผลรวดเร็วภายใน 1 วัน จะมีระบบควบคุมเฝ้าระวังเข้มงวดกว่า
ประเด็นที่ 2 : ระดับความรุนแรงของผลจากยาตีกัน
- 2.1 ระดับน้อย คือ ผลที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องรักษา หายเองได้ เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องอืด เสียดท้อง
- 2.2 ระดับปานปลาง คือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล เช่น ความดันโลหิตลดต่ำลงมากจนหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- 2.3 ระดับรุนแรง คือ ผลที่เกิดขึ้นเป็นเหตุให้เกิดความพิการ ทำลายอวัยวะอย่างถาวร หรือถึงแก่ชีวิต จากการเกิดสารพิษจากยาตีกัน
ระดับที่ 2.2 และ 2.3 จะมีระบบควบคุมเฝ้าระวังเข้มงวดสูงสุด
ประเด็นที่ 3 : ระดับคุณภาพความน่าเชื่อถือของหลักฐานอ้างอิง
- ระดับที่ 1 เชื่อถือได้มากที่สุด Established : ยืนยันได้แน่นอน ชัดเจน ผ่านการพิสูจน์หลักฐานอย่างเป็นขั้นตอนตามหลักวิชาการที่ถูกต้องในมนุษย์
- ระดับที่ 2 เชื่อถือได้มาก Probable : มีความเป็นไปได้สูง มีหลักฐานพิสูจน์ยืนยันระดับการทดลองในสัตว์เท่านั้น
- ระดับที่ 3 เชื่อถือได้ Suspected : มีความน่าสงสัย ในระดับที่มีหลักฐานจำนวนมากพอสมควร แต่ยังไม่มีคุณภาพมากนัก
- ระดับที่ 4 เชื่อถือได้น้อย Possible : คาดว่าอาจจะเป็นไปได้ มีจำนวนรายงานน้อยและการพิสูจน์หลักฐานยังไม่ชัดเจนมากพอที่จะเชื่อถือได้
- ระดับที่ 5 ไม่น่าเชื่อถือ Unlikely : แค่สงสัย มีจำนวนรายงานน้อยมากและไม่มีคุณภาพ ผลที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
คู่ยาตีกัน ที่มีหลักฐานระดับ1-3 จะมีระบบเฝ้าระวังเข้มงวดกว่า ระดับ4-5
ระบบการเฝ้าระวังการตีกันของยา จะเข้มงวดการควบคุมสูงสุดในกลุ่มคู่ยาตีกัน ที่มีความรุนแรงระดับที่ 2-3 มีการแสดงผลเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ตลอดจนมีหลักฐานยืนยันหนักแน่นชัดเจนระดับตั้งแต่ 1-3 เรียกว่า Fatal drug interaction
คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดยาตีกัน
- ควรอ่านฉลากยาให้เข้าใจทุกครั้งก่อนใช้ยา โดยเฉพาะในหมวดคำเตือน ซึ่งจะบอกข้อควรระวังในการใช้ยา และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา
- ซักถามขอข้อมูลยาจากแพทย์และเภสัชกรที่จ่ายยาให้ท่าน หากสงสัยหรือไม่เข้าใจว่ายาที่ต้องใช้ออกฤทธิ์ในการรักษาอย่างไร
- ทุกครั้งที่ต้องไปแพทย์และเภสัชกร ต้องให้ข้อมูลส่วนตัวท่านดังต่อไปนี้
- โรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน หอบหืด ไต ตับ
- รายการยาโรคประจำตัวที่ใช้อยู่
- รายการวิตามิน สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้อยู่
- ควรเลือกรับบริการทางการแพทย์จากบุคคลที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ไม่เกินความจำเป็น เป็นการป้องกันปัญหายาตีกัน
สรุป
เรื่องเกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์ยาตีกัน สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันและเป็นเรื่องยากต่อการทำความเข้าใจ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้ยาควรตระหนักและระมัดระวัง ดังนั้นก่อนเริ่มใช้ยาหรือต้องใช้ยาตัวใหม่เพิ่ม ควรปรึกษาเภสัชกรว่ายาที่ใช้อยู่ทั้งหมดมีโอกาสตีกันหรือไม่ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรกิริยาของยาหรือปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาได้แล้ว
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด (หนัก 10-20-30 กรัม)
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา