ดวงตา
ปวดตา

ยาสำหรับตาและหู

หลักการใช้ยาเกี่ยวกับตาที่ถูกต้อง คือ การล้างมือให้สะอาดก่อนใช้ ระวังอย่าให้ปลายหลอดหยดสัมผัสดวงตา ปิดฝาจุกทันทีที่ใช้แล้ว หากใช้ยาเกี่ยวกับตาไม่หมดภายใน 1 เดือน ควรทิ้งไป

ไม่พบสินค้าตรงกับที่คุณเลือก

การใช้ยาทางตา

การใช้ยาทางตา

มีดังต่อไปนี้คือ

1. การใช้ยาหยอด 

ยาที่ใช้จะเป็นในลักษณะของนํ้า อาจจะใสหรือขุ่นหรือมีสีหรืออาจเป็นในลักษณะของนํ้ามัน ที่สามารถหยดเข้าไปในตาได้ ยาหยอดจะอยู่ในตาได้ไม่นานจะไหลออกไปกับนํ้าตาอย่างค่อนข้างรวดเร็ว จึงต้องหยอดบ่อยๆ 

2. การใช้ยาป้าย

ยาพวกนี้มาในรูปขี้ผึ้ง ครีม หรือนํ้ามัน  ยาอยู่กับตาได้นานและช่วยเป็นสิ่งทำความหล่อลื่นในตา ข้อเสียคือใช้ยากกว่าการหยอด เหนียวเหนอะหนะน่ารำคาญ และอาจทำให้สายตาพร่ามัวไปได้ ข้อดีตามที่กล่าวแล้วคือตัวยาสามารถอยู่ในตาได้นานกว่ายาหยอดและเป็นวิธีที่ใช้รักษาโรคของหนังตาหรืออวัยวะรอบๆ ตาที่เหมาะที่สุด

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยาหยอด ยาป้าย

1. ใช้ให้ถูกวิธี  ถ้ามีสิ่งสกปรกติดอยู่ เช่น ขี้ตา สะเก็ดแผล ควรทำความสะอาดก่อน มิฉะนั้นยาจะไปเกาะอยู่ที่สิ่งสกปรกเหล่านี้ ไม่ถูกกับแผลโดยตรง ทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

2. ใช้ให้ถูกขนาดตามที่แพทย์กำหนด เช่น 1-2 หยด เพราะ ยาบางอย่างหยอดมากเกินไปในครั้งหนึ่งๆ จะมีอันตรายได้

3. ให้ตรงเวลา เช่น แพทย์ให้หยอดทุก 2 ชม. ก็ควรจะเป็นเวลาประมาณนั้น  ไม่มีความสำคัญอะไรมาก ผู้ที่ต้องหยอดยาเป็นประจำ เช่น พวกที่เป็นต้อหินชนิดเรื้อรัง ควรฝึกให้เป็นนิสัยจะได้ไม่ขาดยา เช่น ทำหลังอาหารเช้า เที่ยง เย็น ก่อนนอน 

4. ถ้ามียาหยอดสองขนานต้องหยอดเวลาเดียวกัน ควร หยอดอย่างหนึ่งก่อน รออีกประมาณ 5-10 นาทีจึงหยอดอีกอัน ถ้าหยอดรวมๆ กันในเวลาใกล้กัน ยาอาจจะไปฆ่าฤทธิ์กัน หรืออาจทำให้ทั้งสองเจือจางลงไป ควรจะถามแพทย์ถ้าเกิดมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้น

5. ถ้ามียาป้ายกับยาหยอดที่ต้องทำพร้อมๆ กันให้ใช้ยา หยอดก่อน เพราะถ้าป้ายก่อนยาหยอดจะไหลหลุดออกจากตาไปรวดเร็วมาก

6. เก็บยาในที่ๆ เหมาะ มียาบางอย่างต้องเก็บในตู้เย็น หรือห้ามถูกแสงสว่างมากๆ เช่นเดียวกับยาอื่น ต้องไม่เก็บรวมกับพวกอาหารและให้ไกลจากมือเด็ก

 

