จากการสำรวจการใช้ยาในสตรีไทยที่ตั้งครรภ์ พบว่าร้อยละ 22 ซื้อยากินเองในระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์ มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ เพราะว่ายาบางตัวจะก่ออันตรายหรืออาการไม่พึงประสงค์ต่อทารกในครรภ์ได้ ยกตัวอย่างดังนี้
- ยาที่ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาคลายวิตกกังวล ยานอนหลับ จะส่งผลต่อสติปัญญาและพัฒนาการของเด็ก
- แอลกอฮอลล์และยาลดความดันกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ Beta blocker จะส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าผิดปกติ
- ยารักษาสิว ไอโซเตตริโนอิน isotretinoin ทำให้เด็กมีความบกพร่องด้านกะโหลกศีรษะและใบหน้าผิดรูปได้
สารบัญ
- ช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์
- การแบ่งยาเป็นกลุ่มตามระดับความเสี่ยงที่จะเกิดกับทารกในครรภ์
- หลักการใช้ยาเบื้องต้นในสตรีระหว่างตั้งครรภ์
- สรุป
ช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์
หากนับวันที่อสุจิผสมกับไข่เป็นวันที่หนึ่งของการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาของการพัฒนาและเติบโตของทารกแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 Pre-embryonic period คือ ระยะตั้งแต่ไข่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิจนถึงวันที่ 17 หรือประมาณ 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่มีการแบ่งเซลล์ โดยยังไม่มีการแยกว่ากลุ่มเซลล์ใดจะพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่ออะไร
ผลของยาหรือสารเคมีที่แม่ได้รับต่อการตั้งครรภ์จะเป็นในลักษณะ all or none กล่าวคือ หากได้รับยาหรือสารเคมี ในขนาดที่สูงมากพอ จะเกิดการตายของตัวอ่อนที่กำลังเจริญอยู่ แต่หากว่าขนาดยาหรือสารเคมีต่ำกว่าขนาดที่ก่อให้เกิดพิษ การเจริญเติบโตของตัวอ่อนจะดำเนินต่อไปตามปกติ เพราะเซลล์ข้างเคียงสามารถสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทนได้
ช่วงที่ 2 Embryonic period คือ ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 18-วันที่ 56 หลังไข่ถูกผสม หรือประมาณสัปดาห์ที่ 3 ถึง สัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่กลุ่มเซลล์จะพัฒนาไปเป็นอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ตา แขน ขา อวัยวะสืบพันธุ์ชาย อวัยวะสืบพันธุ์หญิง
ช่วงนี้ตัวอ่อนจะมีโอกาสได้รับอันตรายจากยาและสารเคมีได้มาก หากยาที่แม่ได้รับมีผลต่อการพัฒนาอวัยวะระบบใด จะทำให้เกิดความพิการต่อตัวอ่อน
ช่วงที่ 3 Fetal period คือ ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 57 หลังไข่ถูกผสมถึงวันคลอด รวมแล้วเป็นเวลาตั้งครรภ์ทั้งหมดประมาณ 280 วัน ช่วงเวลานี้การสร้างอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว คงเหลือแต่เฉพาะการเจริญเติบโตและการพัฒนาระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆให้สมบูรณ์พร้อมทำงาน
ยาหรือสารเคมีที่มารดาได้รับเข้าสู่ร่างกายในช่วงนี้ จะทำให้เกิดความผิดปกติที่ไม่รุนแรง หรือเกิดความพิการเล็กน้อยบางตำแหน่ง เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ระดับสติปัญญาด้อยกว่าเด็กทั่วไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : การใช้ยาอย่างปลอดภัยในระยะตั้งครรภ์
การแบ่งยาเป็นกลุ่มตามระดับความเสี่ยงที่จะเกิดกับทารกในครรภ์
องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) กำหนดให้มีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาทุกชนิด และแบ่งความเสี่ยงของการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
- category A : เป็นกลุ่มยาที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในการใช้ระหว่างตั้งครรภ์
- category B : เป็นกลุ่มยาที่ค่อนข้างปลอดภัยและยังให้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง อนุญาตให้ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้
- category C : เป็นกลุ่มยาที่ยังไม่มีข้อมูลความเสี่ยงในสตรีตั้งครรภ์ แต่ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนความปลอดภัยมากพอ ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้จะใช้ในกรณีจำเป็นที่จะต้องใช้เท่านั้น และต้องมีการตรวจติดตามระมัดะวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
- category D : เป็นกลุ่มยาที่มีข้อมูลอันตรายต่อทารกในครรภ์ชัดเจน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ให้มากที่สุด เว้นไว้แต่เป็นกรณีจำเป็นต้องใช้อย่างไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
- category X : เป็นกลุ่มยาที่มีข้อห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์เด็ดขาดทุกกรณี เพราะก่ออันตรายถึงชีวิตทั้งต่อแม่และเด็กในครรภ์
หลักการใช้ยาเบื้องต้นในสตรีระหว่างตั้งครรภ์
อาการเจ็บป่วยในสตรีมีครรภ์ที่พบได้บ่อย และ การใช้ยาดูแลเบื้องต้นมีดังนี้
- อาการคลื่นไส้ อาเจียน ในสตรีตั้งครรภ์ พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 80 โดยเฉพาะใน 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
