ผู้หญิง
โยคะ

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผู้หญิง

ผู้หญิงทุกคนต่างใฝ่ฝันจะมีสุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต สิ่งสำคัญคือ การเตรียมตัวเข้าสู่วัยต่างๆ จะช่วยให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น

 

-26%
Original price was: 135 บาท.Current price is: 100 บาท.
189 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

โคเอนไซม์คิวเท็น

คิวเทน กินเพื่อสุขภาพหรือ ความงาม

ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ประจำฝ่ายเคมีทางอาหาร สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวว่า โคเอนไซม์คิวเทน หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกย่อๆว่าคิวเทน เป็นสารที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายของมนุษย์และสัตว์ มีอยู่มากในอวัยวะภายในโดยเฉพาะหัวใจ, ตับ และไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลา

โดยมีหน้าที่สำคัญคือ ทำให้เกิดพลังงานสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ประมาณ 95% ของพลังงานในร่างกาย และเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคมะเร็งต่างๆ และเป็นต้นเหตุของเซลล์เสื่อมสภาพหรือความแก่นั่นเอง

ดร.เอกราชกล่าวต่อว่า ปกติร่างกายเราได้รับคิวเทน 2 ทาง จากอาหารที่เรากินทั่วไป และจากการสังเคราะห์ ของร่างกาย อาหารที่มี “คิวเทน” สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลาทะเล หัวใจ ตับ ถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันงา

ส่วนการสังเคราะห์นั้น ร่างกายจะสังเคราะห์ “คิวเทน” ได้ดีตอนช่วงอายุน้อยๆ และจะลดลงหลังจากอายุ 21 ปี นอกจากนี้การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitors ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดคอเลสเทอรอลและไขมันในเลือด ยังมีผลยับยั้งการสังเคราะห์ “คิวเทน” ด้วย และการเจ็บป่วยก็จะทำให้ร่างกายมีระดับ “คิวเทน” ต่ำมาก ดังนั้นการได้รับ “คิวเทน” โดยตรงจากอาหาร จึงมีความจำเป็นมากขึ้น

สำหรับประโยชน์ของ “คิวเทน” ต่อสุขภาพและความงามนั้น ดร.เอกราช เปิดเผยว่า ด้วยเหตุที่ “คิวเทน” ทำหน้าที่ในกระบวนการเสริมสร้างพลังงานให้แก่ทุกๆเซลล์ และต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ให้ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกาย จึงมีการนำมาใช้ในด้านความสวยความงาม

คิวเทน” ที่ได้รับจากอาหารจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง ดังนั้นผลในด้านสุขภาพโดยรวมจะมีมากกว่าในด้านผิวพรรณ

ส่วนที่มีการนำ “คิวเทน” ไปผสมในเครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกนั้น จะสามารถซึมผ่านผิวหนังชั้นนอกได้ประมาณ 20% และซึมผ่านผิวหนังแท้ได้ประมาณ 3%

จากผลวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้พบว่า “คิวเทน”ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายโดยรังสียูวีจากแสงแดด และช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ “คิวเทน” ที่มีในผลิตภัณฑ์และความสามารถของพาหะหรือตัวกลางที่จะพา “คิวเทน” เข้าสู่ผิวหนังด้วย หากตัวกลางหรือตัวทำละลายมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ จึงควรทดสอบการแพ้ก่อนนำไปใช้ และยังไม่พบผลโดยตรงที่ช่วยให้ขาวขึ้น

สุดท้าย ดร.เอกราชได้แนะนำถึงการบริโภคว่า แต่ละวันควรบริโภคอาหารให้ได้รับคิวเทน 20-30 มิลลิกรัม โดยกินร่วมกับอาหารที่มีไขมัน เพราะ “คิวเทน” ละลายได้ดีในไขมัน

หากได้รับ “คิวเทน” น้อยเกินไปอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย จากการที่เซลล์ไม่สามารถสร้างพลังงานอย่างเพียงพอทั้งภายนอกและภายในร่างกาย และมีผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง “คิวเทน” ถือว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่พบผลข้างเคียงใดๆที่รุนแรงจาก

การบริโภค ปริมาณสูงถึง 300-600 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากอาการคลื่นไส้ไม่สบายท้อง อย่างไรก็ตาม การกินในปริมาณนี้ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี การกินต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และไม่ควรกินต่อเนื่องกันเป็นเวลานานโดยไม่มีระยะพักอีกด้วย.

