เครื่องมือ

วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์

ถ้ามีคนป่วยที่เคลื่อนไหวลำบากอยู่ที่บ้าน วิธีดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยจำเป็นต้องมี วัสดุและเครื่องมือแพทย์การแพทย์ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน


เกร็ดความรู้เรื่องวัสดุอุปกรณ์การแพทย์

วัสดุอุปกรณ์การแพทย์มีอะไรบ้าง

คำว่า "อุปกรณ์" หมายถึง ของใช้ประจำอยู่กับเครื่องมือแพทย์เป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาเครื่องมือแพทย์

คำว่า "เครื่องมือแพทย์" โดยสามัญสำนึกของบุคคลทั่ว ๆ ไป มักจะนึกถึงแต่เครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุที่ใช้สำหรับในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะ การพยาบาลและ ผดุงครรภ์เท่านั้น แต่ ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 ยังมีนิยาม ความหมายถึง 4 ความหมายด้วยกัน

เครื่อง มือแพทย์นั้นแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
1. อุปกรณ์ผ่าตัด และอุปกรณ์การแพทย์ เช่น มีดผ่าตัด กรรไกรผ่าตัด เครื่องวัดความดัน ปรอท วัดไข้ เป็นต้น
2. บริภัณฑ์การแพทย์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องสลายนิ่ว เป็นต้น
3. วัสดุการแพทย์และวัสดุฝังในทางศัลยกรรม เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ ผ้าก๊อซ ซิลิโคน(Silicone)
4. เครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง เช่น ชุดน้ำยาตรวจการติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) ชุดตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ เครื่องมือทันตกรรม ถุงยางอนามัย เครื่องตรวจวัดระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย เป็นต้น

 

 

อุปกรณ์การแพทย์ประจำบ้าน

วัสดุอุปกรณ์การแพทย์ที่ควรมีติดไว้ในบ้าน หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นและมองว่าไกลตัว ไม่ต้องมีติดบ้านก็ได้ แต่จริงๆแล้วก็มีความสำคัญพอๆกับยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งเครื่องมือแพทย์ที่ควรมีติดบ้านก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมาชิกในครอบครัวนั้นด้วย ควรมีอะไรบ้าง

  1. เครื่องชั่งน้ำหนัก ใช้ได้กับสมาชิกทุกคนในบ้าน ช่วยให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อ้วนขึ้น ผอมลง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือควรทานอาหารให้มากขึ้น
  2. ปรอทวัดไข้ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ตัวนี้จำเป็นอย่างยิ่งกับบ้านที่มีสมาชิกเป็นเด็กเล็กหรือทารก ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อเช็คว่าปกติหรือไม่ มีไข้หรือไม่ ไข้สูงระดับที่ต้องพบแพทย์หรือยัง
  3. เครื่องวัดความดัน จำเป็นอย่างมากในบ้านที่มีผู้สูงอายุป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ
  4. เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะกับบ้านที่มีสมาชิกมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพื่อช่วยใช้ในการตรวจป้องกันและแก้ไขอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันทีเมื่อมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปในผู้ป่วยเบาหวาน
  5. เครื่องพ่นละอองยา จำเป็นอย่างยิ่งหากสมาชิกในบ้านมีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ หอบ หืด และ ภูมิแพ้ เครื่องนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ

ทั้งนี้เครื่องมือแพทย์สามัญประจำบ้านจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกในครอบครัว ถ้าบ้านไหนมีสมาชิกที่จำเป็นต้องใช้ก็ควรมีติดบ้านไว้ดีกว่า อย่าลืมศึกษาข้อมูล วิธีการใช้โดยละเอียดก่อนการใช้เครื่องมือนั้นๆด้วย

อุปกรณ์การแพทย์สำหรับดูแลผู้ป่วยในบ้าน

ถ้าหากว่ามีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือ ผู้สูงวัย ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้ดูแล (care giver) การจัดเตรียมอุปกรณ์การแพทย์ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ดูแลเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นด้วย อุปกรณ์การแพทย์ ที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยในบ้าน ได้แก่

  1. เสาน้ำเกลือ : อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแขวน ยา อาหาร สารน้ำต่างๆ อำนวยความสะดวก ให้กับผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน ค่อยอำนวยความสะดวกเวลาเข้าห้องน้ำ หรือเวลาออกไปเดินเล่นหน้าบ้าน โดยผู้ดูแลไม่ต้องถือน้ำเกลือให้เมื่อยเลย
  2. รถเข็นผู้ป่วย:เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย ที่ไม่สามารถเดินได้ตัวเอง ควรที่จะมีรถเข็นผู้ป่วย เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวกเวลาออกนอกบ้าน เช่น ไปหาหมอ เดินเล่น 
  3. ที่นอนลม : เพราะจะช่วยป้องกันแผลกดทับและประโยชน์อีกมายที่คุณคาดไม่ถึงครับ ที่นอนลม โดยหลักๆ มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ เนื่องจากแผลกดทับเป็นภัยสำหรับผู้ป่วยที่กำลังฟื้นฟูร่างกาย ถ้าหากผู้ป่วยนอนในท่าเดิมๆ หรือเป็นเวลานานๆ จะส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงส่วนกล้ามเนื้อ อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งที่นอนลม  จะช่วยกระจายแรงกดทับของน้ำหนักร่างกายทั้งหมดที่สัมผัสกับที่นอนได้ ทำให้คุณหายห่วงเรื่องแผลกดทับ และยังกันน้ำ ทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นเชื้อรา นอนสบาย ขนาดใกล้เคียงเตียงมาตรฐาน รับน้ำหนักคนไข้ได้มากถึง 140-146 กิโลกรัม
  4. เก้าอี้นั่งถ่าย : เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล เพราะสามารถนำมาวางใกล้ผู้ป่วยได้  เพิ่มความปลอดภัยป้องกันอุบัติเหตุลื่นล้มในห้องน้ำ

