ปวดท้อง
เด็กท้องเสีย

ยาแก้ท้องเสีย

ท้องเสีย คือ อาการถ่ายอุจจาระเกินกว่าวันละสามครั้ง หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่าเนื้อ หรืออาจจะถ่ายเป็นมูกเลือด ผู้ที่ป่วยจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหาร หรือน้ำได้อย่างเหมาะสม

 

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

ท้องเสียในเด็กเล็ก

ยืดตัว” กับท้องเสีย

ธรรมชาติของเด็กภายในขวบปีแรกจะมีพัฒนาการของร่างกายจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำ 
คืบ, นั่ง, ยืน, เดิน ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องท้องเสียเลย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคิดว่าการยืดตัวทำให้เกิดท้องเสีย

วิธีสังเกตอาการเมื่อทารกท้องเสีย

อาการท้องเสียของทารกอาจสังเกตได้ยาก แต่หากพบว่าลูกน้อยขับถ่ายมากกว่าปกติและอุจจาระมีลักษณะเหลวผิดปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าทารกมีอาการท้องเสีย นอกจากนั้น อาจพบว่าอุจจาระมีมูกหรือเลือดปนออกมา หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติด้วย ซึ่งแม้อาการท้องเสียในทารกจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้และไม่น่ากังวลเท่าใดนัก แต่หากทารกท้องเสียต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 วัน ก็อาจทำให้ร่างกายเด็กสูญเสียของเหลวและเกลือแร่จำนวนมากจนอาจเกิดภาวะขาดน้ำตามมาได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารก

สาเหตุที่ทำให้ทารกท้องเสีย

อาการท้องเสียของทารกอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัส

ช่น ไวรัสโรตา ไวรัสอะดิโน ไวรัสโนโร ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น และปวดเมื่อยตามร่างกายได้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย

เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลา สแตฟิโลค็อกคัส แคมปีโลแบคเตอร์ อีโคไล เป็นต้น ซึ่งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้ทารกท้องเสียอย่างรุนแรง และอาจทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย

  • การติดเชื้อที่หู

อาจเกิดขึ้นได้จากทั้งเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ทารกมีอาการท้องเสียร่วมกับคลื่นไส้ เบื่ออาหาร เป็นหวัด และอาจสังเกตเห็นว่าทารกจับหรือดึงหูของตนเองบ่อยครั้ง

  • การติดเชื้อปรสิต เชื้อไกอาเดีย

ที่อาศัยอยู่ในลำไส้อาจทำให้ทารกท้องเสีย อุจจาระเป็นไข ท้องอืด หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ

เกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีที่ทารกต้องรับประทานยาเองหรือคุณแม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะในช่วงให้นมบุตร ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกมีอาการท้องเสียในช่วงระหว่างที่รับประทานยาหรือหลังจากใช้ยาจนครบตามที่แพทย์กำหนดแล้ว โดยอาจเป็นผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะโดยตรง หรือเกิดจากฤทธิ์ของยาที่ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียที่เป็นมิตรต่อลำไส้ถูกกำจัดออกไปด้วย หากคาดว่าทารกท้องเสียเนื่องจากสาเหตุนี้ คุณแม่หรือทารกไม่ควรหยุดใช้ยาเอง แต่ควรไปปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

  • การดื่มน้ำผลไม้ปริมาณมาก

โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรักโทสสูงหรือประกอบด้วยน้ำตาลซอร์บิทอล รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและอาจมีอาการท้องเสียตามมาได้

  • การแพ้โปรตีนจากนมวัว

ทารกที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี ไม่ควรดื่มนมวัว นมผง หรืออาหารเด็กที่ทำจากนมวัว นอกจากนี้้ ในบางครั้งหากคุณแม่ดื่มนมวัวหรือรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัวก็อาจทำให้ทารกที่ดื่มนมแม่เกิดอาการแพ้โปรตีนจากนมวัวได้เช่นกัน โดยอาจส่งผลให้ทารกท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด อาเจียน หรือมีผื่นขึ้นตามร่างกาย

