แขน

แสดงทั้งหมด 13 ผลลัพท์

ยารักษาโรคผิวหนัง

อาการคันเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อน ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด การเกาหรือแกะผิวหนังอย่างมาก ทำให้อาการผิวหนังอักเสบกำเริบมากขึ้น


ยารักษาหิด เหา โลน

ยารักษาหิด เหา โลน

1. กำมะถัน (Sulfur)
กำมะถันมีฤทธิ์ละลายขุย (Keratolytic) จึงใช้รักษาโรคผิวหนังได้หลายชนิด เช่น เรื้อนกวาง ซีโบริค เอคซีม่า รวมทั้งสิว ทั้งนี้ อาจจะใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ผสมกับตัวยาอื่นก็ได้ ยาที่ใช่ผสมอยู่ด้วยกันมักจะเป็นกรดซาลิซัยลิค

แต่เดิมคนไทย ใช้กำมะถันบดกับน้ำมันกระเบา หรือน้ำมันมะพร้าว เคี่ยวนิดหน่อยให้ละลายแล้วทาแก้หิด เหา และโรคผิวหนัง บางแห่งใช้บดผสมกับกล้วย

ปัจจุบันกำมะถันที่ใช้ฆ่าพยาธิ เช่น หิด เหา ทำเป็นขี้ผึ้ง ความแรง 10%กำมะถันที่ใช้รักษาโรคอื่นๆ มีความแรงน้อยลงมา และเมื่อผสมกับยาอื่น ก็ใช้ในเปอร์เซ็นต์ต่างๆ กัน และทำออกมาจำหน่ายหลายรูป หลายแบบ ทั้งยาน้ำ ยาครีม และยาแขวนตะกอน

  • ข้อควรระวัง
    ขี้ผึ้งกำมะถัน 10% มีฤทธิ์ระคายเคือง อาจแสบ และไม่ควรถูกตา ใช้รักษาหิดดีมาก (ไม่ใช้ฆ่าเหา เพราะไม่ควรให้ถูกใบหน้า)
  • รูปแบบยา
    ชื่อการค้าเช่น มิทิกอล ชนิดขี้ผึ้ง (Mitigal oint ment) มีกำมะถัน 20%

ขี้ผึ้งกำมะถัน (ointmem of sulphur) 10% (องส์การฯ)ขนาดหลอดละ 500 กรัม

2. เบนซิลเบนโซเอท (Benzyl benzoate)
เป็นยาน้ำเหมือนน้ำมัน มักทำออกมาเป็นรูป โลชั่น หรือ อีมัลชั่น เหมาะมากในการรักษาหิด ใช้ในขนาดความแรง 25–30% มันระคายเคือง ผิวหนังได้ จึงไม่ใช้ในเด็กและไม่ใช้ทาที่หน้า ใช้ฆ่า เหาและโลนก็ได้ผลดี

  • รูปแบบยา
    มีชนิด 25% เบนซิลเบนโซเอท (Benzyl benzoate) ชนิดแขวนตะกอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า อีบีบี (EBB) ชื่อการค้าอื่นๆ เช่น แอสคอร์บอยล์ (Ascarbiol) ชนิดแขวนตะกอน ชนิด (25% อีบีบี) ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร

3. แกมมา-เบนซีน เฮ็กซา คลอไรด์ (Gammabenzene hexa chloride)
เป็นยาประเภทเดียวกับ เฮ็กซาคลอโรฟีน มันมีฤทธิ์ฆ่าแมลงและพาราไซด์ ของผิวหนังได้เหมือน ดี.ดี.ที. แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่า ใช้ได้ดีมากในการฆ่าหิด เหา และโลน ใช้ขนาดความแรง 1% เหมาะสำหรับใช้รักษาหิดในเด็ก เพราะไม่ค่อยแสบ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ทาที่หน้า

  • รูปแบบยา
    ชื่อการค้า เช่น ลอเร็กแซน ชนิดครีม (Lorexan cream) 1% 50 กรัม

 

4. คลอโรฟีโนเธน หรือ ดี.ดี.ที. (Chlorophenothane, D.D.T.)

