ฆ่าเชื้อ
สเปรย์ฆ่าเชื้อ

แสดงทั้งหมด 9 ผลลัพท์

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ

เจลล้างมือที่ถูกกฏหมาย จะต้องมีความเข้มข้นของแอลกอฮอลล์ที่ 70% v/v ขึ้นไปเท่านั้น จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ไม่เกิน 69.4% v/v


แอลกอฮอลล์เจล

เจลแอลกอฮอล์

เจลแอลกอฮอล์เป็นผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดมือแบบไม่ต้องล้างน้ำ ใช้ในกรณีไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ซึ่งเป็นวิธีทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพ โดยนิยมใช้สารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% เนื่องจากระเหยไม่เร็วเกินไป และมีปริมาณน้ำเพียงพอที่เซลล์ของเชื้อโรคต่างๆ จะดูดซึม และออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ของเชื้อโรค โดยใช้เวลาต่อครั้งเพียง 20- 30 วินาที พกพาได้ง่าย ป้องกันการแห้งกร้านของผิวหน้ง เนื่องจากมักมีสารให้ความชุ่มชื่นและอาจก่อให้เกิดการระเคืองน้อยกว่าการใช้สบู่และน้ำ อย่างไรก็ตาม การล้างมือด้วยน้ำและสบู่จัดเป็นวิธีทำความสะอาดหลักที่ควรใช้เป็นวิธีแรก ส่วนการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือเหมาะสำหรับสถานการณ์ที่ไม่สะดวกจะล้างมือด้วยน้ำและสบู่

คุณสมบัติของเจลแอลกอฮอล์

  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรีย รวมถึงไวรัสและเชื้อราจึง
  • นิยมใช้ในการฆ่าเชื้อผิวหนังและพื้นผิวทั่วไป
  • ลดการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส
  • ประสิทธิภาพในการปกป้องและยับยั้งเชื้อโรคดีกว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป

ส่วนประกอบสำคัญเจลแอลกอฮลล์

- แอลกอฮอล์ เพียงสารเดียวหรือผสมรวมกันอยู่ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร (v/v)

  • เอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอธานอล (ethyl alcohol หรือ ethanol)
  • ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ หรือไอโซโพรพานอล (isopropyl alcohol)
  • เอ็น -โพรพิลแอลกอฮอล์ หรือเอ็น -โพรพานอล ( n -propyl alcohol หรือ n -propanol)

- อาจมีสารฆ่าเชื้อ เช่น ไตรโคลซาน
- สารที่ทำให้เกิดสภาพเจล (gelling agent) เช่น carbomer
- สารให้ความชุ่มชื้นลดการแห้งของผิว (emollients) 
- สำหรับส่วนผสมอื่นๆ เช่น สี น้ำหอม

การใช้เจลแอลกอฮอล์

  • หากใช้เป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อน
    โดยการทาแอลกอฮอล์เจลปริมาณเล็กน้อย ที่บริเวณท้องแขนและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
    สังเกตความผิดปกติได้แก่ ผื่นแดง ปวดแสบ ปวดร้อน บวม
  • กดหรือเทแอลกอฮอล์เจลลงบนฝ่ามือ 2 – 4 หยด (หรือ 2 – 3 มิลลิลิตรโดยประมาณ )
  • ถูให้ทั่วทั้งสองมือเป็นเวลา ประมาณ 20 วินาที และปล่อยให้แห้งในอากาศ
  • ล้างมือให้ถูกวิธี

