ครีมกันแดด

แสดงทั้งหมด 11 ผลลัพท์

ครีมกันแดด

ส่วนผสมที่อยู่ในครีมกันแดดจะช่วยปกป้องผิวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งดูดซับรังสียูวี ปกป้องชั้นผิวที่อยู่ลึก หรือสะท้อนรังสียูวีกลับออกไป ทั้งนี้ ครีมกันแดดมีรูปแบบ ได้แก่ โลชั่น ครีม ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์


ครีมกันแดด

SUNBLOCK 

- สารที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet Radiation: UV) โดยช่วยให้ผิวไม่ถูกแสงแดดทำลายจนไหม้หรือเกิดจุดด่างดำต่าง ๆ รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง ส่วนผสมที่อยู่ในครีมกันแดดจะช่วยปกป้องผิวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ปกป้องชั้นผิวที่อยู่ลึก หรือสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตกลับออกไป ครีมกันแดดมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ โลชั่น ครีม ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับครีมกันแดด
- ประโยชน์ของการครีมกันแดด เช่น ช่วยป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีในแสงแดด ป้องกันการเกิดริ้วรอย ช่วยไม่ให้ผิวหนังเหี่ยวย่นหรือดูแก่ก่อนวัย ผิวแห้งกร้าน ป้องกันการเกิดฝ้า กระ ปัญหาผิวคล้ำเสีย และมะเร็งผิวหนัง

- วิธีการป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆ ในช่วงเวลาประมาณ 09.00-16.00 น. ต้องป้องกันแสงแดดด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น กางร่ม, ใส่หมวก, สวมแว่นแดด

- รังสีนอกจากจะตกกระทบโดยตรงแล้วยังมีการสะท้อนหรือหักเหอีกด้วย : การอยู่ในที่ร่ม อยู่บนถนน ยืนตามชายหาด ยังได้รับทั้งรังสีโดยตรงบวกกับการสะท้อนหักเหอีกด้วยเป็นทวีคูณ ดังนั้นในขณะที่มีแสงแดด แม้ว่าเราจะอยู่ในที่ร่มก็ต้องทาครีมกันแดดหรือเครื่องสำอางที่ผสมสารป้องกันแสงแดดอยู่เสมอ 

- ไม่มีครีมกันแดดยี่ห้อใดที่ทาแล้วจะสามารถป้องกันรังสียูวีได้ 100% หรือป้องกันแสงแดดได้ตลอดทั้งวัน ดังนั้นการทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง จึงเป็นสิ่งจำเป็น

- รังสี UVA และ UVB จะมีมากที่สุดในช่วงเวลา 10.00-15.00 แต่ปริมาณของรังสี UVA จะมีตลอดทั้งวันแทบไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเช้าหรือเย็นก็ต้องระมัดวังให้ดี

- ครีมกันแดดควรเริ่มใช้ตั้งแต่ตอนยังเด็ก ๆ 

- คนที่อยู่บ้าน ควรทาครีมกันแดดที่ค่า SPF น้อย ๆ 

- ครีมกันแดดในแป้งตลับผสมรองพื้นก็จำเป็นต้องทาซ้ำเหมือนครีมกันแดดทั่วไป

- การทาครีมกันแดดมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาด้านความมัน ความเหนอะหนะไม่สบายตัว และอาจมองดูไม่สวยงาม ชนิดและปริมาณของสารป้องกันแสงแดดที่มีในผลิตภัณฑ์จะทำให้ค่า SPF ต่างกัน 

- เครื่องสำอางที่ผสมสารป้องกันแสงแดดนั้นจัดเป็น “เครื่องสำอางควบคุม”  มีคุณสมบัติป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB

- การชโลมเบบี้ออยล์ น้ำมันมะพร้าว ไม่ได้ช่วยป้องกันผิวไม่ให้เกรียมแดงได้

ประเภทของครีมกันแดด

- ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด ด้วยการดูดซับรังสีเข้าผิวหนังแล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ 

- ครีมกันแดดชนิดกายภาพ (Physical sunscreen) จะมีส่วนผสมของสารที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ที่ตกกระทบให้ออกไปจากผิวหนังได้ ครีมกันแดดประเภทนี้คือจะไม่สามารถให้ค่า SPF ที่สูงได้ 

