ฟ้าทะลายโจร
ลูกใต้ใบ

แสดงทั้งหมด 3 ผลลัพท์

ยาสมุนไพรแก้เจ็บคอ

อาการเจ็บคอ แบ่งได้ 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ อาการเจ็บคอจากเชื้อไวรัส อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย อาการเจ็บคอจากทอนซิลอักเสบ

 


ฟ้าทะลายโจร

สมุนไพรฟ้าทะลายโจร

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น :  น้ำลายพังพอน , ขุนโจรห้าร้อย (ภาคกลาง,กรุงเทพ), สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) , ฟ้าสาง (สกลนคร) , เขยตายายคลุม (ราชบุรี) , หญ้ากันงู (สงขลา) , ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) , เมฆทะลาย (ยะลา) ,ชวนซิน ,เจ๊กเกี้ยงฮี้ , โขว่เซ่า , ซีปังฮี (จีน)

ชื่อสามัญ :  Kariyat, Creat, Herba Andrographis, Indian Echinace

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm. f .) Nees

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees

วงศ์ : Acanthaceae

สารสำคัญที่พบในฟ้าทะลายโจร

  1. เป็นสารกลุ่ม diterpenoid lactones ได้แก่ andrographolide (AP), 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide (14-deoxy-11,12-didehydro-AP), neoandrographolide (neo-AP) และ 14-deoxyandrographolide (14-deoxy-AP) เป็นต้น 
  2. สารกลุ่ม polysaccharides 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 

สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สนับสนุนการใช้ในโรคหวัดธรรมดา ได้แก่

  • ฤทธิ์แก้ไอ (antitussive): การศึกษาในหนูตะเภาพบว่า สาร arabinogalactan (109 kDa) มีฤทธิ์แก้ไอ
  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวด (anti-inflammatory and analgesic): การศึกษาในหนูขาวพบว่า สารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ andrographolide และ neoandrographolide
  • ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ก่อเกิดโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ (influenza A) เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง โดยสารที่ออกฤทธิ์คือ สารกลุ่มแลคโตน
  • ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน: การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สาร andrographolide เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการสร้าง antibodies และ macrophage phagocytosis การเพิ่มจำนวนของ lymphocytes และการสร้าง interleukin-2

ขนาดรับประทาน

ตำรับยาฟ้าทะลายโจรในงานวิจัยเกือบทั้งหมดจะเป็นสารสกัดฟ้าทะลายโจร ที่ประกอบด้วยสารสำคัญ andrographolide 

สำหรับโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจส่วนต้น (Upper respiratory tract infection: URTI)ขนาดรับประทานต่อวันเท่ากับ 15.75 มิลลิกรัม ระยะเวลา 3 วัน

โรคหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) ขนาด 225 มิลลิกรัม ระยะเวลา 14 วัน

สำหรับโรคคออักเสบ/ทอนซิลอักเสบ (pharyngo-tonsillitis) ขนาดมากกว่า 1,200 มิลลิกรัม ระยะเวลารับประทานมีค่าเฉลี่ยประมาณ 5-7 วัน

ผลข้างเคียง : ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่มีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ปวดศีรษะ ผื่นแพ้ 

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรเป็นเรื่องสำคัญมาก จะเห็นได้ว่ารายงานวิจัยต่าง ๆ จะเป็นการศึกษาของผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรในรูปสารสกัด โดยอาจจะเป็นสารสกัดฟ้าทะลายโจรเดี่ยวหรือสารสกัดฟ้าทะลายโจรร่วมกับสารสกัดสมุนไพรชนิดอื่น ๆ

ในเภสัชตำรับของประเทศไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia: THP) กำหนดให้วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรจะต้องประกอบด้วยสารกลุ่มแลคโตนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 6% และปริมาณสาร andrographolide ไม่น้อยกว่า 1%

รายงานการวิจัยทางคลินิก

1. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold)

ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดกราโฟไลด์ และ ดีออกซีแอนโดรกราไฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม /เม็ด ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด

พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยอย่างมีนัยสำคัญ

อีกทั้งพบว่าฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสและทำให้ความสามารถของเชื้อไวรัสในการเกาะติดกับผนังเซลล์ลดลง ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ยากขึ้น

นอกจานี้ฟ้าทะลายโจรยังมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้มีร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น

2. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis)

ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัม/วัน  หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด 3 กรัม / วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที 3

นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพนนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่างๆ มากขึ้น

3. การรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรีย (Bacilliary dysentery)
ผู้ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจรทั้งขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง และขนาด 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับยาเตตร้าซัยคลิน พบว่า สามารถสามารถลดจำนวนอุจจาระร่วง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนในการรักษาโรคอุจจาระและบิดแบคทีเรียได้อย่างน่าพอใจ ลดการสูญเสียน้ำได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาเตตร้าชัยคลิน

มีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตร้าซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตร้าซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญก็ตาม

ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตร้าซัยคลิน

ข้อบ่งใช้

    1.ฟ้าทะลายโจรควรใช้เมื่อมีอาการของหวัดอาการใดอาการหนึ่ง เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอรับประทานครั้งละ 3-6 แคปซูล (แคปซูลขนาด 500 มิลลิกรัม) วันละ 4 ครั้ง
ส่วนการบรรเทาอาการหวัดให้รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล (แคปซูลขนาด 500 มิลลิกรัม) วันละ 4 ครั้ง โดยแนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
   2.ระงับอาการอักเสบ หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
   3.รักษาอาการปวดท้อง ท้องเสีย บิด และกระเพาะลำไส้อักเสบ
   4.เป็นยาขมเจริญอาหาร

ข้อควรระวัง

1.ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วย บางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
2.หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
3.หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์
4.สตรี มีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร การที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากมีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าน้ำต้มฟ้าทะลายโจรมีผลทำให้หนูแท้งได้
5.แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง และดูเหมือนจะมีพิษน้อย แต่เนื่องจากเป็นยาเย็นจัด การกินฟ้าทะลายโจรรักษาโรคนานๆ ติดต่อกันหลายปีอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แขนขาไม่มีแรง เป็นต้น

ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
2. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
3. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
4. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น

อาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอนั้น แบ่งได้ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1. อาการเจ็บคอแบบเฉียบพลัน (Acute sore throat) มักมีอาการเฉียบพลันเป็นวันๆไป พร้อมกับมีอาการของระบบอื่นๆ เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น

2. อาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง (Chronic sore throat) มีอาการเป็นระยะเวลานานๆ ในบางรายอาจเป็นสัปดาห์ หรือ ในบางรายก็อาจเดือนๆ มักมีเฉพาะอาการเจ็บคอเท่านั้น ซึ่งอาการเจ็บคอแบบเรื้อรังนี้ ถ้าหาสาเหตุพบและรักษาให้ตรงจุดของสาเหตุที่เกิด อาการเจ็บคอ ก็จะหายไปเอง

สาเหตุของอาการเจ็บคอ

1. คออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ส่วนใหญ่ จะมีอาการเจ็บคอ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล บริเวณผนังลำคอด้านหลัง ลิ้นไก่ จะมีอาการอักเสบบวมแดด

2. คออักเสบจากเชื้อไวรัส

ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ต่ำ จนถึงสูง บางครั้งหนาวสั่นบ้าง ครั้นเนื้อ ครั้นตัว เจ็บแสบคอไม่มากนัก อาจมีน้ำมูกใสๆ และคัดจมูก มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ภายในช่องคอแดงเล็กน้อย

3. คออักเสบจากเชื้อรา

ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บคอ คอแห้ง น้ำลายไหลมาก แต่จะมีอาการแตกต่างกับสองสาเหตุที่กล่าวไป คือมีแผ่นขาวคล้ายนมที่จับเป็นก้อน ติดแน่นกับเยื่อบุผนังคอด้วยค่ะ

4. เกิดจากการสิ่งที่ก่อให้เกิดระคายเคืองคอ

  •  การสูบบุหรี่ เนื่องจากควันของบุหรี่จะไปกระตุ้นให้เราเจ็บคอนั่นเอง
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้เสียงที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ หรือ การตะโกน ซึ่งอาจจะทำให้สายเสียงเกิดการอักเสบ และนำไปสู่อาการเจ็บคอได้
  • โรคกรดไหลย้อน ซึ่งกรดอาจไหลย้อนขึ้นมาที่ผนังคอ ทำให้เยื่อบุและกล้ามเนื้อของผนังคอมีการอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บคอเป็นๆ หายๆ ได้

