ปวดหัว

แสดงทั้งหมด 10 ผลลัพท์

ยาบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ

อาการหน้ามืด เวียนหัว เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคทางสมองและระบบประสาท ความผิดปกติในหูชั้นในและดวงตา น้ำตาลในเลือดต่ำ อาหารเป็นพิษ


ยาไดเมนไฮดริเนท

กลไกการออกฤทธิ์ของ 

ยาไดเมนไฮดริเนต เป็นยาต้านอาเจียนและต้านอาการเวียนศีรษะ  กลไกการต้านอาการเวียนศีรษะและอาเจียน เกิดจากไดเมนไฮดริเนต ยับยั้งตัวรับเคมี ทำให้ลดการกระตุ้นส่วนเวสทิบูลา (vestibular) และกดการทำงานของลาบีรินธีน (labyrinthine) ผ่านฤทธิ์ยับยั้งโคลิเนอร์จิกของตัวยา

ข้อบ่งใช้ยา 

ยาไดเมนไฮดริเนต ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ

  • รักษาและป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ (motion sickness)
  • อาเจียน 
  • อาการเวียนศีรษะ แบบบ้านหมุน (vertigo) จากโรค Meniere’s disease

ขนาดรับประทานในผู้ใหญ่ 50-100 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 400 มิลลิกรัม

การใช้ยาสำหรับเพื่อป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ ให้ใช้ยาครั้งแรกก่อนการเดินทาง 30 นาที

ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 2-5 ปี คือ 12.5-25 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 75 มิลลิกรัม

ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 6-12 ปี คือ 25-50 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 150 มิลลิกรัม

ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 12 ปี ให้ใช้ขนาดยาแบบเดียวกับในผู้ใหญ่ การใช้ยาสำหรับเพื่อป้องกันอาการเมารถ เมาเรือ ให้ใช้ยาครั้งแรกก่อนการเดินทาง 30 นาที

การรับประทานยาไดเมนไฮดริเนต ร่วมกับแอลกอฮอล์จะทำให้ผลการง่วงซึมรุนแรงขึ้น ควรหลีกเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างการใช้ยา ตัวยาอาจก่อให้เกิดอาการง่วงซึมได้ หากมีอาการควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักร

 

ข้อควรระวัง

ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยานี้ และระมัดระวังการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการชัก
  • ผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
  • ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตูง
  • การใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ
  • การใช้ยาในเด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร
  • การใช้ยาในผู้ป่วยที่มีทางเดินอาหารตีบหรืออุดตัน

ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาไดเมนไฮดริเนต ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เพราะจะทำให้ง่วงซึมมากขึ้น

การรับประทานยาไดเมนไฮดริเนต ร่วมกับยาต้านซึมเศร้า จะทำให้ง่วงซึมมากขึ้น  และอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อหู  ถ้าใช้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อกลุ่ม aminoglycosides

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์

อาจก่อให้เกิดอาการมึนงง ง่วงซึม ตื่นตัว ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ ปากแห้ง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ตาพร่า ปัสสาวะขัด 

นอกจากนั้น การได้รับยาเกินขนาด อาจก่อให้เกิดอาการม่านตาขยาย ใบหน้าแดง ตื่นตัว เห็นภาพหลอน สับสน อาการชัก โคมา

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

 

อาการวิงเวียนศรีษะ

หลายคนอาจเคยเมารถหรือเมาเรือระหว่างเดินทาง ทำอย่างไรดี 

ผศ.พญ.สุวัจนา อธิภาส ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า อาการเมารถ เมาเรือ เกิดจากประสาทการทรงตัวของเราทำงานได้ไม่สมดุล ซึ่งความไม่สมดุลนี้อาจเกิดจากการได้รับแรงกระตุ้นที่มากเกินไป เช่น นั่งรถที่เหวี่ยงนานเกินไป หรือนั่งเรือที่โยนไปมาตามลูกคลื่น โคลงไปโคลงมานานเกินไป จนไปกระตุ้นประสาทการทรงตัวของเรา 

ถ้าประสาทการทรงตัวของเราไม่มีความไวผิดปกติ ก็อาจไม่รู้สึกอะไร ทว่าผู้นั้นมีประสาทการทรงตัวที่ไวเป็นพิเศษ พอนั่งรถหรือเรือไปได้สักพัก จะรู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน 

การป้องกัน

  1. เริ่มตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง ควรรับประทานอาหารตามปกติ อย่ารีบร้อน รับประทานช้าๆ และควรเว้นระยะพักสักครึ่งชั่วโมงก่อนออกเดินทาง เรื่องนี้มีหลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้ารับประทานอาหารเข้าไป อาจทำให้อาเจียนกลางทาง ความจริงแล้ว ยิ่งท้องว่างก็จะทำให้เมาเร็วยิ่งขึ้น
  2. เมื่อเดินทางด้วยรถ ถ้ารู้ตัวว่าตัวเองเมา ควรมานั่งด้านหน้า แทนด้านหลัง เพื่อให้สายตาเรามองตรงไปข้างหน้า เพราะการที่เราเห็นถนนตรงหน้า เห็นต้นไม้ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้เราเมาช้ากว่านั่งด้านหลังที่เห็นสิ่งต่างๆ จากด้านข้างเคลื่อนไหวผ่านหน้าเราไปอย่างเร็วๆ ผู้ที่เมาเรือก็เช่นกัน ถ้าคลื่นลมไม่แรง ก็คงไม่เมา แต่ถ้าคลื่นโยนตัวแรงมาก ก็ให้ นั่งอยู่กลางลำเรือ ไม่ควรนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง 
  3. รับประทานยาแก้เมา 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ตัวยาที่ถูกดูดซึมไปควบคุมให้ประสาทการทรงตัวมีความไวน้อย ซึ่งแรงกระตุ้นที่ได้รับก็อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเสียสมดุลของประสาทการทรงตัว เราก็อาจจะเดินทางหรือเที่ยวให้สนุกได้ดังใจ 