7. ไม่ควรใช้ยาขวดเดียวกัน การที่ห้ามเอายาของเราไปให้คนอื่นหยอดอย่างเด็ดขาดนั้น เพราะโรคตา บางอย่างติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยผ่านทางยาหยอดหรือป้าย และบางทีดูคล้ายกับว่าเป็นโรคเหมือนๆ กัน แต่จริงๆ แล้ว แตกต่างกันมาก 

8. ห้ามเอายาหยอดหรือป้ายตาไปใช้อย่างอื่น เช่น เอาไป รับประทาน เอาไปทาแผลอย่างเด็ดขาด

9. หยอดให้ถูกตา ถ้าอยากจะหยอดอีกข้างให้ถามแพทย์ อย่างละเอียด ยาบางอย่างหยอดอีกตาซึ่งไม่ได้เป็นอะไรอยู่อาจมีโทษอย่างมหันต์

ยาที่ใช้กับตา

1.น้ำยาล้างตา

นํ้ายาที่ใช้ล้างมีพวกกรดบอริก นํ้าเกลือ หรือนํ้าสะอาดธรรมดา ที่นิยมคือใช้ถ้วยที่เหมาะกับตาใส่นํ้ายา แล้วควรมาที่ตาลืมแล้วกลอกตาไปมา ใช้ได้ผลดีพอประมาณ 

ปกติแล้วหากเกิดอาการระคายเคืองตา ต่อมน้ำตาจะถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตาออกมามากกว่าปกติ เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกจากดวงตา ทั้งนี้หากอาการระคายเคืองยังคงอยู่ สามารถใช้น้ำยาล้างตาล้างทำความสะอาดดวงตาเพิ่มเติมได้

แต่ไม่ควรใช้เป็นประจำทั้งที่ไม่มีอาการเจ็บป่วย เนื่องจากน้ำตาประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ที่ช่วยหล่อลื่นและปกป้องดวงตาจากเชื้อโรค การใช้น้ำยาล้างตาเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้คุณสมบัติของน้ำตาเสียไป และเพิ่มโอกาสการติดเชื้อที่ตาได้ ดังนั้นหากล้างตาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อแก้ไขอาการดังกล่าว

การเก็บรักษา : เมื่อเปิดใช้แล้ว ควรเก็บในตู้เย็น ไม่เกิน 1 เดือน

2. น้ำตาเทียม

ไม่ใช่นํ้าธรรมดาแต่เป็นของเหลวที่ระเหยช้ากว่านํ้า อยู่ในตาได้นานทำหน้าที่หล่อลื่นลูกตา มีประโยชน์ในคนที่มีนํ้าตาน้อย ตาแห้ง มักจะพบมากในคนสูงอายุ ยานี้ใช้ได้นานๆ โดยไม่เกิดโทษ

การเก็บรักษา : เมื่อเปิดใช้แล้ว ควรเก็บในตู้เย็น ไม่เกิน 1 เดือน

 

 

คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์คืออะไร 

 คอนแทคเลนส์เป็นเครื่องมือแพทย์อย่างหนึ่ง ผลิตจากโพลิเมอร์หรือวัสดุอื่นๆ ลักษณะเป็นแผ่นโค้ง ใช้ครอบบริเวณกระจกตาเพื่อแก้ไขปัญหาสายตา รักษาโรคตาบางอย่าง หรือเพื่อความสวยงาม

หากแบ่งตามชนิดวัสดุอาจแบ่งได้ 2 แบบคือ

  • คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ทำจากพลาสติกพิเศษทำให้มีการซึมผ่านของออกซิเจนได้ คงทนต่อการขีดข่วน และมีราคาถูก แต่ในระยะแรกจะรู้สึกไม่สบา
  • คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม ทำจากวัสดุที่มีลักษณะนิ่ม บิดงอได้ ทำให้ออกซิเจสามารถผ่านเข้าสู่กระจกตาได้ ใช้ง่ายและสะดวกกว่าชนิดแข็ง สำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม

สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 5 แบบ คือ

  1. รายวัน
  2. รายสัปดาห์
  3. รายเดือน ชนิดที่1-3 นี้เป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน
  4. รายปี นิยมใช้น้อยกว่าเนื่องจากต้องใช้การดูแลที่เข้มงวดมากกว่า 
  5. ชนิดใส่ต่อเนื่อง ซึ่งปกติจะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากต้องใส่ติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์แล้วจึงเปลี่ยน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้มากกว่าแบบที่ใส่แล้วถอดทุกวัน 

