ยาสีฟัน
ยาสีฟันฟันขาว

แสดงทั้งหมด 2 ผลลัพท์

ยาสีฟัน

ยาสีฟันที่ดีควรมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถป้องกันได้ทั้งฟันที่ยังไม่ขึ้นมาในช่องปาก และฟันที่ขึ้นในช่องปากแล้ว

 


โรคปริทันต์

โรคปริทันต์

คือโรคเหงือกหรือรำมะนาด สาเหตุที่สำคัญของโรคปริทันต์ คือ  คราบจุลินทรีย์ (Bacterial Plaque)

คราบจุลินทรีย์ คือ คราบสีขาวขุ่นนิ่มที่ประกอบด้วยเชื้อโรคติดอยู่บนตัวฟัน ซึ่งแม้ว่าจะบ้วนน้ำก็ไม่สามารถหลุดออกได้ ขบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์เริ่มต้นหลังจากที่แปรงฟันแล้วเพียง 2-3 นาที โดยจะมีเมือกใสของน้ำลายมาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่มากมายในปากจะมาเกาะทับถมกันมาก ๆ เข้าเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์

คราบจุลินทรีย์นี้เองที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคปริทันต์ เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป คราบจุลินทรีย์นี้จะใช้น้ำตาลจากอาหารสร้าง กรด และสารพิษ กรด จะทำลายเคลือบฟันทำให้ ฟันผุ  สารพิษ จะทำให้เหงือกอักเสบเกิด โรคปริทันต์

ถ้าไม่กำจัดคราบจุลินทรีย์ โดยการทำความสะอาดฟันและเหงือกอย่างดีทุกวัน คราบนี้จะเพิ่มมากขึ้น และทำอันตรายต่อฟันและเหงือก มักพบคราบจุลินทรีย์มากโดยเฉพาะที่คอฟัน บริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน สามารถใช้สีย้อมให้เห็นคราบได้ชัดเจน แต่ในรายที่คราบหนามาก ๆ สามารถจะเห็นและรู้สึกเมื่อใช้ลิ้นสัมผัสไปตามฟัน

หินปูนหรือหินน้ำลาย  คือ คราบจุลินทรีย์ที่แข็งเนื่องจากมีธาตุแคลเซี่ยมจากน้ำตาลเข้าไปตกตะกอน อย่างไรก็ตามบนพื้นผิวของหินปูนยังมีคราบจุลินทรีย์ปกคลุมอยู่ ฉะนั้นหินปูนที่มีคราบจุลินทรีย์ปกคลุมจึงเป็นสาเหตุของโรคปริทันต์ได้

หินปูนที่โผล่พ้นขอบเหงือกจะมองเห็นได้ แต่หินปูนที่อยู่ในร่องเหงือกจะมองไม่เห็น โดยเหตุที่คราบจุลินทรีย์จะค่อย ๆ แข็งตัว

ดังนั้นจึงควรกำจัดคราบจุลินทรีย์เสียก่อนที่จะแข็งเป็นหินปูน เพราะวิธีทำความสะอาดฟันด้วยตนเองนั้นไม่สามารถกำจัดหินปูนออกได้ ทันตแพทย์เท่านั้นที่สามารถกำจัดหินปูนออกได้

 

 

อย่าลืมว่า "ท่านสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์เหนียว ๆ ออกจากฟันได้ด้วยตนเอง"แต่ "ท่านไม่สามารถเอาหินปูนออกเองได้ หรือเอาคราบจุลินทรีย์ที่ยึดติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือกออกได้"

สาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์

  • การมีเศษอาหารติดแน่นหรือค้างตามซอกฟัน และตัวฟัน เนื่องจากการมีขอบวัสดุอุดฟันเกินออกมา ทำให้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ และขัดขวางการทำความสะอาด เช่น ทำให้เส้นใยไนล่อนขาดระหว่างการทำความสะอาดซอกฟันการมีฟันปลอมที่หลวมหรือแน่นเกินไป หรือไม่ถูกต้อง เช่น การมีเหงือกอักเสบใต้ฟันปลอมที่หลวม
  • ระยะวัยรุ่น ระยะตั้งครรภ์ และหมดประจำเดือน ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่อยู่ในวัยดังกล่าว ถ้ามีสภาพเหงือกที่แข็งแรงอยู่แล้ว จะไม่เป็นโรคปริทันต์ แต่ถ้ามีการอักเสบของเหงือกอยู่จะทำให้เป็นมากขึ้นกว่าปกติ
  • การขาดอาหารบางชนิด โรคทางด้านจิตใจ โรคลมบ้าหมู ซึ่งผู้ป่วยรับประทานยาพวก Dilantin (มีแนวโน้มทำให้เหงือกโตขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรักษาความสะอาดไม่ดี) โรคเลือดต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ร่างกายมีความต้านทานและการซ่อมแซมต่ำ เป็นต้น