  • การแพ้อาหาร

เช่น ไข่ ถั่ว ถั่วเหลือง ธัญพืช ปลา หอย อาหารทะเล เป็นต้น โดยอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นในทันทีหรือหลังจากรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไปสักพักแล้ว เป็นเหตุให้มีอาการท้องเสีย อุจจาระเป็นเลือด ปวดท้อง และมีแก๊สในกระเพาะอาหาร ในรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจมีผื่นคันขึ้นตามร่างกายหรือหายใจลำบาก นอกจากนี้ ทารกบางรายอาจมีอาการแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) อย่างการแพ้น้ำตาลแล็กโทส ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในทารก และมักมีอาการบ่งชี้ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

 

  • การได้รับสารพิษ

รวมถึงสารเคมี สารจากพืช ยา หรือของเล่นต่าง ๆ ที่ไม่ควรนำเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้ทารกท้องเสีย คลื่นไส้ หายใจไม่ออก ชัก หรือหมดสติได้

ทำอย่างไรเมื่อทารกท้องเสีย 

  1. ให้ดื่มผงเกลือแร่ เพราะอาการท้องเสียอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ในร่างกายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมา หากลูกน้อยไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วย คุณแม่จะยังสามารถให้ทารกดื่มนมแม่หรือนมผงได้ตามปกติ แต่หากทารกอาเจียนและไม่สามารถดื่มนมได้ แพทย์อาจให้เด็กดื่มสารละลายอิเล็กโทรไลต์สำหรับทารก
  2. งดของหวาน เช่น โซดา น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ รวมถึงเยลลี่หรือขนมหวานต่าง ๆ เป็นต้น เพราะน้ำตาลอาจทำให้อาการท้องเสียของทารกแย่ลงกว่าเดิม
  3. เปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำ เพื่อลดการอับชื้นที่อาจเป็นเหตุให้ก้นของลูกน้อยเป็นผื่นและเกิดการระคายเคือง ทั้งยังช่วยลดอาการก้นแดงจากการท้องเสียอยู่บ่อยครั้ง
  4. โอบกอดเบา ๆ บางครั้งอาการท้องเสียอาจทำให้ทารกไม่สบายตัวและงอแง ดังนั้น การกอดอาจช่วยให้เจ้าตัวน้อยงอแงน้อยลงได้

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

ทารกที่ท้องเสียอาจมีอาการนานตั้งแต่ 5-14 วัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเฝ้าดูลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากทารกมีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ควรพาเด็กไปพบแพทย์ รวมถึงในกรณีที่พบว่ามีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย

  • อาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อย ร้องไห้แล้วไม่มีน้ำตา ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ตาโหล หรืออ่อนเพลีย เป็นต้น
  • อาเจียนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากให้ดื่มผงเกลือแร่ละลายน้ำ
  • อุจจาระเป็นมูก มีกลิ่นเหม็นเน่า
  • อุจจาระเป็นเลือดหรือมีสีดำ
  • ท้องเสียอย่างรุนแรงในช่วงที่รับประทานยาปฏิชีวนะ
  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

