ยาสมุนไพร1

แสดงทั้งหมด 6 ผลลัพท์

ยาแผนโบราณภายนอก

ยาแผนโบราณภายนอกที่ควรมีไว้ประจำบ้าน  ได้แก่ ยาไพลแก้ปวดเมื่อย ยาว่านหางจระเข้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ยาพญายอ ใช้บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย ยาบัวบก ใช้สมานแผล


ยานัตถุ์

ยานัตถุ์คืออะไร รักษาอะไรได้บ้าง?

ยานัตถุ์เป็นยาแผนโบราณ มีการใช้ยานัตถุ์กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนชนชั้นสูง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงของประเทศจีน มีการจดบันทึกว่าจักรพรรดิสะสมขวดยานัตถุ์ซึ่งมีลักษณะเป็นขวดแก้วตกแต่งอย่างสวยงามเป็นจำนวนมาก ถือว่ายุคนั้นเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของยานัตถุ์เลยก็ว่าได้ ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานที่มาของยานัตถุ์อย่างชัดเจน เพียงมีบันทึกว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีชาวเปอร์เซียนำยาสูบคล้ายยานัตถุ์เข้ามาเผยแพร่ และคนไทยสูบยานี้กันโดยทั่วไป

ยานัตถุ์จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประชาชนสามารถซื้อมารับประทานได้ด้วยตนเอง เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและมีความปลอดภัยสูง หากใช้ตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายคำว่า “นัตถุ์” แปลว่า จมูก และคำว่า “ยานัตถุ์” จึงมีความหมายโดยรวมว่า ผงยาละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุสมุนไพรอย่างอื่น ใช้สำหรับนัดหรือเป่า สูด เข้าในจมูกนั่นเอง ปัจจุบันการใช้ยานัตถุ์พบเห็นได้น้อยมาก เนื่องจากมีรูปแบบการใช้ยาแบบอื่นที่สะดวกกว่า

ยานัตถุ์ใช้รักษาอาการอะไร?
จริงๆ แล้วผงยานัตถุ์ใช้รักษาอาการเกี่ยวกับอวัยวะทางเดินหายใจตั้งแต่ศีรษะเป็นต้นไป สรรพคุณของยานัตถุ์คือแก้อาการปวดศีรษะ บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ทำให้จมูกโล่ง หายใจสะดวก แก้ไมเกรน แก้ภูมิแพ้อากาศ และรักษาอาการโรคริดสีดวงจมูกได้ รสชาติยานัตถุ์คล้ายกับวาซาบิของประเทศญี่ปุ่น เมื่อนัดยาเข้าไปในจมูกจะทำให้หายใจโล่งขึ้น บรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้

 ส่วนประกอบหลักของยานัตถุ์ทั่วไปจะประกอบด้วยยาฉุน พิมเสน โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐเชียง อบเชย และปูนแดง ผู้ผลิตบางรายอาจจะเพิ่มหรือลดยาสมุนไพรบางตัวก็ได้ ตามสูตรและจุดประสงค์ของการรักษาโดยเฉพาะ

ส่วนประกอบหลักในยานัตถุ์มีสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • โกฐสอ เนื้อในมีน้ำมันหอมระเหยกลิ่นหอม การศึกษาฤทธืทางเภสัชวิทยาพบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้เป็นยาบรรเทาอาการไข้หวัด คัดจมูก แก้ริดสีดวงจมูก ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกลุ่มยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตและลม หรือในกลุ่มของยาหอมนั่นเอง
  • โกฐหัวบัว กลิ่นหอมฉุน และมีน้ำมันหอมระเหยบริเวณเหง้า ช่วยต้านการอักเสบได้ ช่วยขับลม แก้ลมเบื้องสูง หรือลมที่ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ เป็นส่วนประกอบหนึ่งในตำรับยาหอม จากบัญชียาหลักสมุนไพร

 

  • โกฐเชียง หรือรากตังกุย กลิ่นหอมฉุน เป็นสมุนไพรรสขมร้อน มีน้ำมันระเหยช่วยแก้อาการวิงเวียน แก้ลม แก้หอบ และแก้ริดสีดวงจมูกได้
  • อบเชย กลิ่นหอม ช่วยต้านการอักเสบ แก้อาการอ่อนเพลีย แก้หวัดคัดจมูก และแก้อาการปวดศีรษะได้
  • พิมเสน มีกลิ่นหอมเย็น ใช้เป็นยากระตุ้นระบบทางดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น แก้ลมวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย
  • ยาฉุน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ยาสูบ” ส่วนใบที่นำมาทำยาช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับง่าย ช่วยแก้หอบหืด
  • ปูนแดง ได้จากการนำเปลือกหอยมาบดเป็นผงขาว ผสมกับขมิ้น ช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดได้

