เด็กสมบูรณ์

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

ยาและวิตามินเด็ก

หากลูกคุณ เป็นเด็กกินยาก กินน้อย หรือ กินแต่อาหารเดิมซ้ำ ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ การเสริม วิตามินสำหรับเด็กเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสารอาหารในช่วงวัยที่เด็กเลือกกิน

 


เขากุยแก้ร้อนใน

แผลร้อนในปาก ( Aphthous ulcer หรือ Aphthous stomatitis ) หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า อาการร้อนใน

พบได้ในทุกช่วงวัย อาการร้อนในเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันอาการแสดงที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน คือ ภายในช่องปากลูกน้อยจะมีลักษณะเป็นแผลขาวๆ ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผลส่วนมากจะไม่มีไข้ เด็กบางคนมีทั้งแผลในปากและมีไข้ร่วมด้วย 

สาเหตุของการเกิดร้อนใน (แผลในปาก)

1. ติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส ในเด็กจะเป็นตุ่มใสๆ บางครั้งตุ่มแตกเป็นแผลเหมือนกับแผลร้อนใน บางคนเป็นหลายๆ แผลในปาก ทั้งบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน แผลเหล่านี้สร้ามความเจ็บปวดและทรมานกับเด็กๆ เป็นอย่างมาก มักเกิดในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 

2. ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง กำลังไม่สบาย 

3. ลูกน้อยกัดปากตนเอง

4. ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12

เทคนิคที่ทำให้ลูกไข้ลดลงอย่างรวดเร็วและปลอดภัย

  • ลดไข้ด้วยการการเช็ดตัว
  • ลดไข้ด้วยการดื่มน้ำดื่มน้ำมากๆ จะช่วยชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีไข้
  • ลดไข้ด้วยการระบายความร้อนที่ดีใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย เพื่อระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
  • ให้ยาลดไข้ ได้แก่ ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) 
  • ให้ยาน้ำเขากุย : ซึ่งเป็นยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเพราะช่วยทั้งเรื่องร้อนในและลดไข้ บรรเทาปวดไปในตัว ด้วยยาชนิดเดียวสมุนไพรที่มีคุณสมบัติมีฤทธิ์เย็นปลอดภัยสำหรับเด็ก

ยาน้ำแก้ร้อนในเขากุย

เป็นยาตำรับแผนโบราณสูตรเฉพาะของอ้วยอันโอสถ  ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ 

สรรพคุณ

ช่วยในการแก้ร้อนใน  แผลร้อนใน  หรือสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัว  เป็นไข้  ตัวร้อน  ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด  อาทิเช่น  เขากุย เต็งซิม กั๊วกิง เลี้ยงเคี้ยว กิกแก้ กิมงิ่งฮวย ที่มีฤทธิ์เย็น  ช่วยในการลดไข้  ลดความร้อนในร่างกาย

การผลิตยาน้ำเขากุย

ทุกขั้นตอนการผลิตควบคุมโดยมาตรฐาน GMP ที่ได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข อ้วยอันโอสถใส่ใจในคุณภาพและกระบวนการผลิต   ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบและตรวจหาสารปนเปื้อนในวัตถุดิบทุกครั้งก่อนนำไปผลิต ยาน้ำเขากุยเป็นการผสมระหว่างตำรับยาโบราณ กับเทคโนโลยีทันสมัย ผ่านกระบวนการสกัดจนได้ยาน้ำใส และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยระบบ UV รวมถึงบรรจุภัณฑ์ระบบ safety cap และป้องกันอีกหนึ่งขั้นด้วยระบบ safety seal

รสชาติและลักษณะของยาน้ำเขากุย

รูปแบบน้ำใส รสจืด กลิ่นหอม รับประทานง่าย

เด็กสามารถทานยาน้ำเขากุยได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

สามารถทานได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป ถ้าเด็กไม่ยอมทาน อาจผสมยาน้ำเขากุยกับน้ำเปล่าได้เพื่อให้ทานง่ายขึ้น

ขนาดการรับประทาน :

  • อายุ 4-6 เดือน 5-10 ml (syringe ขนาด 5 ml) ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • อายุ 6-12 เดือน 10-20 ml ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • อายุ 1- 3 ปี 20-30 ml ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • อายุ 3-6 ปี 30-40 ml ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • อายุ 6-12 ปี 40-60 ml ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ 60-120 ml ทุก 4-6 ชั่วโมง