ป้องกันโรคท้องเสียอย่างไร

  1.  การรักษาความสะอาดเพียงพอ ไม่ให้เชื้อโรคเข้าปาก
  2. ผู้เลี้ยงเด็กต้องหมั่นล้างมือทุกครั้ง ก่อนจะหยิบจับอาหารหรือชงนมให้เด็กที่กินนมผสม รวมทั้งขวดนม,จุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันทีและฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย 10-15 นาที
  3. ควรชงนม ในปริมาณที่กินหมดในครั้งเดียว ถ้ายังกินไม่หมดควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชม. 
  4. ในเด็กโตที่กินอาหารอื่นต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ มีภาชนะปิด ทำความสะอาด ภาชนะที่ใส่เช่น จาน, ชาม, ช้อนและอย่าลืมล้างมือให้เด็กบ่อยๆ เพราะในวัยนี้จะชอบเอาของและมือตัวเองเข้าปากก็จะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าตัวเองด้วย ของเล่นที่สามารถล้างทำความสะอาดได้ก็ควรนำไปล้างแต่บางชนิดที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ก็ควรทิ้งหรือเปลี่ยนใหม่
  5. ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับ “โรต้าไวรัส” ซึ่งเป็นเชื้อที่พบเป็นสาเหตุของท้องเสียในเด็ก ได้มากที่สุดโดยเฉลี่ยประมาณ 40% ของเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุทั้งหมดโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กเล็ก (3 เดือน-2 ปี)โดยพบอุบัติการณ์สูงสุดในประเทศไทยในช่วงปลายปีตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์

สำหรับวัคซีนโรต้าไวรัส เป็นวัคซีนชนิดกินให้ทั้งหมด 2-3 ครั้งแล้วแต่บริษัท โดยควรเริ่มต้นให้ครั้งแรกที่อายุไม่เกิน 15 สัปดาห์และครั้งที่ 2 หรือ 3 ไม่เกิน 32 สัปดาห์สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการตดิเชื้อได้ท้้งหมด 

การป้องกันโรคท้องเสียดีที่สุด คือการให้เด็กกินนมแม่ในช่วงอายุ 6 เดือนแรกควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวเพราะ “สะดวก สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” รวมทั้งได้รับภูมิต้านทานโรคต่างๆ ซึ่งมีเฉพาะในนมแม่นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างและเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกด้วยการดูดนมจากเต้าโดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด

น้ำเกลือโออาร์เอส

หากท่านรู้สึกอ่อนเพลียจากการสูญเสียน้ำเนื่องจากท้องเสีย อาเจียนหรือจากการออกกำลังกาย การดื่มเกลือแร่มักเป็นตัวเลือกหนึ่งที่หลายๆ ท่านนึกถึงสำหรับทดแทนน้ำที่สูญเสียไป แต่ทราบหรือไม่ว่าการเลือกดื่มเกลือแร่ทดแทนให้เหมาะสมกับสภาวะของร่างกายนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

เกลือแร่คืออะไร
“เกลือแร่” คือ แร่ธาตุที่ช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำและแร่ธาตุต่างๆ มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มพลังงาน แร่ธาตุและน้ำในร่างกาย โดยในแต่ละวันร่างกายต้องการเกลือแร่ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเพื่อทำให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างเป็นปกติ

ชนิดของเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีอะไรบ้าง
ชนิดของเกลือแร่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามความต้องการของร่างกาย ดังนี้

1. เกลือแร่หลัก(Macro minerals)
กลุ่มของแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100มิลลิกรัมขึ้นไปเช่น แคลเซียม,ฟอสฟอรัส,โพแทสเซียม,แมกนีเซียม, โซเดียม ,กำมะถัน และคลอไรด์

2. เกลือแร่รอง(Trace minerals)
กลุ่มของแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม แต่แร่ธาตุกลุ่มนี้ก็ยังคงมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เช่น เหล็ก,สังกะสี,ซีลีเนียม,ทองแดง ,ไอโอดีน,โคบอลท์,ฟลูออไรด์  เป็นต้น

เกิดอะไรขึ้น...หากขาดสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
การขาดสมดุลเกลือแร่สามารถพบได้ในคนที่สูญเสียน้ำในร่างกายมาก เช่น เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย อาเจียนหรือท้องเสีย เป็นต้น หากร่างกายเสียสมดุลเกลือแร่ในปริมาณมาก อาจมีอาการแสดงเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงจนก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ตัวอย่างอาการแสดงต่าง ๆ ได้แก่ ไม่มีแรง ปากแห้ง ปากซีด ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยผิดปกติ หรืออาจถึงขั้นหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น
ดังนั้น การชดเชยการสูญเสียน้ำโดยการรับประทานเกลือแร่ทดแทน เพื่อป้องกันการเสียสมดุลเกลือแร่ในร่างกายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง

