ผู้ป่วย

แสดงทั้งหมด 6 ผลลัพท์

ครีมรักษาแผลกดทับ

แผลกดทับเกิดจากแรงกดทับที่ผิวหนังเป็นเวลานาน มักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ


แผลกดทับ

ความเข้าใจเกี่ยวกับ “แผลกดทับ” ที่เป็นการบาดเจ็บหรือเกิดแผล อันเป็นผลจากเนื้อเยื่อถูกกดทับเป็นเวลานานหรือกดทับรุนแรง ทำให้เลือดผ่านมาเลี้ยงได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนและสารอาหารจนในที่สุดเนื้อเยื่อจะบาดเจ็บและตาย

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นเช่น สภาพผิวหนังที่อ่อนแอ เนื่องจากผิวเปียกชื้น ผิวบวมน้ำ การขาดสารอาหาร โรคและการรักษาที่มีผลต่อสภาพผิว รวมถึงการเสียดสี ทำให้เกิดเป็นแผลในที่สุด

ใครเสี่ยงต่อการเป็นแผลกดทับบ้าง

ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ “ติดเตียง” ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมากๆ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่ขาดสารอาหาร และผู้ป่วยที่การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี โดยบริเวณที่เกิดแผลกดทับได้บ่อย ได้แก่ บริเวณที่มีหนังหุ้มกระดูก ตามปุ่มกระดูก เช่น ผู้ที่นอนหงายท่าเดียวนานๆ มักจะพบแผลกดทับที่บริเวณ กระดูกส้นเท้า กระดูกก้นกบ ข้อศอก สะบัก หรือผู้ที่นอนตะแคงท่าเดียวนาน ๆ จะพบแผลกดทับที่บริเวณ สันตะโพก ต้นแขน หู ตาตุ่ม เป็นต้น

แผลกดทับ น่ากลัวกว่าที่คิด 

เพราะแผลกดทับไม่ใช่แค่แผลธรรมดาทั่วไป อาจจะรุนแรงลึกถึงกระดูก เกิดการติดเชื้อและเนื้อตายซึ่งอาจลามไปสู่การตัดอวัยวะบางส่วนได้ โดยบริเวณที่ต้องดูแลเป็นอย่างมากเพราะเสี่ยงจะเป็นแผลกดทับและติดเชื้อได้ง่าย นั่นคือ บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งขับถ่ายนั่นเอง 

เพราะคนเราต้องขับถ่าย ผู้ป่วยติดเตียงก็เช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ เมื่อผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะแล้วของเสียมักจะค้างอยู่ในผ้าอ้อมระยะเวลาหนึ่งก่อนได้รับการทำความสะอาด จึงเกิดความอับชื้นได้ง่าย เสี่ยงต่อการอักเสบของผิวและเกิดแผลกดทับได้ง่ายที่สุด

ทำความสะอาดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

หนึ่งในการดูแลสุขภาพผิวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับคือดูแลให้สภาพผิวแข็งแรง มีความชุ่มชื้นที่พอดี และเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยนเหมาะสมกับสภาวะผิวของคนป่วยจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดแผลได้ เพราะในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่กลั้นสิ่งขับถ่ายไม่ได้ ผิวจะเปียกชื้นและอาจมีการอักเสบจากด่างและเอนไซม์ในอุจจาระ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นด่างต่อผิวและการขัดถู และความเปียกชื้นจากการล้างน้ำบ่อยครั้ง จะเสริมให้เกิดการอักเสบได้ด้วย ซึ่งผิวที่อักเสบแล้วมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้สูงถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับสภาพผิวปกติ

ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงยังไม่มีแผลกดทับ 3เอ็ม คาวิลอน แนะนำว่า การป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบจากสิ่งขับถ่ายก็สำคัญ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ใน 3 ขั้นตอน

