ปวดไหล่

Showing 1–15 of 17 results

ยาครีมทานวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้ออาจเกิดขึ้นได้ทันทีหรือหลังจากใช้กล้ามเนื้ออย่างหนัก ปกติแล้วผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อสามารถบอกสาเหตุของอาการปวดได้ด้วยตัวเอง

-19%
Original price was: 99 บาท.Current price is: 80 บาท.

การเลือกใช้ยาทาแก้ปวด

อาการปวด จำแนกประเภทตามสาเหตุของอาการปวดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.Nociceptive pain

เป็นความปวดที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บและ/หรือมีการทําลายของเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่มีพยาธิสภาพของโรค หรือการแพร่กระจายของโรคไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน  เช่น  ปวดกระดูก, เอ็นอักเสบ, กล้ามเนื้ออักเสบ  ปวดจากก้อนมะเร็ง, ปวดจากลำไส้อุดตัน เป็นต้น

2. Neuropathic pain

การบาดเจ็บของเส้นประสาท ส่วนใหญ่มักจะเรื้อรัง neuropathic pain มีอาการปวดได้หลายลักษณะ เช่น ปวดเสียวแปลบเหมือนไฟช็อต แสบร้อน รู้สึกยิบๆคัน ชา  

มาทำความรู้ยานวดบรรเทาปวดแบบร้อน-เย็น 

1.ยานวดบรรเทาปวดแบบร้อน คือ ยานวดประเภทที่ทาแล้วรู้สึกร้อนวูบวาบตรงบริเวณที่ทา มีสารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ อยู่สามตัวคือ

  • เมทธิลซาลิไซเลท (Methyl Salicylate)
  • เมนทอล (Menthol) 
  • ยูจีนอล (Eugenol)

ซึ่งสารทั้งสามตัวนั้น เป็นสารสำคัญที่มีคุณสมบัติในการลดอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดภายนอก ซึ่งยานวดสูตรร้อนจะมีสารเมทธิลซาลิไซเลทเป็นส่วนสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอักเสบ เมื่อถูกผิวจะทำให้ร้อนแดง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้

ยานวดบรรเทาปวดแบบร้อน เหมาะกับอาการปวดแบบไม่กระทันหัน คือ เริ่มใช้หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง ซึ่งอาจเกิดจากการปวดเรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อ เนื่องจากยานวดบรรเทาปวดแบบร้อน จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และช่วยลดการวดตึงของกล้ามเนื้อ

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ไม่ทาบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะยิ่งทำให้มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จะทาได้ก็ต่อเมื่อการอักเสบน้อยลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน

2.ยานวดบรรเทาปวดแบบเย็น คือ ยานวดประเภทที่ทาแล้วรู้สึกเย็นตรงบริเวณที่ทา มีเมนทอลเป็นสารสำคัญ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากการพลิกหรือเคล็ด การช้ำบวมจากการกระแทกหรือบาดเจ็บระหว่างการออกกำลังกาย

ยานวดบรรเทาปวดแบบเย็นเหมาะกับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน คือ เริ่มใช้ภายใน 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับมีอาการปวดบวม อักเสบ ควรเลือกใช้ยาบรรเทาอาการปวด แบบเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือกออกน้อยลง และช่วยลดกการปวดบวมได้ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ไม่ทาบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก  และอย่าให้เข้าตาเช่นเดียวกันกับยานวดบรรเทาปวดแบบร้อน

 

การปฎิบัติตัวเมื่อเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ

ปวดเมื่อย (ไม่มีอาการอักเสบ)สามารถบรรเทาอาการด้วยการ “นวด” เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ แต่หากอาการปวดส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็สามารถใช้ “ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ” แต่ก็ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ปวดล้าหรือระบมจากการออกกำลังกาย(มีการอักเสบ)

หากมีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อไม่มาก ควรใช้ยา “บรรเทาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ” ชนิดสเปรย์ หรือ เจล เนื่องจากตัวยาจะซึมซับผ่านผิวหนัง และทำให้เราไม่ต้องสัมผัส หรือนวดบริเวณที่มีการอักเสบโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีการอักเสบเพิ่ม

