เมล็ดฟักทอง
กระชายดำ

แสดง %d รายการ

ยาสมุนไพรดูแลสุขภาพผู้ชาย

มีงานวิจัยสนับสนุนว่ามีสมุนไพรบางชนิดช่วยดูแลสุขภาพของผู้ชายได้ โดยสมุนไพรที่ได้รับความสนใจและนิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวาง ได้แก่ กระชายดำ กวาวเครือแดง

 


กระชายดำ

กระชายดำ เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาและได้รับความนิยมในการนำมาปรุงอาหารหลากหลายประเภท กระชายดำได้ฉายาว่า “โสมเมืองไทย” เนื่องจากอุดมด้วยสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะการช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

ชื่อวงศ์ ZINGIBERAC

ชื่อท้องถิ่น ขิงทราย (มหาสารคาม) กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ)

กระชายดำเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ กระชาย ข่า ขิง และขมิ้น (Zingiberaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Kaempferia parviflora Wall. ex Baker ชื่อภาษาอังกฤษ คือ black ginger เนื่องมีลักษณะเหง้าคล้ายขิง แต่เนื้อในมีสีออกม่วงดำ กระชายดำเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามธรรมชาติบนภูเขา ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 630 ม. หรือมากกว่า ปัจจุบันมีการปลูกทั่วทุกภูมิภาคของไทย ซึ่งแหล่งปลูกที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย

กระชายดำสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากสีของเนื้อในเหง้า ได้แก่

  • กลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วง ม่วงเข้ม จนถึงม่วงดำ 
  • กลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง

เนื่องจากมีความเชื่อว่าสีของเนื้อในเหง้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของกระชายดำ ในทางการค้าจึงมักนิยมกระชายดำมีเนื้อในเหง้าสีม่วงเข้มซึ่งเชื่อว่ามีคุณภาพดี ถ้าเนื้อเป็นสีม่วงอ่อนจะถูกคัดไปเป็นกระชายม่วงซึ่งเชื่อว่าคุณภาพด้อยกว่า

ในเหง้ากระชายดำ ประกอบด้วยสารสำคัญต่างๆ ได้แก่

  • น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
  • กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น 5,7-dimethoxyflavone, 5,7,4'-trimethoxyflavone, 5,7,3', 4'-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3',4'-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (antho-cyanins) 
  • สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ

ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้ม จะมีปริมาณสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มีสีเข้ม

สรรพคุณในตำรายาไทยของกระชายดำ ระบุว่าเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกาม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ในการใช้แบบพื้นบ้าน จะนำมาทำเป็นยาลูกกลอน โดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หรือทำเป็นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง แต่ในปัจจุบันนี้จะพบเห็นผลิตภัณฑ์ของกระชายดำวางจำหน่ายในท้องตลาด ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาน้ำ ยาเม็ด กาแฟ และไวน์กระชายดำ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก

 

กระชายดำสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือไม่

สำหรับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับฤทธิ์ทางชีวภาพและเภสัชวิทยาของกระชายดำที่สนับสนุนสรรพคุณที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศของกระชายดำ พบว่าสารสกัดเอทานอลจากเหง้ามีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศของสัตว์ทดลองดีขึ้น และมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์โดยเพิ่มน้ำหนักของท่อพักเชื้ออสุจิ ถุงน้ำอสุจิ ต่อมลูกหมาก และกล้ามเนื้อก้นของหนู

สารสกัดจากเหง้ายังมีผลเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศของสัตว์ทดลอง มีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบองคชาต (carvernosum) ของหนูแรท และกล้ามเนื้อเรียบอวัยวะเพศผู้ของคนที่ได้จากการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัว เลือดจึงไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี ทำให้อวัยวะเพศเกิดการแข็งตัว นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลและสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ phosphodiesterase ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวและขยาย เลือดจึงไหลเวียนเข้าสู่อวัยวะเพศได้ดี

