ยาแผนโบราณคือ
ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ซึ่งเป็นยาที่อาศัยความรู้จากตำราหรือเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นการการนำเอาสมุนไพร (จากพืช สัตว์ หรือแร่) มาผสม ปรุง หรือแปรสภาพ จะะมีทั้งที่เป็น ยาน้ำ ยาเม็ดหรือแคปซูล ที่เห็นกันเจนตาคือ ยาลูกกลอนและยาผง
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณคือ
ตำรับยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งจะมีชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาดบรรจุ เช่น ยาประสะกระเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาแสงหมึก ยาประสระกานพลู
การเลือกซื้อยาแผนโบราณ
- ควรซื้อยาแผนโบราณจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาต
- ไม่ควรซื้อยาแผนโบราณจากรถเร่ขาย เพราะอาจได้รับยาที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในระหว่างการผลิต ทำให้เกิดอันตรายได้
- ก่อนซื้อยาแผนโบราณ ควรตรวจดูฉลากยาทุกครั้ง ว่ามีเลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ หรือไม่
1. หากเป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ จะขึ้นต้นด้วยอักษร G ตามด้วยเลขลำดับที่อนุญาต / ปี พ.ศ. เช่นเลขทะเบียน G 20 / 42
2. หากเป็นยาแผนโบราณที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะขึ้นต้นด้วยอักษร K ตามด้วยเลขลำดับที่อนุญาต / ปี พ.ศ. เช่นเลขทะเบียน K 15 / 42
ฉลากยาแผนโบราณที่ดีเป็นอย่างไร
กฎหมายกําหนดให้ฉลากยาแผนโบราณต้องแสดงข้อความต่อไปนี้
- ชื่อยา
- เลขที่หรือรหัสใบสําคัญการขึ้นทะเบียนตํารับยา
- ปริมาณของยาที่บรรจุ
- เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
- ชื่อผู้ผลิตและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิต
- วัน เดือน ปีที่ผลิตยา
- มีคําว่า "ยาแผนโบราณ" ให้เห็นได้ชัดเจน
- กรณีเป็นยาใช้ภายนอก หรือยาใช้เฉพาะที่ ต้องมีคําว่า "ยาใช้ภายนอก" หรือ "ยาใช้เฉพาะที่" ด้วยอักษรสีแดงเห็นได้ชัด
- กรณียาสามัญประจําบ้าน ต้องมีคําว่า "ยาสามัญประจําบ้าน"
- กรณีเป็นยาสําหรับสัตว ต้องมีคำว่า "ยาสําหรับสัตว"
- ในกรณียานําเข้า ให้ระบุชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยาแทนชื่อจังหวัด และให้ระบุชื่อผู้นําสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรและจังหวัดที่ตั้งสถานที่นําสั่งยาไว้ด้วย
กรณีภาชนะบรรจุยามีขนาดเล็กจนไม่อาจแสดงฉลากที่มีข้อความดังกล่าวได้ทั้งหมด จะยกเว้นได้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบก่อนเท่านั้น
ความต่างของยาแผนปัจจุบันกับยาแผนโบราณ
องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้ การแพทย์ทั้งสองแผนคู่ขนานกันไปใน ปัจจุบันประชาชนให้ความสนใจการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น การดูแลร่างกายก่อนเกิดอาการย่อมดีกว่าเกิดอาการแล้ว รัฐบาลทั่วโลกได้ส่งเสริมให้มีการแพทย์ดั้งเดิมมากขึ้น โดยมีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐ การแพทย์แผนโบราณเป็นการแพทย์ที่ไม่แพง จึงเหมาะกับสถานการณ์สำหรับประเทศไทย
เปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสียระหว่างการใช้ยาแผนปัจจุบัน ในการรักษาโรค
1.เป็นการดูแลโดยองค์รวม ยกตัวอย่างการใช้สมุนไพร ใน สถานพยาบาลที่ภาคอีสาน เป็นการดูแลโดยพระและอาสาสมัคร พยาบาลและแพทย์ ร่วมกับการใช้สมุนไพร โดยใช้กำลังใจและจิตใจที่ดีเข้าร่วมการให้บริการแก่ผู้ป่วย
2.เป็นการรักษาที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ประหยัดงบประมาณ
3.สมุนไพรหาได้ในท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องหาซื้อ
4.เป็นการรักษาตามธาตุมากกว่าตามระบบอวัยวะ
ข้อด้อยของการแพทย์แผนไทย
1.โรคบางชนิดต้องใช้การแพทย์แผนปัจจุบัน เช่นโรคหัวใจ โรคที่ต้องผ่าตัด เช่น ไส้ติ่ง หรืออุบัติเหตุ ฉุกเฉิน
2.โรคเรื้อรัง ร้ายแรง ที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใช้สมุนไพรรักษาได้ โรคสุนัขบ้ากัด บาดทะยัก
3.การนำมาใช้ ต้องถูกต้อง คือถูกต้น ถูกส่วน ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกโรค บางชนิดเป็นยาที่มีอันตราย
4.ประชาชนที่ด้อยโอกาสเข้าถึงความรู้ มักถูกหลอกลวงง่าย ในเรื่องสรรพคุณของยาแผนโบราณ ที่โฆษณาเกินความจริง
โรคประเภทใด ที่เหมาะกับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน และโรคประเภทใดที่เหมาะกับยาสมุนไพร
1.โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน ได้แก่โรคที่ใช้การผ่าตัด โรคอุบัติเหตุร้ายแรง
2.โรคที่เหมาะกับยาแผนโบราณ คือ โรคที่ยาแผนปัจจุบันรักษาไม่ได้ เช่นมะเร็ง หรือรักษาไม่หาย และอาการไม่สมดุลต่างๆ เช่น ร้อนภายใน หนาวสั่น โรคจากภูมิคุ้มกันต่างๆ ที่ต้องอาศัยอาหารสมุนไพรรักษา
ยาไทย จะมีองค์ประกอบของยาหลายอย่าง การรักษา จะเป็นการรักษาให้เกิดความสมดุล ไม่ได้รักษาเฉพาะส่วนเหมือนยาแผนปัจจุบัน จึงเปรียบเทียบกันไม่ได้