ใครบ้างที่ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ 

ผู้ป่วยโรคตา ได้แก่ ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ ผู้ที่มีการติดเชื้อที่ดวงตาบ่อย ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ที่ดวงตา ผู้ที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นควัน หรือละอองสิ่งสกปรกในปริมาณมาก ห้ามใส่คอนแทคเลนส์

การติดเชื้อที่กระจกตาจากการใส่คอนแทคเลนส์ 

ปกติกระจกตาดำจะต้องการออกซิเจนจากอากาศที่ละลายผ่านน้ำตาเข้ามา การใส่คอนแทคเลนส์ลดการส่งผ่านออกซิเจนระหว่างอากาศกับกระจกตาดำ ส่งผลให้กระจกตาดำขาดออกซิเจน เซลล์เยื่อบุผิวกระจกตาดำลดจำนวนลง และภูมิคุ้มกันของกระจกตาดำแย่ลง จึงเกิดการติดเชื้อและโรคกระจกตาอักเสบ (Keratitis) ได้ง่ายขึ้น

ในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรงทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ปัจจัยหลักที่เป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อคือการใส่คอนแทคเลนส์เวลานอนหลับ ปัจจัยอื่นๆ เช่น การปนเปื้อนในน้ำยาล้างหรือตลับใส่คอนแทคเลนส์

ติดเชื้ออะไรได้บ้าง 

การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียแกรมลบ แผลติดเชื้อมักอยู่ตรงกลางกระจกตา มีหนองและขี้ตา เช่น ซูโดโมแนส (Pseudomonas spp.)

นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้ออื่นๆได้ ได้แก่ โปรโตซัว พบได้ในน้ำบาดาล น้ำทิ้ง น้ำในสระว่ายน้ำที่ทำความสะอาดไม่ดี ดินและฝุ่นละออง

ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ที่ทำความสะอาดโดยใช้น้ำเกลือผสมเอง มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อะแคนทามีบา (Acanthamoeba spp.) อีกชนิดหนึ่งคือเชื้อรา แผลติดเชื้อมีขอบเขตไม่ชัดเจน ลึก พบในคอนแทคเลนส์และน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ปนเปื้อน เช่น ฟิวซาเรียม (Fusarium spp.)

รู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อจากคอนแทคเลนส์ 

เริ่มต้นมีอาการคัน ระคายเคือง หรือมีน้ำตาไหล ต่อมามีอาการตาแดง ปวดตา ตามัว น้ำตาไหล มองสู้แสงไม่ได้ มีขี้ตา เปลือกตาบวม อาจเห็นจุดสีขาวอยู่บนกระจกตาได้ ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์และมีอาการต่างๆเหล่านี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าจะติดเชื้อจากคอนแทคเลนส์ หากไม่รักษาตั้งแต่เริ่มต้น จุดขาวที่เกิดขึ้นจะลุกลามเป็นหนองสีขาวในช่องหน้าลูกตา ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆที่ดวงตา เช่น กระจกตาทะลุ ต้อหิน ต้อกระจก ไปจนถึงสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

 

ป้องกันการติดเชื้อจากคอนแทคเลนส์ได้อย่างไร 

  1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์และดวงตา
  2. ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ทุกครั้ง
  3. ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับและขณะว่ายน้ำ
  4. ไม่ใช้น้ำประปา น้ำบาดาล น้ำเกลือที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อในการทำความสะอาด
  5. ไม่ใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่นและไม่ใช้ต่อเนื่องนานเกิน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ตามระยะเวลาที่กำหนด
  6. ตลับใส่คอนแทคเลนส์ ควรเปลี่ยนตลับทุกๆ 3-6 เดือน
  7. หมั่นทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์
  8. ไม่ควรใช้น้ำประปาในการล้างตลับใส่คอนแทคเลนส์ การทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ล้างด้วยน้ำร้อนหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง และคว่ำตลับคอนแทคเลนส์ลงทุกครั้งหลังใช้งาน
  9. เลือกใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐาน และเปลี่ยนนำยาล้างคอนแทคเลนส์ทุกครั้ง เมื่อใช้แล้วควรทิ้งทันที ไม่ใช้ซ้ำ

