ฟันปลอม
ฟัน

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

ผลิตภัณฑ์สำหรับฟันปลอม

การทำความสะอาดฟันปลอมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะฟันปลอมนั้นเป็นแหล่งสะสแบคทีเรีย และก่อให้เกิดคราบหินปูน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ฟันปลอมนั้น มีกลิ่นปาก


กาวติดฟันปลอม

ผลิตภัณฑ์กาวติดฟันปลอม (Denture Adhesive)

กาวติดฟันปลอมมีกี่แบบ

มีหลายแบบ ทั้งแบบเนื้อครีม แบบผง แล้วก็แบบแผ่น ที่สำคัญคือก่อนเลือกซื้อควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อน ดูวิธีใช้ ข้อควรระวังให้ดี เพราะถ้าใช้ในปริมาณมากเกินไป เช่น แบบเนื้อครีม อาจมีผลต่อการสบกันของฟัน ทำให้ขากรรไกรมีปัญหา จนสุดท้ายก็ทำให้ติดฟันปลอมไม่ได้ผล

กาวติดฟันปลอมจำเป็นแค่ไหน

กาวติดฟันปลอมทำให้ฟันปลอมยึดอยู่กับที่ได้มากขึ้นก็จริง แต่ก็ไม่ได้จัดเป็นของจำเป็นสำหรับทุกคนค่ะ เพราะสำหรับใครที่ฟันปลอมติดอยู่กับเหงือกดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้เพิ่ม

ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนที่อยากใช้อยู่ดี เพื่อความมั่นใจและปลอดภัย ซึ่งถ้าคุณรู้สึกว่าอยากจะใช้บ้าง แต่ยังไม่มั่นใจ แนะนำว่าให้ไปปรึกษาหมอฟันก่อนค่ะ จะได้ช่วยกันถกหลายๆประเด็นเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ เช่น ‘ต้องการใช้เพื่อความมั่นใจจริง หรืออย่างอื่น?’ ‘มีวิธีอื่นอีกมั้ย? ที่ใช้แทนกันได้เพื่อให้ใส่ฟันปลอมได้อย่างสบาย

ข้อควรระวัง

ให้ระวังกาวติดฟันปลอมที่มีธาตุสังกะสี หรือ Zinc ด้วยนะคะ จริงอยู่ที่ธาตุนี้จำเป็นต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่มากไปก็เป็นอันตรายด้วยเหมือนกัน จะไปออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของผู้ใช้ได้ เพราะฉะนั้นพยายามหากาวติดฟันปลอมที่มีฉลากเขียนว่า Zinc-free หรือ ปราศจากสังกะสี จะปลอดภัยที่สุด

 

กาวติดฟันปลอมชนิดเนื้อครีม

จะมีการทดสอบมาตรฐานการผลิต ความปลอดภัยดังนี้

  • ผ่านมาตรฐาน ISO 10873: Denture Adhesive
  • ผ่านการทดสอบความเป็นพิษต่อเซล์ (Cutotoxicity Test)
  • ผ่านการทดสอบความระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin Irritation Test)
  • ผ่านการทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง (Skin Sensitization Test)

ใช้งานง่าย สะดวก มีความสามารถในการยึดติดระหว่างเหงือกและฟันปลอมทั้งในสภาวะร้อน (60°C) และเย็น (5°C)

สามารถยึดติดได้นานกว่า 8 ชั่วโมง มีความปลอดภัยต่อเซลล์ร่างกาย ไม่ระคายเคืองต่อผิว วัตถุดิบหาได้ง่าย 

คุณสมบัติพิเศษ

ผลิตภัณฑ์กาวติดฟันปลอม (Denture Adhesive)  มีวิธีการใช้งานไม่ยุ่งยาก เพียงทากาวลงบนพื้นของฟันปลอมที่จะสัมผัสกับเหงือกจำนวน 3-4 ตำแหน่ง กดฟันปลอมให้แน่นกับเหงือกประมาณ 1 นาที จะเกิดการยึดติดระหว่างฟันปลอมกับเหงือก

