ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ

คนสูงอายุ

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีการใช้ยาปริมาณมากเมื่อเทียบกับประชากรวัยอื่นๆ ทั้งแบบที่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง และการหาซื้อยามารับประทานเอง จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับปัญหาจากยามากที่สุด

ลักษณะของผู้สูงอายุแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องสุขภาพค่อนข้างมาก ตั้งแต่สุขภาพแข็งแรงจนถึงเปราะบาง เจ็บป่วยง่าย และอาจถึงขั้นอยู่ในภาวะพึ่งพิงผู้ดูแล

จุดประสงค์ของการใช้ยาในผู้สูงอายุคือ เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค เพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ หรือทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น

คนแก่

สรุป

กระบวนการทางยาที่มีผลต่อการตอบสนองยาของผู้สูงอายุ

มี 4 ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  1. การดูดซึมยา Absorption  :  หมายถึง การดูดซึมยาจากบริเวณที่ให้ยาเข้าสู่กระแสเลือด  ซึ่งยาส่วนใหญ่ถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็ก
  2. การกระจายตัวของยา Distribution : หมายถึง ยาจะมีการกระจายไปยังบริเวณที่เลือดไปเลี้ยงมากก่อนเสมอ เช่น หัวใจ ตับ ไต สมอง  โปรตีนในเลือดที่เกี่ยวข้องกับการกระจายยามี 2 ชนิด คือ อัลบูมิน Albumin และ alpha-1-acid glycoprotein
  3. การเปลี่ยนแปลงยา Metabolism : หมายถึง การเกิดปฏิกิริยาเคมีของยาโดยอาศัยเอนไซม์ ทำให้ยานั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสูตรโครงสร้างทางเคมี กลายเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า metabolite อวัยวะที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงยาคือ ตับ
  4. การขับถ่ายยา Excretion : ยาถูกขับออกจากร่างกาย ได้ทางช่องทางต่อไปนี้ คือ ไต ปอด น้ำดี น้ำลาย เหงื่อ และน้ำนม

อ่านเพิ่มเติมที่ : หลักการใช้ยาในผู้สูงอายุ

สรีระ

ความเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายของผู้สูงวัยที่มีผลต่อการใช้ยา

ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มประชากรที่ต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความเสื่อมสภาพของสรีระร่างกายหลายอย่างส่งผลต่อการตอบสนองต่อยา เช่น

  1. มีการฝ่อตัวลงของเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้และการไหลเวียนเลือดที่ลำไส้ลดลง ซึ่งมีผลต่อการดูดซึมยาเข้าสู่ร่างกาย
  2. มีเนื้อเยื่อไขมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่วนของกล้ามเนื้อและปริมาตรน้ำในร่างกายลดลง ซึ่งจะมีผลต่อการกระจายตัวของยา
  3. เนื่องจากผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อยลงทำให้อาจมีภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งจะทำให้มีระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับยาเช่น อัลบูมินและไกลโคโปรตีนในเลือดลดลง ซึ่งจะมีผลต่อการกระจายตัวของยา
  4. ในผู้สูงอายุ ตับจะมีขนาดเล็กลง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงตับลดลง และมีกระบวนการเมตาโบลิซึมที่ตับลดลง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณยาที่จะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ การให้ยาในผู้สูงอายุต้องมีการปรับขนาดยาด้วย

อวัยวะ

5. ภาวะไตเสื่อมตามวัยในผู้สูงอายุ คือจะมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้มีผลต่อการกำจัดยาออกจากร่างกาย

6.การมีความเสื่อมของระบบประสาท ทำให้การตอบสนองต่อยาลดลง และความเสี่ยงต่อการได้ผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น

7.ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกทนต่ออาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น

8. ระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงวัย จะลดการสร้างแอนติบอดี้ แต่เพิ่มการสร้างภูมิต่อต้านต่อร่างกายตัวเอง จึงทำให้มีการตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนน้อยลง ทำให้การให้วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุจะต้องให้มากกว่าประชากรวัยเด็ก

9. ผิวหนังของผู้สูงอายุ จะบางลง มีชั้นไขมันลดลง ทำให้มีการดูดซึมยาผ่านทางผิวหนังเข้าไปในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น

ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  1. การใช้ยาหลายขนานเพื่อควบคุมอาการโรคเรื้อรังที่มากับความชราภาพ ซึ่งเพิ่มโอกาสของการเกิดยาตีกันสูงขึ้น โอกาสเกิดการแพ้ยามากขึ้น
  2. ความเสี่ยงจากการได้รับผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสรีระภายในร่างกาย
  3. ความร่วมมือในการใช้ยาลดลงเนื่องจากข้อจำกัดด้านสภาพทางกายภาพ เช่น การได้ยินลดลง อ่อนแรง กลืนลำบาก มองเห็นไม่ชัด การรับรสเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้
  • อ่านฉลากยาได้ไม่ชัดเจน
  • แยกสีเม็ดยาไม่ได้
  • แกะหยิบเม็ดยาลำบาก
  • หลงลืมกินยา
  • ใช้ยารูปแบบเคี้ยวไม่ได้
  • กลืนยาไม่ลง
  1. ข้อจำกัดด้านข้อมูลการใช้ยาในผู้สูงอายุ เพราะการวิจัยทางคลินิคในกระบวนการวิจัยและพัฒนายา ส่วนใหญ่จะคัดผู้สูงอายุออกจากการศึกษา ทำให้มีข้อมูลที่มีในเอกสารอ้างอิงต่างๆไม่ครอบคลุมถึงผู้ป่วยสูงอายุ

