ขิง
ชื่ออื่นๆ : ขิงแดง , ขิงแกลง (จันทบุรี) ขิงบ้าน , ขิงแครง , ขิงป่า , ขิงเขา , ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) , ขิงเผือก (เชียงใหม่) , สะแอ (แม่ฮ่องสอน-กระเหรี่ยง) , เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe.
ชื่อพ้อง : Ginger
ชื่ออังกฤษ : Cultivated banana
วงศ์: Zingiberaceae
เหง้าขิง พบ Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol
น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol
ลำต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol
ใบ พบ Shikimic acid
ขิงมีน้ำมันระเหยง่าย เช่น Zingiberol, Zingiberene, Phellandrene, Camphene, Citral, Linalool, Methylheptenone, Nonyl aldehyde-Borneol
อนุพันธ์ของ gingerol, shogaol และ diarylheptanoids มีฤทธิ์ต้านการอาเจียน และช่วยขับลม นอกจากนี้สารในน้ำมันหอมระเหย เช่น menthol, cineole มีผลลดอาการจุกเสียดได้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- ยาแก้อาเจียน
-ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม
-นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม - ยาขมเจริญอาหาร
ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัมผงแห้งชงกับน้ำดื่ม
- แก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดและปวดท้อง
- น้ำกระสายขิง น้ำขิง 30 กรัม มาชงด้วยน้ำเดือด 500 ซีซี ชงแช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง กรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
- ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย
- ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ
- ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม - แก้ไอและขับเสมหะ
ใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือ ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
- อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือเอดส์
สรรพคุณบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนของขิงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคนี้ที่มักได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรค โดยจากการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 102 คน แบ่งให้
- กลุ่มหนึ่งรับประทานขิง 500 กรัม
- กลุ่มรับประทานยาหลอก
ทั้ง 2 กลุ่มทานยาวันละ 2 ครั้ง ในช่วง 30 นาทีก่อนจะได้รับยารักษาโรคเอดส์อย่างยาต้านรีโทรไวรัส เป็นเวลาทั้งหมด 14 วัน พบว่าขิงช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีได้
2. อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากการผ่าตัด
ขิงอาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากการผ่าตัดได้เช่นเดียวกัน โดยการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ชี้ว่าการรับประทานขิง 1-1.5 กรัม ในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดนั้นดูเหมือนจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง 24 ชั่วโมงหลังได้รับการผ่าตัด
งานวิจัยหนึ่งทดลองแบ่งคนไข้จำนวน 122 คนที่รับการผ่าตัดต้อกระจกให้รับประทานแคปซูลขิง 1 กรัม และอีกกลุ่มได้รับแคปซูลขิง 500 มิลลิกรัม แต่แบ่งให้ 2 ครั้งก่อนผ่าตัด ซึ่งผลลัพธ์พบว่าคนไข้ในกลุ่มหลังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยครั้งและมีความรุนแรงของอาการน้อยกว่า โดยงานวิจัยนี้พบว่าการใช้ขิงนั้นน่าจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานเป็นประจำและสม่ำเสมอโดยแบ่งปริมาณการใช้
3.อาการแพ้ท้อง
การรับประทานขิงอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือเวียนศีรษะ ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ช่วยยืนยันคุณสมบัตินี้เป็นการทดลองในหญิงที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 20 สัปดาห์ จำนวน 120 คน ซึ่งเผชิญอาการแพ้ท้องทุกวันนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และไม่รู้สึกดีขึ้นแม้จะเปลี่ยนการรับประทานอาหารแล้วก็ตาม หลังจากรับประทานสารสกัดจากขิง 125 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับขิงแห้ง 1.5 กรัม วันละ 4 ครั้ง 4 วัน ผลลัพธ์ได้แสดงให้เห็นว่าขิงอาจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะการรักษาทางเลือกต่ออาการแพ้ท้องได้
