เหงือกปลาหมอ

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

ยาสมุนไพรรักษาแผล

บาดแผลมี 2 ชนิดคือ 1.บาดแผลปิด เป็นการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ำ  2.บาดแผลเปิด เป็นการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก


เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น : แก้มหมอ (สตูล) , อีเกร็ง (ภาคกลาง) , แก้มหมอเล (กระบี่) , นางเกร็ง,จะเกร็ง ฯลฯ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl. (เหงือกปลาหมอดอกสีขาว) Acanthus ilicifolius L. var. ilicifolius (เหงือกปลาหมอดอกสีม่วง)

ชื่อสามัญ  :Sea Holly.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ถิ่นกำเนิดเหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอนับว่าเป็นสมุนไพรพื้นถิ่นของไทยเราเพราะมีประวัติในการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรมาตั้งแต่โบราณแล้ว ซึ่งเหงือกปลาหมอนี้เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้งและมักจะพบมากในบริเวณป่าชายเลน หรือตามพื้นที่ชายน้ำริมฝั่งคลอง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและมีความชื้นสูง หรือในแถบที่ดินเค็มและไม่ชอบที่ดอน แถบภาคอีสารก็มีรายงายว่าปลูกได้เช่นกัน เหงือกปลาหมอ พบอยู่ 2 พันธุ์ คือ

  • ชนิดดอกสีขาว Acanthus ebracteatus Vahl พบมากในภาคกลางและภาคตะวันออก
  • ชนิดดอกสีม่วง Acanthus ilicifolius L. พบทางภาคใต้ อีกทั้งเหงือกปลาหมอยังเป็นพันธุ์ไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย

องค์ประกอบทางเคมี
ในใบพบสาร :  alpha-amyrin , beta-amyrin , ursolic acid apigenin-7-O-beta-D-glucuronide ,methyl apigenin-7-O-beta-glucuronate campesterol,  28-isofucosterol, beta-sitosterol

ในรากพบสาร : benzoxazoline-2-one, daucosterol , octacosan-1-ol , stigmasterol

ทั้งต้นพบสาร : acanthicifoline , lupeol , oleanolic acid , quercetin ,              isoquercetin , trigon

 

สรรพคุณพื้นบ้าน : 

ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ

ใบ - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย

ราก - ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด  รักษามุตกิดระดูขาว

เมล็ด - ปิดพอกฝี  ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

  • ฤทธิ์ลดการอักเสบ : มีการวิเคราะห์สารสำคัญของเหงือกปลาหมอดอกม่วงที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่าสารนั้นเป็นพวก dimeric oxazolinone ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น 5,5¢-bis-benzoxazoline-2,2¢-dione โดยไปยับยั้งการสร้าง leukotriene B-4 
  • ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย : การทดสอบเมล็ดเหงือกปลาหมอ พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus
  • ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น : มีการทดสอบสารสกัดจากใบของเหงือกปลาหมอดอกม่วงและผล พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น superoxide radical, hydroxyl radical, nitric oxide radical และ lipid peroxide เป็นต้น 
  • ฤทธิ์การเพิ่มภูมิต้านทาน : พบว่าสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ของเหงือกปลาหมอดอกม่วง สามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของ lymphocytes ได้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
แม้ในการศึกษาทางด้านพิษวิทยาและการทดสอบความเป็นพิษของเหงือกปลาหมอทั้งชนิดดอกสีม่วงและชนิดดอกสีขาว จะมีผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ไม่มีพิษแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรเหงือกปลาหมอก็คล้ายกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นนั้นก็คือ ไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่สูง และใช้เป็นระยะเวลานาน เพราะอาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติหรือผลข้างเคียงต่อระบบต่างๆของร่างกายได้

 

แผลพุพอง

แผลพุพอง (Impetigo/Ecthyma)

เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง โดยจะพบเป็นผื่นแดง คัน กลายเป็นตุ่มหนองแตกง่าย ตกสะเก็ด พบที่บริเวณใบหน้า รอบจมูก ปาก มือและเท้า สามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากการสัมผัสหรือเกาที่บริเวณแผล และสามารถแพร่กระจ่ายสู่คนอื่นได้จากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าขนหนู รวมถึงของเล่น เกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะพบได้มากในเด็กและทารก

แผลพุพองส่วนมากจะมีอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่บางครั้งหากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ 

สาเหตุของการเกิดแผลพุพอง

มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอดคัส พัยโอจีเนส (Streptococcus Pyogenes) และสามารถแพร่กระจายติดต่อกันโดยสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อหรือใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนู แก้วน้ำ หรือของเล่น

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลพุพองได้มากที่สุด ได้แก่

  • เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2-6 ปี
  • เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือในโรงเรียน
  • ผู้ที่มีการระคายเคืองผิวหรือมีโรคผิวหนัง
  • ผู้ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี
  • ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัด หรือร้อนชื้น ซึ่งจะเป็นที่ที่แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายได้ง่าย
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง อาจมาจากการติดเชื้อเอชไอวี หรือในผู้ป่วยโรคมะเร็งจากการทำคีโม