ยาผง ดี.ดี.ที. ขนาด 5%-10% ใช้ฆ่าเหาและ โลนได้ดีมาก แต่ไม่ได้ผลในการฆ่าหิด เนื่องจากทำออกมาเป็นผง ก่อนใช้ต้องผสมน้ำให้เปียกก่อน อย่าสูดดมผง ดี.ดี.ที.เข้าไป ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ยานี้ราคาถูกและจำหน่ายโดยองค์การเภสัชกรรม เหมาะสำหรับการกำจัดเหา

ในการปฏิบัติอนามัยโรงเรียน ต้องทำทีเดียว ทั้งชั้นและหากเป็นไปได้ควรทำทีเดียวทั้งโรงเรียน ให้เด็กหาผ้าสะอาดสำหรับโพกหัว 1 ผืน เมื่อชโลมยาลงบนศีรษะแล้วให้เด็กโพกศีรษะไว้เลย จนถึงเวลากลับบ้านเช้าขึ้นจึงให้สระผมมาโรงเรียนใหม่

  • รูปแบบยา

ดี.ดี.ที. ในทาลคัม 5% (องค์การฯ) 450 กรัม

ดี.ดี.ที. ในทาลคัม 10% (องค์การฯ) 450 กรัม

การรักษาหิด

1. ควรรักษาทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะที่มีอาการคันพร้อมกัน สำหรับโลนต้องรักษาคู่สมรสด้วยแน่นอน

2. ต้ม มุ้งหมอน เสื้อผ้า ผ้าห่ม เครื่องนุ่มห่ม ให้หมด

3. ทายาแก้หิดให้ทั่วตัว ยกเว้นใบหน้า เด็กให้ใช้ลอเร็กแซน นุ่งเสื้อผ้าใหม่เข้านอน เมื่อครบ 24 ชั่วโมงค่อยอาบน้ำ แล้วทาซ้ำอีก 3 วัน

การรักษาเหา

1. ก่อนนอนอาบนํ้าสระผมให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วทายาแก้เหาทิ้งไว้ 1 คืน วันรุ่งขึ้นสระผมออก ทำเช่นนี้ 2 ครั้ง

2. อีก 15 วัน ทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

การรักษาโลน

โกนขนให้เกลี้ยง ทายาติดต่อกัน 2 วัน ทิ้งค้างคืนได้ หากอาบน้ำให้ทายาซ้ำ

 

หูด

หูด

ป็นก้อนที่ผิวหนัง ลักษณะผิวอาจจะเรียบหรือขรุขระ สีอาจจะ สีขาว ชมพู หรือสีน้ำตาล มีรากอยู่ข้างใต้หูด อาจจะเกิดขึ้นที่ผิวหนังส่วนใดก็ได้ แต่บริเวณที่พบบ่อยคือ นิ้วมือ แขน ขา สามารถแบ่งออกเป็น 6 ชนิด

  1. หูดธรรมดา ลักษณะของหูดชนิดนี้จะเป็นตุ่มเม็ดนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ดก็ได้ ตำแหน่งที่พบ ที่พบบ่อยคือ บริเวณแขน ขา มือ และเท้า
  2. หูดชนิดแบน ลักษณะของหูดชนิดนี้จะเป็นเม็ดเล็กแข็ง แต่ผิวเรียบ ซึ่งต่างจากหูดธรรมดา เพราะว่าหูดธรรมดาจะมีผิวขรุขระกว่า ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ หลังมือ หน้าเข็ง และหน้าผาก
  3. หูดฝ่ามือฝ่าเท้า จะมีลักษณะเป็นไตแข็งๆ ขนาดใหญ่ แบนราบเท่าระดับผิวหนัง เพราะมีแรงกดขณะเดิน ลักษณะคล้ายๆ ตาปลา แต่จะแยกกันได้ตรงที่หูดถ้าใช้มีดฝานอาจมีเลือดไหลซิบๆ และอาจมีอาการเจ็บปวดได้
  4. หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู เปื่อยง่าย มักพบบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก
  5. หูดที่เป็นติ่งเนื้อเล็กๆ มักขึ้นที่หนังตา ใบหน้า ลำคอ หรือริมฝีปาก
  6. หูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ปาโปวา แทรกซึมเข้าไปในเซลล์ผิวหนัง เกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นหูดงอกออกจากผิวหนัง ติดต่อโดยการสัมผัสกัน ระยะฟักตัว 2-18 เดือน จัดเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดาของผิวหนัง เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่ก็เป็นได้ หูดเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายแต่อย่างไร นอกจากทำให้แลดูน่าเกลียด และมีอาการปวดได้เป็นบางครั้ง

ส่วนมากหูดจะยุบหายได้เองตามธรรมชาติ แม้จะไม่ได้รับการรักษาภายหลังที่เป็นอยู่หลายเดือน บางคนอาจเป็นอยู่เป็นปีๆ กว่าจะยุบหาย เมื่อหายแล้วอาจกลับเป็นใหม่ได้อีก