อาการท้องอืดในเด็ก

อาการท้องอืด

เป็นอาการที่เด็ก ๆ เป็นกันบ่อย ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงเด็กโต เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ อาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบายเนื้อสบายตัว มีอาการแน่นท้อง ร้องไห้งอแง อารมณ์ไม่ดี บิดตัวไปมา โดยจะสังเกตเห็นได้ว่าทารกท้องป่องมากกว่าปกติ เมื่อเอามือจับท้องทารกจะรู้สึกว่าท้องแข็งเหมือนมีลมอยู่ข้างใน 

สาเหตุที่ทำให้เด็กท้องอืด

สาเหตุที่ทำให้เด็กท้องอืด อึดอัด หรือไม่สบายท้อง มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากกระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งระบบย่อยอาหารของทารกในช่วง 3 เดือนแรกยังทำงานไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากเกินไปได้ โดยอาจเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • เด็กดูดนมเร็วเกินไป หากน้ำนมจากเต้านมแม่หรือจุกขวดนมไหลออกมามากเกินไป ทำให้เด็กต้องกลืนน้ำนมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหาร
  • เด็กดูดนมช้าเกินไป อาจเป็นเพราะหัวนมแม่บอด หรือจุกขวดนมมีรูเล็ก ทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อยหรือไหลช้า ทำให้เด็กต้องกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้นระหว่างดูดนม
  • เด็กดูดนมที่มีฟองอากาศมากเกินไป เช่น การดูดนมจากขวด หรือกินนมผงที่มีฟองอากาศเกิดขึ้นระหว่างชงผสมกับน้ำ ทารกอาจท้องอืดได้หากกลืนฟองอากาศมากเกินไป
  • เด็กบางรายเกิดอาการท้องอืดเพราะว่าแพ้โปรตีนจากอาหารบางชนิดในนมผง และนมแม่ เพราะอาหารที่คุณแม่รับประทานอาจไหลผ่านน้ำนมและส่งผลให้เด็กท้องอืดได้
  • หลังจากที่ทารกกินนมเสร็จแล้ว คุณแม่ไม่ได้จับให้เด็กเรอเพื่อขับลม
  • ทารกร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กลืนอากาศเข้าไปจำนวนมาก

อาการบ่งบอกว่าเด็กท้องอืด

อาการท้องอืด สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกมีอายุ 2-3 สัปดาห์ โดยสามารถสังเกตความผิดปกติได้เมื่อเด็กแสดงอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. ร้องไห้งอแง หงุดหงิด หน้าเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง

2. กำมือแน่น ยกขาสูง ยืดแอ่นตัว ดิ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังจากที่กินนมเสร็จ

3. ลูกท้องป่องมาก ท้องแข็ง เมื่อเอามือเคาะท้องจะได้ยินเสียงเหมือนมีลมอยู่ข้างใน

4. ทารกบางคนอาจมีอาการนอนกรน หรือหายใจทางปากร่วมด้วย เพราะท้องอืดทำให้หายใจได้ไม่ดีนัก

5. ทารกที่ท้องอืดเป็นประจำ อุจจาระจะมีลักษณะหยาบ

6. ทารกอาจผายลม หรือเรอเพื่อขับลมออกมาบ้าง

วิธีบรรเทาอาการท้องอืด

ในเด็กบางคนที่มีอาการท้องอืดอาจทำการขับลมออกมาเองได้โดยการเรอหรือการผายลม แต่ทางที่ดีควรรู้วิธีแก้ท้องอืด ที่จะช่วยบรรเทาอาการอึดอัด ปวดท้อง ไม่สบายตัว ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1. หลังจากที่ลูกกินนมเสร็จแล้ว ทำให้ลูกเรอด้วยการอุ้มลูกพาดบ่า คางเกยไหล่ และลูบหลังลูกเบา ๆ (ลูบลงอย่างเดียว) ประมาณ 10-20 นาที หรือจับลูกนั่งตัก โดยใช้มือประคองช่วงคอให้โน้มไปข้างหน้า แล้วลูบหลัง หรือจับลูกนอนคว่ำพาดบนตัก ใช้มือประคองยกหัวลูกให้สูงกว่าหน้าอก แล้วค่อย ๆ ใช้มืออีกข้างลูบหลัง