การศึกษาในอาสาสมัครเพศชายที่มีสุขภาพดี อายุเฉลี่ย 65.05±3.5 ปี ที่รับประทานแคปซูลสารสกัดเอทานอลจากกระชายดำ ขนาด 25 และ 90 มก./วัน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าสารสกัด ขนาด 90 มก./วัน มีผลเพิ่มการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศ (erotic stimuli) ของอาสาสมัครได้ โดยเพิ่มขนาดและความยาวขององคชาติ ลดระยะเวลาในการหลั่งน้ำกาม และเพิ่มความพึงพอใจต่อการแข็งตัว (erection satisfaction) และผลยังคงอยู่จนถึง 2 เดือนที่ได้รับสารสกัดอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหยุดให้สารสกัดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่แคปซูลกระชายดำไม่มีผลต่อระดับของฮอร์โมน testosterone, FSH, LH, cortisol และ prolactin

จากข้อมูลรายงานการวิจัยจะเห็นว่า กระชายดำมีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ โดยมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะเพศคลายตัว ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนสรรพคุณพื้นบ้านของกระชายดำในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่าย และบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น

สำหรับข้อมูลการศึกษาในคนยังมีน้อย จึงยังไม่มีคำแนะนำเรื่องขนาดที่เหมาะสมและข้อมูลเรื่องความปลอดภัย เมื่อต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แม้จะยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังการใช้กระชายดำ แต่มีบางรายงานที่ระบุว่ากระชายดำในรูปแบบการรับประทานทำให้ตับเกิดความผิดปกติได้ หากใช้ในขนาดสูง หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับจึงควรหลีกเลี่ยง และในคนทั่วไปก็ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นกัน

นอกจากนี้ไม่ควรใช้ในเด็กหรือสตรีมีครรภ์ เนื่องจากยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ และควรระวังการเกิดอันตรกิริยากับยาแผนปัจจุบัน เช่น ยา sildenafil (ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ) เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามากขึ้น 

เมล็ดฟักทอง

ฟักทอง (Pumpkin)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucurbita pepo L.  วงศ์ CUCURBITACEAE 

เนื้อของฟักทองอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินอี ไนอาซิน (วิตามินบี 3) แมกนีเซียม โปแตสเซียม เซเลเนียม สังกะสี และเหล็ก

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสำคัญของสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ชนิดต่างๆ ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ ฟักทองจึงจัดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ขาดวิตามินเอ 

ในเนื้อของฟักทองมีกากใยอาหารมาก จึงช่วยให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายทำงานดีขึ้น 

ในเมล็ดฟักทองมีทั้งน้ำมัน แป้ง โปรตีน วิตามิน และยังเป็นแหล่งของธาตุฟอสฟอรัส ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมทั้งช่วยรักษาสมดุลของกรดและด่างภายในร่างกายอีกด้วย

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

พบว่า สารเบต้าแคโรทีนในเนื้อสีเหลืองของฟักทองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งหลายชนิด

มีการศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งโดยพิจารณาถึงการใช้ชีวิตและอาหารการกินระหว่างคนที่เป็นมะเร็งและคนปกติพบว่า ผู้ที่มักจะรับประทานผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีน (carotene-containing vegetable) เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ กะหล่ำ ผักกาด และผักใบเขียวอื่นๆ เป็นประจำ จะมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ปอด และเต้านมลดลง

การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ฟักทองสามารถเพิ่มระดับอินซูลินในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต แก้ปวด บรรเทาการอักเสบ กระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกาย แก้ท้องเดิน ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้น และช่วยชะลอความแก่

การศึกษาในเมล็ดฟักทองก็พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยพบว่าสารคิวเคอร์บิตาซิน (cucurbitacins) ในเมล็ดฟักทอง มีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งและเสริมฤทธิ์กับยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษามะเร็ง เช่น ดอกโซรูบิซิน (doxorubicin) เจ็มซิทาบีน (gemcitabine) เมื่อทำการศึกษาในเซลล์มะเร็ง

นอกจากนี้เมล็ดฟักทองยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบ กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในเมล็ดฟักทองมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด อีกทั้งยังช่วยปกป้องเซลล์ตับด้วย การศึกษาทางคลินิกพบว่าสารสกัดจากเมล็ดฟักทองมีฤทธิ์ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตโดยไม่ทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ในคนไข้เกือบทั้งหมด