นับว่าสอดคล้องกับอีกงานวิจัยก่อนหน้าที่ชี้ว่าการรับประทานขิง 1 กรัมต่อวัน ติดต่อนาน 4 วัน สามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องได้
4. อาการวิงเวียนศีรษะ
อาการที่เกิดขึ้นพร้อมกับการคลื่นไส้นี้อาจบรรเทาให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้คุณประโยชน์จากขิง จากงานวิจัยที่ทดลองด้วยการให้ผู้ที่มีอาการบ้านหมุน และตากระตุกจากการกระตุ้นโดยใช้อุณหภูมิรับประทานผงเหง้าขิง ปรากฏว่าเหง้าขิงช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก แต่ไม่ได้ช่วยลดระยะเวลาหรือชะลอการกระตุกของตามากนัก
5. โรคข้อเสื่อม
มีการศึกษาบางงานที่ชี้ว่าขิงอาจมีสรรพคุณลดอาการเจ็บที่เกิดจากโรคข้อเสื่อม จากการทดลองหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากขิงชนิดหนึ่ง (Zintona EC) ในปริมาณ 250 กรัม วันละ 4 ครั้ง พบว่าช่วยลดอาการปวดข้อเข่าหลังจากการรักษาเป็นเวลา 3 เดือน ส่วนอีกงานวิจัยที่ใช้สารสกัดจากขิงผสมกับข่า พบว่าให้ผลลัพธ์ในการช่วยลดอาการเจ็บขณะยืน อาการเจ็บหลังเดิน และอาการข้อติด
นอกจากนี้ มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างขิงและยาแก้ปวด โดยให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบในกระดูกสะโพกและข้อเข่ารับประทานสารสกัดขิง 500 มิลลิกรัมทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ขิงให้ผลบรรเทาอาการปวดได้เทียบเท่ากับการใช้ยาไอบูโพรเฟน 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง
ยังมีงานวิจัยที่แนะนำว่าการนวดด้วยน้ำมันที่มีส่วนผสมของขิงและส้มอาจช่วยบรรเทาอาการปวดและเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ ของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเข่าได้ด้วย
6. อาการปวดประจำเดือน มีการทดลองในนักศึกษามหาวิทยาลัย 120 คน โดยให้รับประทานผงเหง้าขิงครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งในช่วง 2 วันก่อนเริ่มมีประจำเดือนต่อเนื่องไปจนถึง 3 วันแรกของการมีประจำเดือน รวมทั้งหมดเป็น 5 วัน พบว่าผงเหง้าขิงมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้อย่างมีนัยสำคัญ
ด้านการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของขิงและยาลดอาการปวดประจำเดือนอย่างเมเฟนามิค (Mefenamic acid) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 400 มิลลิกรัม ในอาสาสมัคร 150 คน โดยแบ่งกลุ่มรับประทานแคปซูลขิงหรือยาแต่ละชนิดในปริมาณ 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน โดยเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือน ผลลัพธ์ปรากฏไปในทิศทางเดียวกันกับงานวิจัยแรก คือ ขิงมีประสิทธิภาพบรรเทาความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนไม่แตกต่างกับการใช้ยาเมเฟนามิคหรือไอบูโพรเฟน
การรักษาที่อาจไม่ได้ผล
อาการเมารถและเมาเรือ นับเป็นสรรพคุณของขิงที่มีการกล่าวถึงกันมาก ทว่าแม้ขิงอาจจะช่วยลดอาการวิงเวียนได้ แต่สำหรับการวิงเวียนคลื่นไส้ที่เกิดจากการเดินทางนั้น งานวิจัยส่วนมากระบุว่าขิงอาจไม่มีส่วนช่วยได้จริง เช่น การแบ่งกลุ่มให้นักเรียนนายเรือ 80 คนที่ไม่คุ้นเคยกับการออกเรือท่ามกลางทะเลที่มีคลื่นแรง รับประทานเหง้าขิง 1 กรัม เทียบกับอีกกลุ่มที่รับประทานยาหลอก ปรากฏว่ากลุ่มที่รับประทานขิงนั้นมีอาการคลื่นไส้และวิงเวียนน้อยลงจริงแต่อยู่ในระดับเล็กน้อยเท่านั้น หรือ
อีกงานวิจัยที่ชี้ว่าการรับประทานผงขิงในปริมาณ 500 กรัม 1,000 กรัม หรือเหง้าขิงสด 1,000 มิลลิกรัม ต่างไม่มีส่วนช่วยในการป้องกันอาการเมารถหรือการทำงานของกระเพาะอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการเมารถที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแต่ประการใด