ผู้ใหญ่มีไข้

Showing 1–15 of 26 results

ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้

อาการไข้เป็นภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 37 องศาเซลเซียส การบริหารจัดการความปวดเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาความเจ็บป่วยต่างๆ


ไข้ออกผื่น


ไข้ออกผื่น (Viral Exanthem)

คืออาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสบางกลุ่ม โดยจะปรากฏเป็นผดผื่นประทุขึ้นบนบริเวณผิวหนังตามร่างกาย มักเกิดขึ้นร่วมกับกลุ่มอาการป่วย เช่น ไข้ ปวดหัว หรือความอ่อนเพลีย เป็นต้น ทั้งนี้ไข้ออกผื่นแสดงอาการในหลายรูปแบบและเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะปรากฏในลักษณะจุดสีชมพูไปจนถึงสีแดงทั่วร่างกายโดยเฉพาะตามผิวหนัง ส่วนมากจะไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกคันเว้นแต่บางโรคทำให้เกิดผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำ อย่างไรก็ตาม อาการของไข้ออกผื่นที่แสดงออกมาอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุ

อาการไข้ออกผื่น

ไข้ออกผื่นสังเกตเห็นได้ตามบริเวณผิวหนัง มักจะปรากฏรอยจุด ตุ่มนูนแดงลามเป็นวงกว้างมากกว่าผื่นทั่ว ๆ ไป และบางครั้งอาจสร้างความรู้สึกคันให้กับผู้ป่วย โดยผู้ป่วยอาจสังเกตว่าเป็นไข้ออกผื่นหรือไม่ ดูจากอาการจับไข้ ความรู้สึกเมื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย ไม่รู้สึกอยากอาหาร ปวดศีรษะ รู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ไม่สบายตามเนื้อตัว หรือปวดท้อง ทั้งนี้ประเภทของไข้ออกผื่นที่แตกต่างกันจะแสดงอาการให้เห็นได้ต่างกันในหลายลักษณะขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคน เช่น ช่วงอายุที่แตกต่างกัน  โดยแสดงอาการตามชนิดของไข้ออกผื่น ดังนี้

  • อาการไข้ออกผื่นจากโรคหัด (Measles) ผู้ป่วยอาจมีอาการนำเป็นไข้ ตาแดง น้ำมูกไหล ไอแห้ง และเจ็บคอ พบจุดค็อปลิก (Koplik Spots) มีลักษณะคล้ายสิว เป็นตุ่มสีขาวหรือเทาขึ้นตรงกระพุ้งแก้ม หลังจากนั้น 3-4 วัน จะปรากฏลักษณะเด่นคือผื่นนูนแดง เริ่มต้นจากบริเวณหลังหูและในบริเวณแนวผม ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วผิวหนังส่วนอื่น ๆ ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน
  • อาการไข้ออกผื่นจากโรคหัดเยอรมัน (Rubella) ผู้ป่วยอาจมีอาการนำเป็นไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ  หลังจากนั้น 2-5 วันจะพบผื่นสีแดงขึ้นลุกลามจากศีรษะลงมาถึงเท้า นอกจากนี้ ยังพบอาการปวดข้อและข้อสักเสบ หรืออาการต่อมน้ำเหลืองโตโดยเฉพาะที่บริเวณหลังใบหู และท้ายทอย
  • อาการไข้ออกผื่นจากโรคฟิฟธ์ (Erythema Infectiosum) ในระยะแรกแก้มจะมีสีแดงและรู้สึกร้อน ต่อมาจะมีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายที่แขน ขา และลำตัว อาจมีอาการอื่น ร่วมด้วย เช่น ปวดข้อ เลือดจาง
  • อาการไข้ออกผื่นจากโรคหัดกุหลาบ (Roseola Infantum) ผู้ป่วยเด็กอาจมีไข้สูงนาน 3-5 วัน หลังจากไข้ลง ตามมาด้วยผื่นสีชมพูคล้ายกับสีดอกกุหลาบขึ้นมากที่บริเวณใบหน้า ลำคอ แขนและขา แต่จะไม่รู้สึกคัน
  • อาการไข้ออกผื่นจากไวรัสเอ็บสไตบาร์และการใช้ยาอะมิโนเพนิซิลลิน (Epstein–Barr Virus & Aminopenicillins) หากผู้ป่วยใช้ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) หรือยาแอมพิซิลลิน (Ampicillin) อาจเกิดผื่นสีแดงพบบริเวณลำตัวราว 5-9 วันหลังจากการใช้ยาก่อนจะกลายเป็นผื่นแบนราบและตุ่มนูน

