หญ้าหนวดแมว
รางจืด

ยาสมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ

โดยการกระตุ้นให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น เพื่อให้สารพิษของเสียที่ตกค้างในร่างกายได้ขับออกมากขึ้นเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของร่างกาย เช่น รางจืด หญ้าหนวดแมว

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

รางจืด

รู้จักรางจืด
รางจืด เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (Acanthaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Thunbergia laurifolia Lindl." และยังมีอีกหลายชื่อ เช่น กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง
ยาเขียว น้ำแน่ รางเย็น ดุเหว่า ทิดพุด น้ำนอง

สารสำคัญในรางจืด : สารสำคัญที่พบในรางจืดประกอบด้วย

  • กลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol) ได้แก่ กรดฟีนอลิค (Phenolic acid) เช่น Gallic acid และ Caffeic acid ซึ่งมีฤทธิ์อนุมูลอิสระ protocatechuic acid
  • กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ได้แก่ apigenin และ apigenin glucoside โดยเฉพาะ apigenin ซึ่งเป็นสารสำคัญในรางจืดที่สามารถยับยั้งพิษของสารหนู

สรรพคุณของรางจืดที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

-บำบัดอาการติดยาเสพติด : รางจืดเป็นสมุนไพรอีกชนิดที่นิยมใช้รักษาอาการติดสุราและสารเสพติดต่าง ๆ มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากรางจืดช่วยกระตุ้นการปล่อยสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท เช่นเดียวกับยาเสพติด แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า

ด้วยผลการวิจัยที่พบว่ารางจืดมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งสารโดปามีนในสมอง ซึ่งเป็นกลไกที่มีบทบาทต่อการติดยา จึงมีการศึกษาพิสูจน์ว่าการบำบัดอาการติดยาด้วยรางจืดเป็นระยะเวลานานนั้นทำให้เสพติดเช่นเดียวกับการใช้ยาเสพติดหรือไม่ พบว่าการได้รับสารสกัดรางจืดไม่มีอาการเสพติดแสดงให้เห็น รางจืดจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการบำบัดการติดยาเสพติด

นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากการดื่มเหล้าได้อีกด้วย โดยจากการศึกษาพบเพิ่มเติมอีกว่า รางจืด มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยรางจืดจะมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยสามารถค่อยๆ ถอนพิษสุราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีกว่าการหักดิบ งดสุราเลยทันทีซึ่งจะส่งผลไม่ดีต่อผู้ป่วยโดยตรง

-ช่วยรักษาโรคผิวหนัง :ในปัจจุบัน ได้มีการยืนยันจากรายงานการศึกษาที่ระบุว่า รางจืด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสามารถต้านไวรัสโรคเริมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ได้มีการออกมาสนับสนุนให้มีการใช้รางจืดในการรักษาผดผื่นคัน เริม งูสวัด หรืออาการผิวหนังอักเสบอื่นๆ

ข้อแนะนำในการใช้รางจืดสำหรับล้างพิษ : เพื่อการล้างพิษควรรับประทานติดต่อกัน 7 - 10 วัน

ข้อควรระวัง :
ไม่ควรดื่มน้ำที่คั้นจากรางจืดนานติดต่อกันเกิน 30 วัน

หลักการรับประทานอย่างถูกต้องปลอดภัย :
เมื่อสรรพคุณของรางจืด คือ ยาถอนพิษ ตามคำแนะนำของแพทย์แผนไทยควรดื่มในความเข้มข้นน้อย และหลีกเลี่ยงการดื่มติดต่อกันทุกวัน ส่วนในกลุ่มที่รับประทานรางจืดแบบสกัดออกมาเป็นผงแคปซูล ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนาน 1 เดือน

หากมีโรคประจำตัว ก็ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาจากยาตีกัน

วิธีการรับประทาน :

-กรณียาชง รับประทานครั้งละ 2 - 3 กรัม โดยชงกับน้ำร้อน 100-200 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือเมื่อมีอาการ
-นำใบรางจืดที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปจำนวน 5-7 ใบ โขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำดื่ม หรือน้ำซาวข้าว จำนวน 250 ซีซี หรือคั้นน้ำรางจืด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 1 ครั้ง หรือรับประทานเมื่อมีอาการ
-นำรากที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป ขนาดรากเท่านิ้วก้อย ตัดความยาวเท่าที่มือจับ โขลกหรือฝนผสมกับน้ำสะอาด หรือน้ำซาวข้าว รับประทานครั้งละ 1 แก้ว (250 ซีซี) วันละ 1 ครั้ง หรือรับประทานเมื่อมีอาการ

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว หรือ Java tea
หญ้าหนวดแมว มีชื่อทางพฤกษศาสตร์คือ Orthosiphon aristatus Miq. สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ  สารสำคัญที่มีอยู่ใน Java tea จะเป็นแร่ธาตุ (minerals) ประมาณร้อยละ 12 ที่พบส่วนใหญ่คือโพแทสเซียม ซึ่งพบประมาณ 600-700 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของใบสด นอกจากนี้ ยังมีสารจำพวก Lipophilic flavones ประมาณร้อยละ 0.2 สารฟลาโวนเลาโวนเหล่านี้ได้แก่ nensetin, flavonol glycosides และยังพบสารซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ caffeic acid, inositol, betasitosterol, สารจำพวกซาโปนินและน้ำมันหอมระเหย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คือ ฤทธิ์ขับปัสสาวะโดยทำให้กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะหดตัว สามารถใช้กับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากหญ้าหนวดแมวสามารถลดความดันโลหิตลงและยังสามารถลดภาวะหลอดเลือดหดตัวได้ด้วย

นอกจากนี้ยังทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลงเพราะยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase จึงสามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยเบาหวานได้

หญ้าหนวดแมวสามารถขับกรดยูริกออกจากกระแสเลือด ลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริกได้อีกด้วย

วิธีใช้หญ้าหนวดแมว
ใช้ขับปัสสาวะ ทำได้โดยเอาใบแห้ง 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 750 ซีซี เหมือนชงชา แล้วนำมาดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวันนานประมาณ 1-6 เดือน จะช่วยทำให้ปัสสาวะใสและปัสสาวะได้คล่องขึ้น (การใช้ใบสดอาจจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่นได้ ควรใช้ใบตากแห้งจะดีที่สุด)

ข้อควรระวังการใช้หญ้าหนวดแมว
ใบของหญ้าหนวดแมวพบเกลือของโปแตสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต และหญิงมีครรภ์

ควรใช้หญ้าหนวดแมวหลังอาหารและค่อยๆ จิบกินในกรณีที่ใช้ครั้งแรกๆ เพราะหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ หากผู้ใช้กำลังกระหายน้ำและดื่มน้ำหญ้าหนวดแมวทั้งแก้วอาจทำให้น้ำตาลลดและเกิดอาการใจสั่นเพราะหิวได้

นอกจากนี้สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

หญ้าหนวดแมวแม้จะมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้จริง แต่ในการใช้แต่ละครั้ง ควรศึกษาให้ดีและอ่านข้อควรระวังและผลข้างเคียงให้ดีก่อนนำมาใช้ด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวผู้ใช้เอง

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า