น้ำยาบ้วนปาก
บ้วนปาก

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

น้ำยาบ้วนปาก

กลิ่นปาก คือ ก๊าซซัลเฟอร์ ก่อตัวมาจากแบคทีเรียในช่องปาก เศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ น้ำยาบ้วนปากที่ดีจะช่วยในการควบคุมหรือระงับกลิ่นปากได้

 


น้ำยาบ้วนปาก

น้ำยาบ้วนปาก 

น้ำยาบ้วนปาก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคนิยมใช้เพื่อรักษาสุขภาพในช่องปาก โดยเชื่อว่าจะสามารถดับกลิ่นปาก รักษาสุขภาพฟันและเหงือกได้ จึงถูกนำมาใช้เป็นตัวช่วยเพื่อขจัดสิ่งสกปรกในส่วนที่การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันนั้นทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง 

ในท้องตลาดมีน้ำยาบ้วนปากมากมายให้ผู้บริโภคเลือกใช้ โดยมีสรรพคุณลดกลิ่นปาก ลดอาการปากแห้ง ทำให้ฟันขาว ยับยั้งฟันผุ ยับยั้งคราบจุลินทรีย์ (Plaque) หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพช่องปากทั้งมวล ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดและส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้

  1. น้ำยาบ้วนปากชนิดทั่วไป (Cosmetic Mouthwash)

เป็นน้ำยาบ้วนปากชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือสารชีวภาพ และไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ น้ำยาบ้วนปากชนิดนี้จึงอาจควบคุมกลิ่นปากได้เพียงชั่วคราวหรือในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

     2.น้ำยาบ้วนที่ใช้รักษาโรคในช่องปาก (Therapeutic Mouthwash)

เป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมในการช่วยกำจัดแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก รวมไปถึงช่วยป้องกันการเกิดโรคปริทันต์และโรคเหงือกอักเสบ เช่น ฟลูออไรด์ คลอร์เฮกซิดีน หรือเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ เป็นต้น

ส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปาก

ส่วนผสมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้น้ำยาบ้วนปากมีประสิทธิภาพ บางชนิดอาจทำให้ฟันขาว ดับกลิ่นปากหรือยับยั้งแบคทีเรีย ตัวอย่างส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากมีดังนี้

  • คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) เป็นส่วนประกอบอย่างดีในการรักษาโรคปริทันต์และต้านคราบจุลินทรีย์ แต่อาจทำให้เกิดคราบสีบนผิวฟันได้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride) เป็นสารประกอบแอมโมเนียมที่สามารกำจัดแบคทีเรียและยับยั้งการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ได้ รวมไปถึงเป็นตัวช่วยในการกำจัดกลิ่นปากได้อย่างดี
  • สารประเภทดีเทอร์เจนส์ (Detergents) โซเดียมลอริลซัลเฟตและโซเดียมเบนโซเอตเป็นตัวอย่างของดีเทอร์เจนส์ในน้ำยาบ้วนปาก ที่ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์และมักใช้ก่อนแปรงฟัน
  • น้ำมันหอมระเหย  น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหลัก มักใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น เมนทอลและยูคาลิปตอล ที่ทำหน้าเหมือนตัวดับกลิ่นปากและช่วยในการต้านแบคทีเรีย
  • ฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างเข้มข้น เช่น สแตนนัสฟลูออไรด์หรือโซเดียมฟลูออไรด์นั้นช่วยป้องกันฟันผุได้ แต่ถ้าใช้ทั้งยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และน้ำที่เติมฟลูออไรด์อยู่แล้ว ก็ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์อีกหากไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดฟันผุจริง ๆ
  • สมุนไพรหรือส่วนผสมจากธรรมชาติอื่น ๆ  เช่น สมุนไพรเอ็กไคนาเชีย ต้นโกลเด้นซีล วิตามินซี และว่านหางจระเข้ เป็นต้น
  • เอนไซม์ต้านแบคทีเรีย แบคทีเรียอาจถูกกำจัดได้โดยเอนไซม์ในร่างกายของมนุษย์หรือยาต้านแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ เอนไซม์ที่พบในน้ำยาบ้วนปาก เช่น ไลโซไซม์ และแลคโตเพอออกซิเดส ซึ่งอาจช่วยลดอาการปากแห้งได้ด้วย
  • แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและยังมีส่วนช่วยในการลดและป้องกันโรคเหงือกอักเสบและคราบจุลินทรีย์เหนือแนวเหงือก แต่อาจทำให้มีอาการแสบร้อนในช่องปากหรือปากแห้งได้
  • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและอาจช่วยลดคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบ และอาจช่วยให้ฟันขาวขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าหากใช้มากเกินไปจะเกิดการระคายเคืองได้

