- เจ็บแน่นหน้าอก เช่น
1.1 บีบเค้น แน่นหน้าอก เหมือนมีของกดทับ
1.2 เจ็บหน้าอก ร้าวไปกราม ขากรรไกร คอ แขน ไหล่ หลัง
1.3 เจ็บหน้าอกร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น
1.4 เจ็บหน้าอกนานกว่า 20 นาที
2. เหนื่อยง่าย
3. ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
4. ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจมีหลายชนิด แบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. โรคหลอดเลือดหัวใจ
2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจพิการหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส
3. โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก
4. โรคลิ้นหัวใจอักเสบจาการติดเชื้อ
5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
6. โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
1. โรคหลอดเลือดหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ ต้องอาศัยอาหารและออกซิเจน จากหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ที่มาเลี้ยงหัวใจ ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน กล้ามเนื้อหัวใจก็จะขาดอาหารและออกซิเจน ทำให้การทำงานหัวใจเสียไป หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ในกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักเกิดเวลาออกกำลังกาย ซึ่งหัวใจต้องการอาหารและออกซิเจนมากกว่าปกติ เมื่อพักอาการก็หายไปภายในเวลาเป็นนาทีหรือหลายนาที
หากหลอดเลือดหัวใจตีบตันจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายไป หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ เหลือกล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยลง อาการรุนแรงกว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ อาการนานเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมง ถ้าเป็นมากก็จะเกิดอาการหัวใจวายได้
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยอาการจุกแน่นหน้าอกเป็นอาการนำ แต่ก็ไม่น้อยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บหน้าอกแต่มาหาแพทย์ด้วยอาการ แน่นยอดอกคล้ายท้องอืดท้องเฟ้อ หรือโรคกระเพาะอาหาร
บางรายมาด้วยอาการแทรกซ้อน เช่น อาการหอบเหนื่อยจากหัวใจวายเลือดคั่ง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งอาจเสียชีวิตก่อนมาพบแพทย์
2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส
โรคของกล้ามเนื้อหัวใจอาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากภายหลังก็ได้ ในพวกที่เป็นภายหลังชนิดที่พบมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการโดยไม่ทราบสาเหตุยังแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
- ชนิดกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
- ชนิดกล้ามเนื้อหัวใจพิการขยายตัวไม่ดีเท่าปกติจากโรคบางชนิดที่เข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อหัวใจ พบบ่อยที่สุด
- ชนิดกล้ามเนื้อหัวใจไม่หนาแต่หัวใจขยายตัวโตขึ้นบีบตัวได้ไม่ดีเท่าปกติ
เป็นผลจากความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่พอ ร่างกายปรับตัวโดยเพิ่มขนาดของหัวใจเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่บีบออกจากหัวใจ ทำให้หัวใจผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีขนาดหัวใจที่โตมาก เรียกทางแพทย์ว่า “ Dilated Cardiomyopathy”
อาการที่สำคัญที่ตามมาคือ เหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากมีอาการบวมและเหนื่อยหอบของโรคหัวใจวายเลือดคั่ง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดนี้ไม่ทราบสาเหตุที่เป็น
แต่บางครั้งอาจพบตามหลังกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสหรือเกิดภายหลังการ ได้รับสารพิษบางอย่าง เช่น โคบอล์ท ยารักษาโรคมะเร็ง
ไวรัสหลายชนิดทำให้เกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มักมีประวัติอาการไข้ อาการทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ ต่อมาเริ่มมีอาการเหนื่อยง่ายจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทำให้การบีบตัวไม่ดี ส่วนใหญ่จะเป็นไม่มาก อาจไม่ได้มาพบแพทย์ ส่วนน้อยที่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากจนทำให้เกิดอาการหัวใจวายเลือดคั่ง เหนื่อยมากจนต้องพบแพทย์ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