 

ปริมาณการใช้ในทางการแพทย์

  • ใช้เพื่อบำรุงร่างกาย วันละ 30-200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • รักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 150-600 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทานตามจำนวนครั้งที่แพทย์กำหนด
  • รักษาภาวะหัวใจวาย 50-150 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งเป็นวันละ 2-3 ครั้ง

โคเอ็นไซม์คิวเทน เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแปลงไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแอลกอฮอล์ เป็นสาร เอทีพี ATP (adenosine triphosphate) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เก็บพลังงานในรูปพลังงานทางเคมี

เมื่อเซลล์ต้องการพลังงานมันจะแตกโมเลกุลเอทีพี เพื่อปล่อยพลังงานที่อยู่ภายในออกมา กระบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ ที่มีโครงสร้างคล้ายรูปถั่วเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondria)

เซลล์กล้ามเนื้อต้องการพลังงาน ในปริมาณมากเพราะเซลล์กล้ามเนื้อประกอบด้วย ไมโทคอนเดรีย มากกว่าเซลล์ชนิดอื่น ๆ

กล้ามเนื้อหัวใจเป็นเนื้อเยื่อตัวอย่างที่ดีในร่างกายที่มีความหนาแน่นของไมโทคอนเดรีย เนื่องจากหัวใจต้องใช้พลังงานอย่างมหาศาล และนอกจากนี้ โคเอ็นไซม์คิวเทน ยังเป็นสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย

คิวเทน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ความสามารถของโคเอ็นไซม์คิวเทน ในการจับและแจกจ่ายอิเล็กตรอนทำให้มันเหมาะสำหรับการขจัดอนุมูลอิสระที่เรียกว่า Reactive Oxygen Species - ROS ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากจากการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย หรือเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกเช่น การได้รับคลื่นกัมมันตภาพรังสีรังสี หรือสารพิษทางเคมี สารที่มีคุณสมบัตินี้จะเรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ

นอกจากนี้มนุษย์เรามีความสามารถในการสังเคราะห์ โคเอ็นไซม์คิวเทน ได้เอง การผลิตจะเกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อภายในตับ แต่เมื่ออายุที่เพิ่มขึ้น หรือผลของการเกิดโรคทำให้ความสามารถในการผลิต คิวเทน ของเราลดลงได้ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ปริมาณ คิวเทน สูงสุดในร่างกายขอเราจะมีในช่วงอายุ 20-25 ปี หลังจากช่วงระยะดังกล่าวการผลิตสารนี้จะเริ่มลดลง

แม้ว่าจะยังไม่มีผลการศึกษาอย่างชัดเจน แต่ คาดกันว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่ตามปกติ ให้โคเอ็นไซม์ คิวเทน ระหว่าง 5-20 มก. และร่างกายมี คิวเทน สำรองของตัวเองที่ 1-1.5 กรัม โดยที่สารนี้จะมีอยู่มากสุดในหัวใจ ตับ และไต

คิวเทน และโคเลสเตอรอล
คิวเทน และคอเลสเตอรอลมีเส้นทางการสังเคระห์ทางชีวเคมีร่วมกัน (คอเลสเตอรอลยังสามารถสังเคราะห์ได้ในตับด้วย) มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ยาลดคอเลสเตอรอลบางชนิดยับยั้งการผลิตคิวเทน ภายในร่างกาย

สรุป
มีเหตุผลทางชีวเคมีหลายอย่างที่ส่งเสริมการใช้โคเอ็นไซม์ คิวเทน ได้แก่ :

  • คิวเทนมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และการเสริมสารนี้แก่ร่างกายแสดงให้เห็นถึงการสร้างพลังงานที่เพิ่มขึ้น
  • คิวเทน อาจเป็นสารตัวต้านอนุมูลอิสระที่สามารถละลายได้ในไขมัน(lipid-soluble antioxidant) ที่สำคัญที่สุด ซึ่งอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ และไลโปโปรตีน (lipoprotein)ในเลือด
  • การสังเคราะห์ คิวเทนของร่างกาย จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เริ่มจากในช่วงวัยยี่สิบต้นๆ
  • การสังเคราะห์ คิวเทนของร่างกายมีความเชื่อมโยงกับการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลอยู่บ้าง และการใช้ คิวเทน อาจถูกนำมาใช้ร่วมกับยาลดโคเลสเตอรอลบางชนิด

ไอโซฟลาโวน

ถั่วเหลือง

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glycine max  เป็นพืชที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีและมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปแบบที่แปรรูปจากถั่วเหลืองสด เช่น น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์อาหารเจเพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถบริโภคในรูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น ถั่วเน่า เทมเป้ นัตโต๊ะ เต้าเจี้ยว และซอสถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะทราบดีว่าถั่วเหลืองเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน 

นอกจากสารอาหารดังกล่าวแล้วถั่วเหลืองยังมีสารอาหารสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีคุณประโยชน์นานัปการ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่าวัยทอง เนื่องจากผู้คนในวัยนี้เป็นวัยที่มีภาวะของฮอร์โมนเพศลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ (Hot flush) อารมณ์แปรปรวนง่าย และหงุดหงิดบ่อยครั้ง ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และนี่คือคุณสมบัติหลักของ ไอโซฟลาโวนโดยจะทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนในส่วนที่ขาดหายไป จนได้ชื่อว่า ”เอสโตรเจนที่ได้จากพืช” หรือ “Phytoestrogen” นั่นเอง (Sarkar et al., 2002)

นอกจากนี้ ไอโซฟลาโวนยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งที่เกิดกับผู้สูงอายุ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย มะเร็งเต้านม และโรคกระดูกพรุน เป็นต้น ดังนั้นถั่วเหลืองจึงเป็นอาหารอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

 

สำหรับสตรีวัยทอง คือ ผู้หญิงในช่วงหมดประจำเดือน มักจะสืบเสาะค้นหาผลิตภัณฑ์อาหารที่จะช่วยเสริมสุขภาพในช่วงอายุนี้ อาการที่น่ารำคาญที่สุด คือ อาการร้อนวูบวาบ ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจ ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีประโยชน์เป็นที่ยอมรับกันมานานหลายพันปีในสมัยก่อนยุคคริสตกาล เป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนและญี่ปุ่น ประชากรที่รับประทานถั่วเหลืองในปริมาณสูงมักจะพบโรคหัวใจและหลอดเลือด, มะเร็งเต้านม, ภาวะกระดูกพรุน น้อยกว่าประชากรที่รับประทานถั่วเหลืองในปริมาณต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย

ถั่วเหลืองประกอบด้วยกลุ่มสารประกอบสำคัญที่เรียกว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) จัดเป็น ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogen) ซึ่งชนิดหลักๆ คือ ไดอาไซน์(Daizein), เจนิสสไตน์(Genistein), ไกลซิไตน์(Glycitein)

 

ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองชนิดต่างๆมีปริมาณไอโซฟลาโวนแตกต่างกันอย่างไร

วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองที่เป็นรูปแบบของแข็งมักจะมีปริมาณไอโซฟลาโวนสูงกว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว ตัวอย่างเช่น แป้งถั่วเหลืองจะมีปริมาณไอโซฟลาโวนสูงกว่าน้ำถั่วเหลือง  ปริมาณไอโซฟลาโวนที่แนะนำ คือ 50-100 มิลลิกรัม/วัน หากคิดแบบคร่าวๆ เทียบเท่ากับ น้ำถั่วเหลืองประมาณวันละ 2 –4 แก้ว หรือเต้าหู้ในขนาดที่กำหนดประมาณวันละ 2 –4 ก้อน

          โดยอาหารที่มีไอโซฟลาโวนในปริมาณมากเช่น ฟองเต้าหู้ดิบ แป้งถั่วเหลือง ถั่วเหลืองสีเขียวที่แก่จัด หรือโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น 

บทความล่าสุด

ยาถ่ายพยาธิ

การใช้ยาถ่ายพยาธิ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่อยู่ในร่างกาย พยาธิจัดเป็นปรสิต (parasite) &

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า