โดยกระบวนการยึดฟันปลอมของกาวติดฟันปลอมท นี้อาศัยสมบัติการยึดติด (Adhesive) และแรงดึงดูดภายในโมเลกุลของวัสดุ (Cohesive) ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายในช่องปาก ทำให้การเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพและเกิดความมั่นใจในตนเองเวลาใช้งานฟันปลอม

 

 

 

การดูแลฟันปลอม/รีเทนเนอร์

การดูแลฟันปลอม

เมื่อใส่ฟันปลอมไปแล้ว  ควรดูแลฟันปลอมให้ถูกวิธีและรักษาสุขภาพช่องปาก  ให้คงสภาพที่ดี  ตลอดจนการกลับมา  ให้ทันตแพทย์ตรวจช่องปากและฟันปลอม  ทุก  6  เดือน  เนื่องจากอาจเกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบขึ้นได้ในภายหลังการยุบตัวของสันเหงือกเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอาจต้องเสริมฐานฟันปลอม  หรืออาจต้องเปลี่ยนฟันปลอมใหม่  โดยเฉพาะฟันปลอมที่ใช้มานาน
   

การดูแลฟันปลอมชนิดติดแน่น

  • กรณีครอบฟัน

ควรแปรงฟันร่วมกับไหมขัดฟัน (Floss)

  • กรณีสะพานฟัน

ควรแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันเช่นกัน  แต่ในบริเวณช่วงสะพานฟันเส้นไหมไม่สามารถผ่านจากด้านบกเคี้ยวไปได้  ควรเพิ่มการใช้  ไหมขัดฟัน  (Floss)  ร่วมกับเข็มร้อยไหม  (Floss threader)  หรือใช้เส้นไหมขัดฟันปลอมโดยเฉพาะ  (Superfloss)  สอดเข้าใต้ช่วงงกลางของสะพานฟันที่ติดกันสันเหงือก  เพื่อทำความสะอาดใต้สะพานฟันที่ติดกันสันเหงือก  เพื่อทำความสะอาดใต้สะพานฟัน

การดูแลฟันปลอมชนิดถอดได้

1.  การใส่ฟันปลอม  ควรใช้นิ้วมือช่วยใส่ให้เข้าที่ไม่ควรใช้ *ฟันกัด*  เพราะอาจทำให้ฟันปลอมแตกหัก  หรือบิดเบี้ยว  ได้

2.   เมื่อใส่ฟันปลอมไปใหม่ๆ  ผู้ใส่จะรู้สึกรำคาญ  พูดไม่ชัดหรือน้ำลายมากกว่าปกติ  เมื่อใส่ไประยะหนึ่งจะเริ่มคุ้นและรู้สึกสบายขึ้น  ถ้าเกิดอาการเจ็บหรือเป็นแผลจากการใส่ฟัน  ควรกลับมาพบทันตแพทย์  เพื่อแก้ไข  ไม่ควรทำการแก้ไข  หรือดัดแปลงเอง  เพราะฟันปลอมอาจเสียรูปและใส่ไม่ได้

3.  การรับประทานอาหารไม่ควรใช้ฟันปลอมกัดหรือเคี้ยวของแข็งหรือเหนียวมาก  เพราะจะทำให้ฟันปลอมสึกหรอเร็วกว่าปกติและอาจแตกร้าวหรือทำให้เหงือกเป็นแผลได้

4.  การรักษาความสะอาด  ควรทำความสะอาดฝันปลอมทุกครั้งหลังอาหาร  โดยถอดออกมาล้างแปรงขนนิ่มร่วมกับยาสีฟัน  ทั้งด้านนอกและด้านใน  ขณะที่แปรงไม่ควรกำฟันปลอมทั้งชิ้นไว้ในฝ่ามือ  เพราะอาจเผลอบีบทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยวได้

 