 

น้ำยาบ้วนปากระงับกลิ่นปากได้จริงหรือไม่ 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปากคือก๊าซที่เป็นสารประกอบของซัลเฟอร์ ก่อตัวมาจากแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรคในช่องปาก เศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ น้ำยาบ้วนปากอาจมีส่วนช่วยในการควบคุมหรือระงับกลิ่นปากได้ ซึ่งประสิทธิภาพจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับน้ำยาบ้วนปากแต่ละชนิด

ผู้ใช้ควรทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำยาบ้วนปากไม่สามารถนำมาใช้ดูแลสุขอนามัยในช่องปากแทนการแปรงฟันหรือการใช้ไหมขัดฟันได้ และในความเป็นจริงแล้ว กลิ่นปากเกิดจากการที่ดูแลสุขภาพในช่องปากไม่ดีพอ หากใส่ใจในการดูแลช่องปากให้ดีขึ้น น้ำยาบ้วนปากก็อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป

 

ประโยชน์อื่น ๆ ของน้ำยาบ้วนปาก

นอกจากจะสามารถระงับกลิ่นปากได้แล้ว น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมพิเศษบางอย่าง ยังอาจช่วยดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปากอื่น ๆ ได้อีกเช่น

  • ทำให้ฟันขาวขึ้น
  • ลดการเกิดฟันผุ
  • ลดการเกิดคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบ
  • บรรเทาอาการปวดเฉพาะจุดในช่องปาก
  • บรรเทาอาการต่าง ๆ จากภาวะปากแห้งเนื่องจากน้ำลายน้อย

การใช้น้ำยาบ้วนปาก

น้ำยาบ้วนปากใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการขจัดสิ่งสกปรกบริเวณที่การแปรงฟันหรือไหมขัดฟันเข้าไม่ถึง ไม่สามารถนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากเป็นหลักเพียงอย่างเดียวได้ การใช้น้ำยาบ้วนปากสามารถใช้ได้ทั้งก่อนและหลังแปรงฟัน

เวลาใช้ควรกลั้วให้ทั่วปากแล้วอมทิ้งไว้ประมาณ 30-60 วินาที ไม่ควรนานเกิน 1 นาที แต่ถ้าทิ้งไว้น้อยกว่า 30 นาทีอาจจะไม่ค่อยเกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร และไม่จำเป็นต้องบ้วนน้ำเปล่าตามหลังการใช้น้ำยาบ้วนปาก

กลืนน้ำยาบ้วนปากเป็นอะไรไหม

การกลืนน้ำยาบ้วนปากมากเกินไปจะส่งผลให้มีอาการคล้าย ๆ กับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จำนวนมากเข้าไป อาจทำให้มีอาการที่เกี่ยวกับลำไส้และท้องที่รุนแรง และยังนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของกรด-เบสในร่างกาย

ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง

เนื่องจากคนท้องนั้นอาจจะประสบกับอาการอาเจียนบ่อยครั้ง น้ำยาบ้วนปากจึงเป็นตัวเลือกในการนำมาดูแลสุขอนามัยในช่องปาก น้ำยาบ้วนปากในท้องตลาดอาจไม่อันตรายต่อคนท้องและเด็กในท้องหากไม่ได้กลืนลงไปในปริมาณเยอะ ๆ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์แต่ไร้ซึ่งส่วนผสมของแอลกอฮอล์

