ไหมขัดฟัน
ขัดฟัน

แสดงทั้งหมด 6 ผลลัพท์

ไหมขัดฟัน

การใช้ไหมขัดฟันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดในช่องปากได้ เพราะการแปรงฟันเพียงอย่างเดียว ไม่อาจกำจัดเศษอาหาร คราบแบคทีเรียที่ติดอยู่ตามซอกฟันได้


ไหมขัดฟัน

Dental floss หรือไหมขัดฟัน

เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้ทำความสะอาดด้านประชิดของฟัน ซึ่งเป็นด้านที่การแปรงฟันไม่สามารถ เข้าไปทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง การใช้น้ำยาบ้วนปาก ไม่สามารถทดแทนการใช้ไหมขัดฟันด้านประชิดได้ เพราะเศษอาหารมักจะอยู่ลึกลงไปใต้ซอกเหงือกและฟัน

คนที่แปรงฟันอย่างเดียว จึงอาจพบฟันผุด้านประชิดได้ การใช้ไหมขัดฟัน จะต้องฝึกหัดใช้และทำจนชำนาญ การใช้ในระยะแรกจึงต้องอดทนฝึกฝน เพียงไม่นานก็สามารถใช้ไหมขัดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไหมขัดฟัน จำเป็นต้องเริ่มใช้เมื่อไหร่

ควรเริ่มใช้ไหมขัดฟันในเด็กที่มีฟันขึ้นมากกว่า 2 ซี่ขึ้นไป เพราะเมื่อฟันประชิดกันจะเกิดช่องระหว่างซอกฟันจะต้องใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาด

ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้น ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ปกติคุณพ่อคุณแม่จะเป็นคนแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันให้ เส้นไหมขัดฟันจะช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดระหว่างฟัน

เพราะฉะนั้นเด็กๆ ทุกคนจะต้องมีการใช้ไหมขัดฟัน เด็กก็จะเกิดความเคยชิน พอเด็กอายุมากขึ้น ฟันน้ำนมห่างกัน การใช้เส้นไหมขัดฟันก็จะง่ายขึ้น บางครั้งถึงจะไม่ใช้เส้นไหมขัดฟันเด็กก็สามารถทำความสะอาดเองหรือขนแปรงสามารถเข้าไปทำความสะอาดได้

ผู้สูงอายุก็สามารถใช้ไหมขัดฟันได้ แต่พบว่ามีผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหานิ้วล็อก นิ้วติดขัดบ้าง ทำให้การใช้ไหมขัดฟันไม่สะดวก ปัจจุบันมีอุปกรณ์สำเร็จรูป ลักษณะคล้ายๆ กับไม้จิ้มฟัน แต่โค้งเหมือนคันธนู ขึงเส้นไหมขัดฟันสำเร็จรูปเอาไว้แล้ว 1 วันใช้ 1 ด้ามแล้วโยนทิ้งไปได้ ผู้สูงอายุจะชอบมากกว่า หาซื้อได้ทั่วไป ราคาไม่แพง เหมาะกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุใช้มือข้างเดียวดันเส้นไหมเข้าไประหว่างซอกฟัน

ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยเศษอาหารระหว่างซอกฟัน เพราะไม้จิ้มฟันเขี่ยเศษอาหารออกได้จริง แต่อาจจะทำอันตรายเหงือกและฟัน พบว่าคนที่ใช้ไม้จิ้มฟันบ่อยๆ ตรงซอกฟันจะมีร่องเว้าที่เกิดจากไม้จิ้มฟันทำให้ฟันสึกกร่อน

ถ้าอยากหาอะไรเขี่ยซอกฟันจริงๆ สามารถใช้ด้ามสำเร็จรูปพลาสติก ที่ปลายด้านหนึ่งเป็นพลาสติกแบน นำมาเขี่ยเศษอาหารได้

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังสามารถใช้แปรงซอกฟัน เป็นแปรงเล็กๆ เหมือนแปรงล้างขวด มีหลายขนาดให้เลือก ซึ่งแทนที่จะใช้ตัวไม้จิ้มฟันก็ใช้ตัวนี้เสียบเข้าไประหว่างซอกฟัน แต่ในเด็กและหนุ่มสาวทำไม่ได้เพราะเหงือกยังไม่มีช่องสามเหลี่ยมเกิดขึ้น

ช่วงที่จัดฟัน เป็นช่วงที่ควรจะไปหาหมอฟันถี่หน่อย อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อให้หมอฟันช่วยกำจัดสิ่งสกปรกบริเวณด้านประชิดของฟันให้ด้วยเครื่องมือกำจัดพวกหินปูน ทำให้ไม่มีหินปูนเกาะไม่มีปัญหาเหงือกบวมด้านประชิด อันนั้นจะเป็นกรณีหนึ่ง

