แผลร้อนใน

แสดงทั้งหมด 4 ผลลัพท์

ยาทาแผลในปาก

แผลในปากหรือแผลร้อนในเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดแผลบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เหงือก ด้านในของริมฝีปาก แก้ม หรือลิ้น ซึ่งมักทำให้เกิดความเจ็บปวดและทานอาหารลำบาก


แผลในปาก

ร้อนใน คืออะไร

ร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือ แผลในช่องปากที่มีขนาดเล็ก และตื้น จะออกเป็นสีขาว อาจเกิดบริเวณส่วนใดของช่องปากก็ได้ เช่น ริมฝีปาก แก้ม ลิ้น เป็นต้น ความเจ็บจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผล มักเป็นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ในผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย เป็น ๆ หาย ๆ ทำให้รำคาญใจเวลาทานข้าว หรือดื่มน้ำ แต่แผลร้อนใน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงใด ๆ

สาเหตุเกิดจาก

อาการของโรคนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน รวมถึงอาจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกายด้วย เนื่องจาก 30-40% ของผู้ที่เป็นโรคนี้บ่อย ๆ จะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย ทั้งนี้พฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดแผลในปาก ได้แก่
• ความเครียด ความกังวล ความเหนื่อยล้า อารมณ์โมโหฉุนเฉียว
• พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย นอนดึก
• การได้รับบาดเจ็บในช่องปาก เช่น เยื่อบุปาก หรือลิ้นถูกกัดในขณะเคี้ยวอาหาร
• การใช้ยาบางชนิด
• การกินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน หรืออาหารที่รสจัดเกินไป
• แพ้อาหารบางอย่าง หรือแพ้สารบางอย่างในยาสีฟัน
• ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
• การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสบางชนิด
• ร่างกายขาดวิตามิน และเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก สังกะสี กรดโฟลิก วิตามินบี
• การมีประจำเดือนของสตรี
• ไม่ได้แปรงฟัน หรือไม่รักษาความสะอาดภายในช่องปาก

แผลร้อนในสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะความรุนแรงของโรค ได้แก่

• แผลร้อนในเล็ก พบได้บ่อย เป็นแผลตื้น แผลมีลักษณะกลม หรือเป็นรูปไข่ มีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร พื้นแผลจะเป็นสีขาว หรือเหลือง  โดยอาจเป็นเพียงแผลเดียวหรือ 2-5 แผลพร้อมกันก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดไม่รุนแรง และแผลมักจะหายไปได้เองภายใน 7-14 วัน อาจเป็นซ้ำได้ทุก 1-4 เดือน

 

• แผลร้อนในใหญ่ พบได้ประมาณ 10-15% ของแผลร้อนในทั้งหมด พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่เลยช่วงวัยรุ่นไปแล้ว แผลจะมีลักษณะแบบเดียวกับแผลร้อนในเล็ก แต่แผลจะมีขนาดใหญ่มากกว่า 1 เซนติเมตรขึ้นไป มักเป็นแผลลึก ขอบแผลบวม มีอาการเจ็บปวดรุนแรงกว่า มักหายช้า ใช้เวลานาน 10-40 วัน ถ้าดูแลตนเองแล้วแผลร้อนในไม่ดีขึ้นภายใน 2 อาทิตย์ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อแยกจากแผลอักเสบติดเชื้อหรือแผลมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

• แผลร้อนในชนิดคล้ายเริม พบได้ประมาณ 5-10% มีความรุนแรงกว่าทั้งสองชนิดที่กล่าวมา และไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเริม มักเกิดในวัยผู้ใหญ่หรือคนที่มีอายุมาก และมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงแรกจะขึ้นเป็นตุ่มใสขนาด 0.1-0.3 มิลลิเมตรหลายตุ่ม แล้วแตกรวมเป็นแผลเดียวขนาดใหญ่

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดค่อนข้างรุนแรง สามารถหายได้เอง แต่จะใช้เวลานานกว่า 10 วันขึ้นไปจนถึง 2 เดือน ส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วมักต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เมื่อได้รับการรักษาแล้ว แผลมักจะหายไปภายใน 1 เดือน