แต่หากคนท้องมีปัญหากับการควบคุมคราบจุลินทรีย์ แพทย์อาจแนะนำน้ำยาบ้วนปากที่มีสารต้านจุลชีพ (Antimicrobial) หรือสารต้านแบคทีเรีย (Antibacterial) มากกว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์

ข้อควรระวังสำหรับเด็ก

น้ำยาบ้วนปากไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะเด็กอาจจะกลืนเข้าไปและเกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการเป็นพิษขึ้น โดยเฉพาะหากเด็กกลืนน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สูงมาก ๆ 

เพื่อป้องกันเด็กเล็กกินน้ำยาบ้วนปากจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผู้ปกครองควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีฝาป้องกันเด็กเปิด (Child Proof Cap) เด็กเล็กสามารถหัดให้ใช้น้ำยาบ้วนปากได้ก็ต่อเมื่อเด็กรู้จักการบ้วนออกมา ทางที่ดีควรรับคำแนะนำจากแพทย์ รวมไปถึงอ่านข้อควรระวังและคำแนะนำของน้ำยาบ้วนปากให้ชัดเจน

 

 

การดูแลช่องปากระหว่างจัดฟัน/น้ำยาบ้วนปากเด็ก

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในผู้ที่จัดฟัน 

1. เลือกแปรงและแปรงฟันอย่างถูกวิธี แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟัน อาจมีมากกว่าหนึ่งอัน โดยแปรงสีฟันจะมีลักษณะพิเศษ มีร่องตรงกลางขนแปรงและมีขนาดที่เหมาะสมสำหรับฟันในแต่ละบริเวณ ผู้ที่จัดฟันอาจจะมีแปรงอีกอันหนึ่งที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งสามารถเข้าทำความสะอาดที่ฟันซี่ในๆ ช่องปาก โดยแปรงจัดฟันขนาดปกติ จะใช้ทำความสะอาดฟันทั่วไป แปรงสีฟันไฟฟ้าบางผลิตภัณฑ์ก็มี
หัวแปรงสำหรับคนจัดฟันด้วยเช่นกัน เมื่อจัดฟัน เราจึงควรเลือกหาหัวแปรงจัดฟันดังกล่าวมาใช้งานด้วย

2. เลือกใช้อุปกรณ์ดูแล กำจัด และทำความสะอาดรอบๆ bracket และลวด โดยอาจเลือกใช้แปรงลวดขนขนาดเล็ก (interproximal brush) ที่สามารถสอดเข้าระหว่างลวด กำจัดเศษอาหารออกได้โดยง่าย หรือเลือกใช้เครื่องฉีดน้ำทำความสะอาดฟัน (Waterpik) อุปกรณ์นี้อาจมีราคาสูงแต่สามารถใช้ฉีดน้ำทำความสะอาดฟันได้ดี

3. ใช้เส้นไหมขัดฟัน โดยใช้ตัวร้อยไหมขัดฟัน ที่สามารถสอดเข้าใต้ลวดได้ทั้งนี้ให้ร้อยไหมขัดฟันเข้าตัวร้อยไหม แล้วนำไปสอดใต้ลวดดัดฟัน เพื่อให้สามารถจับปลายไหมขัดฟันอีกด้านหนึ่งได้ ต่อมาให้ทำการใช้ไหมขัดฟันโอบรอบฟันทำความสะอาดซอกฟัน เหมือนการใช้ไหมขัดฟันตามปกติ หรือใช้ด้ามจับไหมขัดฟันสำเร็จรูปสำหรับคนจัดฟัน

4. ใช้น้ำยาบ้วนปากกำจัดคราบอาหารและสิ่งสกปรกในช่องปาก การใช้น้ำยาบ้วนปากจะสามารถกำจัดคราบอาหารและควบคุมเชื้อโรคในช่องปากได้ น้ำยาบ้วนปากควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์

