ร้านยาตามความเข้าใจเดิมของสังคม เป็นสถานประกอบธุรกิจขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2510 ร้านยามีปัญหาทั้งเรื่องด้อยคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการ จนในปี พ.ศ. 2546 สภาเภสัชกรรม ร่วมมือกับอย. จัดทำมาตรฐานร้านยาคุณภาพขึ้น โดยได้กำหนดมาตรฐานร้านยาไว้ 5 ด้าน ดังนี้
- มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ
- มาตรฐานที่ 2 การบริการจัดการเพื่อคุณภาพ
- มาตรฐานที่ 3 การบริการเภสัชกรรมที่ดี
- มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ จริยธรรม
- มาตรฐานที่ 5 การให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม
ร้านยาคุณภาพคือ ร้านยาที่ผ่านการรับรองจากสภาเภสัชกรรม ว่ามีมาตรฐานการให้ “บริการด้านยาและสุขภาพที่ดี มีคุณภาพ “ คือมีบริการแบบวิชาชีพทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์และบริการข้อมูลและคำแนะนำ มีมาตรฐาน 5 ด้านดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
1. ความเป็นมาของร้านยาคุณภาพ
ประเทศไทยมีสัดส่วนของร้านยาที่เภสัชกรเป็นเจ้าของจำนวนน้อยกว่าร้านยาที่เภสัชกรไม่เป็นเจ้าของ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเภสัชกรและการกระจายตัวที่ไม่เหมาะสมของเภสัชกร ผู้ที่ทำหน้าที่ขายยาอาจจะเป็นเภสัชกรหรือไม่ใช่เภสัชกรก็ได้ ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม เกิดความสูญเปล่าในการใช้ทรัพยากรสาธารณสุข
แต่หลังจากมีพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา เริ่มมีบริบทของการพัฒนาคุณภาพร้านขายยาขึ้น โดยกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในร้านยาอย่างชัดเจน โดยการเปิดร้านยานั้นจะประกอบไปด้วยผู้รับอนุญาต ซึ่งจะเป็นเภสัชกรหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการต้องเป็นเภสัชกร ผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ทำหน้าที่ส่งมอบยา เวชภัณฑ์ยา แก่ประชาชน
เจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชนในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ดังนั้นร้านยาจึงไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ดำเนินธุรกิจในการขายยาและเวชภัณฑ์ยาเท่านั้น แต่ร้านยาจัดเป็นสถานบริการสาธารณสุขขั้นปฐมภูมิด้วย ซึ่งประชาชนสามารถใช้บริการซื้อยา และขอคำแนะนำเรื่องยาและสุขภาพได้ด้วย
หน้าที่หลักๆของเภสัชกรในร้านยา คือ ส่งมอบยาพร้อมให้คำแนะนำการใช้ยา การดูแลคุณภาพและประกันคุณภาพของยาตั้งแต่การจัดหายาเข้าร้านถึงส่งมอบแก่ผู้บริโภค รวมถึงการบริหารจัดการกิจการของร้านยาให้มีความสมดุลระหว่างผลกำไรและการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับบริการด้านยาที่คุ้มค่าและปลอดภัย
เนื่องจากร้านยาในประเทศไทย มีความแตกต่างกันมากทั้งในเรื่องกายภาพและการให้บริการ ใน ปี พ.ศ. 2546 สภาเภสัชกรรมจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมชุมชน ขึ้นเพื่อให้มีแนวทางเดียวกันในการปฏิบัติงานในร้านยา และมีการรับรองมาตรฐานร้านยาจากสภาเภสัชกรรมเป็น “ร้านยาคุณภาพ”
2. แนวคิดมาตรฐานร้านยาคุณภาพ
ด้วยเหตุผลที่คุณภาพการให้บริการของร้านยามีความแตกต่างกัน ไม่มีมาตรฐาน และส่วนใหญ่ไม่มีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการทำให้ภาพลักษณ์ร้านยาไม่ดีนักในสายตาสังคม ทำให้สภาเภสัชกรรมต้องพิจารณาเรื่องการพัฒนามาตรฐานร้านยา เพื่อยกระดับร้านยาโดยรวมให้ดีขึ้น
ในปี พ.ศ. 2546 สภาเภสัชกรรมจึงได้จัด “โครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาขึ้น” โดยมีแนวคิดมาจากรูปแบบร้านยาที่พึงประสงค์และเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย เพื่อพัฒนาร้านยาให้สามารถเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตามความจำเป็นและเท่าเทียม
วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้คือ มุ่งเน้นให้มีบริบาลเภสัชกรรมที่ดีเกิดขึ้นในร้านยา เปลี่ยนภาพลักษณ์ของร้านยาให้เป็นสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมมากกว่าการขายยาทั่วไป และเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนมิใช่เพียงมาซื้อยา แต่เป็นการไปปรึกษาขอคำแนะนำในเรื่องการดูแลสุขภาพและการใช้ยาที่ถูกต้อง