การรักษาแผลร้อนใน

• บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง 
• ถ้าต้องการให้แผลหายเร็ว  ทายาที่ใช้ป้ายแผลในปาก วันละ 2-4 ครั้ง  เช่น ครีมป้ายปากไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ ชนิดขี้ผึ้ง 1%, ฟลูโอซิโนโลน อะเซโทไนด์ 0.1% ชนิดสารละลายหรือชนิดขี้ผึ้ง, คลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนต 0.2%-1% ใช้อมบ้วนปาก
• เลี่ยงอาหารเผ็ดร้อน เพราะจะทำให้แผลพุพองมากขึ้นได้

วิธีป้องกัน อาการร้อนใน

  1. รักษาความสะอาดของช่องปาก และฟัน แปรงฟันอย่างถูกวิธีวันละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย สามารถใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือไหมขัดฟัน เพื่อความสะอาดที่ดีกว่าเดิม
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายแผล เช่น อาหารแข็ง อาหารทอด อาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยวจัด และอาหารรสจัดอื่น ๆ เครื่องดื่มร้อน ๆ และผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น มะนาว รวมไปถึงเครื่องดื่มรสซ่า
  3. ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  4. รักษาสุขภาพจิตให้ดี ไม่เครียด หรือเป็นกังวลมากจนเกินไป

ยาป้ายแผลในปาก

ยาป้ายรักษาแผลในปาก ใช้อย่างไร จึงจะถูกต้อง

ยาป้ายแผลในปากที่เป็นที่นิยมมากที่สุดกันคือ Triamcinolone acetonide ขนาดความเข้มข้น 0.1% ในรูปแบบครีมที่ค่อนข้างหนืดคล้ายยาสีฟัน หรือที่เรียกกันว่ารูปแบบ Paste

ตัวยา Triamcinolone นี้เป็นยาที่อยู่ในกลุ่มยา คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ออกฤทธิ์โดยการควบคุมการสร้างสารที่เป็นตัวก่อให้เกิดการอักเสบ เช่นสาร Prostaglandins และ Leukotrienes จากกลไกนี้ จึงก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาการอักเสบได้ และทำให้แผลในช่องปากหายได้เร็วขึ้น

แต่รู้หรือไม่ว่าเข้ายาตัวนี้หลายๆคนยังทาได้ไม่ถูกต้อง ผลเสียก็คือยาจะออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่นั่นเองครับ

แล้วแบบไหนล่ะ ถึงเรียกว่าทาไม่ถูกต้อง ตัวยา Triamcinolone acetonide 0.1% Oral Paste นี้เมื่อสัมผัสกับความชื้นในช่องปากจะดูดความชื้นเข้ามาและเปลี่ยนสภาพเป็นฟิล์มบางๆคลุมแผลที่เราป้ายยาไว้

การทาผิดวิธีที่พบเห็นบ่อย ๆ คือ ป้ายเป็นปริมาณหนาๆปาดละเลงไปทั่วทั้งแผลและเนื้อเยื่อช่องปากส่วนรอบๆ วิธีนี้จะทำให้ยาดูดความชื้นจนทั่ว กลายเป็นผงเล็กๆ เกาะกระจายกันไปทั่วและที่สำคัญคือ ผงยาร่วนๆเล็กๆนี้ จะไม่เกาะโดยตรงที่แผลที่เราต้องการ

วิธีใช้ยาที่ถูกต้องก็คือ ให้แตะยาด้วยปลายนิ้วแล้วเอามาป้ายแบบกดลงบนแผลตรงๆ เหมือนกับเราแปะยาไว้บนแผล สักพักยา Paste นี้จะดูดซึมความชื้นเข้ามาเป็นก้อนฟิล์มและเกาะติดตรงแผล ห้ามถู เพราะยาจะกลายเป็นผงร่วนๆ

สามารถใช้ยา Triamcinolone acetonide 0.1% Oral Paste นี้ป้ายที่แผลได้วันละหลายครั้งได้  หลังรับประทานอาหารและดื่มน้ำเรียบร้อยแล้ว ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ ป้ายยาตอนก่อนจะเข้านอน เพื่อให้ยาสัมผัสกับแผลได้นานตลอดคืน

หลังจากใช้ยานี้แล้ว ถ้าเป็นซอง อย่าลืมหักพับปิดที่มุม และแนะนำให้เก็บในห้องที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียสนะครับ อาจอนุโลมให้เก็บในตู้เย็นได้

ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่กำลังติดเชื้อราในช่องปาก รวมถึงติดเชื้อไวรัสเริมหรืองูสวัดในช่องปาก เพราะจะทำให้อาการของโรครุนแรงมากยิ่งขึ้นครับ

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า