โครงสร้างปากและฟัน
โครงสร้างปากและฟัน
ปากประกอบด้วย ริมฝีปาก ซึ่งมีเนื้อเยื่อที่บอบบางและไวต่อความรู้สึก ภายในช่องปากประกอบด้วยฟัน ซึ่งงอกอยู่บนกระดูกขากรรไกรและมี เหงือก ยึดเสริมความแข็งแรง ดังแสดงในภาพ ลิ้น เป็นกล้ามเนื้อที่มีปุ่มรับรส ในช่องปากมี น้ำลาย ซึ่งมีสมบัติเป็นเบสอ่อนๆ ช่วยย่อยอาหารและยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในช่องปาก อย่างไรก็ตามมีจุลินทรีย์หลายชนิดสามารถเจริญอยู่ในช่องปากได้
ฟัน ประกอบด้วยส่วนที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาเรียกกว่า ตัวฟัน (Crown) ส่วนที่ถัดจากตัวฟันและติดกับเหงือกเรียกว่า คอฟัน (Neck) และส่วนที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในขากรรไกรเรียกว่า รากฟัน (Root)
หากผ่าฟันออกตามขวาง ฟันจะมีโครงสร้างเป็นชั้น
- ชั้นนอกสุด ที่เห็นเป็นสีขาวเรียกว่า เคลือบฟันหรืออีนาเมล (Enamel) ประกอบด้วยสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟตเป็นหลัก ทำให้มีความแข็งแรงและมีสีขาวโดยธรรมชาติ
- ชั้นถัดมาเรียกว่าเนื้อฟัน (Dentine) เป็นชั้นที่มีรูพรุน อากาศหรือสารเคมีจึงสามารถแทรกผ่านไปยังปลายประสาทได้ ดังนั้นหากชั้นเคลือบฟันสึกกร่อนหรือฟันผุจนถึงชั้นนี้จะเริ่มมีอาการเสียวฟัน
- ชั้นด้านในสุดเรียกว่า โพรงประสาทฟัน (Pulp cavity) ชั้นนี้จะประกอบไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทต่างๆ จึงมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นสูง
ลักษณะที่บ่งบอกว่าปากและฟันมีสุขภาพดีคือ ฟันสะอาดไม่มีเศษอาหาร ไม่มีคราบหินปูน เหงือกเป็นสีชมพู ไม่มีแผล ไม่มีอาการเจ็บหรือมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน ไม่มีกลิ่นปาก ริมฝีปากชุ่มชื้น ไม่เป็นขุย
การดูแลสุขภาพปากและฟันทำได้ง่ายด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันแผลในช่องปากและริมฝีปากแห้ง
หากไม่สามารถดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟันได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพเพียงพอ จะทำให้มีปัญหาสุขภาพปากและฟัน เช่น
- ฟันผุ สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียในปากมารวมตัวกันเป็นแผ่นบางๆ เกาะสะสมอยู่ที่ฟันหรือร่องฟัน หากไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างถูกต้องเป็นเวลานาน คราบเหล่านี้จะสะสมหนาขึ้นเห็นเป็นสีเหลืองทำให้สีฟันเปลี่ยนดูไม่สวยงาม เรียกว่า คราบจุลินทรีย์ หากมีตะกอนแคลเซียมซึ่งสึกกร่อนจากฟันมาทับถมและแข็งตัวร่วมด้วยจะกลายเป็น หินน้ำลาย แบคทีเรียบางชนิดสามารถย่อยสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ตกค้างในปากด้วยกระบวนการหมักได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดแลคติก ก่อให้เกิดฟันผุ ฟันผุนอกจากจะดูไม่สวยงามแล้วยังก่อให้เกิดอาการเสียวฟันหากฟันผุไปถึงชั้นเนื้อฟัน หรือรู้สึกปวดหากฟันผุไปถึงชั้นโพรงประสาทฟัน
- กลิ่นปาก ซึ่งเกิดจากการที่จุลินทรีย์ในปากย่อยเศษอาหารที่ตกค้างในปากเกิดแก๊สที่มีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ซึ่งมีกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง การสูบบุหรี่ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
ฟันปลอมมีกี่แบบ
ฟันปลอม คืออะไร