4.โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
ส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจอยู่ก่อน เช่น ลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูห์มาติก ลิ้นหัวใจเหล่านี้ผลจากการอักเสบทำให้รูปร่างลิ้นหัวใจผิดปกติไป เมื่อมีเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น ริดสีดวงอักเสบ ทำฟัน (อุดฟัน ถอนฟัน) เชื้อแบคทีเรียสามารถเกาะติดกับลิ้นหัวใจที่ผิดปกติได้ง่าย และลุกลามทำลายลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบได้
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการ ไข้หนาวสั่น มีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด หรืออาจมาด้วย อาการอัมพาตของสมอง แขนขาขาดเลือด จากการที่เศษก้อนเชื้อโรคจากบริเวณลิ้นหัวใจที่อักเสบหลุดกระจายไปติดตาม อวัยวะต่าง ๆ หรือมาด้วยอาการของโรคหัวใจวาย เลือดคั่งจากกล้ามเนื้อหัวใจหรือลิ้นหัวใจถูกทำลายได้
ในปัจจุบัน มีผู้ที่ใช้ยาเสพติดฉีดเข้ามาทางหลอดเลือดมากขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบลิ้นหัวใจข้างขวาอักเสบโดยไม่จำเป็นต้องมีความผิดปกติมา ก่อน เนื่องจากเข้มฉีดยาที่ไม่สะอาดทำให้มีเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดตลอดเวลา เชิ้อโรคมีโอกาสที่จะเกาะลิ้นหัวใจง่ายขึ้น
การรักษาลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้รับยาปฏิชีวนะในขนาดสูงทางหลอดเลือดดำในช่วงแรกต่อมาอาจเปลี่ยนเป็นยารับ ประทาน เป็นเวลานาน 4-6 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ทุเลาหรือมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจต้องใช้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดร่วมด้วย
5.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สาเหตุเกิดจาก ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ ความผิดปกติของการเจริญเติบโตตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา การเติบโตของเนื้อเยื่อที่จะพัฒนาเป็นหัวใจผิดปกติ ทำให้รูปร่างหัวใจไม่สมบูรณ์ มีได้หลายแบบ ตั้งแต่ ผนังกั้นหัวใจรั่ว (อาจรั่วระหว่างหัวใจห้องบนหรือรั่วระหว่างหัวใจห้องล่าง) บางคนอาจไม่มีผนังกั้นหัวใจเลย (มีแต่หัวใจห้องบนห้องเดียวหรือหัวใจห้องล่างห้องเดียวก็ได้) นอกจากนี้ยังมีลิ้นหัวใจตีบแต่กำเนิด หรือลิ้นหัวใจรั่วแต่กำเนิดได้
ในบางรายมีลักษณะ “ความพิการแบบซับซ้อน” เช่น โรคที่เรียกว่า “Tetralogy of Fallot” (ประกอบด้วยความผิดปกติ คือ ผนังกั้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบ ภาวะตัวเขียว หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าคล่อมผนังหัวใจ) ทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น
อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ แตกต่างไปตามชนิดของความพิการ มีตั้งแต่ตัวเล็กไม่เจริญเติบโต ทางเดินหายใจอักเสบง่าย หรือมีอาการหอบเหนื่อย ไปจนถึงชนิดผิวพรรณตัวเขียวและชนิดผิวพรรณตัวไม่เขียว
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect)
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่รักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด
แต่ในปัจจุบัน กลุ่มที่ผนังกั้นหัวใจรั่ว มีวิธีการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Closure device สอดเข้าทางขาคล้ายการสวนหัวใจ เข้าไปปิดบริเวณที่รั่วได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับขนาดและตำแหน่งที่ผิดปกติด้วย
6. โรคหรือความพิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
-กลุ่มอาการหัวใจวายเลือดคั่ง
-ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-โรคความดันโลหิตสูง
-โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ เนื้องอกของต่อมใต้สมอง
-ภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ขาดวิตามินบี
-โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังทำให้เยื่อหุ้มหัวใจหนาตัวผิดปกติบีบรัดหัวใจ
-หลอดเลือดพิการ เช่น หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่เออร์ต้าโป่งพอง
โรคเหล่านี้ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางหัวใจ อาจตรวจพบหัวใจโต หรือ อาจเกิดอาการหัวใจวายเลือดคั่ง และ/หรือ อาการอื่น ๆ ที่เป็นอาการเฉพาะโรค