- ครีมกันแดดชนิดผสม (Chemical-Physical sunscreen) คือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนังจากสารเคมี ลดความขาวเมื่อทาครีม และช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน

การเลือกผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด

การเลือกผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด

1. ครีมกันแดดที่ดีควรมีทั้งสารที่ช่วยป้องกันรังสี UVA และรังสี UVB เช่น สาร anthranilates ซึ่งพบได้บ่อยในครีมกันแดดทั่วไป ส่วนสารที่กันได้เฉพาะรังสี UVA คือ benzophenones และส่วนที่กันได้เฉพาะรังสี UVB คือ cinnamates, PABA, PABA derivatives

2. ถ้าทำงานในร่มเป็นหลักควรเลือกซื้อครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 และมีค่า PA++  แต่ถ้าต้องทำงานออกแดดหรือจำเป็นต้องโดนแดดให้เลือกซื้อครีมกันแดดที่ค่า PA+++ มีค่า SPF 15-20 แต่ถ้าทำกิจกรรมกลางแจ้ง เลือกเป็น SPF 20-30, เล่นกีฬาทางทะเล ก็ให้เลือกเป็น SPF 50 แต่ถ้าต้องออกแดดกลางแจ้งเป็นเวลานานและมีแดดแรงมากก็ให้เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50+ ขึ้นไป 

3. การเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงนั้น ควรเลือกแบบมีประสิทธิภาพ

4. เครื่องสำอางป้องกันแสงแดดควรเป็นชนิดทนน้ำหรือทนเหงื่อ และควรทาก่อนออกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ครีมกันแดดซึมซับเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น 

5. ถ้าจะลงเล่นน้ำควรเลือกซื้อครีมกันแดดที่กันน้ำได้และทาซ้ำบ่อย ๆ ได้แก่ Water resistant จะออกฤทธิ์กันแดดได้สูงสุด 40 นาที และ Waterproof จะออกฤทธิ์กันแดดได้สูงสุด 80 นาที 

6. เลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผิว

  • ผิวมัน : เหมาะกับการใช้ครีมกันแดดที่ซึมซับเข้าสู่ผิวไวอย่างกันแดดเนื้อเจล เพราะมีส่วนผสมของน้ำอยู่มาก และกันแดดประเภทนี้จะไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน ที่จะทำให้ใบหน้ายิ่งมันมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในกันแดดเนื้อเจล ยังช่วยขจัดความมันบนใบหน้าได้ดี
  • ผิวแห้ง : เหมาะกับการใช้ครีมกันแดดที่เป็นเนื้อโลชั่น มีความเข้มข้นสูง เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำในผิวพร้อมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้นานยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
  • ผิวแพ้ง่าย : เหมาะกับครีมกันแดดที่ผลิตจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี หรือครีมกันแดดที่ออกแบบมาเพื่อผิวบอบบางอย่างผิวเด็ก ประเภทที่ใช้ควรเป็นเนื้อเจลหรือเนื้อเพื่อให้ซึมซึบผ่านผิวได้ง่าย และ ไม่ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงจนเกินไป 

7. เลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสีผิว

  • ผิวขาวอมชมพู : ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ตั้งแต่ SPF 30-45 
  • คนผิวคล้ำ : ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15
  • ผิวขาวแบบชาวยุโรป : ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ตั้งแต่ SPF 45-60
  • ผิวเหลืองแบบคนเอเชีย : ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30

8. ทดสอบการแพ้ครีมกันแดดก่อนใช้เสมอ : โดยการนำครีมกันแดดมาทาใต้ท้องแขนทิ้งไว้ 15 นาที แล้วสังเกตว่ามีอาการบวมแดงหรือไม่ ถ้ามีอาการดังกล่าวแสดงว่าเราแพ้สารเคมีจากครีมกันแดดชนิดนั้น ๆ

9. ควรสังเกตวันหมดอายุของครีมกันแดด : โดยทั่วไปจะกำหนดอายุประมาณ 2-3 ปี นับจากวันที่ผลิต และไม่ควรเก็บครีมกันแดดไว้ในที่ร้อน 

บทความล่าสุด

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า