ตอเถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง

ยาสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย

อาการปวดเมื่อยเกิดจากกล้ามเนื้อทำงานมากในบางตำแหน่ง ทำให้เกิดความล้าหรือเกิดอาการหดเกร็งเฉพาะที่ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง ที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ

 

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

ชื่ออื่น : เครือเขาหนัง เถาตาปลา เครือตาปลา(นครราชสีมา) ย่านเหมาะ(นครศรีธรรมราช) พานไสน(ชุมพร) เครือตับปลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens (Roxb.) Benth

ชื่อพ้อง : Brachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia timoriensis DC., Deguelia timoriensis (DC.) Taub., Derris timoriensis (DC.) Pittier, Galedupa frutescens Blanco, Millettia litoralis Dunn

ชื่อวงศ์ : Papilionaceae

สรรพคุณ:
           ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้เถา ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟให้หอมชงน้ำกินแก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้เมื่อยขบในร่างกาย แก้กระษัยเหน็บชา ต้มรับประทานถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด

           ใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น
           บัญชียาจากสมุนไพร: ระบุการใช้เถาวัลย์เปรียงในตำรับ “ยาผสมเถาวัลย์เปรียง” มีส่วนประกอบของเถาวัลย์เปรียงร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา

1. บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

ผงจากเถาของเถาวัลย์เปรียง รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที

2. บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง และอาการปวดจากข้อเข้าเสื่อม

สารสกัดจากเถาด้วย 50%เอทานอล รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

คำเตือน : ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยแผลเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  จึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

อาการไม่พึงประสงค์ : ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลว

องค์ประกอบทางเคมี:

  • สารกลุ่ม isoflavone glycoside ได้แก่ eturunagarone, 4,4’-di-O-methylscandenin, lupinisol A, 5,7,4’-trihydroxy-6,8-diprenylisoflavone, 5,7,4’-trihydroxy-6,3’-diprenylisoflavone, erysenegalensein E, derrisisoflavone A-F, scandinone, lupiniisoflavone G, lupalbigenin, derrisscandenoside A-E, 7,8-dihydroxy-4’-methoxy isoflavone, 8-hydroxy-4’,7-dimethoxy isoflavone-8-O-b-glucopyranoside, 7-hydroxy-4’,8-dimethoxy isoflavone-7-O-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-beta-glucopyranoside, diadzein-7-O-[α-rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, derrisscanosides A-B, genistein-7-O-[α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside
  • สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ 3-aryl-4-hydroxycoumarins  สารกลุ่มสเตียรอยด์ได้แก่ lupeol, taraxerol, b-sitosterol  สารอื่นๆ เช่น 4-hydroxy-3-methoxy benzoic acid, 4-hydroxy-3,5-dimethoxy benzoic acid

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:         

  • ฤทธิ์ต้านอักเสบ

สารสกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยน้ำ นำมาทดสอบฤทธิ์ลดการอักเสบในหลอดทดลองโดยวัดการลดลงของเอนไซม์ myeloperoxidase(MPO) 

ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำลดการหลั่ง myeloperoxidase ได้ 88%  และมีผลยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (eicosanoid) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ leukotriene B4  

  • ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX-1

ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด 50% เอทานอล, สารสกัดน้ำ  สามารถยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 (COX-1) ทำให้การสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ พรอสตาแกลนดินลดลง แต่ไม่มีผลยับยั้งเอนไซม์ COX-2

จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ มีสองชนิดคือ

  1. สารกลุ่มกรดฟีนอลิค คือ สาร piscidic acid ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ทำให้หลับ กล่อมประสาท และระงับอาการไอ
  2. สารกลุ่มไอโซฟลาโวนกลัยโคไซด์คือ genistein 7-O-α-rhamnosyl (1→6)-β-glucopyranoside ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ 

 

การศึกษาทางคลินิก:

  • ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง

การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงเปรียบเทียบกับยามาตรฐานไดโคลฟีแนค (diclofenac)  ในการรักษาผู้ป่วยอาการปวดหลังส่วนล่าง  2  กลุ่ม  ที่โรงพยาบาลวังน้ำเย็น  จังหวัดสระแก้ว 

  1. กลุ่มหนึ่งจำนวน  37 ราย  รับประทานสารสกัดเถาวัลย์เปรียงบรรจุแคปซูล  ขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง  เป็นเวลา 7 วัน  
  2. อีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 33 ราย  รับประทานยาไดโคลฟีแนคชนิดเม็ด  ขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง  เป็นเวลา 7 วัน

ผลการศึกษา : กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7  ของการรักษา  แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ  และไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีรวมทั้งผลข้างเคียงใด ๆ ในทั้ง 2 กลุ่   ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับอาการปวดลดลงอย่างชัดเจนในวันที่ 3 และวันที่ 7 

