ลูกมะขามป้อม
ผลมะแว้ง

แสดงทั้งหมด 4 ผลลัพท์

ยาอมแก้ไอเจ็บคอ

มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บและระคายเคืองภายในช่องปากและลำคอ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวยาหลายชนิด เช่น ยาลดการอักเสบ ยาชาเฉพาะที่ ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะและสมุนไพร

 


เกร็ดความรู้เรื่องยาอม

ส่วนประกอบในยาอมแก้เจ็บคอ

ยาอมแก้เจ็บคอ มียาผสมอยู่หลายชนิด ดังนี้

  • ยาชาเฉพาะที่  : มีอยู่ในปริมาณเล็กน้อย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ เช่น เบนโซเคน ( benzocain )  อะไมโลเคน ( amylocain )
  • ยาลดการอักเสบ : เช่น เฟอร์บิโพรเฟน ( flurbiprofen )  เมนทอล ( menthol )
  • สารฆ่าเชื้อ : เช่น ซีทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ ( cetylpyridium chloride ) คลอเฮกซิดีน ( chlorhexidine )

ส่วนประกอบในยาอมแก้ไอ

ยาอมแก้ไอมี 2 ชนิด

1.ยาอมแก้ไอแบบไม่มีเสมหะ ได้แก่ ยาอมที่มีส่วนประกอบตัวยา เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (dextromethorphan)

2.ยาอมแก้ไอแบบมีเสมหะ ได้แก่ ยาอมที่มีส่วนประกอบตัวยา แอมบรอกซอล (ambroxol)

ปริมาณยาในยาอม 1 เม็ดจะมีน้อยกว่ายาเม็ดสำหรับรับประทาน

 ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ มีเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ยาอมที่อยู่ในกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน : กลุ่มนี้ประชาชนสามารถหาซื้อใช้เองได้ทั่วไป
  2. ยาอมที่อยู่ในกลุ่มยาอันตราย : ควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้และหลีกเลี่ยงการแพ้ยาโดยไม่จำเป็น เช่น ยาอมแก้เจ็บคอที่มีตัวยา เฟอร์บิโพรเฟน ไม่เหมาะใช้ในผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อนหรือกระเพาะอาหารอักเสบ ยาอมแก้ไอที่มีตัวยา เดกซ์โตรเมทอร์แฟน ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้

สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ

สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ขับสมหะ มีดังนี้

  1. มะขามป้อม (Amla) : มีรสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูง ใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะได้ และช่วยทำให้ชุ่มคอ ลดการระคายเคืองลำคอได้เป็นอย่างดี
  2. ขิง( Ginger) : บริเวณเหง้าขิงมีรสเผ็ดร้อนและมีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ทางยา ช่วยแก้ไอและขับเสมหะได้
  3. ชะเอมเทศ(Glycyrrhiza): ส่วนของรากถูกนำมาใช้เป็นยาแก้ไอตั้งแต่ในอดีต มีรสชาติหวานเย็น จึงทำให้ชุ่มคอบรรเทาอาการไอ โดยมักจะนำรากมาผสมกับตำรับยาอื่นๆ เช่น ยาแก้ไอมะขามป้อม หรือ ยาแก้ไอมะแว้ง เพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ทำให้ชุ่มคอและบรรเทาอาการเจ็บคอได้
  4. มะแว้งต้น(Solanum indicum) : ผลของมะแว้งมีสารอัลคาลอยที่สามารถใช้บรรเทาอาการไอได้เป็นอย่างดี
  5. มะนาว (Lemon) :ใช้น้ำคั้นผลที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ ช่วยบรรเทาอาการไอได้เช่นกัน

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า