การรักษา

  • ปิดด้วยพลาสเตอร์ ยาที่มีกรดซาลิไซลิก 40 %กรดจะกัดลอกเอาหูดออก ประมาณ 1 สัปดาห์ ให้ฝานหูดออกไป แล้วปิดพลาสเตอร์ซ้ำจนกว่าหูดจะหมดไป การปิดมากเกินไปอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้
  • สำหรับการรักษาหูดที่เป็นติ่ง แพทย์จะพ่นด้วยยาชา แล้วใช้กรรไกรตัด
  • หูดที่เป็นตุ่มหรือไตขนาดใหญ่ ควรไปรักษาที่โรงพยาบาล อาจต้องฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วทำการผ่าตัดและขูดออก ซึ่งอาจให้เวลา 4 สัปดาห์กว่าแผลจะหายดี หรือไม่ก็อาจรักษาโดยทาด้วยกรดซาลิไซลิก 10% และกรดแล็กติกชนิด 10% ในคอลลอยเดียนเบส หรือทาด้วยกรดไตรคลอร์อะซิติก 30-50%ในโรงพยาบาลบางแห่งอาจใช้ไนโตรเจนเหลว หรือคาร์บอนไดออกไซด์แข็งในการรักษาหูด โดยจี้ทุกๆ 2 สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน หรือใช้แสงเลเซอร์ในการรักษา
  • หูดที่ฝ่าเท้า ห้ามใช้ไฟจี้หรือตัดออก เพราะจะทำให้เจ็บเวลาเดิน ให้ทำการรักษาด้วยการปิดด้วยพลาสเตอร์ยาที่มีกรดซาลีไซลิก 40% หรือทาด้วยไนโตรเจนเหลว

การป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นหูด เมื่อเป็นหูดพยายามอย่าเกาบริเวณที่เป็น เพราะอาจลุกลามหรือแพร่กระจายไปตามส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เพราะหูดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส

ตาปลา

เป็นโรคที่เนื้อเยื่อชั้นบนของผิวหนังมีการหนาตัวและนูนขึ้นมาเป็นตุ่ม เล็กๆและมักมีอาการเจ็บ พบบ่อยบริเวณมือและเท้า โรคนี้เกิดจากมีการเสียดสีเรื้อรังของผิวหนังจึงไม่ใช่โรคติดต่อ ซึ่งแตกต่างจากโรคหูด

ตาปลาชนิดมีจุดที่กดแข็งอยู่ตรงกลางตุ่มนูนจะเรียก ชื่อว่า Corns หรือ Clavus หรือ Heloma

ตาปลาชนิดไม่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลางจะเรียกว่า Callus หรือ Tyloma ซึ่งโรคตาปลา

โรคตาปลาเป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น

โรคตาปลามีอาการอย่างไร

เนื่องจากมือและเท้าเป็นอวัยวะที่ใช้งานบ่อยรวมทั้งมีการเสียดสีและถูกกดทับได้บ่อยครั้ง จึงเป็นตำแหน่งที่มักจะพบโรคตาปลา แต่บริเวณอื่นๆที่อาจพบเกิดตาปลาได้เช่น บริเวณขาและหน้าผากพบได้ในชาวมุสลิมที่สวดมนต์โดยการคุกเข่าและใช้หน้าผากกดกับพื้นเป็นประจำ เป็นต้น

1. โรคตาปลาที่เรียกว่า คอร์น (Corns) ตาปลาชนิดนี้จะเป็นตุ่มนูนของผิวหนังที่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลาง (เรียกว่า Central core, Nucleus หรือ Radix) ซึ่งเกิดจากผิวหนังชั้นบนสุดของหนังกำพร้า (Epidermis) ที่เรียกว่า Stratum corneum มีการหวำตัวลงไป และทำให้ชั้นของขี้ไคล (เคราติน/Keratin) ซึ่งเกิดจากการลอกตัวของผิวหนังชั้นบนสุดของหนังกำพร้านี้มีการสะสมอัดแน่นจนไปกดเบียดชั้นผิวหนังแท้ซึ่งมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่ จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บนั่นเอง