ยาที่ใช้รักษาและบรรเทาอาการเจ็บคอ

  1.  สารที่ช่วยลดการระคายเคือง (Demulcents) สารในกลุ่มเหล่านี้จะไปช่วยบรรเทาการระคายเคืองของอาการเจ็บคอ ทำให้เรามีอาการเจ็บคอที่น้อยลง ซึ่งสารเหล่านี้อาจใส่มาในรูปแบบของยาอม ทำให้มีการรับประทานที่ง่ายขึ้นด้วย
  2.  Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ยากลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบที่ไม่ใช่ยากลุ่ม สเตอรอยด์ ซึ่งอาจใช้ในอาการเจ็บคออันเนื่องมาจากการอักเสบต่างๆ
  3. แอนตี้ไบโอติก (Antibiotics) มันก็คือยาปฏิชีวะนะนั่นเองค่ะ มักใช้ในอาการเจ็บคืออันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ
  4. แอนตี้เซพติก ยากลุ่มนี้มักไม่ใช่ยาทานค่ะ แต่จะเป็นการกลั้วคอ หรือ พ่นคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอแทน
  5. ยาชาเฉพาะที่ (Local anaesthetics) ส่วนใหญ่มักจะใส่มากับยาอมค่ะ ซึ่งยาตัวนี้จะไปช่วยให้มีอาการชา จนรู้สึกว่าอาการเจ็บคอหายไป ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้

 

การป้องกันอาการเจ็บคอ

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสของที่ใช้ร่วมกันหลายคนหรือบ่อยครั้ง
  2. ควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียสะสม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรคหวัดหรือโรคอื่น ๆ ได้
  3. ไม่ใช้ช้อนรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นหรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน เพราะโรคบางโรคสามารถแพร่ผ่านน้ำลายได้ เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส
  4. หลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา และฝุ่น
  5. เลี่ยงการรับควันบุหรี่ไม่ว่าจากการสูบเองหรือจากผู้อื่นที่อาจส่งผลระคายเคืองต่อคอจนมีอาการเจ็บ และยังเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกบริเวณลำคอได้ 
  6. รักษาความชื้นในบ้านไม่ให้อากาศแห้ง และดื่มน้ำให้เพียงพอไม่ให้คอแห้ง

ยาปฏิชีวนะต่างกับยาแก้อักเสบหรือไม่

ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ (anti-inflammatory drugs) อย่างที่หลายๆคนมักจะเรียกแทนกันด้วยความเข้าใจคร่าวๆว่า เมื่อฆ่าเชื้อแล้วจะทำให้การอักเสบลดลง แต่ที่จริงแล้วยาปฏิชีวนะหมายถึงยาที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ โดยแบคทีเรียแต่ละกลุ่มก็จะตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน ตัวอย่างยาปฏชีวนะเช่น อะม็อกซีซิลลิน เพนนิซิลลิน ในขณะที่ยาแก้อักเสบคือยาที่ใช้ลดอาการอักเสบของร่างกาย เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ตัวอย่างยาที่ใช้กันบ่อยๆเช่น ยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน

เมื่อไหร่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ในการรักษาโรคหวัด เจ็บคอ
โรคหวัดส่นใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นยาปฏิชีวนะซึ่งฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงไม่ทำให้หายเร็วขึ้น 

หากให้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้เกิดผลเสียอย่างไร
ยาปฏิชีวนะหลายตัวมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย บางกลุ่มทำให้เกิดอาการท้องเสีย บางกลุ่มเป็นพิษต่อตับ ไต ในบางรายอาจมีปฏิกิริยาภูมิแพ้จากยา ทั้งแบบไม่รุนแรง หรือรุนแรงถึงชีวิต

นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ยังทำลายแบคทีเรียตัวดี ที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเราด้วย  แบคทีเรียที่เก่งกาจทนต่อยา ก็จะพัฒนาตัวเองไปเป็น “เชื้อดื้อยา” ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาเพิ่มมากขึ้น

มีน้ำมูกสีเขียวเหลืองต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งหรือเปล่า
การเกิดน้ำมูกเปลี่ยนสี จากใสๆเป็นเขียวข้นหรือสีเหลือง ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเสมอไป ในบางรายที่มีอาการหลอดลมอักเสบร่วมด้วย ก็อาจมีอาการเสมหะเหนียวข้นเขียวได้ หรือแม้กระทั่งเชื้อไวรัส ก็สามารถทำให้เกิดน้ำมูกเขียวได้ ดังนั้น การมีน้ำมูกเขียว ไม่ได้แปลว่าจะต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้ง โดยแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อให้การวินิจฉัย หากมีข้อบ่งชี้จะจ่ายยาอย่างเหมาะสม

 

บทความล่าสุด

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า