ถ้าเราสูดดมยาหม่องเป็นประจำจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
ยาหม่องจัดเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีการใช้กันมาเป็นเวลานานจนทำให้บางคนถึง กับต้องมียาหม่องติดตัวเพื่ออยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นยาสามัญประจำตัวไป
ยาหม่องที่มีอยู่ในท้องตลาดมีอยู่หลายยี่ห้อหลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่เป็นขี้ผึ้งหรือชนิดน้ำ ซึ่งส่วนประกอบในแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วส่วนประกอบในยาหม่องมักจะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) เช่น menthol, การบูร, อบเชย, สะระแหน่ เป็นต้น และนอกจากนี้ยาหม่องบางสูตรอาจมี mehtyl salicylate ผสมอยู่เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกด้วย
ข้อบ่งใช้ของยาหม่อง ได้แก่ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แมลงสัตว์กัดต่อย
ข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ยาหม่องเป็นระยะเวลานานนั้นยังไม่มีปรากฏ
ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารที่เป็นส่วนประกอบของยาหม่อง ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นระบุในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ของศูนย์ ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ ว่าอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกได้จากสารบางชนิดเช่น menthol
พบข้อมูลว่าหากสูดดมมากเกินไป(ไม่ได้ระบุไว้ว่ามากแค่ไหน) อาจทำให้เกิดอาการมึนงง สับสน มองเห็นภาพซ้อน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้และลดความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงและความเป็นพิษ ควรใช้ยาหม่องเมื่อจำเป็นเท่านั้น
ชื่ออื่นๆ / ชื่อท้องถิ่น เสลดพังพอนตัวผู้ พิมเสนต้น ทองระอา ช้องระอา ลิ้นงูเห่า (ภาคกลาง กรุงเทพ) ก้านชั่ว ค้นชั่ว (ตาก) เช็กเชเกี่ยม ฮวยเฮียะ แกโตว่เกียง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria lupulina Lindl.
ชื่อสามัญ Hop Headed Barleria
วงศ์ ACANTHACEAE
องค์ประกอบทางเคมี
สารออกฤทธิ์ในส่วนต่าง ๆ ของเสลดพังพอน มีดังนี้ Bataine, Scutellarein-7-Rhamnosyl glucoside และสารกลุ่ม Iridiod glycoside,เช่น Acetyl barlerin , Shanzhiside methyl ester.8-0-acetyl shanzhiside methyl ester., 6-0-acetylshanzhiside methyl ester.
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ฤทธิ์ลดการอักเสบ สาร iridoids 4 ชนิด จากเสลดพังพอนตัวผู้ คือ shanzhiside methyl ester (I), 8-O-acetyl-shanzhiside methyl ester (II), 6-O-acetylshanzhiside methyl ester (III) และ acetyl barlerin (IV) มีฤทธิ์ลดบวมที่ข้อเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan โดยมีลำดับการออกฤทธิ์ของสารจากมากไปน้อย คือ III > I > II> = IV
สารสกัดเมทานอลของส่วนเหนือดินของต้นเสลดพังพอนตัวผู้ มีฤทธิ์ลดการอักเสบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังในหนูแรท โดยไม่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีรายงานว่าสาร iridoids บางชนิดจากเสลดพังพอนตัวผู้มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านเริม สารสกัดน้ำจากใบไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง Herpes simplex virus type 2 (HSV2) ด้วยวิธีทดสอบ plaque inhibition assay และไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Herpes simplex virus type 1 (HSV1) ส่วนสกัดน้ำจากทั้งต้นที่ขนาดความเข้มข้นไม่เป็นพิษต่อเซลล์วีโร ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง HSV1 เช่นกัน
สารสกัดเมทานอลจากใบและกิ่ง เมื่อทดสอบด้วยวิธี plaque inhibition assay พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV2 จากผู้ป่วยโรคเริม แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV2 strain G ซึ่งเป็นสายพันธุ์มาตรฐาน เมื่อทดสอบด้วยวิธี yield reduction assay พบว่าสารสกัดดังกล่าวยับยั้งเชื้อ HSV2 strain G และเชื้อที่ได้จากผู้ป่วย
ฤทธิ์แก้ปวด เมื่อป้อนสารสกัดคลอโรฟอร์มจากส่วนเหนือดิน ขนาด 125-500 มก./กก. เข้าทางปากหนูถีบจักร พบว่าสามารถลดจำนวนของการบิดและยืดของลำตัวเมื่อถูกกระตุ้นโดยกรดอะเซติก ผลของสารสกัดจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ใช้ ลดช่วงเวลาของการเลียขาในระยะหลังของการทดสอบเมื่อถูกกระตุ้นโดยฟอร์มาลิน สารสกัดนี้ไม่มีผลต่อการทดสอบด้วยความร้อน จากผลของการทดลองแสดงว่าสารสกัดมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้เมื่อใช้ acetic acid หรือ formalin แต่ใช้ความร้อนไม่ได้ผล