เวลาทำความสะอาดฟันปลอมควรมีภาชนะรองรับเสมอเพื่อป้องกันฟันปลอมตกแตกหรือบิดเบี้ยวไป  นอกจากนี้ต้องทำความสะอาดช่องปากและฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ด้วย  ผู้ที่ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลย  ควรใช้แปรงขนนิ่ม  หรือผ้าชุบน้ำเช็ดเหงือกหรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ  (น้ำอุ่นครึ่งแก้วผสมเกลือครึ่งช้อนชา)  อย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน

5.  ตามปกติควรถอนฟันปลอมออกมาแช่ในตอนกลางคืน  (ห้ามถอดวางไว้โดยไม่ได้แช่อยู่ในน้ำเพราะจะทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยวผิดรูปได้)  เพื่อให้เนื้อเยื่อในช่องปากได้พัก  ไม่มีสิ่งใดไปกด  แต่ถ้าไม่สามารถถอดตอนกลางคืนได้  ก็ควรจะถอดตอนเช้าหรือตอนบ่าย  อย่างน้อย  2 – 3  ชั่วโมงเพราะการใส่ฟันปลอมตลอด  24  ชั่วโมงนั้น  อาจทำให้เนื้อเยื้อใต้ฟันปลอมเกิดการอักเสบขึ้นมาได้

6.  การใช้เม็ดฟูทำความสะอาดฟันปลอม  เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยทำความสะอาดฟันปลอมได้ดียิ่งขึ้น  โดยทำความสะอาดฟันปลอมแล้วแช่ในน้ำที่มีการใส่เม็ดฟู่ทิ้งไว้  10  นาทีหรือแช่ค้างคืน  รอรุ่งขึ้นจึงนำฟันปลอมมาทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าแล้วจึงนำมาใส่ใหม่

วิธีทำความสะอาดรีเทนเนอร์

ควรถอดรีเทนแนอร์ออกมาแปรงทำความสะอาดรีเทนเนอร์ ไปพร้อมกับแปรงฟันในทุกๆครั้ง แต่บางครั้งการทำความสะอาดด้วยแปรงสีฟันเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่พอ

การทำความสะอาดรีเทนเนอร์ สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ดื่มน้ำบ่อยๆ ระหว่างใส่รีเทนเนอร์ น้ำเปล่าเฉยๆ ไม่ได้ทำให้รีเทนเนอร์สะอาดขึ้น แต่น้ำเปล่านั้นช่วยไม่ให้เชื้อแบคทีเรียทีอยู่ในรีเทนเนอร์เจริญเติบโตมากเกินไป ถ้ารู้สึกว่ารีเทนเนอร์มีกลิ่น หรือแห้งการกลั้วน้ำเปล่า เป็นระยะ ระหว่างใส่รีเทนเนอร์นั้นสามารถ ช่วยลดสิ่งเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
  2. ถอดรีเทนเนอร์ออกมา ทำความสะอาดร่วมด้วยในขณะแปรงฟัน คุณหมอแนะนำว่าควรจะใช้แปรงสีฟันขนนิ่ม จากนั้นจึงล้างน้ำสะอาดตาม
  3. ใช้เม็ดฟู่ สำหรับฟันปลอม แช่น้ำร่วมกับรีเทนเนอร์อย่างน้อย 20 นาที เพื่อฆ่าเชื้อทำความสะอาด
  4. น้ำส้มสายชู ผสมน้ำอุ่น แล้วใส่รีเทนเนอร์ แช่ไว้เป็นเวลา 20 นาที
  5. น้ำยาบ้วนปาก ก็สามารถทำความสะอาดรีเทนเนอร์ ได้เช่นกัน โดยอาจแช่น้ำยาบ้วนปากไว้ 2-3 นาที แล้วนำออกมาแปรงทำความสะอาด แต่ไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เนื่องจากน้ำยาบ้วนปากในท้องตลาดส่วนมากจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

บทความล่าสุด

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า