ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีการใช้ยาปริมาณมากเมื่อเทียบกับประชากรวัยอื่นๆ ทั้งแบบที่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง และการหาซื้อยามารับประทานเอง จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับปัญหาจากยามากที่สุด
ลักษณะของผู้สูงอายุแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องสุขภาพค่อนข้างมาก ตั้งแต่สุขภาพแข็งแรงจนถึงเปราะบาง เจ็บป่วยง่าย และอาจถึงขั้นอยู่ในภาวะพึ่งพิงผู้ดูแล
จุดประสงค์ของการใช้ยาในผู้สูงอายุคือ เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค เพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ หรือทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น
สรุป
- กระบวนการทางยาที่มีผลต่อการตอบสนองยาของผู้สูงอายุ
- ความเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายของผู้สูงวัยที่มีผลต่อการใช้ยา
- ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
- รายการยาเบื้องต้นที่ควรระมัดระวังการใช้ในผู้สูงอายุ
- สรุป
กระบวนการทางยาที่มีผลต่อการตอบสนองยาของผู้สูงอายุ
มี 4 ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการใช้ยาในผู้สูงอายุ
- การดูดซึมยา Absorption : หมายถึง การดูดซึมยาจากบริเวณที่ให้ยาเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งยาส่วนใหญ่ถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็ก
- การกระจายตัวของยา Distribution : หมายถึง ยาจะมีการกระจายไปยังบริเวณที่เลือดไปเลี้ยงมากก่อนเสมอ เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง โปรตีนในเลือดที่เกี่ยวข้องกับการกระจายยามี 2 ชนิด คือ อัลบูมิน Albumin และ alpha-1-acid glycoprotein
- การเปลี่ยนแปลงยา Metabolism : หมายถึง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของยาโดยอาศัยเอนไซม์ ทำให้ยานั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสูตรโครงสร้างทางเคมี กลายเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า metabolite อวัยวะที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยาคือ ตับ
- การขับถ่ายยา Excretion : ยาถูกขับออกจากร่างกาย ได้ทางช่องทางต่อไปนี้ คือ ไต ปอด น้ำดี น้ำลาย เหงื่อ และน้ำนม
อ่านเพิ่มเติมที่ : หลักการใช้ยาในผู้สูงอายุ
ความเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายของผู้สูงวัยที่มีผลต่อการใช้ยา
ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความเสื่อมสภาพของสรีระร่างกายหลายอย่างส่งผลต่อการตอบสนองต่อยา เช่น
- มีการฝ่อตัวลงของเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้และการไหลเวียนเลือดที่ลำไส้ลดลง ซึ่งมีผลต่อการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย
- มีเนื้อเยื่อไขมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่วนของกล้ามเนื้อและปริมาตรน้ำในร่างกายลดลง ซึ่งจะมีผลต่อการกระจายตัวของยา
- เนื่องจากผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อยลงทำให้อาจมีภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งจะทำให้มีระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับยาเช่น อัลบูมินและไกลโคโปรตีนในเลือดลดลง ซึ่งจะมีผลต่อการกระจายตัวของยา
- ในผู้สูงอายุ ตับจะมีขนาดเล็กลง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงตับลดลง และมีกระบวนการเมตาโบลิซึมที่ตับลดลง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณยาที่จะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ การให้ยาในผู้สูงอายุต้องมีการปรับขนาดยาด้วย
5. ภาวะไตเสื่อมตามวัยในผู้สูงอายุ คือจะมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้มีผลต่อการกำจัดยาออกจากร่างกาย
6.การมีความเสื่อมของระบบประสาท ทำให้การตอบสนองต่อยาลดลง และความเสี่ยงต่อการได้ผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น
7.ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกทนต่ออาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
8. ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงวัย จะลดการสร้างแอนติบอดี้ แต่เพิ่มการสร้างภูมิต่อต้านต่อร่างกายตัวเอง จึงทำให้มีการตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนน้อยลง ทำให้การให้วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุจะต้องให้มากกว่าประชากรวัยเด็ก