 

 

หลักการพยาบาลผู้ป่วยในบ้าน

บ้านคือวิมานของเรา ประโยคข้างต้นนั้นเป็นจริงเสมอ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การได้กลับมาอยู่บ้าน ได้อยู่ใกล้ชิดลูกหลาน ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมอันคุ้นเคย ถือเป็นยาวิเศษที่จะช่วยเยียวยาอาการป่วยไข้ได้ แต่ถ้าจะให้อาการทุเลาลง คนในครอบครัวก็ต้องมีความรู้การดูแลผู้ป่วยด้วย หลักการสำคัญมีดังนี้

  1. การล้างมือ : ก่อนและหลังการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจะต้องล้างมือให้สะอาด เพราะมืออเป็นอวัยวะที่นำเชื้อโรคได้อย่างดีสุด 
  2. การทำความสะอาดปากและฟันในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรทำความสะอาดปากและฟันให้ผู้ป่วยตามปกติในตอนเช้า หลังอาหารทุกมื้อ และก่อนนอน โดยใช้สำลีพันปลายไม้ชุมนำยาสำหรับบ้วนปากหรือนำ้เกลือ เช็ดปากฟัน ลิ้นจนสะอาด ถ้าลริมฝีปากแห้ง ควรใช้ขี้ผึ้งถ้าปาก หรือ ปิโตรเลียมเจลลี่ ทาริมฝีปาก
  3. การสระผม ถ้าผู้ป่วยสระผมเองไม่ได้ ควรสระผมให้ผู้ป่วยสัปดาห์และ 2 ครั้ง
  4. การเช็ดตัวผู้ป่วย การเช็ดตัวผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น สบาย กระปรี้กระเปร่าขึ้น ส่วนมากจะนิยมเช็ดตัวทีละท่อน และแช่มือแช่เท้าประกอบกัน จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกประหนึ่งว่าได้อาบนำ้ด้วยตัวเอง
  5. การทำความสะอาดเตียง การทำความสะอาดเตียงผู้ป่วยต้องทำกันทุกวัน วันละหนึ่งครั้งในตอนเช้า เตียงผู้ป่วยจะต้องปูให้เรียนร้อย ตึง สะอาด น่าพักผ่อนและหลับสบาย ผู้พยาบาลต้องรู้หลักในการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนขณะที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง ตามปกติควรจะทำความสะอาดเตียงหลังจากผู้ป่วยอาบน้ำหรือเช็ดตัวเรียบร้อยแล้ว ถ้าผู้ป่วยลุกขึ้นเดินไปทำความสะอาดร่างกายได้เองในห้องนำในเวลานั้นจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดเตียง
  6. การเตรียมผู้ป่วยรับประทานอาหาร การเตรียมผู้ป่วยสำหรับเวลารับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอยากรับประทานและรับประทานอาหารได้ดี ในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในการรับประทานอาหารผู้พยาบาลจะต้องป้อนอาหารให้ และเมื่อป้อนอาหารเสร็จแล้ว ให้ผู้ป่วยดื่มนำทำความสะอาดปากและฟันจัดให้พักท่าที่สบาย
  7. การช่วยเหลือผู้ป่วยลุกจากเตียง ผู้ป่วยที่นอนอยู่นาน ๆ ต่างมีความต้องการที่จะลุกขึ้นจากเตียงเพื่อพักผ่อนอิริยาบถบ้างไม่มากก็น้อย ผู้พยาบาลต้องช่วยพยุงให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว โดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ป่วยก่อน คือ สภาพผู้ป่วยในขณะนั้น โรคที่ดำเนินอยู่ ท่านอนที่ผู้ป่วยต้องการ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหว และปัญหาบางประการเกี่ยวกับตัวผู้ป่วยเอง เช่น ความบอบบางของร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือคนผอม ซึ่งผู้พยาบาลจะต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก

บทความล่าสุด

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอาการที่แทบทุกคนเคยเป็นกับตัวเองมาบ้างแล้ว แต่ถ้ามีร่วมกับ อาการบ้านหมุน คลื่

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

ยาอมแก้ไอ แก้เจ็บคอ

ยาอมที่มีจำหน่ายในร้านยา จะมีสรรพคุณทั้งแก้ไอและเจ็บคอได้ในเม็ดเดียวกัน แต่มีฤทธิ์เด่นที่ต่างกันไปตา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า