สาเหตุของไข้ออกผื่น

การติดเชื้อไวรัสก่อให้เกิดอาการไข้ออกผื่น ซึ่งเชื้อไวรัสมีหลากหลายชนิด และอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ป่วยวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ สาเหตุของการเกิดไข้ออกผื่นจึงแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงอายุ ทั้งนี้หากผู้ป่วยพบว่าลักษณะผื่นและอาการไข้ไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผื่นไม่จางสีลงแต่กลับดูเหมือนรอยช้ำเล็ก ๆ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเนื่องจากอาจเป็นอาการผื่นของโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningicoccal)

ไข้ออกผื่นที่พบได้ในผู้ป่วยเด็ก : อาจมีสาเหตุดังนี้

  • เกิดจากเชื้อหวัดธรรมดาทั่วไป
  • เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่
  • เกิดจากโรคอีสุกอีใส (Chicken Pox) เกิดจากไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) ซึ่งนอกเหนือจากอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียนและท้องเสียแล้ว ผู้ป่วยเด็กจะมีตุ่มนูนคันสีแดงและจะกลายเป็นตุ่มน้ำพุพองเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณใบหน้า ท้อง และหลัง ก่อนจะลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ซ้ำยังอาจพบตุ่มพองใหญ่ขึ้นภายในช่องปาก
  • เกิดจากโรคหัด (Measles) โดยการติดเชื้อมอร์บิลลิไวรัส (Morbillivirus) โดยอาการคือมีจุดค็อปลิก (Koplik Spots) เป็นตุ่มสีขาวเทาขึ้นตรงกระพุ้งแก้ม ต่อจากนั้น 3-4 วัน จะพบผื่นแดงแบนราบรวมทั้งตุ่มสิวเกิดการปะทุ ที่บริเวณหลังหูและบริเวณแนวผม ซึ่งในระยะเวลาไม่กี่วันจะแพร่กระจายออกไปทั่วผิวหนังส่วนอื่น ๆ
  • เกิดจากโรคหัดเยอรมัน (Rubella) เชื้อรูเบลลาไวรัส (Rubella Virus) ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นผื่นสีชมพูหรือแดงอ่อนขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตรขึ้นที่บริเวณคอ ลำตัว หรือแขนขา อยู่ราว 5 วัน ไม่ลุกลามเท่าผื่นโรคหัด ในบางกรณีอาจไม่ทำให้รู้สึกคัน แต่มักมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตโดยเฉพาะที่บริเวณหลังใบหู และท้ายทอย นอกจากนี้ อาจพบอาการไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ
  • เกิดจากโรคหัดกุหลาบ (Roseola) โดยเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส 6B (Herpes Virus 6B) มีอาการที่เด่นชัดคือมีผื่นสีแดงหรือชมพูกุหลาบ ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ซึ่งจะกลายเป็นสีขาวหากใช้นิ้วกด ในบางบริเวณอาจพบวงผิวสีขาวซีดขึ้นที่รอบผื่น มักขึ้นที่บริเวณลำตัว แต่ในบางกรณีที่พบได้ยากผื่นอาจลามขึ้นยังใบหน้า ลำคอ แขนหรือขาได้ ผื่นอาจหายไปในไม่กี่ชั่วโมงหรืออยู่ได้นานกว่า 2 วัน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกคันหรือมีอาการพุพองแต่อย่างใด
  • เกิดจากโรคฟิฟธ์ (Erythema Infectiosum) สาเหตุคือเชื้อพาร์โวไวรัส บี 19 (parvovirus B19) ผู้ป่วยจะมีผื่นแดงหนาขึ้นที่บริเวณแก้มและรู้สึกแสบร้อนราว 2-4 วัน ก่อนที่ผื่นสีชมพูลักษณะคล้ายกับลายลูกไม้ขึ้นที่แขน ขา หรือลำตัว สังเกตเห็นผื่นชัดในวันที่อากาศร้อน
  • ผื่นชนิด Unilateral Laterothoracic เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ ไวรัสอะดิโน และพาร์โวไวรัส ส่วนมากจะพบในเด็กอ่อนเพศหญิง คิดเป็น 2 เท่าของเพศชาย (อายุระหว่าง 1-5 ขวบ แต่ส่วนมากจะเกิดในเด็กอายุ 2 ขวบ) ลักษณะผื่นคล้ายผื่นผิวหนังอักเสบ หรือติดเชื้อรา เนื่องจากผื่นมีลักษณะแดง พบตามรักแร้และขาหนีบ ผื่นอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น ผื่นชนิด Infantile Papular Acrodermatitis