ข้อควรระวังในการใช้เจลแอลกอฮอล์

  • เจลแอลกอฮอล์มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมากสามารถติดไฟได้
  • หากทามือแล้วยังไม่แห้ง ห้ามนำมือเข้าใกล้แหล่งความร้อน
  • ควรหลีกเลี่ยงเปลวไฟ โดยเฉพาะ สูบบุหรี่ควรระวังเป็นพิเศษ
  • ไม่ควรใช้กับเด็กทารก และบริเวณผิวบอบบาง เช่น รอบดวงตา และบริเวณที่ผิวอักเสบ มีสิว มีบาดแผล หากสัมผัสแอลกอฮอล์บ่อยๆ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และผิวหยาบกระด้าง
  • ควรระมัดระวังการใช้กับเด็กเล็ก เพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่ายจากการกลืน
  • ประสิทธิภาพของเจลแอลกอฮอล์อาจลดลงเมื่อใช้ไม่ถูกวิธี เช่น ใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า 60% หรือถูเจลล้างมือไม่ทั่วถึง
  • ปริมาณในการใช้แอลกอฮอล์เจลควรมีความเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป หากระหว่างการใช้แอลกอฮอล์เจลแล้วพบว่าเนื้อเจลแห้งในเวลาไม่ถึง 15 วินาที บ่งชี้ให้เห็นว่า แอลกอฮอล์เจลที่ใช้มีปริมาณน้อยเกินไป และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรค
  • ควรเก็บแอลกอฮอล์เจลในภาชนะปิดสนิท ในบริเวณที่ไม่ถูกแสงแดด หรือ บริเวณที่ร้อน เพราะจะทำให้แอลกอฮอล์ระเหย และความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ อาจลดลงได้

น้ำยาฆ่าเชื้อโรค

น้ำยาฆ่าเชื้อโรค 

การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นแนวทางในการป้องกันโรคติดต่อ เพื่อช่วยชะลอการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะสถานที่ที่ต้องรับรองผู้คนสัญจรจำนวนมาก 

Disinfectant หรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบหลักที่สามารถฆ่าเชื้อ ระงับเชื้อโรค หรือลดบริมาณของเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำยาฆ่าเชื้อนั้นมีหลากหลายประเภท ทั้งแบบเป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถสัมผัสได้ โดยไม่รู้สึกระคายเคืองกับผิว และแบบที่ใช้เฉพาะกับสิ่งของเท่านั้นที่หากสัมผัสอาจจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ในขณะที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อประเภทนี้

ประเภท Disinfectant หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

  • น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง มักจะมีส่วนผสมของ กลูตารัลดิไฮด์ (Glutaraldehyde) 2-3% และ ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) สามารถทำลายสปอร์แบคทีเรียได้อย่างดี เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความปลอดเชื้ออย่างยิ่ง
  • น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพกลาง ๆ มักจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde), ไอโอโดฟอร์ (Iodophores), โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) เป็นต้น สามารถกำจัดพวกเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความเข้มข้นของน้ำยา
  • น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่ำ คือน้ำยาที่ไม่อาจจะกำจัดสปอร์แบคทีเรีย เชื้อโรค หรือเชื้อไวรัสได้ เหมาะสำหรับการทำความทั่ว ๆ ไป

วิธีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ตามสถานที่ที่เสี่ยงมีเชื้อโรคปะปน

1. รู้ถึงความแตกต่างของประเภทการทำความสะอาด

  • การทำความสะอาดทั่วไปนั้นเป็นเพียงกำจัดสิ่งสกปรกออกจากพื้นที่หรือวัตถุนั้น ๆ เพียงแค่ใช้ผลิตภัณฑ์จำพวก สบู่ ผงซักฟอง น้ำยาทำความสะอาดทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีส่วนผสมที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้เลย
  • สำหรับการทำความสะอาดแบบฆ่าเชื้อโรคนั้น คุณจะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่มีการรองรับข้อกำหนดด้านสาธารณสุขแล้วว่ากำจัดได้จริง เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ

2. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อตรงพื้นผิวและวัตถุที่สัมผัสบ่อย ๆ

ขั้นตอนมาตรฐานการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง โดยพื้นผิวและวัตถุที่สัมผัสบ่อย ๆ อาทิเช่น เคาน์เตอร์, ลูกบิดประตู, คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์, มือจับก๊อกน้ำ และโทรศัพท์เป็นต้น โดยห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น และห้องครัวเป็นห้องที่ทุกคนในบ้านใช้ร่วมกัน ดังนั้นควรเน้นการทำความสะอาดเป็นพิเศษ

หากเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ต่าง ๆก็เน้นพื้นที่ที่ลูกค้าใช้เป็นประจำ อาทิเช่น เคาน์เตอร์, ลูกบิดประตู, โต๊ะเก้าอี้, ถาดใส่เงินทอน, กระดาษหรือสมุดเมนู, อุปกรณืต่าง ๆ บนโต๊ะอาหาร 