แบ่งตาปลาชนิดคอร์นออกได้เป็นอีก 2 ชนิดย่อยคือ

  • ตาปลาชนิดแข็ง (Hard corn หรือ Heloma durum) พบบ่อยสุดที่ในบริเวณด้านข้างของนิ้วก้อยเท้า เป็นตาปลาที่ค่อนข้างแข็ง มีผิวแห้งเป็นขุย แต่มีความวาวเหมือนขี้ผึ้ง เมื่อใช้มีดเฉือนตุ่มนูนนี้ออกบางๆก็จะเห็นจุดกดแข็งสีออกใสๆขนาด 1 - 2 มิลิเมตร (มม.) อยู่ตรงกลางของตุ่ม
  • ตาปลาชนิดอ่อน (Soft corn หรือ Heloma molle) พบบ่อยสุดที่ง่ามนิ้วระหว่างนิ้วก้อยและนิ้วนางของเท้า เป็นตาปลาที่นุ่มกว่า มีผิวชุ่มชื้น และมักจะมีการลอกตัวออกของผิวเสมอ หากใช้มีดเฉือนตุ่มนูนนี้ออกบางๆก็จะเห็นจุดกดแข็งอยู่ตรงกลางเช่นเดียวกัน

2. โรคตาปลาที่เรียกว่า คัลลัส (Callus) ตาปลาชนิดนี้จะเป็นตุ่มนูนของผิวหนังแบบที่ไม่มีจุด กดแข็งอยู่ตรงกลาง พบบ่อยบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าบริเวณใกล้ๆกับนิ้วเท้า อาจจะมีอาการเจ็บหรือไม่มีก็ได้ ขอบเขตของตุ่มนูนในตาปลาชนิดนี้จะไม่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากตาปลาชนิดคอร์นที่จะมีขอบเขตชัดเจน

แพทย์วินิจฉัยโรคตาปลาได้อย่างไร

แพทย์วินิจฉัยโรคตาปลาได้จากอาการและการตรวจรอยโรคเป็นหลัก ที่สำคัญคือจะต้องแยกออกจากโรคหูดที่ผิวหนังเป็นตุ่มนูนแข็งดูคล้ายๆกันได้ แต่สาเหตุและการรักษาแตกต่างกัน

ทดสอบได้โดยการใช้มีดเฉือนตุ่มนูนออกบางๆ

  • หากพบ จุดดำๆซึ่งเป็นจุดเลือดออกเล็กๆจากเส้นเลือดฝอย ตุ่มนูนชนิดนี้ก็เป็นหูด ไม่ใช่ตาปลา
  • ถ้าเป็นตาปลา ผู้ป่วยจะเจ็บเมื่อใช้มือกดตรงๆลงไปที่ตุ่มนูน แต่ถ้าเป็นหูดเมื่อกดจากด้านข้าง 2 ข้างจึงจะเจ็บ 

ตาปลารักษาอย่างไร

  1. ใช้ยากัดตาปลา วันละ 1 – 2 ครั้ง จนกว่าตาปลาจะหลุดออกไป ยาสำหรับทามีอยู่หลายชนิด ยาเหล่านี้จะไปทำให้ชั้นผิวหนังของตาปลานิ่มลงและค่อยๆหลุดลอกออกไปเอง ชนิดของยาเช่น Salicylic acid, Ammonium lactate และ Urea cream รวมถึงวิตามินเอในรูปแบบยาทา ซึ่งวิตามินเอจะไปช่วยให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเป็นไปอย่างปกติ
  2. ผ่าตัด หรือ ใช้เลเซอร์ในการจี้ตาปลาออก แม้จะเป็นวิธีที่สะดวกแต่ก็ค่อนข้างแพงกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แถมยังอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ให้ดูต่างหน้าอีกด้วย
  3.  ใช้พลาสเตอร์กำจัดตาปลา แบบกรดซาลิไซลิก 40 เปอร์เซ็นต์ ปิดตาปลาทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน แล้วแช่น้ำอุ่นเพื่อให้ตาปลาหลุดออก หากตาปลายังไม่หลุดออกไปก็อาจทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
  4. หากผู้ที่เป็นตาปลาเป็นโรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือสูญเสียประสาทรับความรู้สึก อย่ารักษาเอง ควรรีบไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

โรคตาปลาไม่รักษาได้ไหม

ตาปลาเป็นโรคไม่รุนแรงไม่ทำให้เสียชีวิต เพียงก่ออาการเจ็บเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง และผลข้างเคียงจากโรคตาปลาคือ
1. ตาปลาที่มีอาการเจ็บทำให้ทำงานได้ไม่สะดวก เดินไม่คล่องตัว
2. ตาปลาชนิด Soft corn ที่ผิวหนังมีการลอกตัว จึงอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เป็นโรคเบาหวาน หรือเมื่อเป็นโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (ส่วนของแขน-ขา)
3. ผู้ป่วยที่รักษาโดยการเฉือนตาปลาออกเอง อาจพลาดเฉือนเอาผิวหนังที่ปกติออกจนเลือดออก และกลายเป็นแผลทำให้มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนขึ้นมาได้

 

บทความล่าสุด

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า