ถ้าเป็นคนไข้จัดฟัน การใช้ไหมขัดฟันต้องใช้ อุปกรณ์สอดไหมขัดฟัน ที่สามารถสอดเข้าข้างใต้ลวดจัดฟันได้

เลือกซื้อไหมขัดฟันอย่างไร

ไหมขัดฟันมี 2 แบบคือ

  • ชนิดเคลือบขี้ผึ้ง
  • ชนิดไม่เคลือบขี้ผึ้ง

ไหมขัดฟันไม่เคลือบขี้ผึ้ง มีขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า เพราะฉะนั้นเวลาซื้อไหมขัดฟัน 1 ตลับ ถ้าซื้อชนิดไม่เคลือบขี้ผึ้งจะมีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก ได้ปริมาณมากกว่า ราคาถูกกว่า

หลายคนที่ใช้ไหมขัดฟันจนเคยชิน ก็จะชอบใช้ชนิดที่ไม่เคลือบขี้ผึ้ง เพราะพกพาได้สะดวก เล็ก เวลาเข้าด้านประชิดก็จะเข้าง่ายด้วยเหมือนกัน เพราะถ้ารู้จังหวะ ว่าจะไม่ดันลงไปแรงจนเลือดออก จึงทำความสะอาดฟันได้อย่างดี

ดังนั้นการเลือกซื้อใช้สำหรับคนที่เริ่มใช้ใหม่ๆ ควรจะเป็นชนิดเคลือบขี้ผึ้ง ถ้าใช้นานๆ จนชำนาญอาจใช้ชนิดไม่เคลือบขี้ผึ้ง

ส่วนผู้ที่มีสะพานฟัน จะไม่สามารถสอดไหมขัดฟันเข้าระหว่างซอกฟันได้ จำเป็นต้องใช้ไหมขัดฟันอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า Superfloss ซึ่งสามารถร้อยเข้าไปใต้สะพานฟัน และทำความสะอาดใต้สะพานได้

สามารถใช้ไหมขัดฟันเวลาไหนก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่สะพวก ทั้ง “ก่อน” และ “หลัง” แปรงฟันขอแนะนำว่า วิธีการที่อาจจะดีที่สุดก็คือแปรงขัดฟันให้เรียบร้อยก่อน เพราะการแปรงฟันเป็นการกำจัดเศษอาหารส่วนใหญ่ออกทั้งหมด จากนั้นใช้ไหมขัดฟัน แต่บางคนใช้ไหมขัดฟันก่อน เพราะกลัวว่ามีเศษอาหารบางชนิดที่แปรงสีฟันเอาไม่ออก

วิธีการที่ควรปรับคือ แปรงฟันให้ครบทุกด้านอย่างน้อย 5 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงใช้ไหมขัดฟัน 1 รอบ เสร็จแล้วใช้แปรงสีฟันเดิม (ล้างน้ำ 1 ครั้ง) ไม่ต้องใส่ยาสีฟันเพิ่มแล้ว แปรงอีก 1 ครั้ง เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ตกค้างอยู่แล้วบ้วนน้ำทิ้ง เพราะการแปรงรอบ 2 เพื่อกำจัดเศษอาหารเท่านั้นเอง

มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมาแล้ว พูดถึงอวัยวะของคนเราที่สกปรกที่สุด ก็คือ “ช่องปาก” พราะมีเชื้อโรคต่างๆ จำนวนมากโดยอยู่ด้วยความสมดุล แต่ถ้าเรากินอาหารต่างๆ และไม่กำจัดเชื้อพวกนี้ ตอนกลางคืนเวลานอนหลับจะกลายเป็นเตาอบอย่างดีเชื้อพวกนี้เจริญเติบโต และทำอันตรายกับร่างกายของเราได้

ไหมขัดฟันที่วางขายในเมืองไทย

ไหมขัดฟันที่วางขายตามท้องตลาด แม้แต่ผลิตภัณฑ์ของไทยเอง ผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดมาแล้วจากโรงงาน มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ไม่ควรใช้ไหมเย็บผ้ามาใช้ หรือบางคนใช้เส้นผมตัวเองก็มี ในความเป็นจริง ไหมเย็บผ้า และเส้นผม จะมีเชื้อโรคติดอยู่ เพราะไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ

ถ้าเป็นไหมขัดฟันอยู่ในตลับ และในตลับจะมีการบรรจุอย่างดี และเวลาดึงออกมาเฉพาะที่เราใช้ 1 ฟุตเท่านั้นแล้วตัดออก ส่วนที่อยู่ข้างในก็ไม่ปนเปื้อนอะไร เชื้อโรคด้านนอกก็ไม่สามารถเข้าไปข้างใน ไหมขัดฟันจึงมีความสะอาดตลอดเวลา ตรงนี้ก็ปลอดภัย ไม่ควรเปลี่ยนไปใช้เส้นไหมอย่างอื่น