ฟันปลอมหรือในทางการแพทย์เรียกว่าฟันเทียมนั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นมาทดแทนฟัน ธรรมชาติที่สูญเสียไป อีกทั้งยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเติมเต็มและป้องกันการล้มหรือเอียงของฟันซี่ อื่น ๆ ที่อยู่บริเวณข้างเคียง และนอกจากนี้ฟันปลอมยังสามารถช่วยในเรื่องของการสบของฟัน ได้อีกด้วย
ฟันปลอมมีกี่แบบ
โดยส่วนใหญ่แล้วในทางการแพทย์นั้นชนิดของฟันปลอมจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือฟันปลอมชนิดถอดได้และฟันปลอมชนิดติดแน่น
1.ฟันปลอมแบบถอดได้
ฟันปลอมชนิดถอดได้เป็นฟันปลอมที่ต้องอาศัยการใช้ตะขอเพื่อช่วยยึดเกาะฟันปลอม กับฐานฟันปลอม สามารถถอดออกมาทำความสะอาดนอกช่องปากได้ มี ทั้งแบบพลาสติกยืดหยุ่นได้และแบบโลหะที่เป็นฟันปลอมถาวร ฟันปลอมชนิดนี้เหมาะ สำหรับคนที่สูญเสียฟันบางส่วนหรือไม่มีฟันเหลืออยู่เลย อีกทั้งยังเหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการ ความยุ่งยากในการทำความสะอาด อยากประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะฟันปลอมแบบถอดได้จะมี ราคาที่ถูกกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น ซึ่งราคาฟันปลอมแบบถอดได้ เริ่มต้นจะอยู่ที่ 4,000 – 20,000 บาท แต่ราคาของ ฟันปลอมแบบถอดได้ที่เป็นโลหะจะแพงกว่าแบบพลาสติก เพราะมีน้ำหนักเบา แข็งแรงและคลุมฟันได้มากกว่า ซึ่งจะมีข้อดีและข้อเสียคือ
ข้อดีฟันปลอมชนิดถอดได้
- สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย
- มีราคาถูก
- ใช้เวลาในการทำเร็วและไม่ซับซ้อน
ข้อเสียฟันปลอมชนิดถอดได้
- อาจเกิดความรำคาญในการใส่ เพราะสามารถหลุดได้
- ไม่ค่อยมีความสวยงาม เพราะต้องใช้ตะขอเกี่ยว
- ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารต่ำกว่าฟันปลอมชนิดอื่น
- อาจมีเศษอาหารติดใต้ฟันปลอมได้
- ยางที่เกี่ยวกับตะขออาจทรุดตามกาลเวลา ซึ่งจะก่อให้เกิดความหงุดหงิดเวลาเคี้ยว อาหาร
2.ฟันปลอมแบบติดแน่น
ฟันปลอมชนิดติดแน่นเป็นฟันปลอมที่ต้องอาศัยการยึดฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันให้ เล็กลง เพื่อจะต้องทำการครอบฟันให้ติดกับตัวฟันปลอม ฟันปลอมแบบติดแน่นเป็นฟันปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมฟันที่สูญเสียไปไม่มาก หรือ เพียงซี่ใดซี่หนึ่งที่เรียกว่าการครอบฟัน ซึ่งฟันปลอมชนิดนี้จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ
- ฟันปลอม ชนิดติดแน่นด้วยสะพานฟัน หรือที่เรียกกันว่าสะพานฟันติดแน่น
- ฟันปลอมติดแน่นด้วยรากฟันเทียม เป็นการเลียนแบบฟันธรรมชาติ ฟันปลอมชนิดนี้เหมาะสำหรับคนที่ ต้องการฟันปลอมที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ ต้องการความมั่นใจ สามารถเคี้ยวอาหารได้ดีและมี ประสิทธิภาพ ไม่หลุด แต่จะทำความสะอาดยุ่งยากกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ ในส่วนของราคา นั้นแน่นอนว่าจะมีราคาที่แพงกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้
ข้อดีฟันปลอมชนิดติดแน่น
- มีความสวยงาม ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
- แข็งแรง ทนทาน ไม่เปราะหักง่าย
- มีประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
- ไม่ก่อให้เกิดความหงุดหงิดและรำคาญขณะเคี้ยวอาหาร
ข้อเสียปลอมชนิดติดแน่น
- มีราคาที่ค่อนข้างแพง
- อาจเกิดฟันผุใต้ที่ครอบฟันได้ ถ้าทำความสะอาดไม่ดี
สรุป ในส่วนของความแตกต่างระหว่างฟันปลอมแบบถอดได้และฟันปลอมแบบติดแน่นนั้น จะมีความแตกต่างอยู่ไม่มากก็น้อย ทั้งในเรื่องของการทำความสะอาด ประสิทธิภาพของฟันปลอม รวมไปถึงราคาที่มีความแตกต่างกัน