อุปกรณ์แพทย์

Showing 1–15 of 32 results

อุปกรณ์ทางการแพทย์

สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น รถเข็นผู้ป่วย เตียงคนไข้ เครื่องเอกซเรย์


การเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย

ประเภทของเตียงผู้ป่วย

เตียงผู้ป่วยมีความสามารถในการปรับความสูงต่ำ และความสามารถในการปรับหลังขึ้น หรือปรับเข่าขึ้นลง เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยมีความสบายขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย

คนที่ไม่สามารถขยับได้และใช้เวลาส่วนใหญ่ต่อวันอยู่กับเตียงผู้ป่วยมากควรต้องใช้เตียงผู้ป่วยที่สามารถปรับท่าทางได้หลากหลายและมีตัวเลือกที่สามารถป้องการแผลที่เกิดจากการกดทับได้

เตียงผู้ป่วยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • เตียงมือหมุน,
  • เตียงไฟฟ้ามือหมุน 
  • เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

1. เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน

เตียงประเภทนี้จะใช้มือปรับหมุนในการทำให้หลังและเข่าขึ้นหรือลง หรือความสูงต่ำของเตียงด้วย เตียงประเภทนี้ค่อยข้างประหยัดมากที่สุด เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับครอบครัวที่มีงบน้อย หรือผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องปรับท่าทางบ่อยมากนัก โดยปกติเตียงประเภทนี่ตัวปรับมือหมุนจะอยู่บริเวณท้ายเตียง ต้องการผู้ช่วยมาจากการปรับ

2. เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน-ไฟฟ้า

เตียงประเภทนี้อาศัยมอเตอร์ในการปรับสูงต่ำ ผู้ป่วยและคนดูแลสามารถปรับได้โดยการกดรีโมท หรือใช้มือหมุนได้เช่นกัน ขณะที่เราสามารถใช้รีโมทได้อีกด้วย ตัวเลือกเตียงไฟฟ้ามือหมุนนี้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปรับเตียงไปยังท่าทางต่างๆด้วยตัวเอง ในขณะที่ผู้ดูแลสามารถปรับมือหมุนได้เช่นกัน แต่ราคาค่อนข้างสูง

3.เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

เตียงประเภทนี้สามารถปรับความสูงและท่าทางต่างๆได้โดยใช้รีโมทคอนโทรล ไม่มีมือหมุนในตัว (เตียงส่วนใหญ่จะมีแบตเตอรี่สำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน) เตียงชนิดนี้ง่ายทั้งกับผู้ป่วยและผู้ดูแล

เลือกเตียงผู้ป่วยยังไงดี 

1.ดูระยะเวลาการใช้งานที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้งาน

ถ้าหากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้เตียงในระยะยาว เตียงไฟฟ้าอาจเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะช่วยผ่อนแรงและอำนวยความสะดวกต่อผู้ดูแลมาก

2.น้ำหนักผู้ป่วย

คุณลักษณะเฉพาะของเตียงส่วนใหญ่จะมีระบุการรองรับน้ำหนักของเตียงด้วย เมื่อคำนวณน้ำหนักของฟูก เตียง และผู้ป่วยแล้ว ต้องดูให้มั่นใจว่าสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักการรองรับผู้ป่วยควรอยู่ที่อย่างน้อย 20-25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเตียง

 

3.ระยะเวลาที่ใช้เตียงในหนึ่งวัน

ถ้าผู้ป่วยอยู่บนเตียงนานกว่า 15 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน คุณบางทีอาจต้องการใช้เตียงไฟฟ้า เนื่องจากเตียงมือหมุนส่วนใหญ่เหมาะกับการใช้เตียงในระยะสั้น และมีความทนน้อยกว่าเตียงไฟฟ้า นอกจากนี้การเลือกเบาะก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน ยิ่งคุณใช้เวลากับเตียงนาน จะมีปัญหาเกี่ยวกับแผลกดทับ หากฟูกดีแล้วจะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้มากเช่นกัน ทั้งนี้เตียงไฟฟ้าจะช่วยให้คุณเปลี่ยนท่าได้ง่ายขึ้น และจุดกดลงเตียง เพื่อลดการเป็นแผลกดทับได้เช่นกัน