เหงือกร่น

เหงือกร่น (Gingival Recession)

คืออาการที่เนื้อเยื่อเหงือกบริเวณรอบ ๆ ฟันอ่อนแอลงจนทำให้เนื้อเหงือกค่อย ๆ ร่นเข้าไปหารากฟันและทำให้เห็นตัวฟันมากขึ้น บางรายเนื้อเหงือกอาจร่นไปจนเผยให้เห็นรากฟันทำให้เนื้อฟันสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น และทำให้เกิดคราบหินปูน ซึ่งอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวช่องปากอื่น ๆ ตามมา

อาการเหงือกร่นไม่สามารถรักษาให้หาย หรือกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ ทำได้เพียงป้องกันเหงือกร่นลงไปอีก นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังควรรักษาอาการเหงือกร่น เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้เกิดความเสียหายของกระดูกฟัน จนทำให้ฟันไม่แข็งแรงและหลุดร่วงไปในที่สุด

เอาการของเหงือกร่นที่เห็นได้คือ ลักษณะเหงือกที่เปลี่ยนไป คือเนื้อเหงือกจะร่นลงจนเห็นตัวฟันมากขึ้น หากเป็นมาก ๆ ก็อาจจะทำให้เห็นบริเวณคอฟันหรือรากฟันได้ชัด นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • มีอาการเสียวฟัน 
  • มีเลือดออกหลังจากแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน
  • เหงือกบวมแดง
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
  • รู้สึกเจ็บบริเวณเหงือก
  • ฟันโยก หรือฟันมีลักษณะดูยาวกว่าปกติ

สาเหตุของเหงือกร่น

เหงือกร่นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ร้ายแรงที่สุดคือเกิดจากโรคปริทันต์ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดเหงือกร่นแล้วยังนำมาสู่ปัญหาอื่น ๆ จนอาจทำให้สูญเสียฟันได้ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดเหงือกร่น ได้แก่

  • การแปรงฟันผิดวิธี การเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งมากเกินไป หรือการแปรงฟันแรง ๆ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อเหงือกเสียหายและร่นขึ้นไปจนกลายเป็นเหงือกร่นได้
  • สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี การแปรงฟันไม่สะอาด ไม่ใช้ไหมขัดฟันหรือน้ำยาบ้วนปาก อาจก่อให้เกิดหินปูนเกาะระหว่างเหงือกและฟันได้ ซึ่งหากไม่รักษาก็จะทำให้เกิดเหงือกร่นในที่สุด
  • เกิดอาการบาดเจ็บที่เหงือก เช่น อุบัติเหตุ การเจาะเหงือกและปากเพื่อความสวยงาม หรือการเล่นกีฬาที่อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณปาก อาจทำให้เนื้อเยื่อเหงือกตายและร่นเข้าไปที่รากฟันได้เช่นกัน
  • โรคปริทันต์อักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเหงือก จนทำให้อวัยวะที่อยู่รอบตัวฟัน เช่น กระดูกรอบ ๆ รากฟันถูกทำลายจนมีขนาดลดลง เป็นสาเหตุทำให้เหงือกร่นตามลงมาด้วย
  • พันธุกรรม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัวอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับเหงือกได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สตรีมีครรภ์ และผู้ที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจะมีระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเหงือกได้โดยตรง ทำให้เหงือกอ่อนแอลง จนง่ายต่อการอักเสบและการสูญเสียเนื้อเยื่อได้
  • การสูบบุหรี่ สารพิษที่อยู่ในบุหรี่เป็นตัวการสำคัญให้เกิดคราบพลัคที่ยากต่อการทำความสะอาด และหากทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดคราบหินปูน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดเหงือกร่นได้
  • พฤติกรรมผิด ๆ ที่ติดเป็นนิสัย เช่นการกัดฟัน หรือเคี้ยวฟันขณะนอนหลับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดแรงกดจำนวนมากที่ฟัน และส่งผลไปยังเหงือก ทำให้เหงือกอ่อนแอลงจนร่นลงไปที่โคนฟันได้
  • เกิดจากการใส่อุปกรณ์จัดฟันที่ไม่พอดี อุปกรณ์จัดฟันที่แน่นเกินไป หรือไม่เข้ากับรูปฟันของผู้ป่วย จะทำให้เหงือกอ่อนแอ และร่นลงจนเห็นเนื้อฟันมากขึ้น

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดเหงือกร่น แต่ทั้งนี้เหงือกที่เสียหาย จะไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ 