- มาตรฐานที่ 1 สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการบริการ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานทางกายภาพในการให้บริการ การมีสัดส่วนพื้นที่ในการปฏิบัติของเภสัชกรอย่างเด่นชัด มีการกำหนดป้ายแสดงตัวเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ณ.ร้านยานั้นว่าคือใคร
- มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการเพื่อคุณภาพ เพื่อประกันว่ากระบวนการจัดการร้านยา จะทำให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจ โดยระบุถึงคุณสมบัติของทั้งเภสัชกรและผู้ช่วยเภสัชกร ว่าควรเป็นอย่างไร ขั้นตอนวิธีการให้บริการที่ดี
- มาตรฐานที่ 3 การบริการเภสัชกรรมที่ดี ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดหา คัดเลือกผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษา การเลือกจ่ายยาและการส่งมอบยาแก่ผู้มารับบริการ อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
- มาตรฐานที่ 4 การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และจริยธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมกำกับให้ร้านยาปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณ
- มาตรฐานที่ 5 การให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม เป็นการขยายบทบาทเภสัชกรในการให้บริการเชิงรุก ลงสู่ชุมชนรอบข้าง โดยไม่ได้ตั้งรับอยู่ในร้านยาแบบเดิมที่เรียกว่า เป็นการเยี่ยมบ้าน เพื่อฝึกให้เภสักรเรียนรู้วิธีทำงานในการสร้างเสริมสุขภาพ และการทำงานในระดับชุมชนมากขึ้น เช่น การให้บริการคัดกรองผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความดัน เบาหวาน การให้บริการแนะนำการเลิกสูบบุหรี่ การจัดการด้านยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมากกว่า 1 โรค ใช้ยาหลายตัว หลายโรค มีความซับซ้อนในการใช้ยาและเสี่ยงที่จะใช้ยาไม่ถูกต้อง
3. บทบาทเชิงรุกของเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ
ตามมาตรฐานร้านยาคุณภาพข้อที่ 5 ที่จะพัฒนาบทบาทเชิงรุกของเภสัชกรชุมชน ในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา มีการดำเนินการไปแล้วในร้านยาที่มีความพร้อมและศักยภาพมากพอ มี 4 บทบาทดังนี้
- การเฝ้าระวังโรคในรูปแบบการคัดกรอง
โดยเฉพาะโรคที่เป็นความเสี่ยงในชุมชนและมีผลกระทบต่อสังคม อาทิเช่น
- คัดกรองโรคเรื้อรัง : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคซึมเศร้า
- คัดกรองโรคติดเชื้อในชุมชน : โรคหวัด โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง
- คัดกรองโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ : โรคหนองใน ประเมินการใช้ยาคุมฉุกเฉิน
ข้อมูลที่เภสัชกรในร้านยาได้จากการคัดกรอง จะถูกส่งกลับเข้าสู่ระบบโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การจัดการด้านยา ( Medication Therapy Management , MTM)
เป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำข้อมูลของผู้ป่วยมาประเมินการใช้ยา ค้นหาปัญหาจากการใช้ยา และส่งต่อแพทย์ วัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเก็บบันทึกไว้สำหรับการส่งต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นเกิดการใช้ทรัพยากรสาธารณสุขที่คุ้มค่า
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนและผู้ป่วย
กิจกรรมที่เภสัชกรชุมชนในร้านยาเริ่มโครงการไปบ้างแล้ว เช่น การรณรงค์เลิกบุหรี่ การระวังผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัย การให้ความรู้ประชาชนด้านอาหรและยา การรณรงค์คืนยาเหลือใช้ที่บ้านให้โรงพยาบาล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : โครงการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน
- การคุ้มครองผู้บริโภค
เภสัชกรในร้านยาส่งมอบยาพร้อมให้บริการบริบาลเภสัชกรรมร่วมด้วย เช่น ก่อนจ่ายยาต้องมีการค้นหาปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยก่อนแล้วจึงคัดเลือกยาที่เหมาะสมกับสภาวะของโรคและเศรษฐานะของผู้มารับบริการ ส่งมอบยาพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา การใช้ยาให้ได้ผลคุ้มค่า
