สุขภาพดี
รักสุขภาพ

แสดงทั้งหมด 11 ผลลัพท์

ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย

อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียมีสาเหตุจากร่างกายเสื่อมสภาพลงจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการทำงานหนัก  ร่างกายจึงเสียสมดุลด้านพลังงาน


โสม

โสมคน (โสมเกาหลี) 

ชื่ออื่นๆ  : โสมจีน, โสมคน , โสมเกาหลี , เซียมเซ่า , หยิ่งเซียม (จีนแต้จิ๋ว) , เหยินเซิน (จีนกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์   : Panax ginseng C.A.Mey

ชื่อสามัญ  : Ginseng , Asian ginseng

ชื่อวงศ์  : ARALIACEAE

วงศ์ย่อย :   ARAILOIDEAE

องค์ประกอบทางเคมี

เรานิยมใช้เฉพาะส่วนของรากที่อยู่ลงไปใต้ดิน โสมที่ขุดนำมาใช้ได้นั้นจะมีอายุตั้งแต่ 3 - 6 ปี ซึ่งโสมอายุ 6 ปีจะเป็นโสมที่ถือว่ามีตัวยาสำคัญมากที่สุด

โดยโสมแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

  • โสมขาว (White Ginseng) คือ การนำรากโสมที่ล้างสะอาดแล้วมาตากแดดหรืออบให้แห้งทันที
  • โสมแดง (Red Ginseng) คือ การนำรากโสมที่ตัดเฉพาะส่วนที่ดี ๆ มาล้างให้สะอาด เป็นโสมที่ผ่านกรรมวิธีการอบและฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง โดยการนำมาอบด้วยไอน้ำประมาณ 120-130 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2-4 ชั่วโมง จนเป็นสีน้ำตาลแดง แล้วจึงนำไปอบให้แห้ง จะได้เป็นสีน้ำตาลแดง (ใส) โดยจะมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นอีก 4 ชนิด จึงมีราคาแพงกว่าโสมขาว ขายได้ราคาดี

สารเคมีสำคัญที่พบในรากโสมเกาหลี ที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoid saponin) ชนิด dammarane type ซึ่งรวมเรียกว่ามีจินเซโนไซด์ (ginsenoside) ซึ่งมีนิวเคลียส 2 ชนิดคือ

  1. protopanaxadiol 
  2. protopanaxatrial 

ซึ่งปัจจุบันค้นพบจินเซโนไซด์ ประมาณมากกว่า 30 ชนิด โดยพบว่ามีจินเซโนไซด์ จำนวน 8 ชนิด ที่มีความสำคัญคือ จินเซโนไซด์ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re, Rf, Rg1และ Rg2 โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ Rb1, Rb2, Re และ Rg1

ผลต่อความเครียด
• สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสซึมต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียด

ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ
• เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสมทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย
• เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย มีงานวิจัยในผู้ป่วยที่มีปัญหาองคชาติไม่แข็งตัว ( Erectile dysfunction ) 45 รายโดยรับประทานโสมเกาหลี ปริมาณ 900 มก. 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลาสองเดือน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินอย่างละเอียดทุกด้าน โสมจึงช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
• สารสกัดจากโสมทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้สารจินซีโนไซด์ Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้

ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง

  • ในขนาดต่ำจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ตื่นไม่ง่วง

สารจินซีโนไซด์ Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวกแอมเฟตามีนหรือโคเคน จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อการนอนหลับตามปกติ

  • ในขนาดสูงออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้หลับสนิท ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ 

ส่วนจินซีโนไซด์ Rb และ Rc จะออกฤทธิ์ระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาท

 

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโสมคน
• สารต้านอนุมูลอิสระในโสมช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ชะลอความชราภาพของเซลล์และอวัยวะต่างๆ
ผลต่อมะเร็ง
• การรับประทานโสมเกาหลีเป็นเวลานานสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งตับลงได้ ด้วยฤทธิ์ต้านสารอัลฟาท็อกซินบีและยูรีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในโรคมะเร็งตับ แต่ก็ยังไม่สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตับจากการดื่มสุราหรือสาเหตุอื่นได้

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

1.รายงานการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีพบว่า การได้รับสารสกัดจากโสมเกาหลีขนาด 1 หรือ 2 กรัม/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์