 ขั้นตอนการเกิดโรคปริทันต์

  •  เลือดออกขณะแปรงฟัน   
  •  เหงือกบวมแดง
  •  มีกลิ่นปาก
  •  เหงือกร่น
  •  มีหนองออกจากร่องเหงือก
  •  ฟันโยก
  • ฟันเคลื่อนห่างออกจากกัน

ถ้าท่านมีอาการดังกล่าว แสดงว่า โรคปริทันต์ได้มาเยี่ยมเยียนท่านแล้ว ถ้าท่านละเลยการทำความสะอาดฟัน จะทำให้มีคราบจุลินทรีย์สะสมบนตัวฟันมากขึ้น ทำให้เกิดโรคปริทันต์ได้

 

 

ยาสีฟัน

ยาสีฟัน

การกำจัดคราบจุลินทรีย์นั้น วิธีการแปรงฟันอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยาสีฟันเป็นเพียงส่วนช่วยในการทำความสะอาดและขัดพื้นผิวฟัน และเป็นสื่อกลางในการใส่สารต่าง ๆ เช่นฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ สารลดการเสียวฟัน สารลดการเกิดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนเป็นต้น

แต่การที่ใส่สารเคมีหรือสมุนไพรบางชนิดเพื่อป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ หินปูน และอาการเหงือกอักเสบนั้น ยังไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

ยาสีฟันประเภทขัดฟันขาว (Whitening Toothpaste) และขัดคราบบุหรี่ ยาสีฟันประเภทนี้ถ้ามีผงขัดหยาบกว่าปกติหรือผสมผงขัดมากกว่ปกติมีคุณสมบัติ ขัดผิวเคลือบฟันสูงกว่ายาสีฟันธรรมดา ซึ่งถ้าใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจมีผลทำให้ผิวเคลือบฟันบางลงและเสียวฟันได้

ยาสีฟันที่ช่วยทำให้ฟันขาวขึ้นอาจผสมสารเคมีประเภท Peroxide เพื่อช่วยฟอกสีฟันให้ขาวขึ้น ดังนั้นในการใช้ยาสีฟันนี้จึงควรได้รับการแนะนำและดูแลจากทันตแพทย์อย่างดี เพราะสาร Peroxide มีฤทธิ์กัดกร่อน อาจทำอันตรายต่อเหงือก และทำให้เสียวฟันได้

การที่มีฟันเหลือง ฟันสีน้ำตาล ฟันตกกระ ฟันเปลี่ยนสี ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเพื่อตรวจหาสาเหตุและหาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามยาสีฟันที่ใช้ควรเป็นครีมที่ละเอียด ไม่ควรหยาบหรือเป็นผงเพราะจะทำให้ฟันสึก

การใส่ยาสีฟันควรใส่ลงไประหว่างขนแปรง เพื่อให้ยาสีฟันได้สัมผัสกับตัวฟัน ไม่ใส่บนขน แปรงเพราะยาสีฟันจะหลุดออกไปเสียก่อน

มีแร่ธาตุตามธรรมชาติหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น

  • แคลเซียมช่วยให้กระดูกแข็งแรง
  • เหล็กช่วยลำเลียงออกซิเจนให้กับเม็ดเลือด 
  • สังกะสีช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเหมาะสม 
  • ฟลูออไรด์ พบได้ในดินและหิน ฟลูออไรด์มักใส่ไว้ในยาสีฟันเพื่อช่วยให้ฟันแข็งแรง หลายสิบปีที่ผ่านมา ฟลูออไรด์ในยาสีฟันมีบทบาทสำคัญในการลดปัญหาฟันผุและช่วยให้ประชากรทั่วโลกมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น