9. ผิวหนังของผู้สูงอายุ จะบางลง มีชั้นไขมันลดลง ทำให้มีการดูดซึมยาผ่านทางผิวหนังเข้าไปในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
- การใช้ยาหลายขนานเพื่อควบคุมอาการโรคเรื้อรังที่มากับความชราภาพ ซึ่งเพิ่มโอกาสของการเกิดยาตีกันสูงขึ้น โอกาสเกิดการแพ้ยามากขึ้น
- ความเสี่ยงจากการได้รับผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสรีระภายในร่างกาย
- ความร่วมมือในการใช้ยาลดลงเนื่องจากข้อจำกัดด้านสภาพทางกายภาพ เช่น การได้ยินลดลง อ่อนแรง กลืนลำบาก มองเห็นไม่ชัด การรับรสเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้
- อ่านฉลากยาได้ไม่ชัดเจน
- แยกสีเม็ดยาไม่ได้
- แกะหยิบเม็ดยาลำบาก
- หลงลืมกินยา
- ใช้ยารูปแบบเคี้ยวไม่ได้
- กลืนยาไม่ลง
- ข้อจำกัดด้านข้อมูลการใช้ยาในผู้สูงอายุ เพราะการวิจัยทางคลินิคในกระบวนการวิจัยและพัฒนายา ส่วนใหญ่จะคัดผู้สูงอายุออกจากการศึกษา ทำให้มีข้อมูลที่มีในเอกสารอ้างอิงต่างๆไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยสูงอายุ
ดังนั้นการใช้ยาในผู้สูงวัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหลายชนิดโดยไม่จำเป็น ควรเริ่มใช้ยาในขนาดยาที่ต่ำ ๆ ก่อน แล้วค่อยๆปรับขนาดยาเพิ่มขึ้น ถ้าไม่ได้ผล ตลอดจนควรหมั่นติดตามสังเกตการตอบสนองต่อยาทั้งในเรื่องผลการรักษาและผลข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ
รายการยาเบื้องต้นที่ควรระมัดระวังการใช้ในผู้สูงอายุ
การหาซื้อยามาใช้ในผู้สูงวัย ควรมีการตระหนักการใช้ให้มากเป็นพิเศษในกลุ่มยาต่อไปนี้
- กลุ่มยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตตามอลทุกชนิด เพราะส่วนมากมีผลต่อไตสูง บางตัวจะทำให้ง่วงนอน และเกิดการเสพติดได้ง่าย การใช้ควรมีการปรึกษาเภสัชกรเท่านั้น
- กลุ่มยาแก้ปวดเกร็งในช่องท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ควรมีการใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ใช้เท่าที่จำเป็น เพราะส่วนใหญ่จะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะลำบาก
3. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก จาม ส่วนใหญ่ทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับกลุ่มยาในข้อสอง
4. กลุ่มยานอนหลับ ควรเริ่มใช้ในขนาดยาต่ำที่สุดก่อนเสมอ เพราะผู้สูงอายุมีความไวต่อการตอบสนองยากลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ถ้าต้องใช้ให้เลือกใช้ lorazepam,oxazepam,temazepam ไม่ควรใช้ ไดอะซีแปม Diazepam หรือ อัลพร้าโซแลม alprazolam
5. กลุ่มยาลดกรด ที่มีตัวยา aluminium hydroxide และ magnesium hydroxide ควรลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งของขนาดยาปกติ ใช้ในระยะเวลาสั้นๆไม่เกิน 3-5 วัน แต่ห้ามใช้ในผู้สูงวัยที่มีปัญหาไตเสื่อมระยะ 4-5 หรือผู้ที่ฟอกไตแล้ว หากจำเป็นต้องใช้ระยะยาว หรือใช้บ่อยๆ ควรเปลี่ยนไปใช้ ยาลดกรดที่มีตัวยา algenic จะเหมาะสมกว่า
การใช้ยาลดกรด omeprazole ควรมีการใช้ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่ควรใช้ติดต่อ กันนานเกิน 8 สัปดาห์
- กลุ่มยาทาสเตียรอยด์ ต้องระมัดระวังการใช้มากขึ้น ถ้าใช้สเตียรอยด์ที่มีความแรงสูงๆ เพราะจะมีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เพิ่มขึ้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ยาทาสเตียรอยด์ ความแรงต่ำๆก่อน ถ้าไม่ได้ผลค่อยเปลี่ยนเป็นความแรงที่สูงขึ้นที่ละขั้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาในผู้สูงอายุ
สรุป
สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากว่า 60 ปี กำลังเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัวและใช้ยาหลายขนาน ทำให้เพิ่มโอกาสเกิดปัญหายาตีกัน อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเนื่องจากความชรา ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างไปจากประชากรวัยอื่น มีความไวต่อการได้รับผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น และในผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดของร่างกายที่เริ่มชราภาพ เช่น การได้ยินลดลง อ่อนแรง กลืนลำบาก มองเห็นไม่ชัด ทำให้มีปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาและรักษาตามมา ไม่เพียงเท่านั้นข้อมูลยาเกี่ยวกับการใช้ในผู้สูงอายุยังมีการบันทึกอยู่น้อยมาก ดังนั้นการใช้ยาในผู้สูงวัย จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา