แคลเซียม มีความสําคัญในการสร้างกระดูกและฟัน เพื่อให้กระดูกและฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น
สารประกอบของแคลเซียมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตอนปลายของกระดูกเรียกว่า ทราเบคูลาร์ ( Trabecular ) นั้น หากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอ ทราเบคูลาร์จะเกิดการพัฒนาและทำให้ส่วนปลายของกระดูกมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น และยังช่วยให้ระดับของแคลเซียมในเลือดเกิดความสมดุลอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
นอกจากนี้คนเราจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุดโดยผู้หญิงจะอยู่ช่วงอายุ 25 – 30 ปี และผู้ชายจะอยู่ช่วงอายุ 30 – 35 ปี และหลังจากช่วงอายุดังกล่าว เนื้อกระดูก และฟันซึ่งมีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพลงไป
ในวัยสูงอายุ เมื่อกระดูกขาดแคลเซียมจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกเปราะบางหักง่ายในวัยสูงอายุ ดังนั้นวัยสูงอายุจึงควรเน้นการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง หมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ และเลี่ยงสาเหตุที่เป็นตัวการทำลายกระดูก
1. แคลเซียมมีความจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาท โดยพบว่ากล้ามเนื้อจะมีความไวต่อการกระตุ้นเพื่อมีแคลเซียมต่ำ และหากมีแคลเซียมมากเกินไป ก็อาจจะไปกดการทำงานของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย และการทำงานของประสาทเกิดการเฉื่อยชาลง เป็นต้น
2. แคลเซียมเป็นตัวเร่งการแข็งตัวของลิ่มเลือด ในภาวะที่มีเลือดออก เลือดจึงแข็งตัวเร็วขึ้น จึงช่วยยับยั้งไม่ให้เลือดไหลออกมามากเกินไปได้ดี
3. แคลเซียมเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมวิตามินบี 12 ที่บริเวณลำไส้เล็กตอนปลาย ให้มีการดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
4. แคลเซียมทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของ Intracellular Cement หรือสารสื่อประสาทที่เชื่อมยึดกับเซลล์ เพื่อให้เซลล์สามารถคงตัวอยู่ได้
ปัจจัยที่ทำให้แคลเซียมดูดซึมมากขึ้น
1. ความต้องการของร่างกาย พบว่าในคนที่มีระดับแคลเซียมในร่างกายสูงอยู่แล้วจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย ส่วนในคนที่มีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำก็จะดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้นไปด้วย นั่นก็เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุด
นอกจากนี้ในวัยที่ต้องการแคลเซียมเพื่อการเจริญเติบโตสูง เช่น วัยเด็ก หรืออยู่ในช่วงที่ต้องการแคลเซียมมากกว่าปกติ เช่น หญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร ก็จะมีการดูดซึมแคลเซียมมากกว่าปกติเช่นกัน โดยจะดูดซึมที่ร้อยละ 40 หรือมากกว่าจากอาหาร
2. ความเป็นกรด เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีในสภาพที่เป็นกรด โดยกรดจะช่วยละลายแคลเซียมให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย
3. ปริมาณของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีวิตามินดีในร่างกายอย่างเหมาะสมด้วย
4. อัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัส โดยอัตราส่วนดังกล่าวมีอัตราส่วนของแคลเซียม 1 ต่อฟอสฟอรัส 1 ( 1 : 1 ) หรือ แคลเซียม 2 ฟอสฟอรัส 1 ( 2 : 1 ) ซึ่งจะทำให้การดูดซึมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหากอัตราส่วนผิดไปจากนี้จะทำให้การดูดซึมลดลงในที่สุดเพราะฟอสฟอรัสจะเข้าไปรวมกับแคลเซียมฟอสเฟตจนทำให้ละลายได้ยากนั่นเอง
5. การมีปริมาณวิตามินเอและวิตามินซีอย่างเหมาะสม เพราะวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี
6. ไขมัน โดยพบว่าหากมีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
7. การทานโปรตีน เพราะโปรตีนจะเป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี ยิ่งทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมดีเท่านั้น
8. ปริมาณของน้ำตาลแลคโทส เพราะน้ำตาลแลคโทสจะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมได้ดี เพราะแบคทีเรียจะเข้าไปเปลี่ยนแลคโทสให้เป็นกรดแลคติคนั่นเอง
ปัจจัยที่จะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม
1. ไขมัน พบว่าหากร่างกายมีไขมันที่มากกว่าปกติ ก็จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ยาก เพราะแคลเซียมกับไขมันจะรวมตัวกันจนเกิดเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายนั่นเอง
2. กรดออกซาลิค โดยกรดชนิดนี้เมื่อรวมเข้ากับ แคลเซียม จะเกิดเป็นเกลือแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่ละลาย จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ประโยชน์ได้และจะถูกขับออกมาจากร่างกายเป็นลำดับต่อไป แต่ก็อาจทำให้เป็นโรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดีได้เหมือนกัน
3. กรดไฟติค โดยกรดชนิดนี้จะรวมเข้ากับแคลเซียมจนทำให้กลายเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำและย่อยได้ยากมาก เป็นผลให้ไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้
4. เมื่อร่างกายได้รับฟอสฟอรัสที่มากกว่าปกติ เพราะจะทำให้อัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) ขาดสมดุล และร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยมาก โดยกรณีนี้จะต้องทานแคลเซียมให้มากขึ้นเพื่อให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสมกับฟอสฟอรัส
5. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะไปลดประสิทธิภาพในการทำงานของตับให้ลดน้อยลง ทำให้วิตามินดีที่เป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมลดลง และดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง
6. การสูบบุหรี่จัดหรือสูบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะควันบุหรี่จะทำให้ร่างกายเกิดความเป็นกรด จนต้องมีการปล่อยแคลเซียมจากกระดูกออกมาเพื่อปรับสภาพให้เป็นกลาง ผลที่ตามมาก็อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุนได้
7. ผู้ที่ดื่มกาแฟมาก โดยดื่มมากกว่าวันละ 6 แก้วขึ้นไปเพราะคาเฟอีนจะไปกระตุ้นให้มีการปล่อยแคลเซียมออกมาจากกระดูกมากกว่าปกติถึง 2 เท่า
8. แร่ธาตุในร่างกายขาดความสมดุล จึงทำให้เกิดการแข่งขันกับแคลเซียมเพื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นผลให้แคลเซียมอาจจะถูกดูดซึมน้อยลงกว่าปกติได้
9. การออกกำลังกายน้อยหรือแทบไม่ได้ออกกำลังกายเลย เพราะจะทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง และอาจเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
10. การดื่มน้ำอัดลมเพราะน้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริคที่ทำให้เกิดฟองสูงมาก จึงอาจทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไปและเสียสมดุลกับแคลเซียมในที่สุด
11. การทานยาลดกรดที่มีอลูมินัมเป็นส่วนผสม เพราะจะทำให้แคลเซียมถูกปล่อยออกมาจากกระดูกมากขึ้น และยังทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ลดลงจากเดิมอีกด้วย
แหล่งอาหารที่พบแคลเซียม
ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้ จึงต้องได้รับจากอาหาร ดังนี้
1.น้ำนมมีแคลเซียมสูง
- นมวัว 100 ซีซี มีแคลเซียม 120 มิลลิกรัม
- นมผง 100 ซีซี มีแคลเซียม 990 มิลลิกรัม
- น้ำนมคน 100 ซีซี มีแคลเซียม 30 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ว่าในน้ำนมของคนมี แคลเซียม อยู่น้อยมาก แต่ในขณะเดียวกันกลับมีอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่เหมาะสมที่สุด จึงสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่านมชนิดอื่นๆ และเหมาะกับทารกมากกว่านมวัวอีกด้วย
2.ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ไอศกรีม เนยแข็ง เนยเหลวและผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำขึ้นจากนม
3.กระดูกที่สามารถกินได้ เช่น ปลากระป๋อง กุ้งแห้ง ปลากรอบ ปลาป่น กุ้งฝอยสด กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อย หอยนางรม เป็นต้น
4.แคลเซียมพบมากในผักใบเขียวที่มีลักษณะแข็ง เช่น คะน้า ใบยอ ใบชะพลู งาดำและงาขาวเป็นธัญพืชที่พบว่ามีแคลเซียมสูง
5.เต้าหู้ที่มีการเติมแคลเซียมคลอไรด์ลงไป จึงทำให้มีแคลเซียมอยู่ในเต้าหู้พอสมควร
6.น้ำส้มคั้นรวมถึงน้ำนมถั่วเหลืองที่มีการเติมแคลเซียมลงไป
หลักในการบริโภคแคลเซียมอย่างมีประสิทธิภาพ มีดังต่อไปนี้
- ทานแคลเซียมแต่พอดีและให้เหมาะกับพื้นฐานสุขภาพ เพศ อายุ ของตนเอง
- เลือกทานแคลเซียมที่มาจากอาหารก่อน ถ้าไม่เพียงพอจริงๆค่อยหาอาหารเสริมมาทานเพิ่มเติม
- ควรเลือกทานอาหารเสริมแคลเซียมที่มีความเป็นธรรมชาติหรือแปรรูปน้อยที่สุด เช่น อาหารเสริมแคลเซียมที่สกัดหรือทำจากพืช เพื่อการดูดซึมที่ดีกว่าอาหารเสริม
- แคลเซียมสังเคราะห์ และไม่มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูกทานอาหารเสริมแคลเซียมกับมื้ออาหารครั้งละไม่เกิน 500 มิลลิกรัม จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุด ไม่ควรทานทีละมากๆ
5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง (ดื่มชาร้อน เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งต้านกระดูกพรุนได้) เพราะเครื่องดื่มคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมผ่านทางปัสสาวะ
6.หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมมาก เพราะจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมผ่านทางลำไส้
7.รับแสงแดดในตอนเช้าอย่างน้อย 15 – 30 นาที เพื่อให้ผิวหนังได้สร้างวิตามินดีให้กับร่างกาย เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารและอาหารเสริมที่เราทานเข้าไปได้มากขึ้น
ผลจากการขาดแคลเซียมหรือมีแคลเซียมในร่างกายน้อยเกินไป
หากอาหารที่ทานเข้าไปมีปริมาณของแคลเซียมน้อยมาก ก็จะทำให้มีการยืมเอาแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ และส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
1. เป็นตะคริวและชาตามมือตามเท้า
2. มีการสร้างกระดูกที่ผิดปกติ ทำให้รูปร่างและลักษณะของกระดูกแตกต่างออกไปอีกด้วย โดยที่พบได้บ่อยก็คือ ภาวะโรคกระดูกอ่อนในเด็ก โดยจะมีอาการข้อมือและเท้าใหญ่ หน้าอกยื่นออกมา ขางอโค้งและกระดูกอกกลวง
ส่วนในผู้ใหญ่อาจเป็นโรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ได้ โดยจะมีผลให้โครงร่างผิดไปจากเดิมและเกิดภาวะกระดูกร้าวได้ง่าย
โดยภาวะขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงนี้ มักพบมากในคนที่ตั้งครรภ์ติดกัน คนที่ให้นมบุตรเป็นเวลานานและคนที่มักจะไม่ค่อยได้เจอแสงแดดบ่อยๆ
3. โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็ไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้ เป็นผลให้กระดูกแตกหักหรือแตกยุบลงในที่สุด
เซลล์ในกระดูกจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
- เซลล์สลายกระดูกโดยจะทำหน้าที่ในการสลายกระดูกที่ผุกร่อนออกไป และ
- เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก เพื่อทดแทนกระดูกที่สลายออกไป
โดยกระบวนการดังกล่าวนี้จะหมุนเวียนประมาณ 100 วัน และทุก 10 วันร่างกายจะมีการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่อยู่เสมอ
แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือผู้หญิงในวัยที่หมดประจำเดือน เซลล์ที่สลายกระดูกจะทำหน้าที่มากกว่าเซลล์ที่สร้างกระดูก เป็นผลให้มีการสูญเสียเนื้อกระดูกเร็วกว่าปกติ และสร้างเนื้อกระดูกขึ้นมาใหม่ไม่ทัน จน กระดูกบางลงและเกิดภาวะกระดูกพรุนในที่สุด ซึ่งก็จะมีอาการเจ็บบริเวณกระดูก ข้อ และเตี้ยลงกว่าเดิม เพราะกระดูกสันหลังได้ยุบตัวลงนั่นเอง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้ระบบอาหารถูกกระทบกระเทือนอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยชะลอการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้
เมื่ออายุมากขึ้น คนเราก็จะมีความต้องการ แคลเซียม เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ในขณะที่อัตราการดูดซึมต่ำลงมาก อย่างไรก็ตาม หากรับประทานแคลเซียมสูงจะต้องทานอาหารที่มีแมกนีเซียมในประมาณสูงขึ้นด้วย รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี ทองแดง ฟอสฟอรัส แมงกานีส เป็นต้น เพราะวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญของกระดูกและฟันที่จะขาดไม่ได้นั่นเอง ทั้งนี้การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อกระดูกได้ จึงจำเป็นต้องทานอาหารที่มีแร่ธาตุเหล่านี้อย่างครบถ้วน เพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีและมีมวลกระดูกที่หนาแน่นขึ้น ห่างไกลจากภาวะโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกอ่อนนั่นเอง
4. เตตานี ( Tetany ) เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการขาด แคลเซียม โดยเป็นโรคที่มีอาการผิดปกติของประสาทคือประสาทจะไวกว่าปกติและไม่สามารถที่จะควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ อาการที่พบบ่อยคือมีภาวะการเกิดตะคริว การชักเกร็งตัว ชักจากแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ อาการมือกำ กำปลายนิ้วทุกนิ้วเข้าหากัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพบได้บ่อยมากในหญิงตั้งครรภ์และหญิงคลอดบุตร เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการแคลเซียมมากกว่าปกติ จึงมีโอกาสที่จะขาดแคลเซียมและเป็นโรคเตตานี ( Tetany ) ได้ในที่สุด
ผลจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป
ในกรณีที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีมากเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้เหมือนกัน
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- มีความดันเลือดสูงและอาจเป็นโรคนิ่วในไตได้ นั่นก็เพราะแคลเซียมจะเข้าไปจับเกาะกับไตมากเกินไป จึงทำให้เป็นนิ่วได้ในที่สุด
- มีอาการปวดท้อง ท้องร่วงได้อีกด้วย
- ภาวะกล้ามเนื้อกระบังลมทำงานหนัก จนแข็งเกร็งและอาจเสียชีวิตด้วยหัวใจวายได้ในที่สุด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว
ดังนั้นจึงควรทานแคลเซียมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปจะดีกว่า
อาหารเสริมแคลเซียม มี 3 ชนิดหลัก
1.แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ( Calcium L Theonate ) ร่างกายสามารถดูดซึมได้ 90% รับประทานตอนท้องว่างได้
2.แคลเซียม คาร์บอเนต ( Calcium Carbonate ) ร่างกายดูดซึมได้ 10% อาจทำให้ท้องผูก
3.แคลเซียม ซิเตรต ( Calcium Citrate ) ร่างกายดูดซึมได้ 50% ต้องรับประทานพร้อมอาหาร จะมีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อมีกรดในกระเพาะเท่านั้น
นอกจากอาหารเสริมแคลเซียมจะช่วยบำรุงและดูแลกระดูกและฟันแล้ว ในกรณีของผู้ที่มีปัญหากระดูกบางหรือและกระดูกพรุน อาหารเสริมแคลเซียมก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่แพทย์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเหล่านี้ โดยการใช้อาหารเสริมแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้และลดปัญหากระดูกบางหรือกระดูกพรุนได้ ผลที่ได้จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับสุขภาพพื้นฐาน อายุ โรคประจำตัวและความรุนแรงของโรคที่มีอยู่ก่อนแล้ว
ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยทางการแพทย์มากมายที่ยืนยันได้ว่า อาหารเสริมแคลเซียม ช่วยชะลอการลดลงของมวลกระดูกและช่วยให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้นได้สำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกบางและหรือกระดูกพรุน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ทีมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนมากแล้ว การใช้อาหารเสริมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แพทย์จะมียาที่ใช้สำหรับเร่งสร้างมวลกระดูกโดยเฉพาะ แต่การรักษาที่ได้ผลแบบรวดเร็วย่อมมาพร้อมกับผลข้างเคียงมากมายที่ตามทีหลังเสมอ
เลือกทานอาหารเสริมแคลเซียมประเภทไหนดี
ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า การผลิตอาหารเสริมแคลเซียมของหลายบริษัท พยายามที่จะเลียนแบบแคลเซียมที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตและอาหารตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา หรือการสกัดแคลเซียมจากพืชหรือทำจากกระดูกป่นของสัตว์ก็ตาม อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกอาหารเสริมแคลเซียมก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากนัก
1. ความเป็นธรรมชาติ
ถ้าเปรียบเทียบความเป็นธรรมชาติของอาหารเสริมแคลเซียม ผู้เรียบเรียงแนะนำให้เลือกทานอาหารเสริมแคลเซียมที่ได้จากพืช เพราะอาหารเสริมแคลเซียมที่ได้จากสัตว์อาจจะมีสารพิษปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว และในปัจจุบันอาหารเสริมที่ได้จากสัตว์มักจะไม่ค่อยมีวางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด เนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยมและผู้บริโภคมีน้อย ในส่วนของอาหารเสริมแคลเซียมที่ได้จากการสังเคราะห์แน่นอนว่าความเป็นธรรมชาติย่อมมีน้อยกว่าอาหารเสริมแคลเซียมที่ได้จากพืชอยู่แล้ว
2. ส่วนผสม
อาหารเสริมแคลเซียมที่มีส่วนผสมของแคลเซียมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงได้ แคลเซียมต้องทำงานร่วมกันวิตามินและเกลือแร่ชนิดอื่นๆด้วย วิตามินและเกลือแร่ที่มีส่วนสำคัญทำให้ร่างกายของเราสามารถดูดซึมแคลเซียมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดี มีดังต่อไปนี้
- วิตามิน D แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ วิตามิน D2 และวิตามิน D3 แต่วิตามิน D3 เป็นวิตามินชนิดเดียวกันกับที่ผิวหนังของเราสังเคราะห์ได้จากการรับแสงแดด และมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามิน D2 อาหารเสริมแคลเซียมจึงมีส่วนผสมของวิตามิน D3 มากกว่าที่จะเป็นวิตามิน D2 อาหารที่มีวิตามิน D สูง เช่น ปลาทะเล ไข่ ตับ
อาหารเสริมแคลเซียมในยุคปัจจุบันมักจะมีส่วนผสมของวิตามิน D อยู่ด้วยเสมอ ฉลากอาหารเสริมในส่วนของ supplement fact จะเขียนว่ามีส่วนผสมของ “วิตามิน D3”
- วิตามิน K2
เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวถึงผลเสียของการทานอาหารเสริมแคลเซียมที่มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะ “แคลเซียมเกาะทีผนังหลอดเลือด” ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจหรืออัมพาตได้ จึงส่งผลให้บริษัทผลิตอาหารเสริมหลายบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และผสมวิตามิน K2 ลงไปในอาหารเสริมแคลเซียม
วิตามิน K2 ทำงานร่วมกับวิตามิน D มีหน้าที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ช่วยให้ผนังหลอดเลือดสะอาดไม่มีแคลเซียมเกาะ หรืออาจพูดได้ว่าวิตามิน K2 ช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมไปในที่ที่ควรไปนั่นเอง แหล่งอาหารที่มีวิตามิน K2 ได้แก่ ถั่วเน่าญี่ปุ่น (Natto) ไข่แดง ชีส
- แม็กนีเซียม
ทำหน้าที่ร่วมกับวิตามิน D ช่วยรักษาให้แคลเซียมอยู่ในเซลล์นานขึ้น มีอยู่ในสาหร่ายทะเล ผักใบเขียว ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวกล้อ