รู้ได้อย่างไรว่าจะต้องประคบร้อนหรือเย็น

การประคบร้อนหรือเย็นเป็นวิธีหนึ่งในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ การจะเลือกใช้ความร้อนหรือเย็นนั้นมีข้อที่ต้องพิจารณาเบื้องต้น คือ

  • ถ้าเกิดการบาดเจ็บเฉียบพลันร่วมกับมีการบวม ควรเลือกใช้ความเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลงและช่วยลดบวมได้
  • ถ้าเป็นการปวดแบบเป็นๆหายๆ มีอาการมานานหรือเรื้อรัง หรือปวดร่วมกับมีอาการตึงกล้ามเนื้อ ควรใช้ความร้อน เพราะความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนเลือดดีขึ้นจึงลดอาการปวดและตึงกล้ามเนื้อได้

ประคบเย็น เมื่อ...
หากมีอาการปวดหรือได้รับบาดเจ็บควรประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็นทันที (ภายใน 24-48 ชั่วโมง) ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเพิ่งมีอาการใหม่ๆ
อาจใช้เจลสำหรับประคบร้อนเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยการใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะแล้วเติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งอย่างละครึ่งลงไปในถุง ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยแช่นานประมาณ 15-20 นาที

ประคบร้อน เมื่อ...
การประคบร้อนจะเริ่มใช้หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง ให้ประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาการที่ควรประคบร้อน เช่น ปวดตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง น่อง ปวดประจำเดือน อาจใช้เจลสำหรับประคบร้อนเย็นแบบสำเร็จรูป ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรืออาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ ไม่ควรประคบนานหรือถี่เกินไป และต้องไม่ประคบร้อนในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะยิ่งทำให้มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จะประคบร้อนได้ก็ต่อเมื่อการอักเสบน้อยลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน

การนวดกล้ามเนื้อ

การนวด

การนวด คือ การบำบัดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โดยใช้ทักษะทางร่างกายและอุปกรณ์เสริมด้วยการ บีบ จับ คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด ดัด หรือกระตุ้นด้วยการสั่น เพื่อกระตุ้นให้การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบต่างของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ถือเป็นประเภทหนึ่งของการรักษาที่มีมายาวนาน 

ซึ่งวิธีการและจุดประสงค์ในการนวดแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันไป ดังนี้

  • การนวดแบบสวีดิช เป็นวิธีนวดแบบใช้แรงไม่มาก เน้นช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อชั้นบนสุด ละข้อต่อตามบริเวณต่าง ๆ และช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น รวมทั้งอาจช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อได้อีกด้วย
  • การนวดสำหรับนักกีฬา เป็นวิธีที่คล้ายกับการนวดแบบสวีดิช แต่จะเน้นใช้กับผู้ที่เล่นกีฬา มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันและรักษาอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาเป็นหลัก
  • การนวดแบบกดจุด เน้นกดนวดบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความหดตัวมากผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก หรือเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  • การนวดระดับลึกป็นการนวดที่เน้นผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในระดับลึก ซึ่งมักใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเป็นหลัก โดยเทคนิคการนวดชนิดนี้จะต้องใช้แรงมาก และค่อย ๆ นวดอย่างช้า ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อชั้นลึกได้ผ่อนคลาย
  • การนวดกดจุดแบบญี่ปุ่น เป็นวิธีการนวดโดยใช้นิ้วกดลงไปบริเวณจุดฝังเข็ม ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ลมปราณภายในร่างกายไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
  • การนวดแผนไทย เป็นวิธีการนวดแบบดั้งเดิมของไทย ผู้ถูกนวดจะถูกจัดให้อยู่ในท่าทางต่าง ๆ เพื่อคลายกล้ามเนื้อและข้อต่อ ซึ่งการนวดจะช่วยให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น
  • การนวดด้วยหินร้อน ผู้นวดจะนำหินอุ่น ๆ มาวางตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายควบคู่ไปกับการนวด
  • การนวดเท้าป็นการนวดโดยใช้มือ นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วอื่น ๆ นวดที่เท้าและฝ่าเท้า โดยมีความเชื่อว่าเท้าเป็นบริเวณที่สัมพันธ์กับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย การนวดเท้าจึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพได้
  • การนวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงท้องอาจนวดได้เช่นกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น โดยการนวดจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณต่าง ๆ ลดอาการบวมจากการตั้งครรภ์ และช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้นได้
  • การนวดด้วยเก้าอี้นวด เป็นการใช้เก้าอี้นวดไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะนวดได้ทั้งคอ ไหล่ หลัง แขน ไปจนถึงมือ และใช้เวลาน้อยกว่าการนวดทั่วไป