4.การเคลื่อนย้าย

ถ้าต้องการให้ผู้ป่วยใช้งานได้ด้วยตัวเองจะต้องเลือกใช้เตียงไฟฟ้าเท่านั้น 

เคล็ดลับที่ไม่ลับสำหรับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

  • ก่อนซื้อเตียงไฟฟ้า ควรหาสถานที่วางเตียงที่เหมาะสม มีที่วางที่ว่างพอและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ควรมีที่ว่างสำหรับการปรับในแต่ละท่าทางต่างๆ และควรมีที่ว่างสำหรับการเดินไปรอบๆเตียงเพื่อให้ง่ายแก่ผู้ดูแลที่จะเข้าไปหาผู้ป่วย
  • สถานที่วางเตียงไฟฟ้าควรอยู่ในพื้นที่มั่นคง ไม่เสี่ยงต่อการหล่น ตกบันได หรือหลุม
  • ควรล๊อคล้อทุกครั้ง มีเวลาเดียวที่ปลดล๊อคคือเวลาที่เคลื่อนย้ายเตียงวางเตียงในตำแหน่งที่สามารถได้ยินเสียงผู้ป่วยได้ชัดเจน และเข้าถึงได้ง่าย
  • มีไฟสว่างเพียงพอ

 

ข้อดีของการใช้เตียงผู้ป่วย

  1. เตียงผู้ป่วย ที่สามารถปรับท่าทางต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต จึงเป็นตัวช่วยที่ทำให้ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย สามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
  2.  สามารถปรับให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมานั่งหรือทานข้าวได้ หากเราใช้เตียงนอนธรรมดา แน่นอนว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นค่อนข้างจะยากลำบาเลยทีเดียว
  3. เตียงผู้ป่วยนั้นมีล้อสามารถที่จะเข็นผู้ป่วย หรือ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้สะดวก และเตียงผู้ป่วยสามารถทีจะปรับระดับสูงต่ำได้
  4. เตียงผู้ป่วยช่วยรักษาความเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บต่างๆ นั้นจะดีกว่าการใช้เตียงแบบธรรมดาทั่วไป

 

เครื่องพ่นยา

   Nebulizer หรือเครื่องพ่นละอองยาไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหอบหืดหรือโรคอื่น ๆ นอกจากช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ทางเดินหายใจและช่วยขับเสมหะ ยังมีคุณสมบัติเปลี่ยนยาน้ำให้กลายเป็นละอองฝอยเล็ก ๆ เพื่อให้ยาเข้าสู่ทางเดินหายใจโดยตรง ซึ่งอาจช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่ และใช้เวลาในการออกฤทธิ์เร็วกว่าการให้ยาด้วยวิธีอื่น ขณะที่ส่งผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย

ด้วยเหตุนี้ Nebulizer จึงเป็นเครื่องมือที่ผู้ป่วยนิยมใช้ อีกทั้งในปัจจุบัน อุปกรณ์นี้ยังถูกปรับโฉมให้มีขนาดเล็กและเบาลงจนสามารถพกพาไปใช้ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น โดยเครื่องพ่นยาชนิดนี้จะใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่เพทย์มักแนะนำให้ใช้กับทารก เด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในภาวะที่สามารถกำหนดลมหายใจได้ด้วยตนเอง รวมถึงผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาพ่นในปริมาณมากด้วย

โรคหืดกับการรักษาด้วยเครื่องพ่นยา

ผู้ป่วยโรคหืดจะมีภาวะเยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ส่งผลให้หลอดลมหดเกร็งตัวและตีบแคบฉับพลัน และเกิดการผลิตสารคัดหลั่งข้นเหนียวอย่างเสมหะหรือน้ำมูกภายในหลอดลมมากขึ้น หากหลอดลมหดตัวหรือตีบตันจากการสะสมสารคัดหลั่งปริมาณมากก็จะทำให้อาการของโรคกำเริบ โดยผู้ป่วยอาจไอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก และเจ็บหน้าอก

วิธีการรักษาและควบคุมอาการหอบหืดนั้นทำได้โดยพ่นยาขยายหลอดลมอย่างยาซาลบูทามอล โดยใช้ Nebulizer หรือเครื่องพ่นยาทั่วไป รวมทั้งแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ด้วย ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบยาพ่นหรือยาเม็ดสำหรับรับประทาน

ทั้งนี้ การใช้เครื่องพ่นยามีประโยชน์ต่อการรักษาหลายประการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ความชุ่มชื้นต่อทางเดินหายใจและช่วยขับเสมหะได้ดี ผู้ป่วยยังสามารถผสมยาได้เองตามที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เพื่อให้การพ่นยามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Nebulizer มีกี่แบบ 

แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ โดย 2 รูปแบบที่เป็นที่นิยม มีดังนี้

  1. Compressor Nebulizer เป็นเครื่องพ่นยาแบบอัดอากาศที่ทำให้ยาแตกตัวเป็นละอองฝอย นิยมมีติดไว้ที่บ้าน เพราะตัวเครื่องมักมีขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะแก่การพกพา
  2. Mesh Nebulizer เป็นเครื่องพ่นยาที่ใช้หลักการสั่นจนทำให้ยาแตกตัวเป็นละอองฝอยผ่านตะแกรงถี่ โดยส่วนใหญ่เครื่องจะทำงานโดยอาศัยแหล่งพลังงานจากภายนอกอย่างแบตเตอรี่ ข้อดีของเครื่องชนิดนี้ คือ ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก เสียงเบา และพกพาง่าย

 

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้แนะนำ Nebulizer รูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และผู้ใช้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหากตนเองหรือลูกน้อยป่วยเป็นโรคหืด โดยควรเลือกใช้เครื่องที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางการแพทย์รองรับ โดยเฉพาะเครื่องพ่นยาที่ถูกออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็ก เพราะอาจช่วยให้ผู้ป่วยใช้งานได้สะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในบ้านและพกพาเพื่อนำไปใช้ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วย

วิธีการใช้ Nebulizer อย่างถูกต้อง

  1. วางเครื่องพ่นยาให้ตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นผิวที่เรียบ และไม่ให้อยู่ไกลจากเต้าเสียบจนเกินไป
  2. ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ทุกชิ้น
  3. ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมยา
  4. ใส่ยาลงในเครื่องทำฝอยละอองตามปริมาณที่แพทย์กำหนด หากจำเป็นต้องผสมยาเอง ให้ใช้ภาชนะตวงที่สะอาดและมีคุณภาพเพื่อตวงยาให้พอดี
  5. ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงในท่าสบาย ๆ บนเก้าอี้ สวมหน้ากากให้พอดีกับใบหน้า และควรพ่นยาในท่านั่ง ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก อาจให้เด็กนั่งลงบนตักของผู้ปกครองแทน
  6. หากรู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือกระวนกระวายใจ ให้หยุดสูดดมยาและนั่งพักประมาณ 5 นาที จากนั้นให้ลองสูดดมยาอีกครั้ง โดยพยายามหายใจอย่างช้า ๆ หากอาการดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อหาสาเหตุและทางแก้ไขต่อไป
  7. หากมียาติดอยู่ด้านข้างของเครื่องทำฝอยละออง ให้เขย่าตัวเครื่องเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาหลุดออก

วิธีดูแลเครื่องพ่นยา

  1. ผู้ใช้ควรล้างเครื่องพ่นยาหลังจากใช้งานทุกครั้ง และฆ่าเชื้อเครื่องพ่นยาทุก ๆ 3 วัน เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่น ๆ 
  2. การล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ถอดหน้ากากและเครื่องทำฝอยละอองออกจากตัวเครื่องอัดอากาศ แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นและน้ำยาล้างจานสูตรอ่อน ๆ จากนั้นจึงนำมาตากบนผ้าสะอาดและปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง โดยไม่จำเป็นต้องถอดท่อคอมเพรสเซอร์ออกมาล้างทำความสะอาดด้วย
  3. การฆ่าเชื้อ ถอดหน้ากากและเครื่องทำฝอยละอองออกจากตัวเครื่องอัดอากาศ แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่แพทย์แนะนำให้ใช้ หากไม่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้ล้างด้วยน้ำผสมกับน้ำส้มสายชูแทน โดยใช้น้ำส้มสายชู 1 ส่วนต่อน้ำอุ่น 3 ส่วน จากนั้นให้แช่น้ำยาฆ่าเชื้อทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือตามเวลาที่ระบุไว้บนฉลาก เมื่อถึงเวลาที่กำหนดแล้ว ให้นำมาล้างด้วยน้ำอุ่นอีกครั้งและตากไว้บนผ้าสะอาดแล้วปล่อยให้แห้ง
  4. ผู้ใช้ควรเปลี่ยนท่อคอมเพรสเซอร์ใหม่เป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคด้วย

   

 

 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า