  • เกิดจากพฤติกรรมการแปรงฟันที่ผิด ในกรณีที่พบว่าสาเหตุเกิดจากการแปรงฟันแรง ๆ แพทย์จะแนะนำวิธีการแปรงฟันใหม่ให้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติตามเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
  • เกิดจากโรคปริทันต์ ในเบื้องต้นแพทย์จะขูดหินปูนและเกลารากฟัน เพื่อขจัดคราบหินปูนที่เกาะตามฟันออก ซึ่งจะช่วยให้เนื้อเยื่อเหงือกแนบสนิทกับฟันอีกครั้ง และหากมีอาการอักเสบของเหงือก แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อรักษาการอักเสบให้หาย ซึ่งผู้ป่วยจะต้องใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด และรักษาความสะอาดของช่องปากให้มากขึ้นเป็นพิเศษ
  • เกิดจากการใส่อุปกรณ์จัดฟันที่ไม่พอดี หากผู้ที่จัดฟันมีอาการเหงือกร่น แพทย์จะปรับอุปกรณ์จัดฟันให้พอดีกับช่องปากมากขึ้น จะช่วยให้อาการไม่เลวร้ายลงไปกว่าเดิมได้
  • ในกรณีที่เหงือกร่นมีอาการรุนแรง เช่นเนื้อเหงือกร่นลงมาจนเห็นรากฟันชัดเจน แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเข้ามาเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วย

วิธีผ่าตัดทางทันตกรรม

  • การซ่อมแซมกระดูก ในกรณีที่กระดูกที่รองรับฟันเกิดความเสียหายจากอาการเหงือกร่น
  • การซ่อมแซมกระดูกและเนื้อเยื่อเป็นวิธีที่จะช่วยให้ฟันไม่เกิดความเสียหายได้ โดยแพทย์จะใช้เนื้อเยื่อเหงือกที่เพาะเลี้ยงภายนอก หรือเยื่อบุผิวเหงือกมาใช้ร่วมในการรักษา และปล่อยให้ร่างกายค่อย ๆ ซ่อมแซมกระดูกและเนื้อเยื่อ วิธีนี้เมื่อการรักษาได้ผลตามที่ต้องการแล้ว เนื้อเยื่อเหงือกจะขึ้นมาปิดรากเหงือกได้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด
  • การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเหงือก เป็นการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่ออ่อน ๆ บริเวณร่องฟันที่หายไปจากอาการเหงือกร่น โดยจะนำเอาเนื้อเยื่อจากบริเวณเพดานปากมาเย็บปิดบริเวณที่มีรากฟันโผล่ออกมาให้เห็น หรือหากผู้ป่วยยังมีเนื้อเยื่อเหงือกบริเวณรอบ ๆ ฟันเพียงพอ ทันตแพทย์จะใช้เนื้อเยื่อบริเวณเหล่านั้นแทน และไม่ใช้เนื้อเยื่อจากเพนดานปาก วิธีนี้อาจไม่ทำให้เหงือกกลับมาสู่สภาพปกติได้สมบูรณ์แต่ก็ช่วยให้รากฟันที่โผล่ออกมาจากอาการเหงือกร่นปลอดภัยจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบได้

ภาวะแทรกซ้อนจากเหงือกร่น

  • โรคปริทันต์ เป็นภาวะแทรกซ้อนของอาการนี้ที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากการที่เหงือกอ่อนแอลงและร่นลงไป หากไม่ได้รับการรักษาเพื่อชะลอความรุนแรง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบรุนแรงได้
  • อาการฟันโยก เกิดจากเนื้อเยื่อบริเวณเหงือกร่นลงมาเกินไป ก็จะทำให้ฟันไม่สามารถยึดติดกับที่ได้แน่นหนาเหมือนเดิม เนื้อฟันถูกทำลาย

การป้องกันอาการเหงือกร่น

  1. แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันความเสียหายของเหงือก อีกทั้งควรแปรงฟันตามที่แพทย์แนะนำและใช้ไหมขัดฟันอย่างระมัดระวัง
  2. พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งจะช่วยให้แพทย์เฝ้าระวังอาการเหงือกร่นและรักษาได้อย่างทันท่วงที
  3. รับประทานอาหารที่ประโยชน์ อาหารหลาย ๆ ชนิดสามารถบำรุงสุขภาพเหงือกให้แข็งแรงได้
  4. ลดการสูบบุหรี่ สารพิษจากบุหรี่เป็นสาเหตุให้เกิดเหงือกร่นได้ หากสามารถลดปริมาณการสูบหรือเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยให้ความเสี่ยงลดลง

วิธีเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันอาการเหงือกร่นได้เท่านั้น แต่ยังช่วยชะลอความเสียหายของเหงือกในผู้ที่มีอาการเหงือกร่นอยู่แล้ว แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังคงลุกลามอย่างรวดเร็วควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอย่างจริงจังต่อไป

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า