5. ทาสารเคมีช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ฟัน ภายหลังจากการทำความสะอาดฟันแล้ว สามารถใช้สารเคมีเช่น toothcream หรือ toothmousse (สามารถสอบถามได้จากทันตแพทย์ประจำตัว) เพื่อหามาทาเคลือบบนฟัน เพื่อเสริมสร้างให้ฟันแกร่งขึ้นได้ ในระหว่างที่ทำการจัดฟันนั้น ยังสามารถแจ้งทันตแพทย์ให้ทาสารฟลูออไรด์เสริมทุก ๆ สามถึงหกเดือน เพื่อลดการเกิดฟันผุได้

ห้าข้อง่ายๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติให้ดี เพื่อให้สุขภาพช่องปากแข็งแรงตลอดระยะเวลาที่จัดฟัน

ข้อควรระวังเพิ่มเติมในระหว่างอยู่ในช่วงจัดฟัน

1. ไม่ใช้ฟันกัดแทะของแข็ง เพราะจะทำให้อุปกรณ์หลุดและลวดทิ่มปาก เกิดบาดแผลและติดเชื้อได้ 
2. หากมีอุปกรณ์หลุด ลวดทิ่ม ให้รีบปรึกษาแพทย์
3. เมื่อเล่นกีฬาที่มีการชนหรือกระแทกรุนแรง ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทำฟันยางครอบป้องกันการเกิดอันตรายรุนแรง ทั้งนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุในขณะเล่นกีฬา อุปกรณ์จัดฟันจะทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อในช่องปากได้จากการกระแทก หรือชนอย่างรุนแรง แผ่นยางครอบฟันนี้ จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายรุนแรงต่อฟันและเนื้อเยื่อในช่องปาก
4. ไม่สูบบุหรี่ในระหว่างการจัดฟัน ทั้งนี้จาก งานวิจัยมากมายระบุว่าการสูบบุหรี่จะทำให้เหงือกอักเสบและเกิดโรคเหงือกร่น ทำลายกระดูกลองรับฟัน ทำให้สูญเสียฟันได้ เนื่องจากในการจัดฟัน ฟันเคลื่อนไหวไปมา กระดูกลองรับฟันจะมีการทำลายและสร้างอย่างต่อเนื่อง การสูบบุหรี่จะเสริมให้การทำลายกระดูกเกิดมากกว่าการเสริมสร้างกระดูกนั่นเอง
5. งดอาหารทำร้ายฟัน เช่น ของหวาน ของแข็ง 

  

น้ำยาบ้วนปากเด็ก

ฟันมีพื้นที่ 25 %  ของช่องปาก ในช่องปากยังมี กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น ที่แปรงสีฟันไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดอย่างทั่งถึง หากปล่อยให้แบคทีเรียสะสมอยู่บนผิวฟันนานเกิน 24 ชั่วโมง จะเกิดคราบหินปูนทำให้ฟันผุได้

การแปรงฟันอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับวัยกำลังกินเก่งของเด็ก ควรใช้ตัวช่วยเสริมเช่น น้ำยาบ้วนปากสำหรับเด็ก

ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะเด็กยังมีพัฒนาการด้านการควบคุมการกลืนได้ไม่มาก พอได้กลิ่นหอมๆรสชาดหวานๆ ของน้ำยาบ้วนปาก อาจเผลอกลืนกินเข้าไป จึงยังไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก

การเลือกใช้น้ำยาบ้วนปากให้เด็ก ควรพิจารณาส่วนประกอบในน้ำยาบ้วนปากเป็นสำคัญ ควรมีฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ  100 ppm   ใช้สารสกัดจากธรรมชาติเช่น ยูคาลิปตัส เมมนทอล ไทมอล ไม่ควรมีแอลกอฮอลล์ เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนได้ 

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า