เกลือแร่ทดแทน มีกี่ประเภท
เกลือแร่ทดแทนเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย มี 2 ประเภท แตกต่างกันจากสัดส่วนของแร่ธาตุและน้ำตาลที่บรรจุในผลิตภัณฑ์ ดังนี้

  1. เกลือแร่สำหรับผู้ป่วยท้องเสีย (Oral Rehydration Salt , ORS) จัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใช้สำหรับการชดเชยการสูญเสียน้ำจากการอาเจียน หรือท้องเสีย ผลิตภัณฑ์มักอยู่ในรูปแบบผงบรรจุซอง เพื่อนำไปละลายน้ำแล้วดื่ม มีปริมาณเกลือแร่ เช่น โซเดียม (Sodium) เป็นหลัก

 

     2.เกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (Oral Rehydration Therapy , ORT) จัดเป็นอาหารและเครื่องดื่มใช้สำหรับชดเชยการสูญเสียน้ำภายหลังการออกกำลังกายเท่านั้น ผลิตภัณฑ์มักอยู่ในรูปแบบเครื่องดื่มพร้อมดื่มบรรจุขวด มีปริมาณน้ำตาล เช่น กลูโคส (Glucose) เป็นหลัก

เกลือแร่ทั้ง 2 ชนิดสามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่
“ไม่แนะนำ” ให้ผู้ที่มีอาการท้องเสียดื่มเกลือแร่ทดแทนสำหรับการออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายจะสูญเสียน้ำและแร่ธาตุอย่างฉับพลันจากภาวะท้องเสียหรืออาเจียน ซึ่งควรได้รับการทดแทนในทันที แตกต่างจากการออกกำลังกายที่ร่างกายสูญเสียน้ำและน้ำตาลเป็นหลักและเสียแร่ธาตุในปริมาณที่น้อยมาก โดยในสูตรตำรับเกลือแร่ทดแทนที่กล่าวไปข้างต้น เกลือแร่สำหรับผู้ออกกำลังกายจะมีปริมาณน้ำตาลที่มากกว่า

ดังนั้น หากผู้ป่วยท้องเสียดื่มเกลือแร่สำหรับออกกำลังกาย น้ำตาลที่มีปริมาณสูงในเครื่องดื่มจะดึงเอาน้ำเข้าสู่ทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้นทำให้ลำไส้บีบตัวและส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้นอีกในเวลาต่อมา

คำแนะนำสำหรับการใช้ผงเกลือแร่สำหรับผู้ป่วยท้องเสียมีอะไรบ้าง

  • เทผงเกลือแร่ทั้งซอง ละลายในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว ปริมาณ 150-250 มิลลิลิตรหรือปริมาณตามที่ฉลากข้างซองระบุ
  • ดื่มเกลือแร่โดยจิบอย่างช้าๆ แทนน้ำ เมื่อเริ่มมีอาการท้องเสียหรืออาเจียน
  • เมื่อละลายน้ำแล้ว ควรรับประทานภายใน 24 ชั่วโมง  หากเกินกว่านั้น ไม่แนะนำให้นำมารับประทานต่อ

ข้อควรระวังในการดื่มเกลือแร่มีอะไรบ้าง

  • ควรระมัดระวังการใช้เกลือแร่ในคนที่มีการทำงานของหัวใจและไตผิดปกติ
  • ไม่ควรใช้เกลือแร่ในคนไข้ที่มีภาวะท้องเสียอย่างรุนแรงซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ โดยอาจมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ซีด กระหายน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย มีสีเข้ม สับสน แนะนำให้ควรรีบพบแพทย์
  • ไม่แนะนำให้ผสมกับนมหรือน้ำผลไม้ เนื่องจากอาจส่งผลให้ปริมาณสัดส่วนสารในสารละลายเกลือแร่เปลี่ยนแปลงได้

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า