มียาบางชนิดจะผลิตออกมาในรูปแผ่นแปะ เพื่อใช้ในจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ใช้แก้ปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ใช้ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ใช้แก้เมารถเมาเรือ ใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ใช้คุมกำเนิด ใช้ช่วยอดบุหรี่ แต่ไม่ว่าจะใช้ในจุดประสงค์ใด
วิธีใช้ยาแผ่นแปะเหล่านี้ก็คือ ต้องติดแผ่นยาทั้งแผ่น ห้ามตัดแบ่ง และใช้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ เช่น ยาแผ่นแปะแก้ปวดเฟนตานิล (fentanyl) ที่ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีอายุการใช้ 3วันต่อการแปะ 1 แผ่นการแปะแผ่นยานานกว่านี้จะไม่ได้ผลแก้ปวด
นอกจากนี้การแปะแผ่นยาบนผิวหนังไม่ว่าจะเป็นยาใดจะต้องแปะบนผิวหนังที่สะอาด ไม่มีเหงื่อ ไม่มีขน เพื่อให้แผ่นยาแปะอยู่ได้ และไม่ปิดซ้ำที่เดิมเมื่อเปลี่ยนแผ่น หากแผ่นยาหลุดออกมาก่อนเวลาเปลี่ยนแผ่น ให้ทิ้งแผ่นยานั้นไป และนำแผ่นยาแผ่นใหม่มาแปะที่ผิวหนังบริเวณอื่น
อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบได้ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะวัยทำงายและผู้สูงอายุ โดยมักมีสาเหตุมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อหนักหรือการใช้งานกล้ามเนื้อผิดวิธี เช่น งอหลังยกของ ออฟฟิศซินโดรม
อาการปวดมักมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งการรักษาก็มีได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่คนนิยมเลือกใช้คือการใช้แผ่นแปะบรรเทาอาการปวด
โดยกลไกการแก้ปวดของแผ่นแปะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่มีในแผ่นแตกต่างกันแล้วแต่ยี่ห้อ แต่ส่วนประกอบหลักที่มักพบในเกือบทุกยี่ห้อได้แก่
1. Methyl salicylate มีฤทธิ์ร้อนทำหน้าที่รบกวนสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความเจ็บปวด
2. Menthol มีฤทธิ์เย็นทำหน้าที่รบกวนสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความเจ็บปวด
3. Camphor หรือการบูร ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของการบวนการรับความรู้สึกเจ็บปวด
4. Capsaicin หรือสารสกัดจากพริก ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดบริเวณที่ปวด ทำให้รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อทาครั้งแรกๆ แต่เมื่อทาไปนานๆผิวหนังจะเพิ่มความทนต่อการเจ็บปวด ทำให้อาการปวดลดลงได้
5. Eucalyptus oil มีสรรพคุณช่วยในการแก้ปวด ลดอาการอักเสบและคลายกล้ามเนื้อ
การใช้แผ่นแปะแก้ปวด 1 แผ่นสามารถออกฤทธิ์ได้เฉพาะที่และยาวนานประมาณ 8-12 ชั่วโมง
ข้อควรระวังการใช้คือ
- ห้ามใช้บริเวณเยื่อบุอ่อน เช่น ตา ปาก
- ห้ามใช้บริเวณที่มีแผลเปิด
- ระวังการใช้ในผู้ที่มีประวัติการแพ้ส่วนประกอบที่อยู่ในแผ่นแปะรวมถึงกาวหรือยางด้วย