 

 

มักพบในผู้ป่วยเด็กอ่อนอายุระหว่าง 6 เดือนจนถึง 12 ขวบ และพบได้ยากในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเอ็บสไตบาร์ ไวรัสซีเอ็มวี เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เอคโคไวรัส (Echo Viruses) ไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus) หรือผื่นที่เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses)

ไข้ออกผื่นที่พบได้ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ : อาจมีสาเหตุมดังต่อไปนี้

  • ไวรัสตับอักเสบ (Viral Hepatitis) เป็นการติดเชื้อกลุ่มไวรัสตับอักเสบ ประกอบด้วยไวรัสตับอักเสบชนิดเอ บี ซี ผู้ป่วยมักมีไข้ต่ำ เจ็บบริเวณท้องฝั่งซ้ายด้านล่างซี่โครงซึ่เป็นบริเวณตับ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หรือปัสสาวะเป็นสีเข้ม นอกจากนี้ ตับอักเสบจากไวรัสยังเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น อาทิ เชื้อไวรัสอะดิโน (Adenovirus) เชื้อไวรัสซีเอ็มวี (Cytomegalovirus) เชื้อไวรัสอีบีวี (Epstein-Barr Virus) หรือเชื้อไวรัสโรคเริม (Herpes Simplex Virus)
  • ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr virus) หรือที่รู้จักกันในชื่อไข้ต่อมน้ำเหลืองโต มักจะพบในผู้ป่วยช่วงอายุระหว่าง 15-25 ปี ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายผ่านน้ำลาย การฟักตัวของเชื้อจะอยู่ราว 1-2 สัปดาห์ จะมีผื่นจางที่ลุกลามได้อย่างรวดเร็วแต่ไม่สร้างความรู้สึกคันขึ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังเกิดรอยบางที่มีตุ่มเล็ก ๆ สีแดงเกิดขึ้นร่วมด้วย โดยผื่นมักจะขึ้นที่บริเวณลำตัว และแขนส่วนบนก่อนจะลามไปยังใบหน้าและแขนบริเวณข้อศอกหรือข้อมือในไม่กี่วัน
  • พาร์โวไวรัส บี19 (Parvovirus B19) มักปรากฏในช่วงฤดูร้อน ผู้ป่วยจะพบผื่นคันสีแดงพุพองขึ้นที่บริเวณมือและเท้าทั้งสองข้าง รู้สึกเจ็บปวด และมีอาการบวม ทั้งนี้ที่บริเวณอื่นของร่างกายก็อาจเกิดอาการได้ด้วย เช่น ที่แก้ม ข้อศอก หัวเข่า ต้นขาด้านใน อวัยวะเพศ หรือก้น เชื้อไวรัสชนิดนี้ติดต่อกันได้ผ่านการพูด ไอ หรือจาม และมีระยะการฟักตัวของเชื้อราว 7-10 วัน
  • ไวรัสหัดกุหลาบ (Pityriasis rosea) เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์  (Herpes Virus 6 and 7) การฟักเชื้อใช้ระยะเวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ มีลักษณะเป็นรอยแต้มสีแดงรูปวงรีซึ่งมีขุยตามขอบในของผื่น โดยมากจะขึ้นที่บริเวณหน้าอกรวมถึงแผ่นหลัง ถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้มักจะพบในผู้ป่วยวัยรุ่น แต่ในบางกรณีก็อาจพบได้ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน
  • ผื่นชนิด AGEP (Acute Generalised Exanthematous Pustulosis) ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยสีแดงและเต็มไปด้วยตุ่มพุพองเล็ก ๆ ที่ภายในมีของเหลวสีขาวหรือเหลือง มักพบบริเวณใบหน้า รักแร้ และขาหนีบก่อนจะเริ่มลามไปทั่ว อาจมีอาการบวมที่ใบหน้าร่วมด้วย ทั้งนี้การเกิดผื่นชนิดนี้กว่า 90% เป็นผลจากปฏิกิริยาการแพ้ยาโดยเฉพาะกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Beta Lactam Antibiotics) เช่น เพนิซิลลิน (Penicillins) เซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) และควิโนโลน (Quinolones)
  • ผื่นชนิด Erythema multiforme เป็นปฏิกิริยาของภาวะภูมิแพ้ (Hypersensitivity Reaction) ที่กระตุ้นโดยการติดเชื้อเอชเอสวี (HSV) ผู้ป่วยจะมีลักษณะของรอยโรคคล้ายเป้ายิงธนูปรากฏบนผิวหนังซึ่งการอักเสบอาจพบในชั้นเยื่อบุผิวด้วย การติดเชื้อไวรัสนี้มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะระหว่าง 20-40 ปี และทุกเชื้อชาติ
  • การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นการติดเชื้อขั้นต้นของไวรัสเอชไอวี มีลักษณะเป็นตุ่มคันตามตัวที่แขนและขา (Pruritic Papular Eruption: PPE)