สามารถลดอาการได้ด้วยการจิบน้ำขิงอุ่นๆ การทานอาหารประเภทแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก จะช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง การทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยมื้อขึ้น อาจช่วยได้บ้าง
ถ้ามีอาการมาก จำเป็นเป็นต้องใช้ยา สามารถใช้ วิตามินบี 6 ทาน 1 เม็ด ก่อนอาหาร เช้า เที่ยง เย็น และ 2 เม็ดก่อนนอน ได้
- อาการปวดแสบยอดอก อาหารไม่ย่อย พบได้ร้อยละ 70 ในช่วงไตรมาศ 3-4 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกขยายตัวกดทับและเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดในกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมาและระคายเคืองหลอดอาหาร
การบรรเทาอาการ แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง เครื่องเทศ สุรา กาแฟ ไม่ทานอาหารใกล้เวลานอน และนอนหนุนหัวสูงขึ้น 6 นิ้ว
ถ้ามีอาการมาก จำเป็นต้องใช้ยา สามารถใช้ ยาลดกรดแอนตาซิด ยาลดกรดอัลจีนิค ยาลดกรดซูคัลเฟต
- อาการปวดศีรษะ พบได้มากกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้ ยาแก้ปวดพาราเซตตามอล paracetamol ได้ตลอดอายุครรภ์ ส่วนยาแก้ปวด โอบูโปรเฟน ibuprofen ใช้ได้ถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ไม่ควรใช้ในเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์
สำหรับอาการปวดหัวไมเกรน อาจใช้ยาแก้ปวดพวกทริปแทน triptan เช่น sumatriptan, eletriptan
- อาการตะคริวที่ขา พบได้มากในช่วงไตรมาศ 3-4 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากความไม่สมดุลย์ของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย สามารถทานแคลเซียมและแมกเนเซียม เสริมในระหว่างตั้งครรภ์ได้ การทาถูนวดด้วยครีมหรือน้ำมันร้อนๆ บริเวณที่เป็นตะคริว ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น สามารถช่วยบรรเทาอาการได้
- อาการติดเชื้อราและคันในช่องคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา candida albicans สามารถใช้ยาเหน็บช่องคลอดที่มีตัวยา โคไตรมาโซลclotrimazole รักษาได้
- อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากมดลูกขยายตัวไปกดทับท่อปัสสาวะ อาการคือ ปัสสาวะขัด ปวดหน่วงๆท้อง ถ้ามีอาการควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันที ไม่ควรปล่อยให้เป็นหลายวัน เพราะหากมีอาการรุนแรง เช่นมีไข้หนาวสั่น อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
- อาการหวัด เช่นมีน้ำมูกไหล จามคัดจมูก ไอมีเสมหะ มักเกิดในสตรีตั้งครรภ์ที่ร่างกายอ่อนแอ สามารถใช้ยา chlerpheniramine cpm. , loratadine , Cetirizine บรรเทาอาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกส่วนอาการไอแห้งๆไม่มีเสมหะ ใช้ ยาเด็กโตรเมโทรแฟน dextrometophan ได้ ส่วนอาการไอมีเสมหะ แนะนำให้ใช้ตัวยา Bromhexine ได้
- อาการท้องผูก เกิดจากการขยายตัวของมดลูกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุครรภ์ จะไปกดเบียดลำไส้ ทำให้การเคลื่อนตัวของลำไส้ลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการดูดซึมน้ำกลับจากกากอาหารในลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้อุจจาระของคนท้องมีลักษณะแห้ง และแข็ง ประกอบกับสตรีมีครรภ์มีการเคลื่อนไหวตัวน้อยลงด้วย
ยาระบายที่แนะนำให้ใช้ในคนท้อง คือ กลุ่มแลคตูโลส และ กลุ่มไฟเบอร์ ซึ่งไม่ดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีความปลอดภัยสูงต่อสตรีตั้งครรภ์ - อาการริดสีดวงทวารในคนท้อง เป็นอาการต่อเนื่องมาจากการท้องผูก และ มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระหว่งตั้งครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัว มีการเพิ่มขึ้นของน้ำในหลอดเลือดและแรงดันช่องท้อง
ยาที่แนะนำให้ใช้บรรเทาอาการในช่วงตั้งท้อง ควรใช้เป็นยาทาภายนอกสำหรับริดสีดวงทวาร ซึ่งมีส่วนประกอบของยาชาและยาลดการอักเสบ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : Drug in pregnancy and lactation
สรุป
มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่างในสตรีมีครรภ์ เช่น มีการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของน้ำ ไขมัน เลือดที่ไปเลี้ยงไต เอนไซม์ที่ตับ ดังนั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในคนท้องหรือสตรีตั้งครรภ์ จะใช้หลักการพิจารณาการใช้ยาโดยคำนึงถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเหล่านี้ และคุณสมบัติของยาด้วยเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งแม่และเด็กในครรภ์
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์
459 บาท399 บาทแนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
160 บาท100 บาทยาเบญจกูล
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก
อินอควา (หนัก 10กรัม)
ไบโอฟลอร์ผง
ไบโอฟลอร์แคปซูล
ฮีรูดอยด์ เอสเซ้นส์ (หนัก 110 กรัม)
ดราก้อนบลัด (หนัก 10-20-30 กรัม)
มาร์ คิดส์ โนส
255 บาท190 บาทแผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา