ฉลากยาและเอกสารกำกับยาสำคัญอย่างไร

ฉลากยา

การที่เราจะใช้ยาให้ถูกต้อง ได้ประโยชน์ และปลอดภัย  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ตัวช่วยที่สำคัญคือ ฉลากยาและเอกสารกำกับยาให้เป็น  เพราะเป็นเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่แพทย์และบริษัทยาใช้สื่อสารกับผู้ใช้ยา เป็นแหล่งข้อมูลยาที่ใกล้ตัวที่สุด เข้าถึงได้ง่ายที่สุด

ผู้ใช้ยา

สารบัญ

ความหมายของฉลากยาและเอกสารกำกับยา

ฉลากยา คือ เอกสารที่ออกให้ผู้ป่วย โดยสถานพยาบาล แพทย์ หรือ เภสัชกร ตลอดจนบุคคากรทางการแพทย์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง  จะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยและวิธีการใช้สำหรับผู้ป่วยรายนั้นๆ

ฉลากยา

เอกสารกำกับยา คือ เอกสารที่ออกโดยบริษัทเจ้าของบริษัทยาที่จำหน่ายยาชนิดนั้นๆ จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับยาตัวนั้นๆเป็นหลัก  แยกเป็น 2 แบบ คือ เอกสารกำกับยาสำหรับบุคลลากรทางการแพทย์ และ เอกสารกำกับยาสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ใช้ยา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อ่านฉลากยาดีๆ มีประโยชน์

เอกสารกำกับยา

เอกสารยาผู้ป่วย
เอกสารกำกับยาสำหรับผู้บริโภค

ความสำคัญของฉลากยา

รายละเอียดสำคัญในฉลากยาที่เราควรใส่ใจมีดังต่อไปนี้

  1. วันที่ได้รับยา : จะช่วยเตือนความจำของเราได้ว่า ได้รับยามาเมื่อไหร่ ใช่ยาที่เป็นปัจจุบันในการรักษาอาการป่วยของเราไหม เพราะบางครั้งแพทย์จะมีการปรับเปลี่ยนแผนการรักษา ทำให้ต้องเปลี่ยนชนิดของยา หรือขนาดของยาที่ใช้รักษา

นอกจากนี้ บางกรณียังช่วยให้เรารู้วันหมดอายุของยาชนิดนั้นๆด้วย เช่น ยาเม็ดเปลือยที่ไม่อยู่ในแผงยา จะมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้นนับจากวันที่จ่ายยาหรือวันที่แบ่งบรรจุ

ถ้าเป็นพวกยาหยอดตา ยาป้ายตา ถ้าเปิดใช้แล้ว ยาจะมีอายุแค่ 1 เดือนเท่านั้นในการเก็บรักษาในตู้เย็น  หากไม่ได้เก็บในตู้เย็น หลังจากหายดีแล้ว ไม่ควรเก็บยาไว้ ให้กำจัดทิ้งไปเลยจะปลอดภัยกว่า

  1. ชื่อ นามสกุล ผู้ป่วย : จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า เป็นยาของเราแน่นอน ไม่ใช้ยาของผู้อื่นที่ผิดพลาดจากการขั้นตอนการส่งมอบยา
  2. ชื่อยา : ส่วนใหญ่จะเป็น ภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นไหมที่ต้องจำชื่อยา แนะนำว่า ถ้ามียาหลายชนิดที่ต้องใช้  ให้จำแบบรวมๆว่า ยาที่เรากินอยู่รักษาอะไรบ้าง  อาจเลือกจำเฉพาะตัวที่มีความสำคัญมีความเสี่ยงในการเกิดการตียากับยาอื่นๆมาก

ฉลากยา

4.จำนวนยา : ช่วยให้เราเช็คได้ว่า มีจำนวนยาเพียงพอต่อการใช้หรือไม่ ยิ่งถ้าเป็นกรณีที่แพทย์มีการนัดตรวจติดตาม จะต้องตรวจนับว่ามียาพอใช้ถึงวันนัดพบแพทย์อีกครั้งหรือไม่

5.วิธีใช้ยา : เป็นข้อมูลระบุว่า ต้องทานครั้งละกี่เม็ด วันละกี่ครั้ง เวลาไหน หรือ กรณีเป็นยาทาภายนอก ต้องทาวันละกี่ครั้ง ซึ่งยาแต่ละรูปแบบ จะมีวิธีการใช้แตกต่างกัน  ยาบางตัวมีเทคนิคการใช้เป็นพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำและฝึกฝนการใช้จากเภสัชกร เช่น ยาพ่นขยายหลอดลม ยาพ่นจมูก เป็นต้น

6.ข้อบ่งใช้ของยา : เป็นข้อมูลที่ทำให้ทราบว่า ยาตัวนั้นใช้เพื่อรักษาอาการป่วยของเราอย่างไร เป็นส่วนที่เราควรให้ความสำคัญและจดจำไว้ โดยเฉพาะกรณีที่เราไม่สามารถจดจำชื่อยาได้

