INTRASITE GEL
- อินทราไซท์เจล ไฮโดรเจลสำหรับใส่แผล
- สำหรับกำจัดเนื้อตายได้ทั้งแผลตื้น แผลลึก และแผลที่เป็นโพรง
- เหมาะสำหรับแผลกดทับ แผลที่ขา แผลเบาหวานที่เท้า และแผลผ่าตัด
- ส่งเสริมกระบวนการหายของแผลด้วยการย่อยสลายของแผลเองโดยการเติมน้ำให้เนื้อตาย
- ส่งเสริมการหายของแผลด้วยความชื้นที่เหมาะสม
- ไม่ติดแผลและไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่ดีและผิวหนังรอบๆ
- ดูดซับของเหลวส่วนเกินจากแผล
- ช่วยส่งเสริมขบวนการขจัดเนื้อตายตามธรรมชาติ
- ช่วยย่อยสลาย และดูดซับเนื้อตายสีเหลืองรวมทั้งน้ำเหลือง
- ทาบริเวณแผล แล้วปิดทับด้วยก๊อสหรือวัสดุปิดแผลที่เหมาะสม
- ห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีส่วนผสมของไอโอดีน ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ต่อโพรพิลีนไกลคอล
- 1 หลอดบรรจุปริมาณ 25 กรัม
- ผลิตโดย บริษัท สมิธแอนด์เนฟฟิว จำกัด
ลักษณะแผลกดทับ
- แผลกดทับสามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
- ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด
- ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
- ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
- ระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
- นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้
วิธีการรักษาแผลกดทับ
- หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่ ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
- ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
- การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาแผลกดทับ
- อุปกรณ์ช่วยลดแรงกดทับ เช่น ฟูกชนิดพิเศษ ที่นอนลม แผ่นโฟมปิดบริเวณปุ่มกระดุกลดแรงเสียดสีและแรงกดทับ แผ่นเจลลดแรงกดทับ
- อุปกรณ์ทำแผลขั้นสูง (Advance Wound Dressing) วัสดุใส่ในแผลหรือแผ่นปิดแผลที่สามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการสมแผลทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
- การรักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)
ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและเส้นเลือดฝอย ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะในร่างกายที่มี ออกซิเจนและเลือดไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงช่วยให้บาดแผลหายเร็วยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อแบคทีเรียช่วยป้องกันและต่อสู้กับการติดเชื้อบางชนิด ลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ - การรักษาด้วยเลเซอร์ (Photo Therapy: Healite II LED) เป็นนวัตกรรมแสงบําบัด เพื่อช่วยในการสมานแผล โดยใช้พลังงานแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ ช่วยสมานแผล ลดอาการบวม อักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต ช่วยเร่งกระบวนการการหายของแผล ช่วยเพิ่มคอลลาเจนเพื่อใช้ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อกลับคืนสู่สภาพเดิม
- การรักษาแผลโดยใช้คลื่นกระแทก (Electro Hydraulic Shock Wave)
เป็นเครื่องที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ของแผลและเพิ่มหลอดเลือดฝอยขนาดเล็กในบริเวณที่ทำการรักษา ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น - การรักษาแผลโดยวิธีสุญญากาศ (Negative Pressure Wound Therapy)
คือการทำแผลโดยวิธีสุญญากาศ เป็นการรักษาแผลด้วยระบบปิดที่ความดันต่ำกว่าบรรยากาศ โดยมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีลักษณะเป็นสายเล็ก ๆ สอดอยู่ในแผล มีปลายอีกด้านต่อเข้ากับเครื่องสุญญากาศเพื่อช่วยระบายเลือดหรือสารคัดหลั่งออกจากแผล จะช่วยกระตุ้นกระบวนการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น - การรักษาด้วยหนอนบำบัด(Maggot Therapy) เป็นการรักษาด้วยหนอนแมลงวันสายพันธ์แมลงวันสายพันธุ์ Lucilia sericata สามารถกำจัดเนื้อตาย โดยหนอนแมลงวันจะผลิตเอนไซม์ออกมาช่วยย่อยเนื้อตายในแผล แล้วจะดูดน้ำที่ย่อยแล้วเข้าไป รวมถึงเนื้อตายแล้วถูกย่อยก็จะดูดเข้าไปในตัวหนอนด้วย
- เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนทางผิวหนัง (Transcutaneous oxygen monitoring equipment: TCOM) เป็นการวัดค่าแรงดันออกซิเจนผ่านทางผิวหนัง โดยวัดออกซิเจน (O2) จากที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดเลือดฝอยมาสู่ชั้นผิวหนัง วัดโดยการติดหัววัด Electrode ในบริเวณที่ต้องการทำการวัดค่าการวัดที่ได้จะบอกถึงข้อมูลความสามารถของร่างกายในการนำส่งออกซิเจนเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อ
อัตราค่าจัดส่ง
เรามีบริการจัดส่งในพื้นที่โดยขนส่ง Pandago และนอกพื้นที่โดยขนส่ง Flash
- กรณีในพื้นที่ใช้ขนส่ง Pandago ทางร้านจะใช้ค่าบริการตามจริงที่บริษัทขนส่งคิด
- กรณีนอกพื้นที่ ใช้บริการขนส่ง Flash อัตราค่าบริการค่าขนส่ง จะคิดตามน้ำหนักสินค้าแต่ในกรณีที่ปลายทางส่งสินค้าจัดอยู่ในเงื่อนไขเป็นพื้นที่ห่างไกล หรือ พื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ ของขนส่งเอกชน จะมีค่าบริการบวกเพิ่ม 50 บาท คะ
โดยนอกพื้นที่ใช้ระยะเวลาการจัดส่ง 2-3 วันทำการ และในพื้นที่ห่างไกลใช้ระยะเวลาการจัดส่ง 3-5 วันทำการ คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่นี่คะ> นโยบายการจัดส่ง
ขั้นตอนการสั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 1
เลือกสินค้าและจำนวนที่ต้องการ จากนั้นคลิ๊กที่ หยิบใส่ตะกร้า สามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลายรายการ
ขั้นตอนที่ 2
ตรวจสอบความถูกต้องของรายการที่สั่งซื้อ คลิ๊กที่ดูตะกร้าสินค้า ระบบจะพาไปหน้า SHOPPING CART
ขั้นตอนที่ 3
ตรวจสอบรายการสั่งซื้อ ถ้าต้องการแก้ไขสามารถทำได้ที่หน้านี้ เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กที่ ปรับปรุงสินค้าในตะกร้า จากนั้นเมื่อพร้อมชำระเงินคลิ๊กที่ดำเนินการสั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 4
กรอกข้อมูลผู้ซื้อ ในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน คลิ๊กที่ช่อง ฉันยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงของเวปไซต์ และ ปุ่ม สั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 5
หน้าแจ้งชำระเงิน มีรายละเอียดเลขที่บัญชีธนาคารที่ให้ลูกค้าเลือกโอน เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ส่งหลักฐานการโอนเงินได้ 2 ช่องทาง แนบไฟล์รูป หรือ ส่งผ่านทาง LINE
ขั้นตอนที่ 6
หากลูกค้าต้องการดูขั้นตอนการใช้เวปไซต์อย่างละเอียดอีกครั้งคลิ๊ก ที่นี่
เมื่อเราตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จะจัดส่งสินค้าและส่งสลิปขนส่งให้ลูกค้าสามารถเช็คสถานะการจัดส่งได้ด้วยตัวเอง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์