  •  ทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์กรดอ่อนหรือสเปรย์ชนิดไม่ต้องล้างน้ำ ช่วยคงคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนของผิว ชนิดสเปรย์ใช้หลังจากเช็ดอุจจาระออกแล้ว ใช้แทนสบู่และน้ำหรือใช้แทนสำลีชุบน้ำ เพื่อลดความระคายเคือง
  • คืนความชุ่มชื้นผิวแห้ง คืนค่าความสมดุลให้กับผิวด้วยครีมที่มีค่า pH สมดุล เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการเกิดผิวหนังแตกแห้งจากการทำความสะอาดร่างกายทั่วไปในแต่ละครั้ง
  • เคลือบปกป้องผิวเปียกชื้น การใช้ครีมหรือสเปรย์ฟิล์มเคลือบปกป้องผิวก้นก่อนการใส่ผ้าอ้อมจะช่วยลดการเกิดการระคายเคืองจากการแช่สัมผัสสิ่งขับถ่าย

เพียงแค่ใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้มีสภาพผิวที่แข็งแรงช่วยให้ห่างไกลจากแผลกดทับ จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวด ทรมาน และความเสี่ยงจากการติดเชื้อรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง

การดูแลไม่ไห้เกิดแผลกดทับ

การป้องกันและดูแลเพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัยที่มีปัญหานอนติดเตียง 

1. การเปลี่ยนและจัดท่าของผู้ป่วย

โดยยึดเอาตามความสามารถในการขยับ เคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นที่ตั้งหากผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุกๆ 2 ชั่วโมง อาจจะเป็นถ้านอนหงายแล้วนอนตะแคงโดยอาจใช้หมอนข้างนิ่มๆมากั้นรวมถึงใช้หมอนนิ่มๆใบเล็กแทรกอยู่ตามระหว่างปุ่มกระดูกที่อาจกดทับกันจนเป็นแผลได้

หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุกๆ 1 ชั่วโมง ระหว่างอาบน้ำเช็ดตัวเปลี่ยนผ้าอ้อมควรหมั่นสังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง หากเริ่มแดง คล้ำ ดูอักเสบควรหมั่นพลิกตัวเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ

2. ใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมีภาวะโรคประจำตัวเยอะ ขาดสารอาหารรวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งกดทับ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่มๆลดแรงกดทับ เตียงลมที่มีคุณภาพ เจลรองตำแหน่งกดทับ เป็นต้น

3. การป้องกันภาวะผิวหนังที่แห้งหรืออับชื้นมากจนเกินไป

ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้แต่หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ควรจัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใช้อยู่ให้สะอาดเป็นประจำ รวมถึงอาจใช้ยา ครีมทาเคลือบผิวเพื่อลดอาการระคายเคืองหลังจากขับถ่าย เป็นจำพวกมอยเจอไรเซอร์ ทาผิวหลังอาบน้ำและทำความสะอาด รวมถึงทุกเวลาที่พบบ่อยผิวแห้ง

 

ควรสังเกตหากผู้สูงวัยมีอาการคันมากผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดได้หลายสาเหตุเช่นแผลเบาหวาน ผื่นแพ้ผ้าอ้อม แพ้เทปปิดผิวหนัง หากเกามากๆ ไปนานๆ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

4. การดูแลด้านโภชนาการให้ผู้สูงวัยได้รับอย่างครบถ้วน

มีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่รับอาหารผ่านทางสายยางรวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี หลีกเลี่ยง ไขมันอิ่มตัวและชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหารหรือวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวไวด้วย

5.หมั่นสอดส่องความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง

บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเช่นตำแหน่งที่มีการกดทับ ตำแหน่งที่มีการเสียดสีบ่อยๆ ปุ่มกระดูกที่พบมากและต้องให้ความสำคัญ เช่นบริเวณก้นกบ ตาตุ่ม ข้อศอก และด้านข้างของเข่า รวมถึงใบหู ด้านหลังศีรษะ บริเวณปีกจมูกถ้าผู้ป่วยได้รับการใส่สายให้อาหารทางสายจมูกมานานๆ

ซึ่งถ้าพบลักษณะสีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วง หรือดูมีลักษณะการอักเสบ เช่นกดเจ็บ หรือเปลี่ยนเป็นสีดำซึ่งบ่งบอกถึงมีการเนื้อตายที่รุนแรง ควรจะขอความช่วยเหลือและปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล แต่ถ้าหากพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะเพิ่มการดูแลการพลิกตัวให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดอุบัติการการเกิดแผลลงได้

บทความล่าสุด

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า