อุปกรณ์และวิธีการนัดยา

อุปกรณ์หลักๆ สำหรับนัดยา ประกอบไปด้วย กล้องยานัตถุ์ มีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) ปลายข้างหนึ่งมีขนาดเล็กสำหรับสอดทางรูจมูก อีกข้างมีขนาดใหญ่ไว้สอดเข้าทางปาก วิธีการนัดยา คือ เทผงยาใส่มือพอประมาณ เกลี่ยให้ผงยากระจาย ไม่จับตัวกันเป็นก้อน จากนั้นใช้กล้องยานัตถุ์ด้านรูใหญ่ตักผงยาเข้าไป และสอดรูดังกล่าวเข้าทางปาก ให้รูเล็กอีกด้านเข้าทางจมูก สูดหายใจเข้าช้าๆ ยานัตถุ์จะค่อยๆ เข้าไปในระบบทางเดินหายใจช้าๆ

ข้อควรระวังในการใช้ยานัตถุ์

  • ไม่ควรใช้ผงยานัตถุ์ในปริมาณมาก เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นสมุนไพรร้อน อาจเกิดอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจและเกิดอาการสำลักได้ ที่สำคัญคือควรปฏิบัติตามฉลากยาข้างขวดยาอย่างเคร่งครัด
  • หากมีการอักเสบในทางดินหายใจ เช่น จมูกบวม แดง มีอาการปวด หรือมีแผล ไม่ควรใช้ยานัตถุ์
  • การใช้ยานัตถุ์เป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมผงยาในโพรงจมูก จนกลายเป็นสิ่งสกปรกและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นเมื่อนัดยาแล้ว ควรใช้น้ำเกลือล้างจมูกหรือใช้สำลีก้านก็ได้เช่นเดียวกัน
  • เลือกซื้อยานัดที่มีฉลากยาและเลขทะเบียนตำรับยากำกับชัดเจน มีการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยในการใช้สมุนไพร เนื่องจากตำรับยานัตถุ์มีส่วนประกอบของยาสูบ อาจทำให้เกิดการเสพติดยานัตถุ์ และเป็นอันตรายต่อร่างกายภายหลังได้

 

ยาอุดฟัน

น้ำมันกานพลูคืออะไร (clove oil )

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry     

ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ชื่อพ้อง : Eugenia caryophyllata Thunb. Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & Harrison, Eugenia aromatica Kuntze

ชื่ออังกฤษ : Clove, Clove tree

ชื่อท้องถิ่น : จันจี่ (ภาคเหนือ)

น้ำมันกานพลูเป็นน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่งที่สกัดได้จากการกลั่นโดยใช้ไอน้ำจากพืชที่เราเรียกกันว่าต้นกานพลู ซึ่งประเภทของน้ำมันมีอยู่ 3 ประเภทคือ

  1. น้ำมันจากดอกได้มาจากดอกตูมของต้นกานพลู ซึ่งประกอบไปด้วย 60% eugenol, acetyl eugenol, caryophyllene และส่วนประกอบย่อยอื่นๆ
  2. น้ำมันจากใบที่ได้มาจากใบของต้นกานพลู ประกอบด้วยยูจินอล 82-88% ซึ่งอาจจะมีอะซิเตตน้อยหรือไม่มีเลยและยังส่วนประกอบย่อยอื่นๆอีกด้วย
  3. น้ำมันจากต้นมาจากกิ่งและเปลือกต้นของต้านกานพลู ประกอบด้วยยูจินอล 90 - 95% และส่วนประกอบย่อยอื่นๆ

ส่วนลักษณะของน้ำมันกานพลูนั้นจะเป็นของเหลว (น้ำมัน) มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งจะฉุนเล็กน้อยมีสีใสถึงเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองปนน้ำตาลอ่อน น้ำมันกานพลูมักจะมีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมของยานวด, น้ำหอม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงใช้ในการปรุงรสของยาเพื่อลดความขมลง แต่หากเป็นสมุนไพรจากส่วนต่างๆของกานพลูนั้น มีการใช้เป็นยาสมุนไพรกันอย่ากว้างขวางและหลากหลายในด้านสรรพคุณทางยาในพืชชนิดนี้