การรักษาไข้ออกผื่น

ไข้ออกผื่นสามารถบรรเทาอาการโดยเบื้องต้นด้วยตนเองที่บ้าน การรักษาอาการไข้ออกผื่นในผู้ป่วยวัยเด็ก ทำได้ดังนี้

  • ผู้ป่วยควรอยู่ในที่อากาศเย็น เพราะเหงื่อจากอากาศร้อนอาจทำให้รู้สึกคันขึ้นมาได้
  • ควรหมั่นตัดและทำความสะอาดเล็บมืออยู่เสมอ
  • ใช้สบู่ฆ่าเชื้อโรคในการล้างมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ทาคาลาไมน์โลชั่นเพื่อลดอาการคัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยห้ามรับประทานยาชนิดนี้ และควรอ่านฉลากให้ดีก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ออกผื่น

ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ออกผื่นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การเกิดผื่นลุกลาม หรือผื่นจากเชื้อแบคทีเรียระดับทุติยภูมิซึ่งเกิดจากการเกา นอกจากนี้ เชื้อไข้ออกผื่นบางชนิดอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แต่พบได้น้อย อย่างเช่น โรคหัด โรคอีสุกอีใส หรือโรคสมองอักเสบ (Encephalitis) อาการที่พบได้ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ความผิดปกติทางสมอง

การป้องกันไข้ออกผื่น

ผู้ป่วยสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดไข้ออกผื่นได้ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำได้ ดังนี้

  • การได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนตั้งแต่วัยทารก เช่น วัคซีนโรคหัด หัดเยอรมัน (Rubella) อีสุกอีใส และคางทูม (Mumps) เป็นต้น จะช่วยให้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสลดลง
  • การระมัดระวังป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นหวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ ไม่ว่าจะด้วยการหมั่นล้างทำความสะอาดมือ ปิดปากทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม
  • การแยกตัวผู้ป่วยจากคนอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยเด็กอาจให้หยุดเรียนและอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่ผู้อื่น หรือแม้แต่การไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน
  • ผู้ป่วยควรระมัดระวังพฤติกรรมการรับประทานอาหาร สำหรับการป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