งานวิจัยในประเทศไทยพบว่า การรับประทานขนมที่ทำจากเมล็ดฟักทองสามารถป้องกันและรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ ฤทธิ์สำคัญอีกประการหนึ่งของเมล็ดฟักทองคือฤทธิ์ขับพยาธิ โดยพบว่าเมล็ดฟักทองสดและเมล็ดฟักทองคั่วสามารถใช้ขับพยาธิในลำไส้ได้ การวิจัยทางคลินิกพบว่าเมล็ดฟักทองขนาด 23 ก. ในน้ำกลั่น 100 มล. มีสรรพคุณขับพยาธิได้ดี 

 

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของเมล็ดฟักทอง

ฟักทองอุดมด้วยสังกะสีที่คาดว่ามีส่วนสำคัญต่อการทำงานของต่อมลูกหมาก เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นที่คาดว่าโรคนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีสังกะสีในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงพบปริมาณสังกะสีในปัสสาวะที่ถูกขับออกมากกว่าปกติ

มีงานจัยเกี่ยวกับการรับประทานเมล็ดฟักทองในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจำนวน 47 คน งานวิจัยนี้แบ่งกลุ่มให้ผู้ป่วยรับประทานแป้งมันเทศหวาน น้ำมันเมล็ดฟักทอง น้ำมันผลปาล์มแห้งชนิดหนึ่ง (Saw Palmetto) หรือน้ำมันเมล็ดฟักทองผสมกับน้ำมันผลปาล์มแห้ง ซึ่งผลปรากฏว่าการรับประทานน้ำมันเมล็ดฟักทองและน้ำมันจากผลปาล์มแห้งรวมกันในปริมาณ 320 มิลลิกรัม อาจมีประสิทธิภาพในฐานะทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการจากโรคต่อมลูกหมากโ

พบว่าเมื่อผ่านไป 3 เดือน ทุกกลุ่มมีอาการของโรคต่อมลูกหมากโตลดลง ยกเว้นกลุ่มที่รับประทานแป้งมันเทศหวาน

โดยกลุ่มที่รับประทานแต่เพียงน้ำมันเมล็ดฟักทองหรือน้ำมันผลปาล์มแห้งต่างมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังผ่านไป 3 เดือน

ส่วนกลุ่มที่รับประทานน้ำมันเมล็ดฟักทองกับน้ำมันผลปาล์มแห้งผสมกัน จะต้องรอเวลาถึง 6 เดือนจึงจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลง ทว่ากลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มเดียวที่มีสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากลดลงหลังจาก 3 เดือน

แต่ยังไม่อาจสรุปได้ชัดเจนว่า กลุ่มใดได้ผลการรักษาดีกว่ากัน

อีกงานวิจัยในปีต่อมามีการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน แต่เป็นการใช้เมล็ดฟักทองช่วยบรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดขึ้นจากโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นการศึกษาในชายทั้งหมด 1,431 คน

  • กลุ่มแรกให้รับประทานเมล็ดฟักทอง 5 กรัม วันละ 2 ครั้ง
  • กลุ่มที่ 2 รับประทานแคปซูลสกัดจากเมล็ดฟักทอง 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
  • ส่วนกลุ่มสุดท้ายรับประทานยาหลอก ซึ่ง

หลังจากการศึกษานาน 12 เดือน พบว่าเฉพาะเมล็ดฟักทองมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของอาการจากโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งหากทบทวนและวิเคราะห์งานวิจัยทั้งหลายในด้านนี้แล้วพบว่าน่าจะได้ผล เมล็ดฟักทองอาจกลายเป็นอีกทางเลือกในการช่วยยับยั้งอาการปัสสาวะผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับต่อมลูกหมาก

สรุป เมล็ดฟักทองอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia: BPH) ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ 

นอกจากนี้ เมล็ดฟักทองยังอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งการได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอต่อวันสำคัญต่อสุขภาพ เนื่องจากแมกนีเซียมดีต่อสุขภาพหัวใจ ควบคุมความดันโลหิต และรักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน

 

 

 

 

บทความล่าสุด

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า