ผลการศึกษานี้บ่งชี้ชัดว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงที่ให้รับประทานในขนาดวันละ 600  มิลลิกรัม นาน 7 วัน  สามารถลดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ไม่แตกต่างจากการใช้ยายาไดโคลฟีแนค ขนาดวันละ 75  มิลลิกรัม (ยุทธพงษ์ และคณะ, 2550)

  • ฤทธิ์ลดอาการข้อเข่าอักเสบ

ดำเนินการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในผู้ป่วย 178 คนที่มาตรวจรักษาด้วยอาการปวดเข่าของโรคข้อเข่าอักเสบ

  1. ผู้ป่วย 88 คน ให้รับยามาตรฐานไอบิวโพรเฟน (Ibuprofen) ขนาด 400 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกัน 7 วัน
  2. ผู้ป่วย 90 คน ให้รับสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ขนาด 250 มิลลิกรัม ต่อแคปซูล รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ติดต่อกันเป็นเวลานาน 7 วัน

ผลการศึกษา :  อาการของผู้ป่วยและความรุนแรงเฉลี่ยของการปวด ผลข้างเคียง ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ทั้ง 2 กลุ่มการรักษาด้วยไอบิวโพรเฟนหรือยาแคปซูลเถาวัลย์เปรียง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการรับประทานยาจากสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ติดต่อกัน 7 วันมีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าอักเสบ ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยาไอบิวโพรเฟน (ศิษฎิคม และคณะ, 2555)

  • ฤทธิ์แก้ปวด

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเถาวัลย์เปรียงในการลดอาการปวด

ผลการวิจัยพบว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพ ในด้านการลดอาการปวดไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าทางห้องปฏิบัติการไม่แตกต่างกัน ในด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุดในทั้งสองกลุ่ม คือการระคายเคืองทางเดินอาหาร รองลงมาคือ อาการมึนงง และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง

การศึกษานี้เป็นข้อมูลสนับสนุนว่าเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs ในการลดอาการปวด ซึ่งสามารถนาไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยได้ (วิระพล และคณะ, 2558)

  • การศึกษาแบบ meta analysis เพื่อประเมินผลด้านความปลอดภัย และผลทางด้านคลินิกของการใช้สารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเทียบกับยาในกลุ่ม NSAIDs

ผลการศึกษา พบว่าสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียง เมื่อให้โดยการรับประทานสามารถลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้ไม่ต่างจากยาในกลุ่ม NSAID ที่ระยะเวลาใดๆ  (3, 7, 14 วัน และอื่นๆ) เปรียบเทียบผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยผลข้างเคียงหลักที่เกิดขึ้นเป็นอาการในระบบทางเดินอาหาร (Puttarak, et al., 2016)

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle Pain)

คือภาวะตึง ปวดหรืออักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งตามกล้ามเนื้อมัดเดียวหรือหลายมัด มักมีสาเหตุจากการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ หรือมากเกินไปจากการทำกิจกรรมประจำวัน โดยเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ

  • การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไปหรือเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำ ๆ จนทำให้เกิดความตึงเครียดสะสมที่กล้ามเนื้อ
  • การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจนทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เช่น การออกกำลังกาย การทำงาน เป็นต้น

การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

  • พักผ่อนร่างกายจากกิจกรรมที่เป็นสาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) พาราเซตามอล (Paracetamol, Acetaminophen)
  • ประคบร้อนและประคบเย็น ในช่วง 1-3 วันแรก ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งห่อผ้าในบริเวณที่มีอาการปวดของกล้ามเนื้อ และหลังจากนั้นประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการและลดการอักเสบ
  • ยืดและบริหารกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดด้วยความระมัดระวัง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียด เช่น การออกกำลังกายประเภทโยคะ หรือการนั่งสมาธิ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิก ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้มีสุขภาพที่ดีได้
  • หลีกเลี่ยงการออกแรงยกของหนักในช่วงที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น

  • ปัญหาการนอนหลับ เนื่องจากอาการปวดกล้ามเนื้อจะรบกวนเวลานอน ควรหาท่านอนที่เหมาะสมเพื่อไม่ได้เกิดการสัมผัสบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจนต้องตื่นมากลางดึก
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) มีรายงานวิจัยพบว่า อาการปวดกล้ามเนื้ออาจพัฒนาไปสู่โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรังที่มีอาการปวดไปทั่วร่างกาย ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีประสาทสัมผัสไวขึ้นต่ออาการปวด

การป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รวมทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย
  2. ยืดกล้ามเนื้อก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรง รวมทั้งหลังออกกำลังกาย
    อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย  (Warm Up) และหลังออกกำลังกาย  (Cool Down)
  3. พนักงานออฟฟิสหรือผู้ที่นั่งทำงานประจำที่โต๊ะ หมั่นลุกขึ้นยืน หรือเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง

บทความล่าสุด

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

ยาพ่นช่องปากและคอ

การเลือกใช้ยาพ่นคอ ควรพิจารณาความรุนแรงของอาการที่เป็น ถ้ามีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรง การใช้สปรย์พ่นคอ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า