การดูแลรักษาแผลพุพอง

การดูแลรักษาแผลพุพองทั่วไป โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ถ้าอาการไม่รุนแรง แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับแนะนำให้ผู้ป่วยพัฒนาและเสริมสร้างสุขอนามัยของตนให้ดีขึ้น เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่ของเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

1.การใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ยาปฏิชีวนะแบบครีม ใช้สำหรับผู้ที่มีแผลพุพองในระดับที่ไม่รุนแรงและเป็นไม่มาก ก่อนทายาควรล้างมือและทำความสะอาดในบริเวณที่เป็นแผล ทาเป็นประจำ 3-4 ครั้งต่อวัน ต่อเนื่องนาน 1 สัปดาห์ 
  • ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน ทั้งในรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการแผลพุพองรุนแรงและกระจายเป็นบริเวณกว้าง หรือใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะแบบครีมแล้วอาการไม่ดีขึ้น 

 

2.การรักษาดูแลที่บ้าน

ทำความสะอาดแผลบริเวณที่มีการติดเชื้อให้สะอาด โดยใช้น้ำสะอาดกับสบู่ที่มีความอ่อนโยน หรือมีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย ไม่ควรขัดที่บริเวณแผลเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
แช่ผิวที่ตกสะเก็ดจากแผลพุพองในน้ำสบู่หรือในน้ำสะอาดที่ผสมน้ำส้มสายชู โดยมีสัดส่วนของน้ำส้มสายชู 1 ออนซ์ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร จะช่วยทำให้สะเก็ดของแผลอ่อนตัวและหลุดออกได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังบริเวณที่มีแผลพุพอง และไม่ควรเกาเพื่อลดการแพร่กระจาย และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสโดนผิวหนังบริเวณที่มีแผลพุพอง

3.การรักษารูปแบบอื่น

ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อรุนแรง กระจายเป็นบริเวณกว้าง หรือไม่ตอบสนองต่อยาหรือการรักษาในรูปแบบอื่น แพทย์จะทำเก็บตัวอย่างของเหลวหรือชิ้นเนื้อที่บริเวณแผลเพื่อนำไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการ และปรับยาปฏิชีวนะตามความรุนแรง หรือตามเชื้อที่ตรวจพบ

ภาวะแทรกซ้อนของแผลพุพอง

แผลพุพองทั่วไปจะมีอาการที่ไม่รุนแรง ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ดูแลรักษาไม่ดี หรือไม่รีบเข้ารับการรักษา สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น

  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) เกิดการติดเชื้อที่ชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแดง บวม ตึง เจ็บ แสบร้อนที่ผิวหนัง และมีไข้สูงร่วมด้วย
  • สะเก็ดเงิน (Guttate Psoriasis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวแห้งแดง คัน และตกสะเก็ดเป็นสีเทาหรือสีเงิน
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicaemia) ทำให้อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป อาจสูงขึ้นหรือต่ำลง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มีอาการสั่น ถ้าเข้ารับการรักษาไม่ทัน อาจทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้

แผลพุพองสามารถป้องกันได้โดยเริ่มต้นจากการมีสุขอนามัยที่ดี และสำหรับผู้ที่เป็นแผลพุพอง สามารถป้องกันการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ แล้วเช็ดมือด้วยผ้าที่สะอาด
  2. อาบน้ำให้สะอาดสม่ำเสมอ อย่างน้อยควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง
  3. ทำความสะอาดแผลทันทีด้วยสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิวและน้ำสะอาด จากนั้นทายา และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยาหรือผ้าพันแผลให้เรียบร้อย
  4. ทำความสะอาดบ้านด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  5. ซักผ้าด้วยน้ำร้อน จะสามารถป้องกันการแพร่กระจายของแผลพุพองได้
  6. หมั่นตัดเล็บเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยไว้ให้ยาว เพื่อป้องกันการเกาจนแผลเกิดการอักเสบมากขึ้น
  7. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  8. ควรให้เด็กที่เป็นแผลพุพองอยู่แต่ในบ้านจนกว่าจะหาย ผู้ปกครองไม่ควรพาไปในที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น โรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

บทความล่าสุด

การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม
การบำบัดโรคเสพยาสูบแบบไม่ใช้ยา

การบำบัดรักษาโรคเสพยาสูบแบบไม่ใช้ยา ผู้ดูแลจะเปรียบเสมือนผู้จัดการช่วยชี้แนะให้ผู้ป่วยเข้าใจกลวิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเอาชนะอาการถอนนิโคติน ทำให้ผู้ป่วยเห็นทางออกที่ถูกต้อง เห็นผลได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสียเวลาจากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า