  • สามารถลดระดับอนุมูลอิสระและ MDA ซึ่งแสดงถึงการเกิด lipid peroxidation ได้
  • เพิ่มระดับ GSH และเพิ่มการทำงานของ glutathione reductase ในเลือด แสดงถึงคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดโสม

2.จากรายงานของ Kennedy และ Wightman ซึ่งรวบรวมผลการศึกษาของการให้สารสกัดมาตรฐานโสม G115 ในอาสาสมัครสุขภาพดี พบว่าสารสกัดมาตรฐานโสม G115 เพิ่ม cognitive performance ของ อาสาสมัครในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความจำ สมาธิ ลดความเหนื่อยล้า และทำให้อารมณ์สงบขึ้น

3.การศึกษาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดจากโสมเกาหลีขนาด 4.5 กรัม/วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ มีคะแนนทดสอบ mini-mental state examination (MMSE) และ Alzheimer disease assessment scale (ADAS) สูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดโสม

4. การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็น mild cognitive impairment พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับอาหารเสริมที่ ประกอบด้วยสารสกัดจากโสมเกาหลีและ Ginkgo biloba เป็นเวลา 4 สัปดาห์มีคะแนน MMSE สูงกว่ากลุ่มควบคุม

5.การทดสอบฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลในเลือดในคน เมื่อให้คนไข้เบาหวานจำนวน 21 คน รับประทานโสมในขนาด 2.7 กรัม เป็นระยะเวลา 3 เดือน และทดลองให้พยาบาลที่อยู่เวรดึกรับประทานโสมในขนาด 1.2 กรัม เป็นระยะเวลา 3 วัน ผลการทดลองพบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่วนอีกการทดลองที่ใช้โสมร่วมกับอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่าจะทำให้ผลการรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

การศึกษาทางพิษวิทยาของโสมคน

จากการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการรับประทานโสมวันละ 3 กรัม เป็นเวลา 2 ปี พบผลข้างเคียง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง และนอนไม่หลับ

ส่วนการรับประทานโสมขนาดสูงมากกว่าวันละ 15 กรัม ทำให้เกิดอาการสับสนและซึมเศร้า

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

• ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ท้องเดิน ผื่นคันและบวม ประจำเดือนขาด หรือเจ็บเต้านม หากเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ทันที
• ผู้ที่รับประทานโสมมานานและปริมาณมากอาจจะเกิดกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ มีผื่นและท้องร่วงที่เรียกว่า ginseng abuse syndrome
• ไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ควรใช้เป็นช่วงๆ คือนาน 1-2 เดือน แล้วหยุด 1-2 เดือน แล้วเริ่มใหม่
• ควรทานโสมก่อนอาหาร 3 ชั่วโมง และไม่ควรทานพร้อมวิตามินซี หรือผลไม้รสเปรี้ยว
• ระวังการใช้ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
• ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป เนื่องจากโสมมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวาน ควรกินโสมพร้อมอาหาร แต่ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนการใช้โสม
• ยาที่ไม่ควรทานร่วมกับโสม ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ warfarin ยากระตุ้นหัวใจชื่อ digoxin ยาต้านซึมเศร้าชื่อ phenelzine และสุรา อาจมีการรบกวนประจำเดือน อาการเจ็บหน้าอกขณะมีประจำเดือน
• ไม่ควรทานโสมกับยาแอสไพริน รวมถึงไม่ควรทานอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์และเด็ก คนที่ตับอักเสบพบเอนไซม์ของตับสูงแล้ว หรือตับอักเสบจนตัวเหลืองตาเหลือง หรือตับโต ไม่ควรทานโสม

 

น้ำมันปลา

น้ำมันปลาเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดหนึ่งที่ช่วยเสริมสุขภาพร่างกายโดยรวม

น้ำมันปลามีประโยชน์อย่างไร

อีพีเอ และ ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่พบในน้ำมันปลา การบริโภค อีพีเอ และ ดีเอชเอ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ดวงตาทำงานได้ดี และลดการอักเสบที่ไม่รุนแรงของข้อต่อและลดอาการของโรคข้ออักเสบชนิดไม่รุนแรง

นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาสมดุลไขมันในเลือด เสริมสุขภาพสมอง และการทำงานของสมองด้วย

