จุลินทรีย์
โพรไบโอติคส์

แสดง %d รายการ

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มโพรไบโอติก

คือจุลลินทรีย์ชีวภาพชนิดดี มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย


โพรไบโอติกคือ

จุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นสิ่งมีชีวิตและได้รับการยอมรับว่าเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณที่มากพอจะส่งผลดีต่อสุขภาพ

ระบบทางเดินอาหารจะมีจุลินทรีย์ทั้งที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายและเชื้อจุลลินทรีย์ที่ไม่ดีทำให้เกิดโรคต่างๆ ดังนั้นการรักษาสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ที่ดีและไม่ดีจึงมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก

ประเภทของอาหารที่สามารถทำให้จุลินทรีย์ที่ดีลดลงได้แก่

  • เนื้อแดง
  • นำ้ตาลสูง
  • ไขมันสูง
  • แอลกอฮอล์  

รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบขาดการออกกำลังกาย เคร่งเครียด มีโรคเรื้อรัง จะส่งผลให้มีการเสียสมดุลที่ดีของจุลินทรีย์ในร่างกาย เรียกว่า GUT DYSBIOSIS

ปัจจุบันจึงนิยมการรับประทานจุลินทรีย์ที่ดีเสริม บทบาทของโพรไบโอติก คือ เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกาย จะไปอาศัยอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ คือ ช่วยเพิ่มจำนวนแบคที่เรียที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายให้มีมากขึ้น ลดจำนวนแบคทีเรียที่ไม่ดีให้มีน้อยลง ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ และ ยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกายด้วย 

 

จุลินทรีย์

 

โพรไบโอติกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ

  1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) : เป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติชนิดดีที่พบได้ในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด  มีคุณสมบัติในการสร้างไบโอฟิล์มที่ช่วยให้ตัวมันเองสามารถมีชิวิตอยู่ในสภาวะที่เป็นกรดได้ 
  2. บิฟิโดแบคทีเรียม ( Bifidobacterium) : เป็นโพรไบโอติกที่โดยธรรมชาติ พบได้ในช่องปาก ลำไส้ และช่องคลอด มีคุณสมบัติ ช่วยย่อยอาหาร ผลิตกรดไขมันสายสั้น และ ช่วยลดการอักเสบ
  3. แซคคาโรไมซิส ( saccharomyces) : เป็นจุลินทรีย์ประเภทยีสต์ ที่ไม่มีอยู่ในร่างกายคนตามธรรมชาติ เป็นโพรไบติกที่ใช้ในการรักษาและป้องกันอาการท้องเสีย มานานกว่า 30 ปี 

ประเภทจุลิทรีย์ชนิดดี

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ประโยชน์ของโพรไบโอติก

บทบาทของโพรไบโอติกในร่างกาย

จุลินทรีย์ที่ดีก่อประโยชน์ต่อร่างกายเรียกว่า โพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต และ ต้องผ่านการศึกษาและทดสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ทราบข้อมูลทั้งในเรื่องคุณประโยชน์และความปลอดภัยต่อร่างกาย ตลอดจนได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานของรัฐทั้งในต่างประเทศและในประเทศ

  1. ประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร 

จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ ( intestinal microflora) มีมากถึง 100 ล้านล้านเซลล์  ซึ่งมากกว่าจำนวนเซลล์ทั้งร่างกายของมนุษย์ 

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ทางเดินอาหารใต้ชั้นเยื่อบุลำไส้ ซึ่งจะมีระบบจดจำว่าเป็นจุลินทรีย์ชนิดดี หรือไม่ดี และมีการตอบสนองแตกต่างกัน

เมื่อจุลินทรีย์ชนิดดี ผ่านเข้ามาในระบบทางเดินอาหาร จะเกาะติดผิวเยื่อบุลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกันบริเวณลำไส้ จะจดจำและยอมรับให้อยู่ร่วมกัน โพรไบโอติกจะอาศัยอาหารบริเวณลำไส้ในการเจริญเติบโต และช่วยสร้างสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น

เยื่อบุลำไส้ 

  • ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ มีสภาพเป็นกรด ทำให้เชื้อก่อโรคไม่สามารถเจริญเติบและอาศัยอยู่ได้
  • ช่วยกระตุ้นการหลั่งเมือกมาปกป้องผิวเยื่อบุลำไส้
  • ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่บาดเจ็บ
  • ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวตัวของระบบทางเดินอาหาร  ทำให้บรรเทาอาการท้องผูกได้  สายพันธ์ุ probiotic ที่นำมาใช้รักษาอาการท้องผูก ได้แก่ Bifidobacterium Longum  BB536
  • ช่วยผลิตเอนไซม์ย่อยสารอาหาร

2. ประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน 

ร่างกายมีกลไกด้านภูมิคุ้มกัน 2 ประเภท คือ ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (innate immunity) และ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive immunity) 

 

ระบบภูมิคุ้มกัน

 

  • ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด เป็นภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องและกำจัดโรคติดเชื้อทั่วๆไป ไม่จำเพาะ และไม่มีความจำ ได้แก่ น้ำลาย ที่มี IgA  antibody  กรดในกระเพาะที่ฆ่าเชื้อโรคได้  เซลล์เยื่อบุลำไส้ที่เป็นแนวปิดกั้นธรรมชาติกั้นแยกไม่ให้ของเหลวภายนอกลำไส้ผ่านเข้ามาภายในลำไส้ การเคลื่อนไหวตัวบีบตัวของลำไส้เป็นการเพิ่มภูมต้านทานให้ร่างกาย

