ตลับยา
ที่ตัดยา

แสดงทั้งหมด 10 ผลลัพท์

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้จัดการเม็ดยา

การจัดเก็บยาที่ไม่ถูกต้องที่พบบ่อยคือ การแกะเม็ดยาออกจากแผงยาแบ่งใส่ภาชนะบรรจุตลับใส่ยา ไม่แนะนำให้แกะเม็ดยาออกมาแต่แนะนำให้ตัดแบ่งแผงยาออกเป็นขนาดเล็กๆ

 


วิธีการเก็บรักษายา

การเก็บรักษายา ต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นตัวกระตุ้นหรือทำให้เกิดการเสื่อมสลายของยา ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงและคำแนะนำ 

  • อุณหภูมิ : ควรเก็บยาไว้ในอุณหภูมิที่ระบุตามฉลากหรือเอกสารกำกับยา อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปสามารถส่งผลต่อคุณภาพของยา โดยทั่วไปแนะนำให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส เเต่ยาบางชนิดอาจต้องเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส
  • เเสงเเดด : ควรเก็บยาไม่ให้โดนเเสงเเดด เนื่องจากตัวยาหลายชนิดจะเกิดการแปรสภาพหรือเสื่อมสภาพเมื่อโดนเเสงเเดดโดยตรง สามารถป้องกันยาจากแสงแดดได้โดยการเก็บยาในภาชนะบรรจุตั้งต้นจากบริษัทยา หรือเก็บในซองหรือกระปุกที่ป้องกันแสงได้
  • ความชื้น : ตัวยาหลายชนิดเมื่อโดนความชื้นจะเกิดการแปรสภาพหรือเสื่อมสภาพ อาจทำให้มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น เม็ดยาบวม หรือเม็ดยาเกาะกันเป็นก้อน เป็นต้น ดังนั้น ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุตั้งต้นจากบริษัทยา ควรหลีกเลี่ยงการเก็บยาในบริเวณที่มีความชี้นสูง 
  • อากาศ : ในอากาศปกติจะมีก๊าซต่างๆ ซึ่งก๊าซบางชนิดสามารถเร่งให้เกิดการแปรสภาพหรือเสื่อมสภาพของตัวยาให้เกิดเร็วขึ้น ดังนั้น จึงควรเก็บเม็ดยาไว้ในภาชนะบรรจุตั้งต้น หากไม่จำเป็นไม่ควรนำเม็ดยาออกจากภาชนะบรรจุตั้งต้นก่อนใช้

การเก็บยาในบริเวณที่เหมาะสม

การเก็บยาเพื่อให้ยาคงคุณภาพและปลอดภัยต่อสมาชิกทุกคนในบ้าน นอกจากหลีกเลี่ยงความร้อน ความชื้นและเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว

 

1. ควรแยกยารับประทานและยาใช้ภายนอกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสนหรือการหยิบใช้ยาผิดประเภท

2. เก็บยาในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น ไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง เช่น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เป็นต้น

3. ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

4. สำหรับยาบางชนิดอาจต้องเก็บในตู้เย็น การเก็บยาในตู้เย็น ควรเก็บในช่องธรรมดาที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส และควรแยกยาออกจากอาหาร หลีกเลี่ยงการเก็บยาบริเวณฝาตู้เย็นซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบ่อย และห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง
จัดเก็บยาพร้อมฉลากยาที่ได้รับมา

5. ไม่ควรเก็บยาต่างชนิดกันในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน

- ทั้งนี้แล้ว หากมีความจำเป็นต้องเเบ่งยาออกมาจากแผงยาหรือภาชนะบรรจุตั้งต้นก็สามารถทำได้ ดังนี้

  • ยาที่บรรจุในแผงยา วิธีการที่ดีที่สุดควรตัดเเผงยาออกเป็นขนาดเล็ก ตามจำนวนเม็ดที่ต้องรับประทาน เเล้วใส่ในกล่องแบ่งยา
  • ยาเม็ดเปลือยที่บรรจุในกระปุกยาขนาดใหญ่ควรเเบ่งเม็ดยาใส่กล่องแบ่งยาออกมาทีละน้อย ไม่ควรเกินจำนวนที่รับประทานใน 1 สัปดาห์
  • นอกจากนี้ กล่องแบ่งยาที่ใช้ควรเป็นภาชนะที่ปิดมิดชิด สามารถป้องกันเเสงได้ และแยกยาในแต่ละมื้อหรือแต่ละวันออกจากกันอย่างชัดเจน