 

อาการปวด

ปวด และ เมื่อย เกิดจากอะไร
อาการปวดเมื่อยเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง ได้แก่

1. การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อทำงานมาก ทำให้เกิดความล้าหรือเกิดอาการหดเกร็งเฉพาะที่, ท่านอนที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้หมอนสูงเกินไป  ที่นอนนิ่มเกินไป ที่นอนแข็งเกินไป และนอนหงายเป็นส่วนใหญ่ กระดูกสันหลังส่วนเอวจะมีการแอ่นตัวผิดปกติ เพราะส่วนก้นและสะโพกก้นติดกับพื้น หนุนให้ส่วนเอวแอ่นขึ้นทำให้ปวดหลัง การยกของหนักโดยใช้ท่าที่ไม่ถูกต้อง 

2. อาการปวด จากเส้นเอ็น
พบบ่อยบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมาก ๆ เช่น บริเวณไหล่ ศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นในบริเวณนี้ 

3. อาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ
ทำให้มีอาการปวดแสบ และร้าวไปตาม เส้นประสาทนั้น ๆ ถ้ามีอาการมาก อาจจะทำให้กล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นอ่อนแรงลง

ตำแหน่งที่พบบ่อยคือที่บริเวณกระดูกคอ เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อม มีแคลเซียมมาเกาะ และกดลงไปที่เส้นประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่คอ ไหล่ และอาจจะปวด ลงไปที่แขน และมือ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่คอด้านใดด้านหนึ่ง บางรายถ้าเป็นมากอาจจะเป็นทั้ง 2 ด้านก็ได้

บริเวณหลัง เอว ก็เกิดอาการนี้ได้บ่อยเช่นกัน ส่วนมากเกิดจากการยกของหนัก ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ส่วนของกระดูกสันหลังที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง 2 อัน เคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิม มากดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดหลังอย่างมาก และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดร้าวไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง 

4. ปวดข้อ
ผู้สูงอายุเป็นโรคข้อได้หลายโรค ที่เจอบ่อยได้แก่ข้อเสื่อม ส่วนมากมักพบที่หัวเข่า โดยเฉพาะในรายที่อ้วนมาก หรือในคนที่ทำงานแบกหาม ผู้ที่ต้องขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง และขึ้นลงอย่างรุนแรง (วิ่งหรือกระโดดลง) ทำให้กระดูกอ่อนในข้อเข่าเสื่อมมากกว่าปกติ 

 ข้อเสื่อมบริเวณนิ้วมือก็พบได้ไม่น้อยเช่นกัน จะมีอาการปวดและข้อบวมโตกว่าปกติ ที่ข้อนิ้วมือส่วนปลายเกือบทุกนิ้ว ส่วนมากมักพบในสตรี คิดว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ใช้มือมากเช่น ซักและบิดผ้า เป็นต้น

การปวดข้อที่เกิดจากสาเหตุอื่นได้แก่ จากโรคเก๊าท์ การติดเชื้อในข้อ และโรคข้อชนิดอื่น เช่น รูมาตอยด์ เป็นต้น 

5. การปวดเมื่อยจากเส้นเลือด
ถ้ามีการผิดปกติของเส้นเลือดแดง หรือเส้นเลือดดำก็จะทำให้เกิดอาการปวดได้ แต่ลักษณะการปวดจะแตกต่างกันไป

ถ้าเส้นเลือดแดงตีบแคบลง เลือดเดินไปสู่กล้ามเนื้อไม่สะดวก จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อนั้น ๆ ได้ การปวดจะเป็นค่อนข้างเร็ว และมักจะมีอาการจนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดการเคลื่อนไหว หรือการใช้งานของกล้ามเนื้อนั้น ๆ 