สำหรับผู้ที่เคยเวียนศีรษะมาก่อน บ้านหมุน มีประสาทการทรงตัวผิดปกติ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ห้ามดำน้ำ เพราะเวลาดำน้ำ เราจะเห็นแต่น้ำอยู่รอบๆ ตัวเรา ความรู้สึกสัมผัสรอบๆ ตัวเราจะไม่มี เพราะน้ำอยู่ล้อมรอบกายเราทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราจึงต้องใช้ประสาทการทรงตัวจริงๆ ถ้าประสาทการทรงตัวของเราเสื่อม เราจะไม่สามารถรับรู้ทิศทางได้ และอาจจมน้ำได้ เป็นเรื่องที่ควรระวัง   

กลไกการเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ

สมองคนเรามี ระบบรับรู้การทรงตัว เพื่อบอกว่า เราอยู่ในท่าใด  2 ระบบใหญ่ได้แก่ ผ่านทางตากับทางหูชั้นใน

ภาวะที่มีการเคลื่่อนไหวโยกเยก โดยเฉพาะการนั่งรถลงเรือ ทำให้ระบบเหล่านี้ตีรวนได้ เนื่องจากหูชั้นในมีระบบท่อของเหลวรูปครึ่งวงกลม วางตั้งฉากกัน เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวในแนวนอน-ตั้ง-ขวาง

เมื่อมีการ เคลื่อนไหว… จะเกิดการเคลื่อนไหวภายในระบบท่อของเหลวในหูชั้นใน เมื่อการเคลื่อนไหวหยุดแล้ว ของเหลวที่มีแรงเฉื่อยจะเคลื่อนที่ต่อ ทำให้ระบบหูส่งสัญญาณคล้ายกับว่า การเคลื่อนไหวยังไม่หยุดทันที

ส่วนระบบตาไม่มีแรงเฉื่อยแบบนี้ ทำให้สัญญาณการทรงตัวของระบบตากับหูขัดแย้ง ตีรวนกัน และเกิดอาการเมารถเมาเรือ

คนที่เสี่ยง ต่ออาการเมารถเมาเรือมากที่สุด คือ คนอายุน้อย โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 2 ปี, ความเสี่ยงจะลดลงไปตามอายุ และพบน้อยลงไปมากเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป  

วิธีป้องกันการเมารถเมาเรือ

  • กินยา ป้องกัน-แก้เมารถเมาเรือล่วงหน้า เช่น dimenhydrinate (Dramamine) ฯลฯ, ยานี้ใช้เวลาในการดูดซึม และออกฤทธิ์ประมาณ 20-30 นาที ยานี้ทำให้ง่วงนอน จึงต้องระวังอันตรายเสมอ 
  • ใช้ยาจาก ธรรมชาติ คือ ขิง เช่น กินอาหารที่มีขิงหรือน้ำขิง ฯลฯ ก่อนเดินทาง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ หรือกินอาหารที่มีลมหรือแก๊ส เช่น น้ำอัดลม ฯลฯ ระหว่างเดินทาง เนื่องจากกระเพาะอาหารที่โป่งพองจากปริมาตรของ “อาหาร-น้ำ-ลม” จะทำให้คลื่นไส้ได้ง่ายกว่าตอนท้องว่าง 
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น ทุเรียน ฯลฯ, เครื่องเทศฉุน และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ฯลฯ
  • ก่อนเดินทาง… ควรดื่มน้ำให้พอล่วงหน้า 1 วัน เนื่องจากภาวะขาดน้ำอาจเพิ่มเสี่ยงอาการเมารถเมาเรือได้
  • หลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเมาซ้ำซ้อน
  • การหลับตา หรือดีกว่านั้น คือ พยายามนอนให้หลับไปเลย มีส่วนช่วยบรรเทาอาการได้ดีกว่าการลืมตา

บทความล่าสุด

การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม
การบำบัดโรคเสพยาสูบแบบไม่ใช้ยา

การบำบัดรักษาโรคเสพยาสูบแบบไม่ใช้ยา ผู้ดูแลจะเปรียบเสมือนผู้จัดการช่วยชี้แนะให้ผู้ป่วยเข้าใจกลวิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเอาชนะอาการถอนนิโคติน ทำให้ผู้ป่วยเห็นทางออกที่ถูกต้อง เห็นผลได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียเวลาจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า