พลูจีนอล

แสดง %d รายการ

ยาครีมสมุนไพร

โรคผิวหนังเป็นโรคเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและทุกฤดูกาล อย่างปัญหาผดผื่นคันต่างๆ และการใช้สมุนไพรรักษาก็สามารถแก้ปัญหาผิวหนังได้ ได้แก่ พญายอ พลู บัวบก

 


ไพลและพริก

ไพล 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr.

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ชื่ออื่นๆ ปูเลย (ภาคเหนือ) ,ว่านไฟ (ภาคกลาง) ,ว่านปอบ (ภาคอีสาน) , มิ้นสะล่าง (รัฐฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ

ส่วนเหง้าและน้ำมัน : รักษาอาการบวม ฟกช้ำและอักเสบ

 สารสำคัญที่ออกฤทธิ์

  • สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในไพล ได้แก่ เคอร์คิวมิน,น้ำมันระเหย, butadiene
  • สารออกฤทธิ์แก้ปวด ได้แก่ cassumunarins, but-3-en-l-ol 

ฤทธิ์ทางยาไพล

  • ฤทธิ์ลดการอักเสบ เมื่อทดลองนำครีมไพล (ไพลจีซาล) ที่มีส่วนผสมของน้ำมันไพลร้อยละ 14 ไปใช้ในผู้ป่วยข้อเท้าแพลง โดยให้ทาวันละสองครั้ง พบว่าสามารถลดการปวดบวมได้มากกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อใช้ไปได้ 4 วัน และมีการกินยาแก้ปวด (paracetamol) ในสองวันแรกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับไพลจีซาลสามารถงอข้อเท้าได้มากกว่ากลุ่มควบคุม 

         เมื่อนำน้ำมันไพลที่อยู่ในรูปของเจล (ไพลเจล) มาทดสอบ พบว่าไพลเจลสามารถลด การอักเสบของอุ้งเท้าหนูได้ โดยสามารถลดการบวมได้เทียบเท่ากับ piroxicam gel ทั้งยังลดความแดงและบรรเทาอาการปวดได้ด้วย

การทดสอบสาร phenylbutenoids ในไพลจำนวน 7 ชนิด ต่อการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการอักเสบ คือ cyclooxygenase-2 พบว่ามีสาร 4 ชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว เป็นสาร phenylbutenoid dimer 2 ชนิดและสาร phenylbutenoid monomer 2 ชนิด 

  • ฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ น้ำคั้นหัวไพลมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ และช่วยลดอาการปวด
  • ฤทธิ์แก้ปวด สาร (E)-4 (3',4'-dimethylphenyl) but-3-en-l-ol จากไพลมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดสอบในหนูแรท (10) และไพลเจลมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อใช้เป็นยาทาภายนอก

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

1. ไพลอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง และเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้
2. การใช้ครีมไพลห้ามใช้ทาบริเวณขอบตา เนื้อเยื่ออ่อน และบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด
3. ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตรและเด็กเล็ก

 

 

พริก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L.

พริก ภาษาอังกฤษ : Chili, Chilli Pepper แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ ๆ ที่มีรสอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum 

ถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว

พบสารแคปไซซิน (Capsaisin) ได้ในพริกแทบทุกชนิด
สารสำคัญที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน คือ แคปไซซิน (Capsaisin) พบได้ในพริกแทบทุกชนิด รวมทั้งในพริกไทยและขิง พริกกะเหรี่ยงจะมีสารแคปไซซิน มากกว่าพริกพันธุ์อื่นๆ และมีมากในส่วนรกของพริก มีโครงสร้างเป็น vanilly amide สารแคปไซซินออกฤทธิ์โดยทำให้เกิดการปลดปล่อยของสารซับสแตนซ์ พี (substance P) ซึ่งเป็นสารสื่อนำสัญญาณประสาท (Ncurotransmitter) ส่งผ่านความรู้ปวดจากเซลล์ประสาทไปยังสมอง หลังจากได้รับแคปไซซินซ้ำๆ จะทำให้สารนี้หมดไปจนไม่สามารถสื่อนำได้ อาการเจ็บปวดจะลดลง

เจลพริกคือแคปไซซินในรูปแบบเจล
องค์การเภสัชกรรมได้พัฒนา ตำรับเจลพริกโดยนำพริกกะเหรี่ยงของไทยมาสกัด แล้วผลิตในรูปแบบเจลที่สามารถรักษาคุณค่าของสารแคปไซซิน ให้มีความเข้มข้นร้อยละ ๐.๐๒๕ ได้และควบคุมกำจัดให้ปลอดจากเชื้อรวมทั้งสารปนเปื้อนอื่นๆ ภายใต้กระบวนการผลิตที่ได้รับรองมาตรฐาน GMP & ISO 90002 เหมาะสำหรับรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดแบบเรื้อรัง ปวดปลายมือ ปลายเท้า ปวดจากโรคงูสวัด ปวดจากโรคข้ออักเสบ และปวดแผลผ่าตัด (ใช้ทารอบแผลเท่านั้น) 

พลูและบัวบก

 พลู

ชื่อท้องถิ่น : พลูเหลือง, พลูทอง, พลูจีน (ทั่วไป), เปล้าอ้วน, ซีเก๊ะ , ซีเก๊าะ (ภาคใต้),กื่อเจี่ย (จีนแต้จิ๋ว), จวีเจียง (จีนกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :Piper betle Linn.