 

แอนติบอดี้

  • ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดหลังได้รับเชื้อ สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอม ซึ่งจะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างสารตอบสนองเฉพาะต่อสารที่ม่กระตุ้น การตอบสนองจะแรงขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นซ้ำ 

กลไกการทำงานของโพรไบโอติก คือ จะทำการหมักอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ย่อยและไม่ถูกดูดซึม และเหลือค้างอยู่ในโพรงลำไส้ ได้เป็นผลผลิตสุดท้ายคือ กรดไขมันห่วงสั้น (short chain fatty acid) SCFAs 

กรดไขมันห่วงสั้นมีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคผ่านเข้าสู่เซลล์  
  2. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflamatory)
  3. กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน (immune moduration pathway)

สายพันธุ์ Probiotic ที่นำมาใช้และได้รับการยอมรับว่าช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้ผลดีโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ได้แก่ Lactobacillus reuteri DSM 17938

กลไกของโพรไบโอติคส์

3. ประโยชน์ด้านการป้องกันและรักษาภาวะท้องเสีย

ภาวะท้องเสียเกิดจากจุลินทรีย์ที่ไม่ดีหรือเชื้อโรคทำลายชั้นเมือกที่ปกป้องเยื่อบุลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ทำให้มีการรั่วผ่านของเหลวภายนอกเข้ามา จึงเป็นผลให้มีอาการถ่ายเหลวท้องเสียตามมา 

การให้ probiotic ซึ่งจะผลิตสารฆ่าเชื้อ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยซ่อมแซมปิดกั้นช่องว่างระหว่างเซลล์ที่เสียหาย  ทำให้บรรเทาอาการถ่ายเหลวท้องเสียได้

probiotic ที่นำมาใช้ในการรักษาอาการท้องเสียได้แก่ Sacccharomyces bouladii ,Lactobacillus acidophilus,Bifidobacterium animalis

 

เซลล์เยื่อบุลำไส้

4. ประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคลำไส้แปรปรวน (Irriable Bowel Syndrome) IBS

อาการลำไส้แปรปรวนเป็นความผิดปกติของระบบอาหาร มีสาเหตุจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของลำไส้ได้เร็วกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยใต้สะดือ 

โพรไบโอติกสามารถช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร กำจัดแบคที่เรียที่ทำให้สมดุลลำไส้เปลี่ยน  พบว่า สามารถทำให้อาการของโรคดีขึ้นได้

probiotic สายพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในการรักษา โรคไอบีเอส ได้แก่ Lactobacillus plantarum 299v

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่  โพรไบโอติก

5. ประโยชน์ในด้านป้องกันโรคตับคั่งไขมันชนิดไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ( Non-alcoholic fatty liver disease / NAFLD)

ในร่างกายคนเรามีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  เรียกรวมๆว่า ไมโครไบโอต้า microbiota ซึ่งพบมากที่สุดบริเวณระบบทางเดินอาหาร  

มีการศึกษาพบว่าไมโครไบโอต้าในลำไส้เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไขมันพอกตับ โดยพบว่าการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่เรียกว่า dysbiosis  สัมพันธ์กับโรคอ้วนและโรคตับคั่งไขมัน 

การที่เรารับประทานอาหารจำพวกไขมันและน้ำตาล มันจะไปทำให้เกิดภาวะ DYSBIOSIS  และกระตุ้นให้มีการสร้างกรดไขมันชนิดสายสั้น , lipopolysaccharide และ ethanol เพิ่มขึ้น สารเหล่านี้ทำให้มีการอักเสบและการสะสมไขมันไปที่ตับ และเกิดโรคตับคั่งไขมันในที่สุด

ภาวะตับคั่งไขมัน

ประโยชน์ของการรับประทานโพรไบโอติกเสริม

โพรไบโอติก เป็นจุลลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายสุขภาพดีจะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีและไม่ดีได้ แต่หากมีอะไรไปทำให้สมดุลตรงนี้เสียไป จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของร่างกายคนเราได้ ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายจึงมีความสำคัญ 

การรับประทานโพรไบโอติกส์เสริมจึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเสียสมดุลจุลินทรีย์ (Dysbiosis)

  • การทานน้ำตาลและของหวานปริมาณมาก เป็นประจำทุกวัน
  • การทานแป้งที่ผ่านการขัดสี
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำทุกวัน
  • การใช้ยาปฏิชีวนะแบบไม่สมเหตุผล
  • ภาวะเครียด
  • การสูบบุหรี่
  • พักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • อายุที่เพิ่มขึ้น

ภาวะเสียสมดุลจุลลินทรีย์

สายพันธุ์โพรไบโอติกที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย

สายพันธุ์โพรไบโอติก

บทความล่าสุด

ยาถ่ายพยาธิ

การใช้ยาถ่ายพยาธิ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่อยู่ในร่างกาย พยาธิจัดเป็นปรสิต (parasite) &

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า