พ่อแม่ลูก

Showing 1–15 of 25 results

วิตามินรวมและเกลือแร่

วิตามิน และ เกลือแร่ เป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่นำไปสร้างพลังงาน แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาระบบต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล

สินค้าหมดแล้ว

เกร็ดความรู้เรื่องวิตามินเกลือแร่

วิตามินมี 2 ประเภท ดังนี้ 

1. วิตามินที่ละลายในไขมัน

ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินเค วิตามินอี และวิตามินดี ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะละลายในไขมัน ก่อนจะถูกลำเลียงเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายได้นำไปใช้ หากร่างกายได้รับวิตามินชนิดนี้เกินกว่าที่ต้องการ ร่างกายจะเก็บสะสมไว้ในตับ ดังนั้นควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ก่อนรับประทาน

2.วิตามินที่ละลายในน้ำ

ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบีรวม และโฟเลต (กรดโฟลิก) ร่างกายต้องการวิตามินชนิดนี้ในปริมาณที่สมำ่เสมอทุกวัน เพราะไม่มีการสะสมในร่างกาย ส่วนที่ได้รับเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ การทานวิตามินชนิดนี้ อาจทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นและมีกลิ่นคล้ายยาได้ ไม่ต้องตกใจคะ โดยเฉพาะการทานวิตามินบีขนาดสูงๆ การทานวิตามินเพื่อให้ผลในเชิงป้องกันระยะยาว อาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด  ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาขาดวิตามินมาก่อน

วิตามินเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ วิตามินเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาการนำสารอาหารที่ให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นการขาดวิตามินจะทำให้สารอาหารที่กินเข้าไปไม่ถูกเผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้

ข้อแนะนำการรับประทานวิตามิน

  • ควรรับประทานวิตามินและแร่ธาตุทุกชนิดหลังอาหาร เพราะอาหารจะช่วยให้มีการดูดซึมอย่างช้าๆ ถึงแม้ว่าวิตามินและแร่ธาตุบางอย่างอาจดูดซึมได้ดีขณะท้องว่าง แต่อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ ถ้ารับประทานตอนท้องว่าง และควรรับประทานตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
  • เครื่องดื่ม ชา กาแฟ ลดการดูดซึมวิตามินและเกลือแร่อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นควรเว้นช่วงการดื่มห่างจากการทานวิตามิน 1-2 ชั่วโมง

  

ข้อควรรู้ที่สำคัญ

คนไข้เบาหวานที่ทานยา Metformin

ควรทานวิตามินบี 12 เสริมเป็นประจำทุกวันเพราะ ยา Metformin ทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี 12

คนไข้ที่มีโรคประจำตัวต้องทานสเตียรอยด์เป็นประจำทุกวัน

ควรทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกโปร่งบาง

สตรีตั้งครรภ์และคนไข้ที่กินยากันชักเป็นประจำ

ต้องได้รับกรดโฟลิคเพิ่มเพื่อป้องกันทารกในครรภ์มีความผิดปกติของหลอดประสาท และกรดโฟลิคช่วยเสริมการรักษาของยากันชักได้

คนไข้ที่ทานยาวาร์ฟาริน แอสไพริน หรือยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด

ควรระมัดระวังการได้ทาน วิตามินอี น้ำมันปลา ใบแปะก๋วย ในขนาดสูง เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงจากยาได้ เนื่องจากมันไปเสริมฤิทธิ์ของยาให้สูงขึ้น 

คนไข้ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลาสซีเมีย

ไม่ควรทานวิตามินที่มีธาตุเหล็ก เพราะผู้ป่วยมีธาตุเหล็กเกินในร่างกายอยู่แล้ว แต่ให้ทานโฟลิค แอซิด ทดแทน เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางจางจากเม็ดเลือดแดงแตก

ผู้ป่วย บกพร่อง G-6-PD 

ควรระมัดระวังการกินวิตามินซีขนาดสูง เพราะจะเร่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และเป็นอันตรายได้

บทความล่าสุด

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า