ลูทีน (Lutein)
มีชื่อมาจากภาษาลาตินว่า ลูเทียส (Luteus) หมายถึงสีเหลือง ลูทีนเป็นแคโรทีนอยด์ (carotenoids ) ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตะมิน เอ ได้ (non-provitamin A carotenoids) หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นกลุ่มแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll)
ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารประกอบทั้งสองนี้ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ลูเทอินและซีอาแซนทินเป็นแคโรทีนอยด์ 2 ตัวเท่านั้นที่พบอยู่ที่แมคูลา (macula) และที่เลนส์ของตา ที่ทราบกันดีว่ามีประโยชน์ต่อดวงตาของคนเรา ซึ่งชาวต่างประเทศรู้จักสารอาหารลูทีน (lutein) กันอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นสารอาหารที่ช่วยชะลออาการจอประสาทตาเสื่อมของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม สารอาหารลูทีนนี้ ร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์สารลูทีนขึ้นมา ใช้เองได้ จะต้องกินเข้าไปเท่านั้น
ประโยชน์และสรรพคุณของลูทีน
ลูทีนและซีแซนทินเป็นแคโรทีนอยด์ที่สะสมอยู่บริเวณเรตินาของดวงตา ซึ่งเม็ดสีนี้จะทำหน้าที่ปกป้องเรตินาและจอประสาทตาจากกระบวนการ OxidativeStress ซึ่งนั่นหมายความว่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
และลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชันเพื่อป้องกันเซลล์รับแสง (photoreceptor cells) จากอันตรายจากอนุมูลอิสระที่เซลล์สร้างขึ้นเนื่องมาจากมีปริมาณออกซิเจนสูง (oxygen tension) และจากการถูกแสง
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการกรองแสงสีฟ้าที่เป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง โดยประมาณว่าจะสามารถกรองแสงสีฟ้าลงได้ถึง 40 % ก่อนที่แสงจะตกถึงแมคูลา ดังนั้นจะสามารถลดสภาวะความเครียดออกซิเดชันต่อจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ลูทีนยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในดวงตาของคนเราอีกด้วย เพราะดวงตาของเราจะมีสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้
ลูทีนถือเป็นสารอาหารที่มีความ สำคัญในการปกป้องจอประสาทตา โดยลูทีนจะทำงานร่วมกันกับกรดไขมันดีเอชเอและเอเอซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการมองเห็นของเด็ก โดยดีเอชเอและเอเอ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นหลอดไฟ ส่วนลูทีนจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสารเคลือบหลอดไฟไม่ให้เสื่อมเร็ว
นอกจากนี้ยังพบลูทีนได้ในสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็นถึงร้อยละ 66 จึงเชื่อว่าลูทีนมีส่วนช่วยในการรับภาพและส่งต่อไปยังสมองได้ดีขึ้นอีกด้วย
จากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบหลักฐานว่า ลูทีนและซีแซนทีนช่วยลดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration: AMD) สำนักงาน อาหารและยาสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลูทีนและซีแซนทีน ในการลดความเสี่ยงของการเกิดความเสื่อมของตา อันมีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้แล้วยัง คุณสมบัติในการช่วยชะลอความเสื่อมของเรตินา และเลนส์ตาแล้ว ยังทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก และป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ขนาดและปริมาณที่ควรใช้
จากการศึกษาพบว่า ระดับลูทีน 2.0 – 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้แต่ลูทีนก็ยังไม่ได้มีการกำหนดปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน (Dietary Recommended Intake (DRI)) แต่งานวิจัยพบว่า ต้องรับประทาน 6-10 มิลลิกรัมต่อวัน จึงจะมีประสิทธิภาพในการดูแลดวงตา และจะมีความปลอดภัยหากรับประทานไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน
แหล่งที่มาของลูทีน
ถึงแม้ว่าลูทีน (Lutein) จะเป็นสารที่มีอยู่แล้วในร่างการมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายมนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะสังเคราะห์สารลูทีน (Lutein) ขึ้นมาใช้เองได้ จึงต้องจำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารต่างๆที่มีสารลูทีนนั่นเอง ซึ่งโดยธรรมชาตินั้น ลูทีน (Lutein) เป็นสารธรรมชาติที่มีในนมมารดา และ ในพืชผักผลไม้หลายชนิด เป็นสารในตระกูลของสารแคโรทีนอยด์ ในธรรมชาติ
แคโรทีนอยด์ในอาหารธรรมชาติมีประมาณ 600 ชนิด แต่ที่พบมากมี 6 ชนิด คือ
Ø แอลฟา-แคโรทีน (Alpha-carotene)
Ø บีตา-แคโรทีน (Beta-carotene)
Ø บีตา-คริพโตแซนทิน (Beta-cryptoxanthin)
Ø ไลโคพีน (Lycopene)
Ø ลูทีน (Lutein)
Ø ซีแซนทีน (Zeaxanthin)
