เห็ดหลินจือ
หลินจือ

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

สมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน คือ กลไกการทำงานของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย

 

290 บาท
This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ (Lingzhi หรือ Reishi)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma Lucidum)

ชื่อไทย : เห็ดหมื่นปี เห็ดจวักงู

ชื่ออังกฤษ : Lacquered mushroom

ชื่อญี่ปุ่น : Mannantake

เห็ดหลินจือ จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีน ที่มีการใช้มานานกว่า 4,000 ปี เป็นยาอายุวัฒนะและรักษาโรคต่าง ๆ ในเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ มีสีเข้ม มีพื้นผิวมันวาว มีลักษณะคล้ายไม้ และมีรสขม มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการใช้เห็ดหลินจือเพื่อรักษาหรือบำรุงสุขภาพในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่น 

ในเห็ดหลินจือมีสารอาหารที่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย เช่น

  • เส้นใยต่าง ๆ
  • โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน
  • แร่ธาตุ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เซเลเนียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง
  • สารโมเลกุลชีวภาพที่สำคัญ อย่างสเตียรอยด์ (Steroids) เทอร์ปีนอยด์ (Terpenoids) ฟีนอล (Phenols) นิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) ไกลโคโปรตีน (Glycoproteins) พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) 
  • สารอนุพันธ์อื่น ๆ โดยเฉพาะกรดอะมิโนไลซีน (Lysine) และลิวซีน (Leucine)

แต่สารสำคัญในเห็ดหลินจือที่เป็นประโยชน์ทางยาจะเป็นสารกลุ่ม polysaccharides, terpenes, และสารกลุ่ม glycoproteins 

ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือในท้องตลาด

เห็ดหลินจือเป็นเห็ดที่พบได้ในป่าแถบทวีปเอเซีย ปัจจุบันมีการเพาะเห็ดหลินจือในหลายประเทศ การเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือจะต้องใช้เวลาประมาณ 5-7 เดือน จึงจะได้ดอกเห็ด

ในขณะที่ความต้องการเห็ดหลินจือมีมากทำให้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดในถังหมักจะได้เส้นใย (mycelia) ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่ามาก และสามารถควบคุมสภาวะการณ์ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ปริมาณสารสำคัญมากขึ้น ซึ่งสภาวะการณ์ที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 30-35oC และ pH 4-4.5 และการเติมสารอาหารกรดไขมันจำเป็น

ฉะนั้นเราจะพบผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือในท้องตลาดที่จะได้จากส่วนต่าง ๆ ของเห็ดคือ ส่วนที่เป็นร่มหรือดอกเห็ด (fruity body) สปอร์ และส่วนที่เป็นเส้นใย ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นพบได้ทั้งในรูปแบบที่ไม่ได้สกัด และที่เป็นสารสกัด

  1. ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือที่ไม่ได้สกัด เช่น ส่วนที่เป็นร่มหรือดอกเห็ด (fruity body) ฝานเป็นชิ้น หรือยังคงเป็นดอกเห็ดทั้งดอก แล้วนำไปต้มกับน้ำ หรือเป็นดอกเห็ดที่บดเป็นผงบรรจุแคปซูลหรือตอกเป็นเม็ด หรือทำเป็นชาชง ส่วนสปอร์ก็จะเป็นสปอร์ที่กระเทาะเปลือกแล้วบรรจุแคปซูล หรือเป็นผงชงกับน้ำ ส่วนที่เป็นเส้นใยจะนำมาตากแห้งแล้วนำไปปรุงเป็นอาหาร ทำเป็นซุป หรือทำเป็นผงบรรจุแคปซูลหรือตอกเป็นเม็ด 

 

 

2.ผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปสารสกัด จะเป็นการสกัดจากส่วนดอกเห็ดหรือเส้นใยด้วยน้ำร้อน หรือแอลกอฮอล์ แล้วทำให้แห้งบรรจุแคปซูลหรือตอกเป็นเม็ด ปัจจุบันมีการพัฒนาการสกัดโดยใช้วิธี supercritical fluid CO2 extraction ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อุณหภูมิที่ต่ำ ไม่ต้องใช้ตัวทำละลาย (solvent) เป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วิธีต้มน้ำเห็ดหลินจือ

  • นำเห็ดหลินจืออบแห้งมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้จนนิ่ม
  • ให้นำใส่หม้อต้มกับน้ำจนเดือด
  • ลดไฟลงแล้วต้มต่อประมาณ 20 นาทีจึงปิดไฟ
  • กรองด้วยผ้าขาวเอาเฉพาะน้ำมาดื่มเท่านั้น

งานวิจัย

  • การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือขนาด 2-10 กรัม/วัน ร่วมกับวิตามินซี ขนาด 6-12 กรัม/วัน จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน ทั้งนี้เพราะเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน
  • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับประทานยากลุ่มป้องกันการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด เช่น ยา aspirin หรือยา warfarin ทั้งนี้เพราะเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เสริมยาดังกล่าว
  • สารสกัดน้ำเห็ดหลินจือมีฤทธิ์เสริมยาต้านจุลชีพ cefazolin ต่อเชื้อ Klebsiella oxytoca ATCC 8724, Bacillus subtilis ATCC 6603, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Escherichia coli ATCC 25933 และ Salmonella typhi ATCC 6509
  • ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และป้องกันการทำลายเซลล์ตับ จากการทดลองหาประสิทธิภาพของสารไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ในเห็ดหลินจือในด้านการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการป้องกันการทำลายเซลล์ตับในกลุ่มผู้ทดลองที่มีสุขภาพดี 42 คน ผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบของตับ

อาการข้างเคียงจากการรับประทานเห็ดหลินจือ
การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือคู่กับวิตามินซีทำให้เพิ่มการดูดซึม ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย มีแผลร้อนใน แนะนำให้ดื่มน้ำปริมาณมากๆ

การรับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือเกิน 4-6 เดือนก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้ง วิงเวียนได้ จึงควรรับประทานเพียง 4 เดือนแล้วหยุดยา 1 เดือน ค่อยเริ่มรับประทานใหม่

สรุป : การรับประทานผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือจะต้องระวังในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน และผู้ป่วยที่รับประทานยาป้องกันการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ส่วนผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะต้องระวังการแพ้สปอร์ของเห็ด

 

 

 

 

ระบบภูมิคุ้มกัน

ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ที่คอยช่วยป้องกันเราจากอันตรายที่อาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอมรอบตัว เช่น เชื้อโรคต่างๆ มลพิษ  ทำให้เรายังคงแข็งแรงอยู่ได้

อวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน มีดังนี้

  1. ต่อมทอนซิล
  2. ต่อมไทมัส
  3. ไขกระดูก
  4. ต่อมน้ำเหลือง
  5. ม้าม
  6. ไส้ติ่ง
  7. หลอดน้ำเหลือง

เมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดอันตราย ร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนอง โดยมีกลไกต่อต้าน/ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายมี 2 แบบ คือ แบบไม่จำเพาะ และ แบบจำเพาะ ซึ่งทั้งสองแบบจะทำงานร่วมกัน

1. กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ เช่น 

  • ขี้หู  : ดักจับฝุ่นและแมลง
  • น้ำตา : มีเอนไซม์ไลโซไซม์ (lysozyme) ย่อยผนังเซลล์แบคทีเรีย
  • ผิวหนัง : ป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
  • ท่อลม : มีการหลั่งยับยั้งการเจริญเมือกเพื่อดักจับฝุ่นละอองหรือเชื้อจุลลินทรีย์แล้งถูกซิเลียโบกพัดออกไปด้วยอาการจาม ไอ
  • กระเพาะอาหาร : หลั่งกรดไฮโดรคลอริคทำลายแบคทีเรีย
  • กระเพาะปัสสาวะ : การขับปัสสาวะ ช่วยพาจุลินทรีย์ออกจากท่อปัสสาวะ
  • เหงื่อจากต่อมเหงื่อและน้ำมันจากต่อมเหงื่อ : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
  • ช่องคลอด : มีภาวะกรดยับยั้งการเจริญเติบโตขิงเชื้อโรค

กลไกนี้เปรียบเสมือนแนวป้องกันที่ช่วยต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่เนื้อเยื่อหรือที่อยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกายแล้ว แต่ถ้าแนวป้องกันนี้ถูกทำลาย เช่น มีบาดแผลที่ผิวหนัง ร่างกายยังมีกลไกการต่อต้านแบบไม่จำเพาะอีกอย่างคือ การอักเสบและการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มที่คอยดักจับและทำลายเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย

2. กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ
เมื่อแอนติเจน (antigen) ซึ่งอาจเป็นเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย จะกระตุ้นกลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว 2 ชนิด คือ เซลล์บี (B cell) และ เซลล์ที (T cell)  เซลล์บีและเซลล์ทีจะจับกับแอนติเจนอย่างจำเพาะ และจะกระตุ้นให้เซลล์บีพัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมา (plasma cell) ทำหน้าที่สร้างและหลั่งแอนติบอดี (antibody) สำหรับเซลล์ทีที่ถูกกระตุ้นมีหลายชนิดและทำหน้าที่ต่างกัน เช่น

 

 

- เซลล์ทีที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส (cytotoxic T cell)

- เซลล์ทีผู้ช่วย (helper T cell) ซึ่งกระตุ้นการทำงานและการแบ่งเซลล์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

ในการตอบสนองดังกล่าวเซลล์บีและเซลล์ทีบางส่วนจะพัฒนาไปเป็นเซลล์ความจำ (memory Cell) ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น ทำให้เมื่อได้รับแอนติเจนชนิดเดิมอีกในครั้งต่อไป จะตอบสนองและสร้างแอนติบอดีได้อย่างรวดเร็ว

ร่างกายของคนเรานั้น มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดูแลและป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยมีเม็ดเลือดขาวที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่างๆ คอยช่วยคุ้มกันดูแล แต่ถ้าหากภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือลดลง จะส่งผลให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย อาจเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยตามมา

การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน โดยการตรวจนั้น จะแบ่งเป็น 3 อย่าง

1.การตรวจการทำงานของเม็ดเลือดขาวแบบละเอียด (CD Profile) เป็นการวิเคราะห์การทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งก็คือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบละเอียด เพื่อนำมาใช้วางแผนในการเสริมภูมิต้านทานเพื่อป้องกันโรค

2.การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และประเมินความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบอกถึงภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย

3.การตรวจวัดระดับวิตามินดี เพราะวิตามินดีช่วยในการเสริมสร้างการพัฒนาเซลล์ ความแข็งแกร่ง และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อทุกชนิดรวมถึงโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่

หากตรวจแล้ว ภูมิคุ้มกันต่ำ ควรทำอย่างไร

  1.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มอิ่มและเป็นเวลา
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  4. ดูแลความสะอาดด้วยการล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากที่เข้าห้องน้ำ 
  5. เสริมเกราะป้องกันสุขภาพด้วยการทานวิตามิน ประโยชน์จากวิตามิน นอกจากเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระ ฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหาย และป้องกันร่างกายจากมลพิษต่างๆ  เนื่องจากวิตามินช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และฟื้นฟูร่างกายให้สดชื่นจากอาการอ่อนเพลีย

บทความล่าสุด

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า