3. หมั่นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นประจำ

หมั่นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบ่อย ๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ ยิ่งสำหรับสถานที่จำพวกร้านค้าต่าง ๆ ที่ต้องบริการคนจำนวนมาก ยิ่งต้องทำความสะอาดบ่อย ๆ ทำทุกวันได้

4. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง

ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด โดยเริ่มแรกทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนทั่วไปล้างออกก้วยน้ำ และตามด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออีกที โดยต้องอ่านฉลากให้ดีกว่าสามารถฆ่าเชื้อได้จริงหรือไม่

  • หากพื้นผิวไม่ได้สกปรกย่างเห็นได้ชัด คุณสามารถทำความสะอาดได้ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรองจาก EPA ที่สามารถกำจัดเชื้อโรคและฆ่าเชื้อได้ เพียงขั้นตอนเดียว
  • ควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดที่ผสมฆ่าเชื้อ กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สัมผัสบ่อย ๆ โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ และอย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถทนต่อการใช้ของเหลวในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

5. ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย

อ่านคำเตือนและคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์ โดยส่วนใหญ่แล้วมักแนะนำให้ใช้คู่กับถุงมือทำความสะอาด หน้ากากอนามัย และแว่นตาป้องกันไอระเหยจากสารเคมี และไม่ควรผสมน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อแบบมั่ว ๆ เว้นแต่ในฉลากระบุแล้วว่าปลอดภัย การผสมผลิตภัณฑ์บางอย่างอาทิเช่น สารฟอกขาวคลอรีน และน้ำยาทำความสะอาดแอมโมเนีย อาจทำให้ได้อันตรายจากสารเคมีที่ทําปฏิกิริยา

บทความล่าสุด

รูปแบบของอาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารฟังก์ชั่น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ตามกระแสนิยมเรื่องการดูแลสุขภาพ คนเราจะเลือกบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ชะลอความเจ็บป่วย มากกว่าที่จะบริโภคอาหารเพื่อบรรเทาความหิวอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลรักษาแผลเป็น

แผลเป็น เป็นเรื่องธรรมชาติ เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวหนังมีการฉีกขาด จะมีอาการรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ขนาดและความลึกของแผล ขั้นตอนการดูแลรักษาแผล พันธุกรรม และฮอร์โมน สำหรับแผลเป็นที่ไม่รุนแรง คนไข้สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นที่หาซื้อได้สะดวกตามร้านยา

อ่านเพิ่มเติม
การดูแลบาดแผลให้หายเร็ว ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น

เป้าหมายหลักของการดูแลแผลคือ ทำให้แผลหายเร็วที่สุด เพื่อลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น แผลเป็น หรือการติดเชื้อ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุในการทำแผลให้เหมาะสมกับสภาวะของบาดแผล มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุปิดแผลสมัยใหม่จะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ให้ประโยชน์คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
การใช้สมุนไพรไทยดูแลภาวะลองโควิด

ผู้ป่วยที่เคยป่วยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV 2 ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยและควรใส่ใจดูแล ฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็วที่สุดโดยถ้าอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้สมุนไพรควบคู่กับการดูแลด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
ความเครียดเกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร

ภาวะเครียดจะทำให้ร่างกายมีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนความเครียดในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและบ่อยครั้งจะทำให้มีโรคอื่นๆตามมา

อ่านเพิ่มเติม
นอนไม่หลับสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

การนอนหลับนั้นไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่มันภาวะที่ร่างกายก่อขึ้นมาอย่างตั้งใจเพื่อความอยู่รอดของชีวิต และเกี่ยวข้องการทำงานของสมองในส่วนของ ก้านสมอง และ ไฮโปธารามัส การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

อ่านเพิ่มเติม
ความทรงจำของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ความทรงจำช่วยให้เรายึดมั่นกับสิ่งที่เราเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้ ความจำเริ่มต้นด้วยกระบวนการที่สมองรับรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งเรื่องของตัวเราและเรื่องอื่นๆรอบตัวเรา และกลั่นกรองส่วนสำคัญเพื่อบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ

อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่

ในควันบุหรี่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่ากายมนุษย์อยู่มากกว่า 4,000 ชนิด ในจำนวนนี้ มีประมาณ 60 ชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่แม้จะทราบดีถึงพิษภัยอันสืบเนื่องมาจากบุหรี่เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า