โดยพืชผักที่มีสารลูทีนโดยมากมักจะเป็นผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด แครอท ฟักทอง ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขมฯ ดอกดาวเรือง และโกจิเบอร์รี่(เก๋ากี้)แ กะหล่ำ ถั่วลันเตา ผักกาด ต้นอ่อนกะหล่ำดาว ถั่วพิสตาชิโอ บรอกโคลี ไข่
กลไกการทำงานของลูทีน
สารลูทีนในเซลล์รับภาพของจอประสาทตานี้ จะทำหน้าที่สำคัญคือ คอยกรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา และเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ซึ่งทั้งแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ เป็นต้น
ลูทีนกับโรคต้อกระจก
ลูทีน สามารถลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้ เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดกลไกการเกิดความเสื่อมของโรคต้อกระจกโดยตรง เพราะอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดต้อกระจก
มีการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุ ต่างๆ พบว่ากลุ่มที่มีระดับของลูทีนใน กระแสเลือดสูงจะมีความขุ่นของเลนส์ตาน้อยกว่า ซึ่งเป็นการวิจัยของจักษุแพทย์และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีนน่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง
ยังมีการวิจัยว่าการรับประทานลูทีนในปริมาณสูงเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่มีการออกแบบแผนการวิจัยมาอย่างดี และทาการทดลองเป็นเวลานานถึงสองปี
ลูทีนกับโรคจุดรับภาพเสื่อม
โดยพบว่าถ้าปริมาณลูทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมและความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง หากมีปริมาณลูทีนในเลือดสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่มีลูทีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
การศึกษาทางระบาดวิทยาและการศึกษาทางคลินิก
มีรายงานการวิจัยที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมเที่มีลูทีน จะลดความเสื่อมของโรคต้อกระจกถึง 19%
ที่ University of Massachusetts ทำวิจัยในสุภาพสตรีถึง 50,461 คนพบว่าการได้รับลูทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 22%
การวิจัยที่ University of Wisconsin Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-48 ปี จานวน 1,354 คน พบว่า ลูทีนช่วยลดอุบัติการณ์ของต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ (Nuclear Cataracts) ได้ถึง 50%
รายงานการศึกษาทางระบาดวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ 12 ฉบับ พบว่ากลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้ที่มีลูทีนและซีแซนทีนสูงสุด หรือกลุ่มคนที่มีระดับลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงสุด (เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ต่ำสุด) จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมน้อยกว่ามาก
การศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในคน) 7 ฉบับ พบว่าการได้รับลูทีนและซีแซนทีน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีผลทำให้ระดับของลูทีนในเลือดและในแมคูลาสูงขึ้น และทำให้การวัดการมองเห็นต่างๆดีขึ้นและมีแนวโน้มในการป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
การรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณที่สูงที่สุดจะมี อัตราเสี่ยงต่ำกว่า 43% สำหรับภาวะการเสื่อมของจอประสาทตาตามอายุอย่างเฉียบพลันของจอประสาทตา เมื่อเปรียบเทียบการรับประทานในปริมาณที่ต่ำที่สุด จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 876 คนซึ่งมีอายุ ระหว่าง 55-80 ปี การได้รับลูทีนและซีซานทีน ในอัตราสูงจะช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันตามอายุได้ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หญิงและชายที่ได้รับ ลูทีนในระดับสูงที่สุดจะเป็นต้อกระจกในอัตราที่ต่ำกว่า
การรับประทานสารลูทีน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และการลดอัตราเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือการตรวจพบการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะเริ่มแรก การรับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ ซึ่งประกอบด้วยลูทีนในปริมาณสูงจะมีความสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลง โดยเฉพาะสำหรับสตรีที่มีประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ด้วยที่ว่าลูทีน (Lutein) เป็นสารที่มีในร่างกายมนุษย์ แล้วแหล่งที่มีลูทีนก็เป็นพืชผักและไข่ที่เราใช้ประกอบอาหารอยู่เป็นประจำ จึงคาดว่าไม่น่าจะมีอันตรายหากรับประทานลูทีนในแหล่งอาหารจากธรรมชาติเหล่านี้ แต่หากเป็นสารสกัดหรืออาหารเสริมที่มีลูทีนสกัดเข้มข้นแล้ว ควรรับประทานไม่เกินวันละ 20 มิลลิกรัม เพราะหากรับประทานมากเกิน จะเกิดการสะสมที่ตับและทำให้เกิดอาการตัวเหลืองที่เรียกว่า Carotenemia แต่หากหยุดรับประทานสักพักอาการก็จะหายไปเองและกลับมาเป็นปกติ