หลอดเลือดดำผิดปกติ เกิดจากหลอดเลือดดำมีการโป่งพอง เนื่องจากลิ้นกั้นในหลอดเลือดดำผิดปกติไป ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ขา พบในคนที่ต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน ๆ และอาจพบบ่อยในสตรีที่มีบุตรหลาย ๆ คน 

การตั้งครรภ์บุตรแต่ละคนนั้น เมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น ก็จะกดลงที่เส้นเลือดดำในช่องท้องส่วนล่าง ทำให้เลือดดำจากขากลับสู่ช่องท้องไม่สะดวก เลือดจึงคั่งอยู่ที่ขา ทำให้ลิ้นกั้นในหลอดเลือดดำเสีย เกิดอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อซึ่งมีเลือดคั่งอยู่

ส่วนมากจะมีอาการตอนช่วงเย็นของวันที่มีการยืนมาก ๆ และบางครั้ง อาจปวดมากขึ้นในเวลานอน ถึงขั้นรบกวนการนอนหลับก็เป็นได้

หลักในการป้องกันและรักษาผู้ที่มีปัญหาปวด เมื่อย ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. การถนอมใช้
ขา เข่า เท้า เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เราเคลื่อนไหวไปมาในที่ต่าง ๆ ได้ ควรใช้อย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ทำให้เกิดปัญหาต่อหัวเข่า หลีกเลี่ยงการยืนอยู่เฉย ๆ เป็นเวลานาน 

หลีกเลี่ยงการวิ่งหรือกระโดดบนพื้นที่ขรุขระ เพราะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อข้อเท้าและหัวเข่า พยายามอย่าอ้วน เพื่อมิให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินจำเป็น

ส่วนการถนอมใช้กระดูกสันหลั งและกล้ามเนื้อหลังนั้น หลักใหญ่ควรอยู่ที่รู้จักทรงตัว และอยู่ในท่าที่เหมาะสมทั้งท่านั่ง นอน ยืนและเดิน การยกของหนักก็ต้องมีวิธียกที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหลังและกระดูกสันหลัง

2. การเพิ่มศักยภาพ

กล้ามเนื้อในผู้สูงอายุมีการฝ่อ ลีบไปตามวัย ยิ่งอายุมากขึ้นปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายก็ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้ขาดความแข็งแกร่ง

เมื่อต้องทำงานที่เกินความสามารถของกล้ามเนื้อนั้น ก็จะทำให้เกิดการหดเกร็งตัวผิดปกติ อาจมีการบาดเจ็บทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้

 

 

การออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อที่ต้องรับภาระหนักเสมอ ๆ เช่น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ แขน หลัง หน้าท้อง ให้แข็งแรงเพื่อสามารถปฎิบัติภาระกิจได้ตามความจำเป็น การฝึกกล้ามเนื้อรอบข้อสม่ำเสมอ ทำให้ข้อนั้นมีความมั่นคงไม่เกิดการบาดเจ็บง่าย ๆ

ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดดำโป่งพองทำให้ปวดขา สามารถผ่อนคลายอาการได ้โดยใช้ถุงเท้ายาวหรือผ้ายืดที่มีลักษณะเป็นถุงใส่รัดขา ซึ่งจะช่วยบังคับให้เลือดไหลกลับเข้าสู่ช่องท้องได้ดีขึ้น

3. การพยาบาล

เมื่อมีอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน ในบางกรณีอาจมีการเจ็บปวดอย่างมากที่กล้ามเนื้อ ข้อ หรือที่กระดูกต่าง ๆ การช่วยเหลือในระยะต้นได้แก่