การนวดมีประโยชน์อย่างไร 

นอกจากจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดความตึงเครียดแล้ว การนวดยังนับเป็นการรักษาทางเลือกที่อาจช่วยบรรเทาอาการบางอย่างได้ โดยมีการศึกษาบางส่วนพบว่าการนวดอาจมีประโยชน์ในบางด้าน ดังต่อไปนี้

 

  1. บรรเทาอาการปวดหลัง งานวิจัยบางชิ้นชี้ว่าการนวดอาจเป็นวิธีบรรเทาอาการปวดหลังที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าการนวดช่วยลดอาการปวดหลังได้ดีกว่าการฝังเข็มด้วย
  2. บรรเทาอาการปวดศีรษะ งานค้นคว้าบางส่วนพบว่าการนวดช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ โดยเฉพาะการปวดศีรษะไมเกรน และอาจช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
  3. บรรเทาอาการข้อเสื่อม มีการศึกษาพบว่าการนวดแบบสวีดิชช่วยลดอาการเจ็บปวดหรืออาการเข่าติดแข็งที่เกิดจากโรคข้อเสื่อมได้ และยังช่วยให้การทำงานของเข่าดีขึ้น
  4. ลดความวิตกกังวล ไม่เพียงช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกาย แต่การนวดยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย โดยมีการศึกษาพบว่า การนวดช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วยเพิ่มสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ผู้ถูกนวดมีความวิตกกังวลและอารมณ์ซึมเศร้าลดลงได้
  5. บรรเทาผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง การนวดอาจช่วยลดอาการปวด บวม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หรือภาวะซึมเศร้าที่เป็นผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งได้ และอาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้นด้วย

ข้อห้ามและสิ่งที่ต้องระวังจากการนวด

  • ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง 
  • ห้ามนวดบริเวณที่บาดเจ็บหรืออักเสบเฉียบพลัน บวม แดง ร้อน 
  • ห้ามนวดผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นโรคเลือดต่าง ๆ มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง
  • ห้ามนวดคนที่มีภาวะกระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี หรือตำแหน่งที่มีการผ่าตัดกระดูกและยังไม่ประสาน
  • ห้ามนวดคนโรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
  •  ผู้ที่ใส่อวัยวะเทียม
  • ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารหรือยังรู้สึกอิ่มอยู่
  • ผู้ที่มีแผลไหม้หรือแผลยังไม่หายดี
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น

สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการนวด

ห้ามใช้การนวดทดแทนการรักษาทางการแพทย์ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ โดยควรเข้ารับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ และสอบถามแพทย์หากต้องการใช้การรักษาทางเลือกอย่างการนวด รวมถึงการใช้อาหารเสริมหรือสมุนไพรใด ๆ ร่วมกับการนวดรักษาควบคู่ไปด้วย

นอกจากนี้ ควรรับการนวดจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะการนวดที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้รู้สึกปวดเมื่อยหลังจากนวดหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ และหากขณะนวดรู้สึกเจ็บปวดผิดปกติ ควรรีบแจ้งให้ผู้ที่นวดทราบ ส่วนผู้ป่วยที่นวดแล้วมีอาการเจ็บตามมาในภายหลังก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้อาการยิ่งรุนแรงขึ้นได้

บทความล่าสุด

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า