การใช้ยาในผู้สูงอายุ

การใช้ยาในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน ทำให้ได้รับยาหลายรายการ ดังนั้นจึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินความจำเป็น เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยา รวมไปถึงอันตรกิริยาระหว่างยาได้

ผู้สูงอายุควรใช้ยาอย่างไรจึงจะปลอดภัย
ผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่เสื่อมไปตามวัย ทั้งการเคลื่อนไหว สายตา และความจำ ดังนั้นจึงควรมีผู้ดูแลคอยจัดยาให้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยสิ่งที่สำคัญในการเริ่มใช้ยาคือ การอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา

ยาก่อน-หลังอาหาร รับประทานอย่างไร
ยาก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที ส่วนยาหลังอาหารสามารถรับประทานหลังอาหารได้ทันทีโดยไม่แตกต่างจากการรับประทานหลังอาหาร 15 นาที

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร
โดยทั่วไปหากลืมรับประทานยาจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เนื่องจากยาบางชนิดให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ยาบางชนิดอาจต้องรอรับประทานมื้อถัดไป

การลืมรับประทานยาส่งผลต่อการรักษาโรค ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุไม่ลืมรับประทานยา
นอกจากการมีผู้ดูแลคอยจัดยาแล้ว ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถเลือกใช้เป็นตัวช่วยในการรับประทานยาให้ถูกต้องมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • กล่องใส่ยา เช่น กล่องใส่ยาที่ระบุวันของสัปดาห์ ผู้สูงอายุที่มีการรับประทานยาหลายชนิดและมีความซับซ้อนอาจเลือกกล่องยาที่แยกเป็นมื้อละเอียดมากขึ้น
  • นาฬิกาปลุก สามารถเลือกใช้นาฬิกาข้อมือหรือโทรศัพท์มือถือตั้งเวลาปลุกเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา
  • แอพพลิเคชันสำหรับเตือนให้รับประทานยาในสมาร์ทโฟน สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เตรียมยาล่วงหน้าครั้งละมากๆ หากเป็นยาบรรจุแผง แนะนำให้ตัดแผงยาตามเม็ดและเอาเม็ดยาออกจากแผงเมื่อจะรับประทานเท่านั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจไวต่อแสงหรือความชื้นทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย

ยากลุ่มใดที่ผู้สูงอายุควรระมัดระวังการใช้เป็นพิเศษ
ยากลุ่มที่ผู้สูงอายุควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ และยาแก้ปวด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม สับสน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น 

นอกจากนี้ ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อาจทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นหรือไตวายได้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้สูงอายุที่มีประวัติความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต ผู้สูงอายุไม่ควรซื้อยารับประทานเองและควรใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

- ผู้สูงอายุที่ใช้ยาหลายชนิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยา (ยาตีกัน) จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้

  • ยาบางชนิดเมื่อใช้ร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยารุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวดชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึมเมื่อรับประทานร่วมกับยานอนหลับอาจกดสมองจนหลับลึกเกิดอันตรายได้ ยาบางชนิดเมื่อใช้ร่วมกันอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด เมื่อรับประทานพร้อมนม แคลเซียม หรือยาลดกรด ยาจะจับกับแร่ธาตุเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่ดูดซึม จึงต้องรับประทานห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อผู้สูงอายุมาโรงพยาบาลจึงควรจดจำชื่อยาที่รับประทานหรือนำยาที่ใช้อยู่ทั้งหมดมาให้แพทย์หรือเภสัชกรดู เพื่อจะได้สามารถปรับเปลี่ยนชนิดของยาหรือเวลาที่รับประทานยา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหายาตีกันที่อาจเกิดขึ้นได้

- การรับประทานวิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริมในผู้สูงอายุมีข้อควรระมัดระวัง

  • การรับประทานวิตามิน สมุนไพร หรืออาหารเสริมควรต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับโรคหรือภาวะที่เป็น สมุนไพรหรืออาหารเสริมบางชนิดไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไตเพราะอาจทำให้แร่ธาตุในร่างกายผิดปกติหรือการทำงานของไตแย่ลงได้ การเลือกใช้จึงควรมีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนการเริ่มใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดตามมาโดยเฉพาะปัญหายาตีกัน

- ข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ

  • นำรายการยาหรือยาที่รับประทานทุกชนิดมาทุกครั้งที่พบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทบทวนความเหมาะสมของการใช้ยา
  • ควรสอบถามถึงอาการข้างเคียงในการใช้ยาและข้อควรระวังทุกครั้งเมื่อเริ่มยาใหม่

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า