– หยุดพักร่างกายส่วนนั้น
– ถ้าอาการปวดเกิดจากการเกร็งตัวหรือการอักเสบของส่วนนั้น ๆ ให้ประคบความร้อน แต่ถ้ามีอาการบาดเจ็บเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อ จะต้องประคบด้วยความเย็นใน 24 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บเพื่อให้เลือดหยุด หลังจาก 24 ชม. ไป แล้วจึงจะให้ประคบอุ่นหรือประคบความร้อน
– ถ้ามีอาการมากต้องปรึกษาแพทย์
– หลังจากผ่านช่วงความเจ็บปวดเฉียบพลันแล้ว จะต้องบริหารส่วนที่บาดเจ็บอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ เพื่อให้ส่วนนั้นได้กลับมาทำงานต่อไป และลดภาวะ เอ็นยึด ข้อติด ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นภาวะทุพพลภาพได้

ยาแก้ปวดที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) 

ถือเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ใช้รักษาอาการปวด และลดไข้ได้ โดยมากจะใช้สำหรับอาการปวดระดับน้อยถึงปานกลาง เช่น อาการปวดศรีษะ ปวดฟัน และลดไข้ เป็นต้นท่านสามารถซื้อยาพาราเซตามอลเกือบทุกชนิดได้จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือ ร้านยา 

ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ คือขนาด 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชม. แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 กรัม หรือ 8 เม็ด การใช้ในเด็กนั้นขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว

ยาพาราเซตามอลมีทั้ง ชนิดเม็ด แคปซูล แบบน้ำ (สำหรับเด็ก) แบบฉีด (ใช้ในโรงพยาบาล) คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้อย่างปลอดภัย แม้แต่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กอายุมากกว่า 2 เดือน แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ

2.ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) 
ยากลุ่มนี้สามารถรักษาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้ดี เช่น อาการปวดฟัน ปวดศรีษะไมเกรน เป็นต้น และสามารถลดไข้ ลดอาการอักเสบ บวม แดง เช่น อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อเท้าพลิก หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาต่างๆได้ มีประสิทธิภาพในการลดปวดสูงกว่าพาราเซตามอล แบ่งยาออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • Non-selective NSAIDs

 ตัวอย่างยาได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพร็อกเซน (Naproxen) ไดโคลฟีแน็ค (Diclofenac) และกรดเมทฟีนามิค (Mefenamic acid)  ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงสูงกว่ากลุ่มอื่น อันได้แก่ อาหารไม่ย่อย โดยอาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ หรือท้องเสียได้ ระคายเคืองกระเพาะอาหารอาจก่อให้เกิดเลือดออกในทางอาหารได้ต้องกินยาหลังอาหารทันทีเพื่อลดการระคายเคืองและควรดื่มน้ำมากๆ

ยาจะมีผลต่อไตจึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ทั้งนี้ผู้ใช้ยาทุกคนควรใช้ยาในระยะเวลาสั้นที่สุดและขนาดยาต่ำสุด และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง

  • Preferential selective COX-2 inhibitors

 ตัวอย่างยาได้แก่ เมล็อกซิแคม (Meloxicam) ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) เป็นต้น ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ลดอักเสบได้ดี มีข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อกำเริบเฉียบพลัน ปวดข้อรูมาตอยด์ แต่ทั้งนี้ ก็ยังคงมีข้อเสียและผลข้างเคียงเหมือนกับยากลุ่มแรก

  • Selective COX-2 inhibitors

ตัวอย่างยาได้แก่ เซเลค็อกซิบ (Celecoxib) และ อีโทริค็อกซิบ (Etoricoxib) ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงต่อไต และระคายเคืองกระเพาะอาหารต่ำกว่ากลุ่มอื่น พบการแพ้ยาได้น้อยกว่า 

3. าทรามาดอล (Tramadol) 
ยาแก้ปวดชนิดที่เสพติดได้ เนื่องจากมีอนุพันธ์ของฝิ่น (Opium) หรือสารสกัดจากฝิ่นเป็นองค์ประกอบอยู่ ใช้เฉพาะรักษาอาการปวดปานกลางถึงรุนแรงเท่านั้น 

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ สับสน มึนงง ง่วงนอน คลื่นไส้ ท้องผูก การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดการเสพติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงต้องใช้ยานี้เมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น

บทความล่าสุด

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า