2. นวดท้องให้ลูก โดยจับลูกนอนหงาย และใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างค่อย ๆ กดบริเวณหน้าอกไล่ลงมาใต้สะดือ แล้วหมุนมือวนตามเข็มนาฬิกาประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยไล่ลม ลดอาการท้องอืด และช่วยให้ระบบหมุนเวียนของลำไส้ดีขึ้น

3. จับขาลูกปั่นจักรยานอากาศ หรือจับขาลูกแล้วงอหัวเข่าและขา จากนั้นกดช่วงต้นขาลงไปให้ชิดท้องอย่างแผ่วเบา ก็จะช่วยขับลมออกจากช่องท้องได้

4. ให้ลูกกินยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อสำหรับทารก เช่น ไกร๊ปวอเตอร์ (Gripe Water) เป็นยาน้ำชนิดรับประทานมักใช้ในเด็กเล็กตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป

5. ทายามหาหิงค์ ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ โดยชุบสำลีแล้วนำมาทาที่หน้าท้อง ฝ่ามือ และฝ่าเท้าของทารก ไอระเหยและฤทธิ์ความร้อนจากตัวยาที่ลูกสูดดมเข้าไป จะช่วยขับไล่ลม ให้ลูกผายลมออกมา

6. นำใบกะเพราประมาณ 20-30 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดและนำมาบดจนมีน้ำสีดำออกมาจากใบกะเพรา นำน้ำสีดำที่ได้มาทาที่หน้าท้อง ฝ่ามือและฝ่าเท้าของลูก จะช่วยขับลมได้

วิธีป้องกันอาการท้องอืด

สามารถทำได้โดยการพยายามไม่ให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมาก รวมไปถึงการรับประทานอาหารของคุณแม่ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก ซึ่งการป้องกันลูกท้องอืด ทำได้ดังนี้

1. ป้อนนมให้ลูกในบริมาณที่พอเหมาะ

2. อุ้มลูกน้อยขณะให้นม โดยจัดท่าทางให้เหมาะสม หากคุณแม่ให้นมจากขวดก็ควรอุ้มลูกขึ้นมาเช่นเดียวกับท่าให้นมแม่ โดยยกศีรษะลูกให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย จะทำให้น้ำนมไหลลงสู่ท้องได้ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนม

3. ขณะป้อนนมควรยกขวดนมขึ้นเพื่อป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม หรืออาจเอียงขวดนมทำมุม 30-40 องศา เพื่อให้อากาศลอยอยู่ที่ก้นขวด รวมทั้งปรับขนาดรูจุกนมไม่ให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป หรือใช้ขวดนมที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปน้อยที่สุด

4. ถ้าให้ลูกดูดนมจากขวด อย่าหมุนฝาแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดลมในขวดนมได้

5. หากให้ลูกกินนมผง หลังผสมนมเสร็จแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 นาที เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัวก่อนให้ลูกดูดนมจากขวด

6. สำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก เช่น รำข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ถั่วต่าง ๆ อาหารที่ทำจากนม เป็นต้น เพราะอาจส่งแก๊สผ่านปริมาณน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ และหากลูกหย่านมแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงให้ลูกกินอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมากเช่นกัน

7. ควรจับลูกเรอบ่อย ๆ ระหว่างให้นม และหลังให้นม เพื่อไล่ลมที่ลูกอาจกลืนลงไประหว่างดูดนม

เด็กท้องอืดเมื่อไหร่ที่ควรกังวล?

การที่ลูกท้องอืดเป็นบางครั้งถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ในบางรายก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาในระบบการย่อยอาหารที่รุนแรงตามมาได้ หากลูกมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้ควบคู่ไปกับการท้องอืดด้วย ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาอาการอื่นๆ เพราะอาจมีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารได้ โดยสังเกตอาการดังนี้

1. ถ่ายไม่ออก ไม่ถ่ายอุจจาระหลายวัน

2. อุจจาระมีเลือดปน

3. ท้องเสีย อาเจียน

4. ร้องไห้งอแงไม่หยุดเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง

5. มีไข้สูง โดยเฉพาะเด็กทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือนที่มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป

บทความล่าสุด

ยาถ่ายพยาธิ

การใช้ยาถ่ายพยาธิ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่อยู่ในร่างกาย พยาธิจัดเป็นปรสิต (parasite) &

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า