 ดังนั้นการใช้และดูแลรักษาคอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธีจึงมีความสำคัญ องค์การอาหารและยา (อย.) ได้มอบคาถาสามข้อเพื่อการใช้คอนแทคเลนส์อย่างปลอดภัย สรุปสั้นๆได้เป็น 3C คือ ใช้คอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. (Certificate) ใช้อย่างถูกวิธี (Correct) และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ (Clean) เท่านี้ผู้ใช้ก็ปลอดภัยจากอันตรายของคอนแทคเลนส์

การใช้คอนแทคเลนส์

1.คอนแทคเลนส์จะมีด้านหน้าและด้านหลัง ก่อนใส่คอนแทคเลนส์ให้ตรวจสอบก่อนใส่ทุกครั้ง เพื่อความสบายตาในการสวมใส่

2. คอนแทคเลนส์ที่ยังไม่ได้เปิดใช้ให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง และหลีกเลี่ยงแสงแดด ส่วนคอนแทคเลนส์ที่เปิดใช้แล้วต้องดูแลรักษาตามที่ระบุในเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์

3. การใช้คอนแทคเลนส์ ไม่มีข้อบ่งใช้ให้ใส่ข้ามคืน และไม่ควรใส่ขณะหลับ (การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงสูงขึ้นเมื่อเลนส์ถูกใส่ข้ามคืน)

4. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้

5. สำหรับผู้ที่แต่งหน้า ให้ใส่คอนแทคเลนส์ก่อนแต่งหน้าเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากเครื่องสำอาง และถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนเช็ดเครื่องสำอางทุกครั้ง

6. ไม่ควรให้คอนแทคเลนส์ของคุณสัมผัสหรือเก็บหรือชะล้างด้วยน้ำใดๆ ก็ตาม เช่น น้ำก๊อก น้ำดื่มในขวด น้ำลาย น้ำกลั่น หรือน้ำที่ไม่ปราศจากเชื้อใดๆ

7. ควรใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ใหม่เติมลงในตลับเก็บเลนส์ทุกครั้งที่คุณเก็บคอนแทคเลนส์ อย่าเติมน้ำยาเพิ่มหรือใช้น้ำยาเก่าในการเก็บคอนแทคเลนส์ ควรเทน้ำยาเก่าทิ้งออกจากตลับเก็บเลนส์ทันทีที่คุณเอาเลนส์ออกจากตลับเก็บเลนส์

8. เปลี่ยนน้ำยาทุกครั้งที่แช่ในตลับเก็บเลนส์ และถึงแม้ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ก็ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน

9. น้ำเกลือไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่อยู่บนคอนแทคเลนส์ได้ ดังนั้นในกระบวนการฆ่าเชื้อให้ใช้ น้ำยาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ บอช แอนด์ ลอมบ์ รีนิว เฟรช มัลติเพอร์โพส โซลูชั่น

10. ทำความสะอาดตลับเก็บคอนแทคเลนส์ด้วย น้ำยา บอช แอนด์ ลอมบ์ รีนิว เฟรช มัลติเพอร์โพส โซลูชั่น ห้ามใช้น้ำก๊อกหรือน้ำดื่มในขวดทำความสะอาดตลับเก็บคอนแทคเลนส์

11. ควรเปลี่ยนตลับเก็บคอนแทคเลนส์ทุกเดือน

12. ผู้ใช้คอนแทคเลนส์ควรพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาของคุณปีละ 2 ครั้ง หรือบ่อยขึ้นตามคำแนะนำ

บทความล่าสุด

ยาถ่ายพยาธิ

การใช้ยาถ่ายพยาธิ จะต้องเลือกใช้ให้ตรงกับชนิดของพยาธิที่อยู่ในร่างกาย พยาธิจัดเป็นปรสิต (parasite) &

อาการตกขาวจากช่องคลอดอักเสบ

ตกขาวหรือระดูขาว มีลักษณะเป็นของเหลว ใสหรือขุ่นก็ได้ อาจคล้ายน้ำแป้ง หรือ แป้งเปียก ปกติไม่มีกลิ่น

อาการวิงเวียนศีรษะและยารักษา

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ถ้ามีร่วมกับอาการบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า