เพชรสังฆาต
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cissus quadrangularis Linn.
ชื่อวงศ์ :Vitaceae
ชื่ออื่นๆ :สันชะฆาต ขันข้อ(ราชบุรี) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์) สันชะควด (กรุงเทพฯ)
เถาของเพชรสังฆาตมีองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้
- natural plant steroids (ketosterones): onocer-7-ene-3 alpha, 21 beta-diol, delta-amyrin, delta-amyrone และ 3,3',4,4'- tetrahydroxybiphenyl
- สารกลุ่ม stilbene: quadrangularins A, B, C, resveratrol, piceatannol, pallidol , parthenocissine A.
- สารในกลุ่ม flavonoids เช่น diosmin, hisdromin, hesperidin.
- ascorbic acid (vitamin C)
- lupeol
- carotene
- calcium oxalate.
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ในอดีตการใช้เพชรสังฆาตรักษาริดสีดวงทวารหนักจะทำ โดยนำ เถาสดใส่กล้วยหรือมะขามแล้วกลืน เนื่องจากเพชรสังฆาตมีแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) การกลืนเถาสดอาจเกิดการระคายเคืองทางเดินอาหารได้
ต่อมาได้มีการนำ เพชรสังฆาตมาผลิตให้อยู่ในรูปแบบแคปซูลเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารยาโดยในรูปยาผงบรรจุแคปซูล 250 มิลลิกรัม ให้รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 5-7 วัน
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
การรับประทานเพชรสังฆาตสด อาจทำให้เกิดอาการระคายคอ ระคายเยื่อบุในปาก เนื่องจากเถาสดมีผลึกแคลเซียมออกซาแลตอยู่มาก
ห้ามรับประทานติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์เพราะอาจก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคไตห้ามรับประทาน
การใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการใช้เสมอ เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะน้อย แน่นท้อง เป็นต้น
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ผลต่อแรงตึงตัวของหลอดเลือดดำ :
สารสกัดเพชรสังฆาตมีฤทธิ์กระตุ้นหลอดเลือดดำ ให้มีความตึงตัวเพิ่มขึ้น คล้ายกับส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ ไดออสมิน 90% และฮิสเพอริดิน 10% ที่พบในตำรับยาแผนปัจจุบัน สำหรับใช้รักษาริดสีดวงทวาร
ฤทธิ์ต้านการอักเสบเฉียบพลัน :
ผลการทดลองในหนู 2 การศึกษา สารสกัดเพชรสังฆาตใด้วยเมธานอลและเฮกเซน สามารถยับยั้งการบวมของใบหู และการบวมของอุ้งเท้าของหนูขาวได้ ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี ตรวจพบองค์ประกอบทางเคมีของสาร lupeol ในสารสกัดเฮกเซน
การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของการใช้สมุนไพรเพชรสังฆาตในผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร ระยะเฉียบพลัน จำนวน 570 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่ได้รับยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์ (Daflon 500 มก./เม็ด)
- กลุ่มที่ได้รับสมุนไพรเพชรสังฆาต (500 มก./เม็ด)
- กลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในช่วง 4 วันแรก
ให้รับประทานครั้งละ 3 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร และช่วง 3 วันหลัง ได้รับครั้งละ 2 เม็ด เช้าและเย็น หลังอาหาร ในทั้ง 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการต่างๆ คือ เลือดออกทางทวารหนัก เมือก อาการคัน รอยแดง หรืออักเสบรอบทวารหนัก
การประเมินผล ทำโดยการสัมภาษณ์เพื่อสอบถามอาการ รวมทั้งมีการตรวจเลือดและติดตามผลข้างเคียงของการได้รับยาหรือสมุนไพรควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยในทุกกลุ่มส่วนใหญ่อาการเลือดออกเฉียบพลันจะหยุดในวันที่ 2 ของการให้ยา และมีอาการดีขึ้นหลังการให้ยาครบ 7 วัน ประสิทธิผลของการรักษาในผู้ป่วยทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น
สรุปได้ว่าเพชรสังฆาตให้ผลในการรักษาริดสีดวงทวารในระยะเฉียบพลันได้ไม่แตกต่างจากยาที่มีส่วนผสมของฟลาวานอยด์และยาหลอก
อีก 1 การศึกษา ประโยชน์ของเพชรสังฆาตในเรื่องการรักษาโรคริดสีดวงทวารในมีงานวิจัยของ พ.ญ. ดวงรัตน์ญ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่าง ดาฟลอน (Daflon) โดยผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และที่สำคัญยังพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย
ผลการวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทน