ท้องเสีย
เด็กท้องผูก

แสดง %d รายการ

ยาระบายแก้ท้องผูก

อาการท้องผูก คือ การขับถ่ายเป็นเรื่องยาก ต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย  ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง


ชนิดของยาระบาย

ยาระบายมีกี่ชนิด

  1. ยาระบายกลุ่มเส้นใยหรือไฟเบอร์ (Fiber Supplements) จะช่วยเพิ่มปริมาตรในอุจจาระให้มีมากขึ้นและบางตัวมีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย เช่น ยาไซเลียม (Psyllium) ยาพอลิคาร์บอฟิล (Calcium Polycarbophil) ยาเมทิล เซลลูโลส (Methylcellulose Fiber) 
  2. ยาระบายกลุ่มกระตุ้น (Stimulants) จะช่วยกระตุ้นจังหวะการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น เช่น ยาดัลโคแลค (Dulcolax) ยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) ยาเซนโนไซด์ (Sennosides) 
  3. ยาระบายกลุ่มออสโมซิส (Osmotic Laxatives) จะออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้อุจจาระไม่แห้งและแข็งจนถ่ายออกลำบาก เช่น ยาแมกนิเซียม ไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide)  ยาแลคตูโลส (Lactulose) ยาแมกนีเซียม ซิเตรท (Magnesium Citrate) ยาโพลีเอทิลีน ไกลคอล (Polyethylene Glycol: PEG) 
  4.  ยาช่วยหล่อลื่นอุจจาระ (Lubricant) เป็นยาที่ช่วยเพิ่มความลื่นให้กับลำไส้ อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น เช่น มิเนอรอล ออยด์ (Mineral Oils)
  5.  ยาที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว (Stool Softeners) มีฤทธิ์ช่วยให้อุจจาระนิ่มจนง่ายต่อการเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ เช่น ยาในกลุ่มด๊อกคิวเซท (Docusate Sodium/Docusate Calcium)
  6. ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ (Suppositories/Enemas) ยาเหน็บช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลงและเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ในการขับอุจจาระมากขึ้น เช่น โซเดียม ฟอสเฟต (Sodium Phosphate) แต่ในกรณีที่อุจจาระแข็งมากอาจแนะนำให้มีการสวนอุจจาระที่อุดตันออกก่อน อาจเป็นการสวนด้วยน้ำเปล่า น้ำสบู่ หรือชุดสวนอุจจาระสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) หรือกลีเซอรีน (Glycerin) จากนั้นจึงค่อยรักษาด้วยยาในกลุ่มรับประทานยาต่อ

 

การรักษาด้วยซินไบโอติก (Synbiotic) 

ถือเป็นการรักษาทางเลือกที่เกิดจากการนำจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างโพรไบโอติก และอาหารของจุลินทรีย์อย่างพรีไบโอติกมารวมเข้าด้วยกันเป็นซินไบโอติก เพราะซินไบโอติกบางชนิดอาจช่วยเสริมสร้างระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือลำไส้แปรปรวนได้ 

จากงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิภาพของซินไบโอติกชนิดหนึ่งเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก 100 คน โดยให้ผู้ป่วยรับประทานซินไบโอติกหรือยาหลอกเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานซินไบโอติกมีอุจจาระอ่อนนุ่มลง และอุจจาระถูกขับออกมาจากลำไส้ได้เร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก การรับประทานซินไบโอติกจึงอาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ 

อย่างไรก็ตาม มีเพียงซินไบโอติกบางชนิดเท่านั้นที่ช่วยในการรักษาท้องผูกโดยตรง โดยในปัจจุบันซินไบโอติกถูกพัฒนามาอยู่ในรูปแบบที่หาซื้อและรับประทานได้ง่าย อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงหลังจากการบริโภค จึงอาจใช้เป็นหนึ่งในการรักษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพลำไส้ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ซินไบโอติกในการรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยและปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือสตรีมีครรภ์

เทียนเกล็ดหอย

เทียนเกล็ดหอยหรือเทียนกาบหอย (Ispaghula Husk)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Plantago ovata

เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แบนคล้ายเรือ ลักษณะด้านนอกนูนด้านในเว้า ผิวมัน ลื่น เรียบไม่มีขน มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมชมพู ขนาดกว้าง 1.1-1.7 มิลลิเมตร ยาว 2.2 -3.1 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดจะพองตัวมีลักษณะเป็นเมือกเมื่อถูกความชื้น เป็นผงสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู มีรสร้อน ขม หอม เมื่อถูกน้ำจะพองตัวมีลักษณะเป็นเมือก เหมือนเมล็ดแมงลัก ต้นเทียนเกล็ดหอยมีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศนิวซีแลน

องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ

สารเมือก (mucilage): 20-30% ประกอบด้วย

  • น้ำตาลเชิงซ้อนที่มีน้ำตาลเชิงเดี่ยวหลายชนิด (galactose, glucose, xylose, arabinose, rhamnose, galacturonic acid, plantiobiose, sucrose, fructose) ส่วนใหญ่เป็น arabinoxylan
  • กรดไขมันหลายชนิด: palmitic acid, stearic acid, linoleic acid, oleic acid

Ispaghula Husk มันใช้รักษาท้องผูกได้อย่างไร

Ispaghula Husk มีส่วนประกอบของ

  • เส้นใยไฟเบอร์ (Fibers) 
  • เยื่อเมือก (Mucilage) 

เส้นใยไฟเบอร์ (Fibers) จะละลายน้ำได้ถึง 85% สามารถเกิดขบวนการหมักได้บางส่วนและออกฤทธิ์โดยการ "พองตัวในลำไส้" ผ่านกลไกกระตุ้นผนังลำไส้ (Gut Wall Stimulation)
เยื่อเมือก (Mucilage) ที่พองตัวจะทำหน้าที่เป็น "ชั้นหล่อลื่น" ช่วยให้กากอาหารและสิ่งที่อยู่ในลำไส้ผ่านออกไปเป็นอุจจาระได้ง่ายขึ้น

ดังนั้น Ispaghula Husk จึงมีฤทธิ์ช่วยให้ระบาย (Laxative) โดยจัดเป็นยาระบายประเภท Bulk-Forming Agent เนื่องจากมันจะไปช่วยเพิ่มปริมาณกากอาหารในลำไส้ จึงเหมาะสำหรับผู้มีปัญหาท้องผูกแบบเรื้อรัง (Habitual Constipation)

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในผู้ป่วยที่เห็นสมควรได้รับอาหารที่มีไฟเบอร์ต่อวันเพิ่มขึ้น เช่น ใช้เสริมการรักษาในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ที่มีอาการท้องผูกเด่น เป็นต้น

วิธีการชง หรือละลายยาเพื่อรับประทาน

ให้ละลายผงยาในน้ำเย็น นม หรือน้ำผลไม้อย่างน้อย 150 มิลลิลิตร คนให้ละลายเข้ากันดี แล้วดื่มให้หมดแก้วในครั้งเดียว และต้องดื่มน้ำตามอีกอย่างน้อย 1 แก้วเพื่อป้องกันยาไปอุดตันลำไส้

 

คำแนะนำในการรับประทาน Ispaghula Husk

  1.  ห้ามกลืนผงยา ispaghula husk โดยที่ปราศจากน้ำ เพราะจะทำให้ผงยาพองตัวในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการสำลักหรืออุดตันบริเวณลำคอ หลอดอาหาร และลำไส้ได้ อาจทำให้มีอาการปวดหน้าอก อาเจียน กลืนลำบาก หรือหายใจลำบากได้
  2. ในระหว่างการเตรียมผสมยา พยายามเลี่ยงการสูดดมผงยาเข้าปอด เพื่อลดความเสี่ยงภาวะภูมิไวเกิน (แพ้) ต่อตัวยา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
  3. ห้ามผสมผงยาในน้ำร้อนให้รับประทานยาหลังผสมทันที ห้ามทิ้งไว้จนเป็นวุ้น
  4. ห้ามรับประทานยาก่อนนอน ควรรับประทานในตอนกลางวัน และห่างจากยาอื่นอย่างน้อย 30 นาที
  5. ตัวยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังกินยาเข้าไป

ข้อห้ามใช้
1. ห้ามใช้ในผู้ที่มีทางเดินอาหารอุดตัน
2. ห้ามใช้ในผู้ที่มีปัญหาการกลืนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับลำคอ
3. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยาตัวนี้

คำเตือน และข้อควรระวังการใช้ยา

  • ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะยังไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพเพียงพอ ในข้อบ่งใช้รักษาผู้ป่วยที่สมควรได้รับอาหารที่มีไฟเบอร์ต่อวันเพิ่มขึ้น
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่มีก้อนอุจจาระอัดแน่นในลำไส้ใหญ่ และมีอาการต่อไปนี้ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ยกเว้นแนะนำโดยแพทย์ เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแสดงของลำไส้อุดตัน (Ileus) อยู่ก่อนหน้านี้หรือมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้
    คนที่กำลังท้อง หรือคนที่ให้นมบุตรอยู่ สามารถรับประทานได้ไหม

เนื่องจากตัวยา Ispaghula Husk ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
อาการไม่พึงประสงค์ของยา อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ หากดื่มของเหลวในปริมาณที่ไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง อาการคัน รวมทั้งอาจเกิดอาการจมูกอักเสบ หรือเยื่อบุตาขาวอักเสบได้

บทความล่าสุด

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแ

การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กั

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า