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเภสัชกรชุมชน : บทบาทเภสัชกรในร้านยาคุณภาพ
4. บทบาทเภสัชกรที่มีคุณภาพขององค์การอนามัยโลกกำหนด
จากการประชุมขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้สรุปบทบาทคุณภาพของเภสัชกรไว้ 7 ประการ
“The seven star pharmacist “
- ผู้ให้การดูแล (care giver): เภสัชกรควรมีองค์ความรู้ ในสาขาที่ปฏิบัติงาน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริการสุขภาพแก่ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด
- ผู้ตัดสินใจ ( Decision maker) : เภสัชกรต้องมีความสามารถในการตัดสินใจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เช่น ยา บุคลากร เครื่องมือ ให้บรรลุเป้าหมายการดูแลสุขภาพผู้มารับบริการอย่างเหมาะสมที่สุด
- ผู้สื่อสาร ( Communicator) : เภสัชกรเป็นส่วนเชื่อมระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ดังนั้นจึงต้องมีทั้งความรู้ ความมั่นใจในการทำหน้าที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลากรทางการแพทย์และประชาชน เภสัชกรจึงต้องมีทักษะการสื่อสารรูปแบบใช้เสียง ทักษะการใช้ท่าทางในการสื่อสาร ทักษะการเขียน และที่สำคัญที่สุดคือทักษะการฟัง
แวะชมสินค้าที่คุณอาจสนใจ
4. ผู้นำ (Leader) : เภสัชกรต้องเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ประสานให้ทีมสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย
5. ผู้จัดการ ( Manager) : เภสัชกรต้องทำหน้าที่จัดการทั้งในเรื่องผู้ป่วยและธุรกิจไปพร้อมๆกันให้สมดุล การเงิน สินค้าคงคลัง การคิดค่าบริการที่สมเหตุสมผลเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
6. ผู้เรียนรู้ ( Life long learner) : ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เภสัชกรต้องสามารถติดตามเรียนรู้ ข้อมูลใหม่ๆ ให้ทันสมัยตลอดเวลา เพื่อเพิ่มและคงประสิทธิภาพในการประกอบวิชาชีพ
7. ผู้สอน ( Teachar) : เนื่องจากต้องขยายบทบาทเชิงรุก ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็น
สรุป
ร้านยาคุณภาพได้ถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่มากกว่าร้านยาทั่วไป ทั้งในเรื่องขอบเขตงานที่ต้องรับผิดชอบ สมรรถนะความสามารถของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานด้านบริบาลเภสัชกรรม ที่ครอบคลุมตั้งแต่ การคัดเลือกยา การจ่ายยา การให้ความรู้เรื่องการใช้ยา การดูแลสุขภาพ การติดตามการใช้ยา และการค้นหาปัญหาที่เกิดจากยา เป็นต้น
การบริบาลทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical care)
การบริบาลทางเภสัชกรรม หมายถึง ความรับผิดชอบของเภสัชกรโดยตรงที่มีต่อการใช้ยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องตามที่ต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ผลการรักษาที่ถูกต้องคือ
โดยเภสัชกรจะปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์ทางสาธาณสุขอื่นๆ เรียกว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพและมีหน้าที่หลักในการค้นหา แก้ไข และป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ตลอดจนติดตามประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยา เพื่อให้เกิดระบบยาที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด
สินค้าแนะนำ
คอมบิฟ เออาร์ (หนัก 40 กรัม)
ฟิกซูโมลใสกันน้ำ (หนัก 60 กรัม)
ไบโอซิงค์ (หนัก 150 กรัม)
459 บาท399 บาทหน้ากาก 3M (หนัก 10 กรัม)
แคปซูลฟ้าทะลายโจร (หนัก 10-160 กรัม)
แนคลอง
กระชายขาวแคปซูล (หนัก 50 กรัม)
ยาเบญจกูล (หนัก 50 กรัม)
สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก (หนัก 90-150 กรัม)
อินอควา (หนัก 10กรัม)
แผนที่ที่ตั้งร้าน
ร้านยาของเรา
วิวร้านกลางวัน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
วิวภายในร้าน
เภสัชกรเหลียน
พนักงานผู้ช่วยนูรีดา
พันธมิตรของเรา
บริษัทยาที่เป็นพันธมิตรสนับสนุนเรา