ฟลูออไรด์ช่วยได้อย่างไร

ฟลูออไรด์ส่งผลต่อเคลือบฟันของคุณสองลักษณะคือ

  • ขณะที่ฟันกำลังขึ้น ฟลูออไรด์ช่วยสร้างเคลือบฟันให้มีความแข็งมากพอที่จะไม่เกิดฟันผุหรือเป็นรู
  • หลังจากที่ฟันขึ้นเต็มที่แล้ว ฟลูออไรด์ในยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือกระทั่งน้ำประปายังช่วยเสริมให้เคลือบฟันคงความแข็งแรงเพื่อต้านทานกรดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเมื่อเรากินของหวาน ฟลูออไรด์ยังช่วยให้แร่ธาตุกลับคืนเข้าสู่ฟัน ช่วยซ่อมแซมเคลือบฟันที่สึกหรืออ่อนแอให้กลับมาแข็งแรงก่อนที่เคลือบฟันนั้นจะผุกร่อนไป

 

ทำไมฟลูออไรด์ถึงอยู่ในยาสีฟัน

เราสามารถรับฟลูออไรด์เข้าไปในร่างกายได้หลายทาง

  • วิธีหนึ่งคือการดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ ข้อมูลจากสมาคมทันตแพทย์อเมริกันระบุว่า ประมาณ 3 ใน 4 ของน้ำประปาในสหรัฐอเมริกามีการเติมฟลูออไรด์ลงไป เพื่อให้ประชาชนจำนวนมากได้รับฟลูออไรด์เพิ่มขึ้น
  • การรับประทานฟลูออไรด์เสริมหรือให้ทันตแพทย์ทาฟลูออไรด์วานิชให้เมื่อถึงกำหนดตรวจฟันตามปกติ

การดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ช่วยให้ฟันไม่ผุ แต่ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำอาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันฟันผุได้เสมอไป นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่พบฟลูออไรด์ในยาสีฟัน อีกเหตุผลหนึ่งที่ สมาคมทันตแพทย์อเมริกา(ADA) เสนอแนะคือ การเติมฟลูออไรด์ในยาสีฟันช่วยลดจำนวนฟันผุในชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากตั้งแต่ช่วงปี 1960 เป็นต้นมา ฟลูออไรด์เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่ยาสีฟันจำเป็นต้องมีเพื่อให้ได้รับตรารับรองจาก ADA ซึ่งเป็นตรารับรองผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปากที่สำคัญในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้แนะนำและสนับสนุนอย่างเป็นทางการให้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งไม่มีหรือไม่สามารถเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปาได้

เลือกยาสีฟันอย่างไร

แม้ว่ายาสีฟันบางชนิดจะไม่มีฟลูออไรด์ แต่ฟลูออไรด์ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ควรมองหาเมื่อเลือกยาสีฟัน - คุณสมบัติอื่นๆ อย่างรสชาติ เนื้อยาสีฟันไม่ว่าจะเป็นครีมหรือเจลนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล

ถ้าคุณมีปัญหาพิเศษ เช่น เสียวฟัน หรือเคยมีปัญหาเหงือกอักเสบมาก่อน คุณอาจหายาสีฟันที่มีฟลูออไรด์และส่วนผสมอื่นเพิ่มเติมซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น ส่วนผสมที่ช่วยปกป้องผิวเคลือบฟัน หรือช่วยลดการเกิดหินปูน เป็นต้น

การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

วิธีใช้ยาสีฟันให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ ใช้ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ โดยพื้นฐานแล้ว การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ส่วนปริมาณยาสีฟันที่ใช้จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุของผู้แปรงฟัน

สำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ขวบให้ใช้ปริมาณยาสีฟันไม่เกินขนาดเมล็ดถั่ว

ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบให้ใช้น้อยกว่านั้น ปริมาณเพียงเท่าเมล็ดข้าวก็พอ

ถ้าต้องการผลปกป้องดียิ่งขึ้นและทันตแพทย์แนะนำให้ใช้ ผู้ใหญ่และลูกที่โตกว่า 6 ขวบสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์อมกลั้วปากหลังแปรงฟันได้

 

บทความล่าสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า