ชื่อสามัญ : Bettle Piper , Bettle leaf vine

วงศ์ : PIPERACEAE

ถิ่นกำเนิดพลู
พลูมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นในแถบเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ฯลฯ (แต่อีกตำราหนึ่งระบุว่าพลูมีต้นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย) โดยพบว่าพลูมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ทั่วโลก

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

  • ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial activity) : สารสกัดจากใบพลูที่สกัดด้วยน้ำ มีสารสำคัญคือ hydroxychavicol, fatty acid และ hydroxybenzenacetic acid มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Streptococcus mutans S, aureus, B. cereus, K. pneumonia และ E. coli
  • ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (Antifungal activity) : มีการศึกษาพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลจากใบพลูมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้หลายชนิดเช่น Colletotrichum capsici, Fusarium pallidoroseum, Botryodiplodia theobromae, Altemaria altemate, Penicilium citrinum, Phomopsis caricae-papayae และ Aspergillus niger 
  • ฤทธิ์การต้านอักเสบ (Anti-inflammatory activity) : การศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดที่ได้จากพลู พบว่าสารสกัดจากใบพลูอบแห้งทีสกัดด้วยเอทานอล 95% มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการอับเสบคือ allylpyrocatechol จะป้องกันการทำลาย kappa B inhibitor (IKB) มีผลยับยั้งการทำงานของ transcription ขึ้น ส่งผลให้มีการกระตุ้นการทำงานของ macrophage น้อยลง ทำให้เกิดการอักเสบลดลง
  • ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radlcal scavenging activity) : จาการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบพลูมีผลในการยับยั้งการเกิดกระบวนการ lipid peroxidation ที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยรังสีแกมมา และมีผลทำให้ปริมาณของ glutathione เพิ่มขึ้น ซึ่ง glutathione มีส่วนสำคัญในกระบวนการ detoxification โดยจะไปทำการควบคุมและรักษาระดับของปฏิกิริยา redox และ thiol homeostasis ในตับ ซึ่งมีผลในการควบคุมการเกิดปฏิกิริยา cellular oxidative และยังพบว่าสารสกัดใบพลูมีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซน์ superoxide dismutase (SOD) แต่ในทางตรงกันข้ามพบว่า การทำงานของเอนไซน์ catalase ลดลง 
  • ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน (lmmunomodulating Activity) : จากการศึกษาพบว่าสารสกัดพลูด้วยเอทานอล มีผลลดการหลั่ง histamine และ GM-CSF ซึ่งเป็นผลมาจากการกระตุ้นของ lgE ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยา hypersensitive อย่างมีนัยสำคัญ และสารสกัดพลูจากเอทานอลยังมีผลในการยับยั้งการหลั่ง eotaxin และ IL-8 ซึ่งมาจากจากการกระตุ้นของ TNF-αและ IL-4 ในปฏิกิริยา allergic reaction นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากพลูมีผลต่อการกระบวนการ phagocytosis ของ macrocytes ในหนูถีบจักร และน้ำมันหอมระเหยจากพลูยังมีผลต่อการเพิ่มจำนวนของ lymphocytes จากม้าม ไขกระดูก ด้วย

บัวบก

ชื่อสามัญ : Gotu kola

บัวบก : ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (L.) Urb. 

วงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE

ใบบัวบกประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลักที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่หลายชนิด เช่น

  • ซาโปนิน (Saponin) หรือ
  • ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids)
  • เอเชียติโคไซด์ (Asiaticoside)
  • กรดเอเชียติก (Asiatic Acid)
  • มาเดแคสโซไซด์ (Madecassoside) 
  • กรดมาดีคาสสิค (Madecassic Acid)

มีความเชื่อว่าหากใช้ใบบัวบกทาที่ผิวหนังอาจช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสมานบาดแผล ลดเลือนรอยแผลเป็น รวมถึงปัญหาท้องลายที่มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์

แผลเบาหวาน มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการรับประทานสารสกัดจากใบบัวบกต่อแผลเบาหวาน โดยแบ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 200 คนออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งรับประทานสารเอเชียติโคไซด์ซึ่งเป็นสกัดจากใบบัวบกขนาด 50 มิลลิกรัม และอีกกลุ่มรับประทานยาหลอกจำนวน 2 แคปซูลหลังมื้ออาหารวันละ 3 ครั้ง และมีการประเมินผลทุก 7 วัน

พบว่าแผลของผู้ป่วยที่รับประทานสารสกัดจากใบบัวบกมีการหดรั้ง (Wound Contraction) ที่ดีกว่าและไม่พบผลข้างเคียง หรือกล่าวได้ว่าสารสกัดจากใบบัวบกอาจมีประสิทธิภาพในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยโดยไม่เกิดผลข้างเคียง 

การนำบัวบกมาใช้เป็นยาภายนอก
รักษาแผล ทำความสะอาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อก่อนทาครีมที่มีสารสกัดจากบัวบกสด 7 % โดยน้ำหนัก ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 – 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง หากใช้แล้วไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ให้หยุดใช้ สำหรับการเก็บรักษาครีมใบบัวบก ควรเก็บไว้ในที่เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส

บำรุงผิวหน้า ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสารสกัดใบบัวบกหลายชนิด เช่น ครีมทาหน้า มาสก์พอกหน้า เป็นต้น จึงแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มากกว่าการเก็บ หรือซื้อใบบัวบกที่อาจมีสารปนเปื้อนมาใช้งานเอง

 

บทความล่าสุด

ยาถ่ายพยาธิ

การใช้ยาถ่ายพยาธิ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่อยู่ในร่างกาย พยาธิจัดเป็นปรสิต (parasite) &

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า