การได้รับ ดีเอชเอ โอเมก้า-3 อย่างเพียงพอในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสมอง ระบบประสาท และสายตาของทารกให้เป็นปกติ

ร่างกายเราผลิตโอเมก้า-3 ไม่ได้ มันจึงต้องมาจากอาหารที่เรากิน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปลา หากคุณรับประทานปลาไม่ได้ถึง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาหารเสริมน้ำมันปลาก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งของโอเมก้า-3 ที่คุณรับประทานเสริมได้

กรดไขมันโอเมก้า-3 จากพืช

โอเมก้า-3s พบได้ในไขมันและน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันคาโนลาและถั่วเหลือง เมล็ดลินสีด เมล็ดเจีย และวอลนัท แต่ก็มันมีความแตกต่างจากน้ำมันปลาเล็กน้อย

โอเมก้า-3 ที่มาจากพืชเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เอแอลเอ และมันก็ควรถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสมดุลเพื่อสุขภาพ แต่ อีพีเอ และ ดีเอชเอ ในน้ำมันปลาต่างหากที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด

ร่างกายของเราสามารถแปลง เอแอลเอ หรือโอเมก้า-3 ที่มาจากพืชบางส่วนให้เป็นรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเช่นเดียวกับที่พบในน้ำมันจากแหล่งทางทะเลได้บ้าง แต่มีอัตราการแปลงต่ำ

คุณต้องการโอเมก้า-3 มากแค่ไหน?

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าร้อยละ 80 ของชาวออสเตรเลียไม่ได้รับประทานหรือบริโภคน้ำมันปลาอย่างพอเพียง หรืออย่างน้อยก็ไม่เพียงพอที่จะได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพ

ปริมาณโอเมก้า-3 ที่เราต้องการขึ้นอยู่กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่เราหวังจะได้รับตามแนวทางทั่วไป

 

  • เด็กอายุ2-3 ปี ต้องการอย่างน้อย 40 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 4-8 ปี ต้องการ 55 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วัยรุ่นอยู่ระหว่าง 70 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • ผู้ใหญ่ มูลนิธิหัวใจแนะนำให้บริโภค อีพีเอ และ ดีเอชเอ ระหว่าง 250 และ 500 มิลลิกรัม ในแต่ละวัน หรือ ให้ได้ระหว่าง 1,750 ถึง 3,500 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

ปลาสดเป็นแหล่งโอเมก้า-3 'ที่ดีที่สุด' ใช่หรือไม่?

ไม่จำเป็นเสมอไป ความจริงแล้ว ปลากระป๋องบางประเภทมีปริมาณกรดไขมัน อีพีเอ และ ดีเอชเอ โอเมก้า-3 ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนบริโภคมากกว่าปลาสด

ปลาชนิดใดที่มีโอเมก้า-3 มากที่สุด คือ ปลาที่มีความมันยิ่งมาก ยิ่งดี 

อาหารอื่นๆ มี อีพีเอ และ ดีเอชเอ หรือไม่

แหล่งที่ดีที่สุดของ อีพีเอ และ ดีเอชเอ คือ ปลาและน้ำมันปลาแคปซูล แต่อาหารอื่นๆ บางอย่างก็มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ปริมาณเล็กน้อย เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ และไข่ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่เสริมด้วยน้ำมันปลา ซึ่งอาจมีเนยเทียม ขนมปังและไข่

ปริมาณโอเมก้า-3 ในอาหารเหล่านี้ต่ำกว่าที่มีอยู่ในปลาและอาหารทะเลมาก มีอยู่เพียง 20 มิลลิกรัม ถึง 125 มิลลิกรัมต่อส่วนบริโภคเท่านั้น

ความกังวลเรื่องสารปรอท

จากข้อมูลของมูลนิธิหัวใจ ประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากการรับประทานปลามีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคุณจะตั้งเป้ารับประทานปลาสองมื้อขึ้นไปต่อสัปดาห์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการบริโภคของสายพันธุ์ที่มีสารปรอทสูง

สายพันธุ์ที่ว่านั้นรวมถึง ฉลาม ปลาดุก ปลากระโทงแทงดาบ ปลามาร์ลิน และปลาหัวเมือก (ซึ่งบางครั้งเรียกว่าปลากะพงน้ำลึก) เจมฟิช ปลาลิง และปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้ สายพันธุ์ปลาเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะมีสารปรอทสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ

 

 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า