สารสำคัญที่พบ

  • ดอก – Eugenol 72-90 %– Eugenyl acetate 2-27 %– β-caryophyllene 5-12 %– trans-β-caryophyllene 6.3-12.7 %– Vanillin
  • ใบ  – Eugenol 94.4 %  – β-caryophyllene 2.9 %
  • สารอื่นๆ ได้แก่ methyl salicylate, methyl eugenol, benzaldehyde, methyl amyl ketone และ rhamnetin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ กานพลูมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ มีการใช้น้ำมันกานพลูเป็นส่วนผสมในตำรับยาเพื่อลดอาการปวด  นอกจากนี้สาร eugenol ในน้ำมันกานพลูยังออกฤทธิ์เป็นยาสลบในปลาอีกหลายชนิด

สารสกัดน้ำจากดอก  จากผล  และจากเปลือกต้น  และน้ำมันกานพลู มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยไปยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin โดยยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1, cyclooxygenase-2 และเพิ่มการสังเคราะห์ nitric oxide

 

การศึกษาทางคลินิก
     ฤทธิ์ทำให้ผิวหนังชา การศึกษาฤทธิ์ทำให้ผิวหนังชาของสารสกัดของกานพลูเทียบกับยาชา benzocaine ในอาสาสมัคร 73 คน โดยอาสาสมัครกลุ่มที่ 1ได้รับเจลที่มีส่วนผสมของสารสกัดกานพลู ปริมาณ 2 กรัม (40% ผงกานพลูผสมกับ 60% glycerine) กลุ่มที่ 2 ได้รับเจลที่มีส่วนผสมของ 20% benzocaine ปริมาณ 2 กรัม ทาบนเยื่อบุกระพุ้งแก้ม กลุ่มที่ 3 ได้รับยาหลอก เมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที จึงทำการทดสอบฤทธิ์ โดยการแทงเข็มบริเวณที่ทา แล้ววัดระดับความปวด (pain score)

ผลการเปรียบเทียบระหว่างสารสกัดกานพลู และ benzocaine พบว่าสามารถลดการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.005) และให้ผลไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่า สารสกัดกานพลูสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกได้ ขณะใช้ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด และอาจเพิ่มระดับของยากันชัก phenytoin ในเลือดได้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง 

สาร eugenol จากน้ำมันกานพลูที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้หากใช้ในปริมาณที่สูง และใช้ติดต่อกัน

การใช้น้ำมันกานพลูเพื่อรักษาอาการปวดฟันหรือใช้เพื่อระงับกลิ่นปากโดยตรง และใช้ในปริมาณสูงหรือใช้ติดต่อกันบ่อยครั้ง อาจทำให้ระคายเคืองต่อเหงือก และเยื่อบุในช่องปากได้

สาร eugenol สามารถออกฤทธิ์ต้านการทำงานของเกล็ดเลือดได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม anticoagulant และยากลุ่ม NSADs

ไม่ควรใช้ดอกกานพลูในหญิงมีครรภ์  หญิงให้นมบุตร  เด็ก  ผู้ป่วยโรคตับไต  และผู้ป่วยเบาหวาน

ยาอุดแก้ปวดฟัน

เป็นยาชาเฉพาะที่ ได้แก่ ลิโดเคน (lidocaine) เบนโซเคน (Benzocaine) หรือน้ำมันจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาชา เช่น น้ำมันกานพลู หรือยูจีนอลออยล์ (Eugenol)

ลิโดเคน และเบนโซเคน เป็นยาในกลุ่มยาชา มีวางจำหน่ายในรูปแบบยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาแก้ปวดฟันยี่ห้อ M.16 ซึ่งมีส่วนผสมของการบูร และลิโดเคน วิธีการใช้ คือ ใช้ไม้พันสำลี หรือคีมคีบสำลี ชุบตัวยา แล้วทาบริเวณที่มีอาการปวดฟัน หรืออุดสำลีที่ชุบยาลงบริเวณที่มีอาการปวด

น้ำมันกานพลู มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด บรรเทาอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเป็นยาชาเฉพาะที่ สามารถใช้น้ำมันกานพลูเพื่อลดอาการปวดฟันชั่วคราวได้ โดยใช้วิธีเดียวกันกับลิโดเคน หรือเบนโซเคน

นอกจากการใช้ยาเหล่านี้แก้ปวดฟันแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้ เช่น ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม หลีกเลี่ยงการเคี้ยวข้างที่ปวด 

 

บทความล่าสุด

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า