7.คำแนะนำและคำเตือนการใช้ยา : ข้อนี้สำคัญมากๆ เภสัชกรขอแนะนำให้ผู้ใช้ยาควรอย่างยิ่งที่ต้องจดจำไว้ และให้ความใส่ใจสูงสุด เช่น ควรดื่มน้ำตามมากๆ เวลาทานยา ห้ามกินยาร่วมกับน้ำผลไม้หรือนม เป็นต้น

8.ชื่อที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่จ่ายยา : มีประโยชน์มากในการใช้ติดต่อกลับไป ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เหตุไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วย หรือ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา

สินค้าหมดแล้ว
สินค้าหมดแล้ว

ความสำคัญของเอกสารกำกับยา

เอกสารกำกับยามี  2 ประเภท คือ

  • เอกสารกำกับยาสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร
  • เอกสารกำกับยาสำหรับผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยหรือผู้ใช้ยา ไม่มีความจำเป็นต้องไปอ่านและให้ความสนใจกับเอกสารกำกับยาประเภทแรก เพราะ มีข้อมูลมากมาย เป็นภาษาอังกฤษ ศัพท์วิชาการเฉพาะทาง ยากแก่การทำความเข้าใจ และ ที่มาของข้อมูลมากมาย มาจากการศึกษา รวบรวมข้อมูลรายงาน ที่เกิดขึ้นจาการใช้ยาตัวนั้นๆ ในผู้ป่วยจำนวนมากๆทั่วโลก  จึงทำให้มีข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งการใช้ยาในสถานการณ์จริง อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้

และที่สำคัญในส่วนนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร อยู่แล้ว  ซึ่งแพทย์จะมีการวางแผนการรักษา ติดตามผล และระมัดระวังการใช้อยู่แล้ว

แพทย์

เอกสารกำกับยาสำหรับผู้ป่วย จะมีข้อมูลสั้นๆ กระชับ และเป็นภาษาไทย เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญมากและผู้ป่วยหรือผู้ใช้ยาควรอ่าน   มีข้อมูลที่กฏหมายบังคับไว้ให้แสดงดังต่อไปนี้

  1. ชื่อยาและขนาดความแรงของยา : จะระบุไว้ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ เช่น paracetamol 500 mg. , cpm 4 mg. , Tylenol 625 mg. เป็นต้น
  2. ข้อบ่งใช้และสรรพคุณยา : สงสัยไหมคะว่า 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร
  • ข้อบ่งใช้ มาจาก ภาษาอังกฤษว่า indication  หมายถึงว่า ใช้รักษาโรคอะไร หรือใช้บรรเทาอาการอะไร
  • สรรพคุณ มาจาก ภาษาอังกฤษว่า properties หมายถึง คุณสมบัติของยา ที่ได้จากการศึกษาทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและในคลินิก เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาล แต่บางคุณสมบัติของยาอาจไม่แรงพอที่จะมาใช้ในสถานการณ์จริง เพราะอาจต้องใช้ปริมาณมาก ให้ผลข้างเคียงมากกว่าประโยชน์ในการรักษา
  1. ขนาดและวิธีใช้ยา : ระบุปริมาณ วิธีใช้ และ เวลาในการใช้ยา

ผู้ใช้ยา

4. คำเตือนหรือข้อควรระวัง : ระบุถึงผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ของยานั้น เช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง อืดท้อง ง่วงนอน ซึม นอนไม่หลับ เป็นต้น

5. วิธีเก็บรักษา : ข้อมูลส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะหากเก็บยาไม่ถูกต้อง ยาจะเสื่อมสภาพ ไม่มีประสิทธิผลในการรักษา บางครั้งอาจได้รับอันตรายจากการใช้ยาเสื่อมสภาพได้

6. ผู้ผลิตและที่ตั้งของแหล่งผลิตยา : ถ้าเกิดปัญหาในการใช้ยา เราสามารถร้องเรียนใหจ้าของรับผิดชอบได้

7.เลขทะเบียนตำรับยา : เป็นหลักฐานว่ายานั้นได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนยาอย่างถูกต้องตามกฎหมายประเทศไทย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : สาระปันยา

สรุป

เมื่อเราได้รับยามา ควรอ่านฉลากยาและเอกสารกำกับยา ควบคู่ไปกับรับฟังคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพราะการได้รับข้อมูลโดยไม่มีการอธิบาย ชี้แจง รายละเอียดข้อเท็จจริง เป็นดาบสองคมคะ  และเมื่อใช้ยาไปแล้วเกิดสงสัยว่าเรามีการแพ้ยาหรือได้รับผลข้างเคียงจากยาหรือไม่ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร 

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า