ดังนั้นการใช้ยาในผู้สูงวัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหลายชนิดโดยไม่จำเป็น  ควรเริ่มใช้ยาในขนาดยาที่ต่ำ ๆ ก่อน แล้วค่อยๆปรับขนาดยาเพิ่มขึ้น ถ้าไม่ได้ผล ตลอดจนควรหมั่นติดตามสังเกตการตอบสนองต่อยาทั้งในเรื่องผลการรักษาและผลข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ

สายตาไม่ดี

รายการยาเบื้องต้นที่ควรระมัดระวังการใช้ในผู้สูงอายุ

การหาซื้อยามาใช้ในผู้สูงวัย ควรมีการตระหนักการใช้ให้มากเป็นพิเศษในกลุ่มยาต่อไปนี้

  1. กลุ่มยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตตามอลทุกชนิด เพราะส่วนมากมีผลต่อไตสูง บางตัวจะทำให้ง่วงนอน และเกิดการเสพติดได้ง่าย การใช้ควรมีการปรึกษาเภสัชกรเท่านั้น
  2. กลุ่มยาแก้ปวดเกร็งในช่องท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน ควรมีการใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ใช้เท่าที่จำเป็น เพราะส่วนใหญ่จะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะลำบาก

ไข้หวัด

3. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก จาม ส่วนใหญ่ทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับกลุ่มยาในข้อสอง

4. กลุ่มยานอนหลับ ควรเริ่มใช้ในขนาดยาต่ำที่สุดก่อนเสมอ เพราะผู้สูงอายุมีความไวต่อการตอบสนองยากลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ถ้าต้องใช้ให้เลือกใช้ lorazepam,oxazepam,temazepam ไม่ควรใช้ ไดอะซีแปม Diazepam หรือ อัลพร้าโซแลม alprazolam

5. กลุ่มยาลดกรด ที่มีตัวยา aluminium hydroxide และ magnesium hydroxide ควรลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งของขนาดยาปกติ ใช้ในระยะเวลาสั้นๆไม่เกิน 3-5 วัน แต่ห้ามใช้ในผู้สูงวัยที่มีปัญหาไตเสื่อมระยะ 4-5 หรือผู้ที่ฟอกไตแล้ว  หากจำเป็นต้องใช้ระยะยาว หรือใช้บ่อยๆ ควรเปลี่ยนไปใช้ ยาลดกรดที่มีตัวยา algenic จะเหมาะสมกว่า

การใช้ยาลดกรด omeprazole  ควรมีการใช้ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น  ไม่ควรใช้ติดต่อ          กันนานเกิน 8 สัปดาห์

  1. กลุ่มยาทาสเตียรอยด์ ต้องระมัดระวังการใช้มากขึ้น ถ้าใช้สเตียรอยด์ที่มีความแรงสูงๆ เพราะจะมีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เพิ่มขึ้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ยาทาสเตียรอยด์ ความแรงต่ำๆก่อน ถ้าไม่ได้ผลค่อยเปลี่ยนเป็นความแรงที่สูงขึ้นที่ละขั้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาในผู้สูงอายุ

สรุป

สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากว่า 60 ปี กำลังเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัวและใช้ยาหลายขนาน ทำให้เพิ่มโอกาสเกิดปัญหายาตีกัน อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเนื่องจากความชรา ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างไปจากประชากรวัยอื่น  มีความไวต่อการได้รับผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น   และในผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดของร่างกายที่เริ่มชราภาพ เช่น การได้ยินลดลง อ่อนแรง กลืนลำบาก มองเห็นไม่ชัด ทำให้มีปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาและรักษาตามมา  ไม่เพียงเท่านั้นข้อมูลยาเกี่ยวกับการใช้ในผู้สูงอายุยังมีการบันทึกอยู่น้อยมาก  ดังนั้นการใช้ยาในผู้สูงวัย จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)

การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ

  • หายจากโรค
  • บำบัดหรือบรรเทาอาการโรค 
  • ชะลอหรือยับยั้งการดำเนินของโรค
  • ป้องกันโรค

โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด

สินค้าแนะนำ

แผนที่ที่ตั้งร้าน

ที่ตั้งร้านยา

ร้านยาของเรา

พันธมิตรของเรา

บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา

DKSH
ZPL
BIOPHARM
สยามฟาร์มา
ยูเนี่ยน
อ้วยอัน
วิทยาศรม
ทรูไลน์เมด
บริษัทชุมชน
สมุนไพรไทย
tnp

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า